วันเสาร์, เมษายน 12, 2025
หน้าแรกCOLUMNISTS''Bioeconomy''เศรษฐกิจชีวภาพ รูปแบบสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

”Bioeconomy”เศรษฐกิจชีวภาพ รูปแบบสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

Bioeconomy : The Key Model for Sustainable Development“….เศรษฐกิจชีวภาพ มีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน ปกป้องสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ  …”

เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy คือ การใช้ทรัพยากรชีวภาพ Use of Biological Resources เช่น พืช Plants, สัตว์ Animals และจุลินทรีย์ Microorganisms เพื่อผลิตสินค้า Goods, บริการ Services และพลังงาน Energy ..นอกจากนี้ยังรวมถึงวิทยาศาสตร์ Science, เทคโนโลยี Technology และนวัตกรรม Innovation ที่ใช้เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจเหล่านี้มาพร้อมด้วย ..

เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy มีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน Sustainable, ปกป้องสิ่งแวดล้อม Protecting the Environment และความหลากหลายทางชีวภาพ Biodiversity ..ขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป Avoiding Overexploitation of Natural Resources..เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy สามารถช่วยให้ประเทศต่างๆ เปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน Transition to a Circular Economy ที่มีการปล่อยคาร์บอนน้อยลง Lower Carbon Emissions ได้อย่างยอดเยี่ยม ..

เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy | Credit : เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ / NSTDA

ทั้งนี้ เพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คำว่า เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy หรือ Bi-Based Economy or Biotechonomy นั้น หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่นำความรู้ และนวัตกรรม โดยเฉพาะด้านชีววิทยา Biology หรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพ Biological Sciences อื่นๆ มาช่วยพัฒนาการผลิตสินค้า Production Development และบริการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรชีวภาพ Biological Resources ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ..สินค้าและบริการเหล่านั้น ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ การแพทย์ และพลังงาน ซึ่งแนวคิดของเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy จะให้ความสำคัญกับการนำทรัพยากรหมุนเวียน Renewable Resources มาใช้ให้ดีขึ้น และสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้นไปพร้อมด้วย โดยจะทำให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กระบวนการผลิตที่ดีขึ้น และประหยัดการใช้ทรัพยากรมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy ในประเทศเกษตรกรรม มีความเข้มแข็ง และยั่งยืนขึ้นได้ ..

ปัจจุบัน เศรษฐกิจชีวภาพระดับโลก Global Bioeconomy กลายเป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงธุรกิจ ภาคส่วนต่างๆ และภาคเศรษฐกิจที่เน้นด้านชีวภาพ Bio-Based Businesses, Sectors & Economies ..คาดหมายว่า มูลค่าตลาดที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ จะอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่จะเพิ่มขึ้น เป็นอยู่ที่ 30 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯทั่วโลกได้ภายในปี 2593 ..

เศรษฐกิจชีวภาพระดับโลก Global Bioeconomy ประกอบไปด้วย “ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ Bio-Based Products” ได้แก่ เคมีภัณฑ์ชีวภาพ Bio-Based Chemicals, ไบโอพลาสติก หรือพลาสติกชีวภาพ Bioplastics, วัสดุโมเลกุลขนาดใหญ่ Macromolecular Materials, เชื้อเพลิงแข็ง Solid Fuels, เชื้อเพลิงเหลว Liquid Fuels และเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ Gas Fuels ซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน Energy Sources ที่ผลิตขึ้นได้หลากหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ..ทั้งนี้ เศรษฐกิจชีวภาพระดับโลก Global Bioeconomy ยังหมายรวมถึง เทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies ได้แก่ ชีวเคมี Biochemicals, ชีวพันธุศาสตร์ และเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพ Biogenetics & Bio-Engineering Technologies รวมทั้ง เศรษฐกิจสังคมชีวภาพ Socio-Bioeconomies ในภาคการเกษตร เช่น เศรษฐกิจในท้องถิ่น และภูมิภาค Local & Regional Economies ที่รักษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความหลากหลายทางชีวภาพ Sustain Cultural Diversity & Biodiversity เป็นต้น ..

Biotechnologies within the Bioeconomy & Circular Economy Concepts | Credit : ResearchGate GmbH

การเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของเศรษฐกิจชีวภาพระดับโลก Global Bioeconomy Growing นั้น เกิดขึ้นเนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพ และชีววิทยาสังเคราะห์ Bio-Engineering & Synthetic Biology Technologies ซึ่งถือเป็นแรงผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจชีวภาพ Growth of the Bioeconomy ..นอกจากนั้น ข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม Environmental Concerns, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate change และข้อกังวลด้านสุขภาพ Health Concerns คืออีกแรงผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งรวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐฯ United States : US, สหภาพยุโรป European Union : EU, จีน China, อินเดีย India, บราซิล Brazil, เม็กซิโก Mexico, แอฟริกาใต้ South Africa, กลุ่มประเทศอาเซียน ASEAN และประเทศไทย Thailand ซึ่งกำลังเร่งพัฒนากลยุทธ์เศรษฐกิจชีวภาพ Developing Bioeconomy Strategies อย่างจริงจัง เพื่อปลดล็อคออกจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางให้สำเร็จได้ในที่สุดจากนี้ไป ..

เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy และการประยุกต์ใช้ Bio-Circular-Green or BCG Economy Model โอกาสของประเทศไทย ..

เป็นเวลาหลายศตวรรษนับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม Industrial Revolution ที่โลกขับเคลื่อนด้วยพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ซึ่งไม่เพียงสร้างความเฟื่องฟูด้านเศรษฐกิจ แต่ยังนำมาซึ่งมลพิษ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาล จนเกิดเป็นสภาวะโลกร้อน Global Warming และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในระดับที่จะสร้างหายนะให้คนรุ่นต่อไป ..

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy ได้กลายเป็นกระแสที่ทั่วโลกต่างพูดถึงมากที่สุด เมื่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป การร่อยหรอลงของทรัพยากร ประกอบกับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงบริบทอื่นๆ เช่น ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ตลอดจนสถานการณ์ความขาดแคลนพลังงาน และทรัพยากรที่เพียงพอต่อการสร้างพลวัตการขับเคลื่อนโลกสู่อนาคตอันยั่งยืน World towards a Sustainable Future ..

ในประเด็นของโมเดลเศรษฐกิจ BCG Economy Model ด้วยการใช้เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy นำเป็นหัวขบวนนั้น ประเทศไทยดูเสมือนจะได้เปรียบกว่าชาติใดๆ ในโลกนี้จากการเป็นหนึ่งในประเทศเกษตรกรรมชั้นนำในภูมิภาค และของโลก..พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และจุลินทรีย์ Plant Species, Animal Species & Microorganisms คือทรัพยากรชีวภาพ Biological Resources อันมีค่า และเป็นจุดแข็งของประเทศไทย ซึ่งเป็น 1 ใน 20 ประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดในโลก World’s Highest Biodiversity เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นใกล้เส้นศูนย์สูตร มีภูมิอากาศเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโต และการแพร่พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด โดยประเทศไทย มีสายพันธุ์สิ่งมีชีวิต Species of Life อยู่ที่ประมาณ 10% สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่พบบนโลกใบนี้อีกด้วย ..

ทรัพยากรชีวภาพ Biological Resources เหล่านี้คือต้นทุนพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ โดยการต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ทั้งด้านการเกษตร การแพทย์ พลังงาน อุตสาหกรรม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม..ปัจจุบัน “ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ National Biobank of Thailand : NBT” ของศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ National Center for Genetic Engineering and Biotechnology : BIOTEC ในสังกัดของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ “สวทช.” National Science and Technology Development Agency : NSTDA ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลพันธุกรรม และเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดย “ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ National Center for Genetic Engineering and Biotechnology : BIOTEC” นี้ มุ่งดำเนินการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพระยะยาว Long-Term Conservation of Biological Resources รวมทั้งสนับสนุนและผลักดันให้มีการนำองค์ความรู้ต่างๆ ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies ไปประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรมเพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมไทยในสาขาอาหารและเกษตร ยาและเวชภัณฑ์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีกิจกรรมพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีชีวภาพ Developing Biotechnology Businesses ที่มีความหลากหลาย และยืดหยุ่น เพื่อรองรับกับความต้องการของภาคเอกชนของไทย ..

เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy | Credit : NSTDA สวทช.

นอกจากนั้น การศึกษาวิจัยและพัฒนา กับกิจกรรมการปฏิบัติกระจายสู่ชุมชนทั่วประเทศของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง และกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรในประเทศนั้น คืออีกหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทย สามารถก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ เพื่อมุ่งไปสู่เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy ได้อย่างมั่นใจ ..

ประเทศไทย Thailand นับเป็นประเทศต้นๆ ของโลกที่เฟื่องฟูไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ Biodiversity Hotspot ไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณ มากกว่า 13,500 ชนิด, นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มากกว่า 1,000 ชนิด, ปลา 2,800 ชนิด, จุลินทรีย์ 150,000 ชนิด, สาหร่าย 5,000 ชนิด ตลอดจนแมลง มากกว่า 100,000 สายพันธุ์..สายพันธุ์สิ่งมีชีวิต Species of Life ประมาณ 10% ของโลก ล้วนอยู่ในประเทศไทย ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของประเทศที่เหมาะสม ดังนั้น ปัจจัยที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ต่างๆ ของไทย จึงอุดมสมบูรณ์มากกว่าพื้นที่ในประเทศอื่นๆ ทั้งในเรื่องของดิน น้ำ และแร่ธาตุต่างๆ รวมถึงปริมาณแสงแดดที่ยอดเยี่ยมสำหรับผลิตกำลังไฟฟ้า อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน หรือมากกว่า 2,100 ชั่วโมงต่อปี และมีฝนตกอย่างต่อเนื่องด้วยปริมาณน้ำฝน 800,000 ล้านลูกบาศเมตรต่อปี โดยไม่มีการพัดถล่มของพายุที่รุนแรงเหมือนเช่นประเทศตามแนวชายฝั่งทะเล ตลอดจนมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง กระจายอยู่ทั่วประเทศมาพร้อมด้วย ..

ทั้งนี้ การประยุกต์ใช้ Bio-Circular-Green or BCG Economy Model ของไทย ประกอบด้วย 3 ระบบเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ B คือ ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพ Biological Resources อย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C คือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 ระบบเศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว Green Economy ซึ่งเป็นกรอบนโยบายภาครัฐที่มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ Solving Pollution Problems เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน Reducing Impacts on the World Sustainably ผ่านงานการพัฒนาใน 8 สาขาทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ Biodiversity, การเกษตร Agriculture, อาหาFood, ยาและวัคซีน Medicines & Vaccines, เศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy, การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Tourism & Creative Economy, พลังงาน วัสดุ และเคมีภัณฑ์ชีวภาพ Energy, Materials & Biochemicals และ เครื่องมือแพทย์ Medical Devices โดยประโยชน์จากจุดเด่นด้านความหลากหลายทางทางชีวภาพ Biodiversity ของไทย ผสมผสานกับการเปิดรับองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีจากงานวิจัย และนวัตกรรม Scientific Knowledge, Technology from Research & Innovation ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG Economy Model จะสามารถนำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าที่ช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ในอาชีพ และรายได้ที่มั่นคงให้กับบุคคล ชุมชน และสังคมไทยได้อย่างยั่งยืนสำหรับอนาคตจากนี้ไป ..

Examples of Bio-Based Products Given to the Consumers Participating the Survey | Credit : ResearchGate GmbH

ยิ่งไปกว่านั้น การเพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตร และชีวมวล Increasing the Value of Agricultural Products & Biomass เพื่อนำไปสู่ความสู่ความมั่นคงทางด้านพลังงาน Energy Security รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาวัสดุ หรือเคมีภัณฑ์ชีวภาพที่มีคุณบัติเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น คือประเด็นสำคัญยิ่งยวด ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทย Thailand สามารถแสดงบทบาทนำสำหรับเศรษฐกิจชีวภาพระดับโลกในอนาคตอันใกล้ Leading Role in the Global Bioeconomy for the Foreseeable Future ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..

ความได้เปรียบของประเทศไทย ซึ่งมีต้นทุนชีวภาพสมบูรณ์พรั่งพร้อมต่อการขยับตัวสู่เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy นั้น เป็นเพียงจุดเริ่มต้น เพราะเส้นทางขับเคลื่อนเพื่อผลลัพธ์อันยั่งยืนนั้น ต้องประกอบไปด้วยนโยบายภาครัฐ วิสัยทัศน์ การพัฒนา และการทำงานที่สอดประสานกันของหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งยังต้องทลายข้อจำกัดด้านการลงทุน และเร่งอุดหนุนการวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ไปพร้อมด้วย ..

ทั้งนี้เพื่อสร้างพลวัตของอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจชีวภาพ Dynamics of Industry & the Bioeconomy นั้น กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปีของไทย จนถึงปี 2579 ชี้ว่า รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญเร่งด่วนต่อเนื่องในการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ รวมถึงการพัฒนาคนรุ่นใหม่ และการปรับรูปแบบธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด รวมทั้งกำหนดกรอบการพัฒนาบนพื้นฐานของการต่อยอดทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย และความได้เปรียบของประเทศไทย ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยีสร้างคุณค่าใหม่สู่อนาคตเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy Future ที่กำลังจะมาถึงจากนี้ไป ..

ปัจจุบัน ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปีของไทย ได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ National Economic & Social Development Plan ฉบับที่ 13 ซึ่งจะนำมาใช้ระหว่างปี 2566-2570 ซึ่งให้ความสำคัญอย่างมากกับการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ Development of Bioeconomy ผ่านการกำหนดไว้ในหลากหลายกลยุทธ์ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กลยุทธ์ที่ 1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า เพื่อให้เกิดการยกระดับกระบวนการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่ม, กลยุทธ์ที่ 2 การส่งเสริมการผลิต และการขยายตัวของตลาดสินค้าการเกษตร และผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อาทิ ผลผลิตเกษตรปลอดภัย สมุนไพรแปรรูป อาหารทางการแพทย์ อาหารทางเลือก อาหารฟังก์ชัน พลังงานชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวภาพ วัสดุและเคมีชีวภาพ โปรตีนจากพืชและแมลง และ กลยุทธ์ที่ 3 การขยายผลรูปแบบการเกษตรยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีมูลค่าเพิ่มสูงจากแบบอย่างความสำเร็จในประเทศก่อนหน้านี้ เช่น เกษตรตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG เกษตรปลอดภัย วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ ท่องเที่ยวเกษตร ประมงพื้นบ้าน การทำประมงถูกกฎหมาย และการปฏิบัติต่อแรงงานที่ถูกต้อง เป็นต้น ..

นอกจากนี้ยังมีนโยบายขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG Economy Model ให้เป็นวาระแห่งชาติเช่นกัน ซึ่งประกอบไปด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ Bio Economy กับเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy ที่มุ่งไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว Green Economy อันเป็นรูปแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม และสังคมควบคู่ไปด้วยกันอย่างยั่งยืน เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียน และพลังงานชีวภาพที่สะอาดกว่าเพื่อผลิตกำลังไฟฟ้าทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Using Cleaner Renewables & Bio-Energy to Produce Electricity Instead of Fossil Fuels ..

ผลจากการผลักดัน โมเดลเศรษฐกิจ BCG Economy Model เป็นวาระแห่งชาติ ทำให้ได้เห็นการขยับตัวของหน่วยงานภาคส่วนต่างๆ เพื่อดำเนินนโยบายขับเคลื่อน ทั้งการส่งเสริมการลงทุน และผลักดันการส่งออกสินค้าในอุตสาหกรรมชีวภาพ Bioindustry และอุตสาหกรรมสีเขียว Green Industry รวมถึงการนำเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy มาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ต่างกระโจนเข้าร่วมเส้นทางขับเคลื่อน BCG Economy และเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy กันถ้วนหน้า ..

ต้นทุนชีวภาพ Biological Cost ที่ประเมินค่าไม่ได้ หากถูกผลักดันไปอย่างถูกทิศทาง หมุดหมายปลายทางที่ภาครัฐของไทยหมายมั่น คือการเป็นศูนย์อุตสาหกรรมชีวภาพครบวงจร Comprehensive Bioindustry Hub ผนวกรวมด้วยการเป็นผู้นำด้านพลังงานชีวภาพ Bioenergy และผู้นำด้านการผลิต และการค้าอาหารโลก Global Food Production & Trade ของประเทศไทย มุ่งเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ New Economy ด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy โดยสมบูรณ์ ซึ่งจะมีการพัฒนาต่อเนื่องในทุกมิติ และเติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืนให้สำเร็จได้ในที่สุด ..

ทั้งนี้ เป็นที่แน่นอนว่า พลังงานชีวภาพ Bioenergy คือ ส่วนสำคัญของการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานคาร์บอนต่ำ Transition to a Low-Carbon Energy System และเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Source ที่มีราคาค่อนข้างถูก สามารถช่วยให้ประเทศไทย และประเทศต่างๆ ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศได้ ..

ความมุ่งมั่นของไทยในการประยุกต์ใช้ Bio-Circular-Green or BCG Economy Model จากนโยบายภาครัฐอย่างจริงจังจากนี้ไปได้รับการคาดหวังว่า พวกมันจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างมั่นคงแบบก้าวกระโดด กระจายโอกาส กระจายรายได้ และนำความมั่งคั่งไปสู่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง นำพาประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง และมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมสีเขียวที่ยั่งยืน ..

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการในภาพรวมนั้น เศรษฐกิจชีวภาพของไทย Thailand’s Bioeconomy ในกรอบของ BCG Economy Model คือแผนงานการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรชีวภาพ Biological Resources เช่น ผลผลิตการเกษตร ของเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร ป่าไม้ ประมง มูลสัตว์และมนุษย์ และขยะของเสีย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการใช้พลังงานหมุนเวียน Renewables ที่เป็นพลังงานชีวภาพ Bioenergy ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ..

เป้าหมายที่ทะเยอทะยานสำหรับเศรษฐกิจชีวภาพของไทย Thailand’s Bioeconomy Goals ซึ่งถูกระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นั้น ได้แก่ :-

การพัฒนาเกษตรกรรมให้ทันสมัย Modernize Agriculture : เพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบจากไร่นาของเกษตรกรเพื่อช่วยให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง ..

การลดความเหลื่อมล้ำ Reduce Inequality : พัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ..

การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม Decrease Environmental Impact : พัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ..

กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง Develop High Value-Added Products ในผลิตภัณฑ์ เช่น ไบโอพลาสติก Bioplastics และเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels จากพืชผล เช่น สาหร่ายทะเล Seaweed, สาหร่ายน้ำจืด Freshwater Algae, มันสำปะหลัง Cassava และอ้อย Sugarcane เป็นต้น ผนวกกับการสร้างนโยบายภาครัฐ และโครงการริเริ่มใหม่ Create Policies & Initiatives เพื่อส่งเสริมนวัตกรรม Encourage Innovation, เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน Boost Competitiveness และเพิ่มผลผลิต Increase Productivity ด้วยกลไกการเติบโตใหม่ Identify New Growth Engines ที่เป็นเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy Sector กลายเป็นความจำเป็นสำคัญเชิงนโยบายที่ขาดไม่ได้จากนี้ไป ..

ทั้งนี้ เศรษฐกิจชีวภาพของประเทศไทย Thailand’s Bioeconomy อยู่ในตำแหน่งที่ดีสำหรับความสำเร็จ Well – Positioned for Success เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ Rich Natural Resources, ภาคการเกษตรที่แข็งแกร่ง Strong Agricultural Sector และทรัพยากรชีวภาพที่หลากหลาย Diverse Biological Resources ..

มั่นใจได้ว่า ประเทศไทย Thailand มีความพร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจชีวภาพระดับโลก Significant Player in the Global Bioeconomy เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ฐานการเกษตรที่แข็งแกร่ง และรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบทางการเกษตร โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงการเกษตรให้ทันสมัย และอาจหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางโดยการสร้างรายได้เพิ่มเติมจากอุตสาหกรรมชีวภาพ Bio-Based Industries คาดว่า เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy จะมีส่วนสนับสนุน GDP ของไทยอย่างมีนัยสำคัญในปีต่อๆ ไป โดยมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels, พลาสติกชีวภาพ Bioplastics และสารเคมีชีวภาพ Biochemicals ที่สกัดจากพืชผล เป็นต้น..ความหลากหลายทางชีวภาพอันอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย Thailand’s Rich Biodiversity ซึ่งรวมถึงตำแหน่งผู้ส่งออกมันสำปะหลัง น้ำตาล และข้าวรายใหญ่ Top Exporter of Cassava, Sugar & Rice ระดับโลก คือรากฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพ Developing Bio-Based Products ให้สำเร็จได้ในที่สุดสำหรับอนาคตจากนี้ไป ..

คาดการณ์ตลาดวัสดุชีวภาพทั่วโลก Global Bio-Based Materials Market และตลาดผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy ..

เศรษฐกิจชีวภาพระดับโลก Global Bioeconomy คือกิจกรรมทางเศรษฐกิจ Economic Activity ที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies และชีวมวล Biomass เพื่อผลิตสินค้า บริการ และพลังงาน ซึ่งปัจจุบัน มีมูลค่าประมาณ 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดหมายว่า มูลค่าตลาดที่เกี่ยวข้องจะเพิ่มขึ้น เป็นอยู่ที่ 30 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2593 ..

สำหรับ เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy นั้น อาหาร และเครื่องดื่ม คือหนึ่งในประเด็นสำคัญ..ขนาดธุรกิจในตลาดอาหาร และเครื่องดื่มทั่วโลก Global Food & Beverages Market เติบโตอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยจะเติบโตจาก 6,962.47 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2567 เป็น 7,400.31 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2568 และคาดว่าจะเติบโตขึ้นเป็น 9,423.34 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2572 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 6.2% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2568-2572 ..

ทั้งนี้ ในประเด็นของตลาดวัสดุชีวภาพทั่วโลก Global Bio-Based Materials Market ที่จำแนกตามประเภท ได้แก่ ไบโอโพลีคาร์บอเนต Bi-Polycarbonate, ไบโอโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต Bio-Based Polyethylene Terephthalate : PET, ไบโอโพลีเอทิลีน Bio-Based Polyethylene : PE และที่จำแนกตามการใช้งาน เช่น บรรจุภัณฑ์แข็ง Rigid Packaging, บรรจุภัณฑ์ยืดหยุ่น Flexible Packaging, ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ Electrics And Electronics, สินค้าอุปโภคบริโภค Consumer Goods, ยานยนต์ และการขนส่ง Automotive & Transport และอื่นๆ เป็นต้น สำหรับช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2567-2574 นั้น พบว่า ความต้องการวัสดุชีวภาพ Demand for Bio-Based Materials เพิ่มขึ้นในกลุ่มตลาดต่าง ๆ เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนมากขึ้น ..แนวโน้มนี้ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมด้วยการตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และประโยชน์ของการลดขยะเคมี และผลพลอยได้ที่เป็นพิษผ่านสารเคมีภัณฑ์ชีวภาพที่ยั่งยืน Sustainable Bio – Based Chemicals โดยขนาดธุรกิจในตลาดวัสดุชีวภาพทั่วโลก Global Bio-Based Materials Market มีมูลค่ารวมมากกว่า 26.06 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 และได้รับการคาดหมายว่าจะมีมูลค่าประมาณ 141.81 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2031 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดวัสดุชีวภาพทั่วโลก Global Bio – Based Materials Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 26.02% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2567-2574 ..

Bio-Based Materials | Credit : The ODM Group

ในประเด็นเฉพาะด้านพลังงานชีวภาพ Bioenergy นั้น อ้างถึงข้อมูลการสำรวจตลาดของ Fortune Business Insights พบว่า ตลาดพลังงานชีวภาพทั่วโลก Global Bioenergy Market มีมูลค่า 344,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2562 และคาดว่าจะเติบโตถึง 978,670 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2575 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 8.34% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2563-2575 .. ตลาดพลังงานชีวภาพในสหรัฐฯ คาดว่าจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีมูลค่าประมาณ 191,910 ล้านเหรียญสหรัฐฯภายในปี 2575 ซึ่งขับเคลื่อนโดยมาตรการด้านพลังงานหมุนเวียนของรัฐบาลกลาง และของแต่ละรัฐในการผลักดันเพื่อต่อสู้กับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Combating GHG Emissions ..

ขณะที่คาดว่า ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Asia Pacific จะเป็นผู้นำตลาดในช่วงคาดการณ์ โดยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เช่น อินเดีย และจีน กำลังดำเนินการตามกฎระเบียบที่เข้มงวดเพื่อลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของตลาด ..ในญี่ปุ่น การใช้ไม้เพื่อผลิตพลังงานกำลังขยายตัว โดยพื้นที่ 2 ใน 3 ถูกปกคลุมด้วยป่าไม้ ซึ่งมีปริมาณไม้เติบโตประมาณ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ..ในปี 2561 ก่อนหน้านี้ ชีวมวลไม้เนื้อแข็ง Solid Wood Biomass ที่ใช้สำหรับทำความร้อน และผลิตกำลังไฟฟ้ามีจำนวนประมาณ 9 ล้านตัน ซึ่งมากกว่า 75% เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากเศษไม้เหลือทิ้ง ..จีน อินเดีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ผู้บริโภคพลังงานประเภทนี้รายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ..

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป ภาพรวมตลาดผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy นั้น ครอบคลุม ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ Bio-Based Products ได้แก่ ไบโอพลาสติก Bioplastics, เสื้อผ้าที่ย่อยสลายได้ Biodegradable Clothing และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงพลังงานชีวภาพ Bioenergy ได้แก่ เชื้อเพลิงชีวภาพ และก๊าซชีวภาพ Biofuels & Biogas, เกษตรกรรมยั่งยืน Sustainable Agriculture ได้แก่ การทำฟาร์มแนวตั้ง Vertical Farming, การเพาะเลี้ยงเชื้อรา Fungiculture และการเพาะเลี้ยงสาหร่าย Algaculture, การประมงอย่างยั่งยืน Sustainable Fishing ได้แก่ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ Aquaculture, ป่าไม้ที่ยั่งยืน Sustainable Forestry ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพจากการทำป่าไม้ Forest Bioeconomy, การจัดการขยะ Waste Management ได้แก่ การรีไซเคิล Recycling และ ผลิตภัณฑ์ยา Medicine ได้แก่ วิทยาศาสตร์โภชนาการ Nutritional Science และเศรษฐกิจด้านสุขภาพ Health Economy เป็นต้น ..

ความต้องการผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่เพิ่มขึ้น และการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เพิ่มขึ้น Rising Demand for these Products & Increasing Usage of Bio-Based Products คาดว่าจะส่งเสริมการเติบโตของตลาดในระยะต่อไป ตลาดเคมีสีเขียวที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว Rapidly Developing Green Chemistry Market คาดว่าจะบูรณาการเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจชีวภาพ Integrate the Circular Economy & Bioeconomy ไปทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรป ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงความยั่งยืนของทรัพยากร Improving the Sustainability of Resources ..ความต้องการสารเคมีภัณฑ์สีเขียวที่เพิ่มขึ้น Increasing Demand for Green Chemicals คาดว่าจะส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy ของภูมิภาคต่างๆ ผ่านการสร้างงานใหม่ อย่างไรก็ตาม ปัญหาห่วงโซ่อุปทานควบคู่ไปกับความผันผวนของราคาของวัตถุดิบคาดว่าจะท้าทายการเติบโตของตลาดจากนี้ไปพร้อมด้วย ..

สรุปส่งท้าย ..

เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy หรือ Bi-Based Economy or Biotechonomy นั้น หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่นำความรู้ และนวัตกรรม โดยเฉพาะด้านชีววิทยา Biology หรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพ Biological Sciences อื่นๆ มาช่วยพัฒนาการผลิตสินค้า Production Development และบริการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรชีวภาพ Biological Resources ให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ..

ในระบบเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy นั้น มีรากฐานสำคัญมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์วัสดุชีวภาพ Bio-Based Materials & Products ที่ผลิตขึ้นจากทรัพยากรชีวภาพหมุนเวียน Renewable Biological Resources เช่น พืช Plants, สัตว์ Animals และจุลินทรีย์ Microorganisms ส่วนประกอบต่างๆ ผลิตจากวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น สาหร่าย ข้าวโพด และอ้อย รวมถึงพอลิเมอร์อินทรีย์ที่สลายตัวได้หมดในสิ่งแวดล้อม ..

ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ Bio-Based Products จะถูกนำมาใช้ทดแทนพลาสติกปิโตรเคมี และสารอื่น ๆ ที่ได้มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ..วัสดุชีวภาพ Bio-Based Materials ซึ่งผลิตจากวัตถุดิบคาร์บอนจากชีวภาพ Biogenic Carbon Feedstock ไม่จำเป็นต้องมีการขุดทำเหมือง หรือปล่อยคาร์บอนจากฟอสซิล ซึ่งวัสดุชีวภาพ Bio-Based Materials เหล่านี้ ได้แก่ ไบโอพลาสติก Bioplastics, เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels, เคมีภัณฑ์จากชีวภาพ Bio-Based Chemicals, เส้นใยธรรมชาติ Natural Fibers เช่น ฝ้าย Cotton และป่าน Hemp, วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ Biodegradable Packaging Materials และวัสดุชีวภาพสำหรับการใช้ทางการแพทย์ Biomaterials for Medicinal Applications ..มีหลายสาเหตุที่ทำให้ภาคส่วนวัสดุชีวภาพขยายตัวอย่างรวดเร็ว Rapid Expansion of the Bio-Based Materials Sector ..

ความท้าทายด้านความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการหมดสิ้นลงของทรัพยากร คือแรงผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรม และผู้บริโภคเลือกใช้วัสดุหมุนเวียนแทนทางเลือกดั้งเดิมจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ..กฎหมาย และนโยบายภาครัฐของรัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกใช้แรงจูงใจ และข้อกำหนดเพื่อสนับสนุนการใช้วัสดุชีวภาพ Bio-Based Materials ทดแทนผลิตภัณฑ์จากฟอสซิล Fossil-Based Products ..การพัฒนาด้านเทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุน ส่งผลให้วัสดุชีวภาพ Bio-Based Materials ที่มีจำหน่ายนั้น มีขอบเขตการใช้งานที่กว้างขวางมากขึ้น ..ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก็เป็นอีกหนึ่งในแรงผลักดันที่สำคัญเช่นกัน โดยส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ นำวัสดุชีวภาพ Bio-Based Materials เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความคาดหวังของตลาด ..

อย่างไรก็ตาม การเติบโตของวัสดุชีวภาพ Bio – Based Materials ถูกขัดขวางด้วยปัจจัยหลายประการ รวมถึงความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนเมื่อเทียบกับวัสดุที่ได้จากเชื้อเพลิงฟอสซิล Cost Competitiveness against Fossil Fuel – Derived Materials, ข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพในการใช้งานเฉพาะ Performance Limitations in Specific Applications, ความท้าทายด้านโครงสร้างพื้นฐาน และห่วงโซ่อุปทาน Infrastructure & Supply Chain Challenges, ความตระหนักรู้ในตลาดที่ต่ำ Low Market Awareness, ปัญหาความพร้อมของวัตถุดิบ Feedstock Availability Issues และอุปสรรคด้านเทคโนโลยีที่ยังคงมีอยู่ Ongoing Technological Barriers ..

สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐบาลไทย Thai Government ส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพอย่างแข็งขันในฐานะเสาหลักสำคัญของแผนพัฒนาประเทศ Thailand 4.0 โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบทางการเกษตร และสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ๆ โดยเน้นอุตสาหกรรม S-Curve Industry ซึ่งเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels และเคมีภัณฑ์ชีวภาพ Biochemicals ถือเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างรวดเร็ว และก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจ ..

การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า Value Chain Development คือกลยุทธ์เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy Strategy มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดให้เกิดขึ้นในประเทศ ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ Raw Material Production ไปจนถึงการแปรรูป และการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง Processing & Manufacturing of High-Value Bio-Based Products ..ขณะที่เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy ยังถือเป็นหนทางหนึ่งในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน Utilizing Renewable Resources และส่งเสริมแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน Promoting Sustainable Practices ..

พื้นที่ที่มีศักยภาพในการเติบโตในเศรษฐกิจชีวภาพของไทย Potential Areas of Growth in the Thai Bioeconomy ได้แก่ :-

ไบโอพลาสติก Bioplastics : การผลิตไบโอพลาสติก Production of Bioplastics คือ ทางเลือกที่ยั่งยืนแทนพลาสติกปิโตรเคมีแบบดั้งเดิม และปัจจุบัน ประเทศไทย คือชาติที่มีมูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกชีวภาพ Bioplastic Pellets เป็นอันดับที่ 2 ของโลก รองจากอินเดีย India โดยมีตลาดส่งออกหลักอยู่ในยุโรป Europe ..

เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels : การพัฒนาไบโอเอธานอล ไบโอเมทานอล และไบโอดีเซล Development of Bioethanol, Biomethanol & Biodiesel จากพืชในปัจจุบัน และสาหร่ายทั้งในน้ำจืด และชายฝั่งทะเลในอนาคต กำลังกลายเป็นแนวโน้มที่มีศักยภาพสำหรับการส่งออกพลังงานของไทยในอนาคตอันใกล้ โดยคาดหมายว่า การเพาะเลี้ยงสาหร่ายน้ำจืด 1 ไร่ สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ที่ให้พลังงานได้มากกว่าการปลูกอ้อย 1 ไร่ อยู่ที่มากถึง 700 เท่า ..

เคมีภัณฑ์ชีวภาพ Bio-Based Chemicals : การผลิตสารเคมีที่ได้จากชีวมวล Production of Chemicals Derived from Biomass เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย กำลังเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ..

เภสัชเวชภัณฑ์ชีวภาพ Bio-Based Pharmaceuticals : การวิจัย และพัฒนาเภสัชเวชภัณฑ์โดยใช้สารประกอบธรรมชาติจากพืชของไทย กำลังรุดหน้าไปพร้อมด้วย ..

สิ่งทอชีวภาพ Bio-Based Textiles : การใช้เส้นใยจากภาคการเกษตรเพื่อผลิตวัสดุเครื่องแต่งกายที่ยั่งยืน Utilizing Agricultural Fibers to Produce Sustainable Clothing Materials คือสาขาวิทยาการที่ชุมชนชาวไทยมีความเชี่ยวชาญมาแต่โบราณกาลแล้ว และยังคงเติบโตได้ต่อเนื่องต่อไป ..

Thailand’s Bio-Plastics Industry | Credit : BOI

ปัจจุบัน นานาประเทศกำลังเตรียมแผนงานยกเลิกการพึ่งพาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในระบบเศรษฐกิจของพวกเขาด้วยความมุ่งมั่น .. ตัวอย่างการแปลงเพียงขยะอินทรีย์ และขยะพลาสติก ให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies ในระบบเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy นั้น มีศักยภาพที่จะทำให้เกิดงานใหม่ได้ มากกว่า 39,000 ตำแหน่ง และผลผลิตทางเศรษฐกิจทั่วโลกแตะระดับ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี .. วิธีการใหม่นี้ อาจมีต้นทุนถูกกว่าวิธีการรีไซเคิล ซึ่งปัจจุบัน ขยะพลาสติกเพียง 5% เท่านั้นที่รีไซเคิลได้ รวมทั้งการรีไซเคิลถุงพลาสติก และขยะพลาสติก 1 ตันมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 4,000 เหรียญสหรัฐฯ และสุดท้ายการจัดการขยะพลาสติก ขยะอินทรีย์ ของเหลือทิ้งในภาคการเกษตร ครัวเรือน ของเสีย และน้ำเสีย มักจะนำไปสู่การเผาโดยตรง หรือจบงานในหลุมฝังกลบเพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับการจัดการขยะเหล่านี้ ซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการนำพวกมันไปเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel หรือ Synthetic Fuel & Gas ถือเป็นแนวปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม และสะอาดกว่า ..

Biogas: Converting Waste to Energy / Biomethane from Anaerobic Digestion Process | Credit : EESI

ซึ่งนั่นหมายถึง เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy คือข้อไขเพื่อไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และคุณภาพชีวิตที่เหนือชั้นกว่าสำหรับอนาคตของมนุษยชาติที่ยอดเยี่ยม ..

ประเทศไทย Thailand ซึ่งถือเป็นประเทศเกษตรกรรมชั้นนำของโลก นอกจากเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy ของไทย จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies ในภาคการเกษตรเพื่อผลิตอาหาร ปรับปรุงดิน น้ำ และด้านสุขภาพเพื่อผลิตยา และเวชภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงไบโอพลาสติก Bioplastics, เคมีภัณฑ์ชีวภาพ Bio-Based Chemicals และสิ่งทอชีวภาพ Bio-Based Textiles แล้ว เทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnology สำหรับภาคพลังงาน Energy Sector ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ในประเทศ ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ Biological Products ในระบบเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy ที่โดดเด่นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งด้วยเช่นกัน ..

วัตถุดิบในประเทศไทยที่เป็นสารชีวมวล Biomass จำนวนมากมายหลากหลายรูปแบบ มีผลผลิตการเกษตรคุณภาพ และมีแหล่งเชื้อเพลิงที่เป็นสารอินทรีย์ปริมาณมาก มีพื้นที่การทำเกษตรไม้โตเร็วเพื่อเป็นเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และชายฝั่งทะเลที่เหมาะสมแก่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายอยู่ทั่วประเทศ มีอุจจาระจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ขยะเปียก ขยะแห้ง รวมทั้งขยะพลาสติกจำนวนมากมาย สามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels และ/หรือ เชื้อเพลิงสังเคราะห์ Syngas สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล หรือนำไปผลิตกำลังไฟฟ้าโดยตรงจากแหล่งพลังงานชีวมวลใช้เองในชุมชน ท้องถิ่น หรือส่งกำลังไฟฟ้าส่วนเกินเข้าโครงข่ายระบบสายส่งเพื่อขาย และ/หรือ จ่ายเข้าระบบ Virtual Power Plants : VPPs ที่ชาญฉลาดกว่าในอนาคตได้ ..รวมทั้ง ไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่มีนโยบายภาครัฐที่มุ่งไปสู่เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy และสนับสนุนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies อย่างชัดเจน เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่วัตถุดิบจากภาคการเกษตร ..

ทั้งนี้ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnology ในภาคพลังงาน หรือ White Biotechnology ที่เป็น Bioenergy บนระบบเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy System นั้น เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ถือเป็นเชื้อเพลิงพลังงานทางเลือก Alternative Renewable Energy ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีศักยภาพทางการผลิตวัตถุดิบสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพสูงมาก อีกทั้งการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ และก๊าซชีวภาพ Biofuels & Biogas ในประเทศไทย ยังส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงานในชุมชน ท้องถิ่น ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตทางการเกษตรของไทย รวมไปถึงประโยชน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เช่น ก๊าซมีเทน Methane : CH4 ด้วยแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality ..

ความมุ่งมั่นของไทยในการประยุกต์ใช้ Bio – Circular-Green or BCG Economy Model จากนโยบายภาครัฐอย่างจริงจังจากนี้ไป ได้รับการคาดหวังว่า พวกมันจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพของไทย Thailand’s Bioeconomy ให้เติบโตได้อย่างมั่นคงแบบก้าวกระโดด กระจายโอกาส กระจายรายได้ และนำความมั่งคั่งไปสู่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง นำพาประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง และมีการพัฒนาทางสังคม และเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียว Circular and Green Social & Economy ที่ยั่งยืนได้เป็นอย่างดีจากนี้ไป ..

ดังนั้น นโยบายภาครัฐสำหรับเศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy ในการส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies ภายในประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ และเอกชนที่มีศักยภาพ หรือกระจายสู่ชุมชนด้วยราคาผลิตภัณฑ์ที่แพงเกินไปนั้นไม่ได้ หรือการผลิตเพื่อการส่งออก เช่น อาหาร Food, พลาสติกชีวภาพ Bioplastics, เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels, ก๊าซชีวภาพ Biogas, เคมีภัณฑ์ชีวภาพ Bio-Based Chemicals และเวชภัณฑ์ชีวภาพ Bio-Based Pharmaceuticals เป็นต้นนั้น คือประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ..

ทั้งนี้ การให้สิทธิพิเศษทางภาษีจากคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน BOI, การสนับสนุนการวิจัย และพัฒนา รวมไปถึงการให้ความรู้แก่ประชาชน กลายเป็นเรื่องจำเป็นสำคัญที่ขาดไม่ได้ในระดับยุทธศาสตร์ชาติด้วยเช่นกัน เพื่อให้มั่นใจว่า ประเทศไทยจะสามารถบรรลุเป้าหมายไปสู่ “เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy” รวมถึงการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ราคาถูกภายในประเทศ และใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels เหล่านี้ เป็นหลักทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่ต้องนำเข้า และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแบบยั่งยืนอย่างมั่นคงด้วย Sustainable Bio-Circular-Green or BCG Economy ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..

………………………………..

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Bioeconomy | Wikipedia :-

https://en.wikipedia.org/wiki/Bioeconomy#:~:text=The%20bioeconomy%20comprises%20those%20parts,%2C%20products%2C%20textiles%20and%20energy

The Global Bioeconomy | Nature Finance :-

A Status of the Global Bioeconomy | World BioEconomy Forum :-

Bioenergy Basics | US DoE :-

https://www.energy.gov/eere/bioenergy/bioenergy-basics

BIOTEC ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ | สวทช. NSTDA :-

National Biobank of Thailand ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ | NSTDA :-

https://www.nationalbiobank.in.th

Bioeconomy เศรษฐกิจชีวภาพ | NSTDA :-

เศรษฐกิจชีวภาพ BIOECONOMY – BCG :-

Biotechnology:  Microbial Technologies to Produce Bioenergy & Biofuels from Agricultural & Forestry Wastes for Sustainable Energy :-

https://photos.app.goo.gl/LQsLpS9U6R8Pad2b7

Biofuel : Any Fuel that is Derived from Biomass :-

https://photos.app.goo.gl/onJDCjpGxgbpcVGb6

Bioplastics | Biodegradable & Compostable Plastic :-

https://photos.app.goo.gl/9zM2SG4vkEAPsrae6

Biomass Energy :-

https://photos.app.goo.gl/nbevEx1cE59Jzf2X8

Bioeconomy : The Challenges of a Key Model for Sustainable Development :-

https://photos.app.goo.gl/suAwXRjf67snub1y9

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img