Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS
“…..รัฐบาลไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี และจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อเร่งดำเนินการตามแผนงานริเริ่มการดักจับคาร์บอนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และรวมถึงในภาคส่วนพลังงานชีวภาพพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน…..”
พลังงานชีวภาพพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS คือ กระบวนการสกัดพลังงานชีวภาพจากชีวมวล Extracting Bioenergy from Biomass และดักจับ รวมทั้งจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide: CO2 ที่ผลิตขึ้นไปพร้อมด้วย ..

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากพลังงานชีวภาพอาจต่ำ Greenhouse Gas Emissions from Bioenergy can be Low เนื่องจากเมื่อเก็บเกี่ยวพืชผลเพื่อผลิตพลังงานชีวภาพ Vegetation is Harvested for Bioenergy นั้น พืชผลใหม่ New Vegetation จะเจริญเติบโตขึ้น และดูดซับ CO2 จากอากาศผ่านการสังเคราะห์แสง Photosynthesis .. หลังจากเก็บเกี่ยวชีวมวล After the Biomass is Harvested แล้ว พลังงานชีวภาพ Bioenergy จะถูกสกัดออกมาในรูปแบบที่มีประโยชน์ เช่น กำลังไฟฟ้า Electricity, ความร้อน Heat และเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels เป็นต้น โดยชีวมวล Biomass จะถูกใช้ผ่านการเผาไหม้ Combustion, การหมัก Fermentation, กระบวนการไพโรไลซิส Pyrolysis Process หรือวิธีการแปลงรูปแบบอื่น ๆ Other Conversion Methods ..
การใช้พลังงานชีวภาพ Using Bioenergy จะปลดปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide: CO2 ออกมา ซึ่งพวกมัน คือ คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide: CO2 ที่พืชผลได้ดูดซับไว้จากบรรยากาศเพียงในช่วงการเจริญเติบโตเท่านั้น ต่างจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล Burning Fossil Fuels ที่ปล่อยคาย CO2 ซึ่งเปลือกโลกได้จัดเก็บไว้เมื่อหลายสิบล้านปีก่อนหน้านี้ และทำให้สัดส่วนของ CO2 ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น .. ทั้งนี้ ในกระบวนการของ BECCS เหล่านี้นั้น CO2 บางส่วนจะถูกดักจับก่อนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ และถูกจัดเก็บไว้ใต้ดินโดยใช้เทคโนโลยีดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Carbon Capture & Storage: CCS Technology .. ในบางเงื่อนไข BECCS สามารถกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศมาพร้อมด้วยได้อีกด้วย ..
คาดว่า ศักยภาพ และแนวโน้มระดับการปล่อยมลพิษเชิงลบ Potential Range of Negative Emissions จาก กระบวน BECCS ทั่วโลก จะอยู่ที่ 0 – 22 กิกะตันต่อปี Gigatons per Year .. ในปี 2567 มีโครงการพลังงานชีวภาพพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS Projects ขนาดใหญ่จำนวน 3 โครงการที่ดำเนินการอยู่ทั่วโลก .. การใช้งาน BECCS ในวงกว้างถูกจำกัดด้วยต้นทุน และความพร้อมใช้งานของชีวมวล Cost & Availability of Biomass เนื่องจากการผลิตชีวมวล Biomass Production ต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก การใช้งาน BECCS จึงอาจก่อให้เกิดความกังวลอย่างมากต่อการผลิตอาหาร Food Production, สิทธิมนุษยชน Human Rights และความหลากหลายทางชีวภาพ Biodiversity
อย่างไรก็ตาม พลังงานชีวภาพพร้อมการดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS เกี่ยวข้องกับเส้นทางพลังงานใด ๆ ก็ตามที่การดักจับ และจัดเก็บ CO2 จากแหล่งชีวภาพ Biogenic Sources และเก็บไว้เป็นการถาวร .. ปัจจุบันสามารถจับ CO2 จากแหล่งชีวภาพได้เพียงประมาณ 2 ล้านตันต่อปีเท่านั้น โดยส่วนใหญ่อยู่ในการใช้งานไบโอเอธานอล Bioethanol: C2H5OH Applications และการผลิตกำลังไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล Electricity Generation from Biomass Power Plants ..
จากโครงการต่าง ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้น เพื่อประยุกต์นำไปใช้งาน .. การดักจับ และจัดเก็บ CO2 จากแหล่งชีวภาพ Biogenic Sources อาจสูงถึง 60 ล้านตันต่อปี Mt CO2/Yr ได้ ภายในปี 2573 ซึ่งยังห่างไกลจากการดักจับ และจัดเก็บ CO2 จากแหล่งชีวภาพ Biogenic Sources ประมาณ 185 ล้านตันต่อปี Mt CO2/Yr ภายในปี 2573 ในสถานการณ์การปล่อยก๊าซเป็นศูนย์สุทธิ ภายในปี 2593 หรือ Net Zero Emissions by 2050: NZE Scenario .. ซึ่งนั่นหมายถึง ยังคงเป็นจำเป็นที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องมีการสนับสนุนการกำหนดเป้าหมายภาครัฐของแต่ละประเทศสำหรับการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Removal: CDR และโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยกระบวนการของ Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS เพื่อเปลี่ยนโมเมนตัมล่าสุด ให้เป็นความสามารถในการดำเนินการให้บรรลุความสำเร็จได้ในที่สุด ..

เนื่องจากพลังงานชีวภาพ Bioenergy สามารถให้ความร้อนอุณหภูมิสูง และเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้งานได้ดีกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน ICEs ที่มีอยู่ .. ดังนั้น พลังงานชีวภาพพร้อมการดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS จึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการลดคาร์บอนในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมหนัก Heavy Industry, การบิน Aviation และการขนส่งทางถนนด้วยรถบรรทุก Trucking สำหรับงานหนัก ในสถานการณ์การปล่อยก๊าซเป็นศูนย์สุทธิ ภายในปี 2593 หรือ Net Zero Emissions by 2050 Scenario ..
แม้ว่าแผนการปรับใช้พลังงานชีวภาพพร้อมการดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS จะน่าพอใจ แต่แผนงานดังกล่าวยังไม่เพียงพอในทุกภาคส่วนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero Scenario .. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น Development of the Necessary Infrastructure ในการขนส่ง และจัดเก็บ CO2 ที่ดักจับได้ ยังคงล้าหลังกว่าสิ่งที่จำเป็นในสถานการณ์นี้ แม้จะมีการสนับสนุนเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ..
BECCS มีความสามารถในการทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นลบสุทธิ Net Negative Emissions of Carbon Dioxide: CO2 ..
พลังงานชีวภาพ Bioenergy ได้มาจากชีวมวล Biomass ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Source และทำหน้าที่เป็นแหล่งจัดเก็บคาร์บอน หรืออ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks ในระหว่างการเจริญเติบโต .. ในระหว่างกระบวนการทางอุตสาหกรรม Industrial Processes นั้น ชีวมวล Biomass ที่ถูกเผาไหม้ หรือผ่านกระบวนการ จะปล่อย CO2 กลับสู่ชั้นบรรยากาศ .. เทคโนโลยีการดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Carbon Capture & Storage: CCS Technology ทำหน้าที่สกัดกั้นการปล่อย CO2 สู่ชั้นบรรยากาศ และเปลี่ยนเส้นทางไปยังสถานที่กักเก็บทางธรณีวิทยา หรือจัดเก็บไว้ในคอนกรีต ดังนั้น กระบวนการดังกล่าว จึงส่งผลให้ปล่อย CO2 เป็นศูนย์สุทธิ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ อาจมีผลในเชิงบวก หรือเชิงลบขึ้นอยู่กับการปล่อยคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต Biomass Growth, การขนส่ง Transport และการแปรรูปของชีวมวล Processing of Biomass .. การพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า CO2 ที่มีแหล่งกำเนิดจากชีวมวลไม่ได้ถูกปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ชีวมวล Biomass Fuelled Power Plants เท่านั้น แต่ยังรวมถึงในระหว่างการผลิตเยื่อกระดาษที่ใช้ทำกระดาษ และในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Production of Biofuels เช่น ไบโอแก๊ส Biogas และไบโอเอธานอล Bioethanol .. ในการนี้ เทคโนโลยี BECCS Technology ยังสามารถใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรม เช่น การผลิตซีเมนต์ และอุตสาหกรรมหนักอื่น ๆ เป็นต้นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ..
เทคโนโลยีพลังงานชีวภาพพร้อมการดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS Technology สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เก็บไว้ในชั้นหินในลักษณะกึ่งถาวร ในขณะที่พืชพันธุ์ ต้นไม้ จะกักเก็บคาร์บอนไว้เฉพาะในช่วงอายุของมันเท่านั้น .. ในปี 2548 มีการประเมินว่าคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 มากกว่า 99 % ที่กักเก็บไว้ทางธรณีวิทยาน่าจะคงอยู่ในที่นั้นได้นานกว่า 1,000 ปี ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC ประเมินว่า BECCS Technology จะให้ “ความถาวรที่ดีกว่า Better Permanence” โดยการกักเก็บ CO2 ไว้ในชั้นหินใต้ดิน เมื่อเทียบกับแหล่งกักเก็บคาร์บอนประเภทอื่น .. อ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks เช่น มหาสมุทร Ocean, ต้นไม้ Trees และดิน Soil มีความเสี่ยงที่จะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่พึงประสงค์เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ..
กระบวนการทางอุตสาหกรรม Industrial Processes ปล่อยคาย CO2 ออกมาในปริมาณมากเกินกว่าที่แหล่งกักเก็บทั่วไป เช่น ต้นไม้ และดิน Trees & Soil จะดูดซับเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยมลพิษต่ำ Low Emission Targets ให้สำเร็จได้ .. นอกจากการปล่อยมลพิษที่สะสมอยู่ในปัจจุบันแล้ว ยังมีการปล่อยมลพิษเพิ่มเติมอีกมากในศตวรรษนี้ แม้แต่ในสถานการณ์การปล่อยมลพิษต่ำที่ทะเยอทะยานที่สุด ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยีพลังงานชีวภาพพร้อมการดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS Technology จึงได้รับการเสนอแนะให้เป็นเทคโนโลยีที่จะย้อนกลับแนวโน้มการปล่อยก๊าซ และสร้างระบบการปล่อยก๊าซเชิงลบสุทธิทั่วโลก Global System of Net Negative Emissions ซึ่งนั่นหมายความว่า การปล่อยก๊าซมลพิษ Gas Emissions จะไม่เพียงแต่เป็นศูนย์เท่านั้น แต่ยังเป็นลบด้วย ดังนั้นไม่เพียงแต่ลดการปล่อยก๊าซเท่านั้น แต่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สมบูรณ์ Absolute Amount of CO2 ในชั้นบรรยากาศก็จะลดลงตามมาด้วยนั่นเอง ..

อย่างไรก็ตาม มีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่า การกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide: CO2 ออกไปจากชั้นบรรยากาศ Removing Carbon Dioxide: CO2 from the Atmosphere กลายเป็นความจำเป็นยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ด้วยเช่นกัน เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อน ซึ่งอุณหภูมิสูงเกินจุดเล็งที่ค่าแตกต่างกันประมาณ 1.5 – 2 oC และสถานการณ์ด้านสภาพอากาศ ชี้ให้เห็นว่า แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะบรรลุเป้าหมายที่กำหนดตามข้อตกลงปารีส Paris Agreement โดยไม่ใช้ประโยชน์จากข้อไขการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Removal: CDR ..
ด้วยเหตุนี้ เป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net – Zero Emissions Targets ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการปล่อยมลพิษเป็นลบสุทธิ Negative Emissions Technologies: NETs มาพร้อมด้วย จึงได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นจากนักวิจัย รัฐบาล นักลงทุน ผู้ประกอบการ และองค์กรต่าง ๆ ที่มีเป้าหมายที่มุ่งมั่นทะเยอทะยานด้านสภาพอากาศ ..
โดยมาตรฐานทั่วไป การกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Removal: CDR หรือที่เรียกว่า การกำจัดคาร์บอน Carbon Removal, การกำจัดก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas Removal: GGR หรือ การปล่อยก๊าซมลพิษเป็นลบสุทธิ Net Negative Emissions นั้น คือ กระบวนการที่จะทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide: CO2 ถูกกำจัดออกไปจากชั้นบรรยากาศด้วยกิจกรรมของมนุษย์โดยเจตนา และจัดเก็บไว้อย่างถาวรในทางธรณีวิทยา ใต้ชั้นหิน บนบก หรืออ่างเก็บน้ำ ในมหาสมุทร หรือในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ..
ในบริบทของเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ Greenhouse Gas Emissions Targets นั้น Carbon Dioxide Removal: CDR หรือการปล่อยมลพิษเป็นลบสุทธิ Net Negative Emissions ถูกรวมเข้ากับนโยบายสภาพอากาศภาครัฐมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change Mitigation Strategies .. การบรรลุการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emissions นั้น ต้องการทั้งการลดการปล่อยมลพิษ และการใช้ Negative Emissions Technologies: NETs ไปพร้อมด้วย .. การกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Removal: CDR สามารถถ่วงดุลการปล่อยมลพิษที่กำจัดได้ยากในทางเทคนิคเฉพาะบางกรณี เช่น การปล่อยมลพิษในภาคการเกษตร และอุตสาหกรรม Agricultural & Industrial Emissions เป็นต้นนั้น เชื่อมั่นได้ว่า พลังงานชีวภาพพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS คือ คำตอบ ..
วิธีการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Removal: CDR รวมถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้, การปลูกป่า, การปฏิบัติทางการเกษตรที่กักเก็บคาร์บอนในดิน Agricultural Practices that Sequester Carbon in Soils หรือ Carbon Farming, การฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ Wetland Restoration และแนวทางสู่คาร์บอนสีน้ำเงิน Blue Carbon Approaches เช่น หญ้าทะเล Sea Grasses, ป่าชายเลน Mangroves และหนองน้ำเค็ม Salt Marshes ตามชายฝั่ง ..
พวกมัน “ดักจับ Capture & Hold” คาร์บอน Carbon ซึ่งทำหน้าที่เป็นสิ่งที่เรียกว่า “อ่างกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks” รวมทั้ง พลังงานชีวภาพที่มีการดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS, การขุนบำรุงเลี้ยงมหาสมุทร Ocean Fertilization, การเพิ่มความเป็นด่างของมหาสมุทร Ocean Alkalinity Enhancement และการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศโดยตรง Direct Air Capture: DAC และผนวกรวมระบบการจัดเก็บ CO2 Storage ไว้พร้อมด้วย เพื่อประเมินว่า กระบวนการปล่อยมลพิษเป็นลบสุทธิ Net Negative Emissions นั้น จะสามารถดำเนินการได้สำเร็จหรือไม่ รวมทั้งต้องทำการวิเคราะห์วงจรชีวิตที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการ Comprehensive Life Cycle Analysis of the Process อีกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้การต่อสู้กับวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis โดยมุ่งมั่นจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่จุดเล็ง 1.5 oC ภายในทศวรรษหน้านั้น เป็นไปได้จากนี้ไป ..
พลังงานชีวภาพ พร้อมการดักจับ และจัดเก็บคาร์บอนในประเทศไทย Bioenergy with Carbon Capture & Storage in Thailand ..
“พลังงานชีวภาพ พร้อมการดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage” ในประเทศไทย หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงาน Technology Where Biomass is Used to Generate Energy โดยดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ที่ปล่อยออกมา และกักเก็บไว้ใต้ดิน หรือนำคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ที่ดักจับ และจัดเก็บไว้ได้ไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีกหลากหลาย ซึ่งจะก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนเป็นลบสุทธิ Net – Negative Carbon Emissions .. ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังกล่าว มีศักยภาพอย่างมากสำหรับประเทศไทย เนื่องจากไทยมีแหล่งชีวมวลที่อุดมสมบูรณ์ Abundant Bioenergy Resources และมีการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดักจับ และจัดเก็บคาร์บอนมากขึ้น ..
บริษัท ปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. PTT Exploration & Production Public Company Limited: PTTEP คือ ผู้นำในการนำเทคโนโลยีดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน CCS Technologies มาใช้ในประเทศไทย รวมถึงเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพ พร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS โดย “โครงการนำร่องอาทิตย์ Arthit CCS Project” ซึ่งเป็นนวัตกรรมสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emissions ของบริษัท ปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม PTTEP ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินงานได้ ภายในปี 2569 นั้น ถือเป็นโครงการดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน CCS Project โครงการแรกในประเทศไทย ..

ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS ในประเทศไทยนั้น มุ่งไปที่ศักยภาพในการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้แหล่งพลังงานชีวภาพ Bioenergy Sources .. การดักจับ CO2 จากการผลิตพลังงานชีวภาพ ทำให้ BECCS สามารถกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ออกจากชั้นบรรยากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิในภาพรวม สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทยในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality ภายในปี 2593 ..
ทั้งนี้ รัฐบาลไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยี Carbon Capture & Storage: CCS Technologies และจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อเร่งดำเนินการตามแผนงานริเริ่มการดักจับคาร์บอนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และรวมถึงในภาคส่วนพลังงานชีวภาพพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS ..
ประเทศไทย Thailand มีแหล่งพลังงานชีวภาพ Bioenergy Sources ที่เป็นวัตถุดิบชีวมวลที่มีศักยภาพหลากหลาย Potential Biomass Feedstocks สำหรับการผลิตพลังงานชีวภาพ Bioenergy Production เช่น เศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร Agricultural Residues, ของเสียจากน้ำมันปาล์ม Palm Oil Waste และของเสียจากไม้ Wood Waste ซึ่งสามารถนำไปใช้ในระบบพลังงานชีวภาพ พร้อมดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS System ได้เป็นอย่างดี ..
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความท้าทาย และข้อควรพิจารณาในอีกหลายประเด็นที่จะต้องดำเนินการ ได้แก่ :-
– การพัฒนาเทคโนโลยี Technology Development : การขยายขนาดเทคโนโลยี BECCS ไปสู่ระดับที่ทำกำไรได้ในเชิงพาณิชย์นั้น ยังคงเป็นความท้าทาย ซึ่งต้องมีการวิจัย และพัฒนาเพิ่มเติม ..
– ความคุ้มทุน Cost Effectiveness : ต้นทุนสำหรับการลงทุนเริ่มต้นที่สูงของสิ่งอำนวยความสะดวก BECCS คือ ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ ..
– โครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดเก็บ Storage Infrastructure : การระบุ และรักษาสถานที่จัดเก็บใต้ดินที่เหมาะสมสำหรับการดักจับ CO2 ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการนำระบบพลังงานชีวภาพ พร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS System มาใช้ได้อย่างประสบความสำเร็จ ..

ปัจจุบัน ผู้เล่นหลักในการพัฒนา BECCS ในประเทศไทย ได้แก่ บริษัท ปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTT Exploration & Production Public Company Limited: PTTEP ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานชั้นนำในประเทศไทยที่ดำเนินการสำรวจ และพัฒนาเทคโนโลยี Carbon Capture & Storage: CCS Technology อย่างจริงจัง รวมถึงการพัฒนาพลังงานชีวภาพด้วย BECCS Technology โดยจะต้องแสดงความเป็นผู้นำด้วยการใช้โครงการนำร่อง Arthit CCS Project เป็นตัวอย่างกรณีศึกษาที่สำคัญ ซึ่ง ปตท.สผ.เริ่มแผนงานในโครงการ Arthit Upstream CCS Project แล้ว ตั้งแต่เมื่อกลางปี 2567 เป็นต้นมา เพื่อนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 จากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel Power Plants และโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล Biomass Energy Power Plants ในประเทศ อย่างน้อย 1 ล้านตัน อัดเก็บลงหลุมในแหล่งอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติเดิมที่หมดลงแล้วในพื้นที่ทะเลอ่าวไทย วงเงินกว่า 20,000 ล้านบาท เดินหน้าสู่ความยั่งยืนให้เร็วที่สุด และเพื่อให้การขยายขนาดของ BECCS ในประเทศเติบโตขึ้นได้อย่างยั่งยืนสำหรับอนาคตจากนี้ไป ผนวกกับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ National Committee on Climate Change Policy ในการเร่งส่งเสริมการนำ BECCS มาใช้อย่างกว้างขวางไปพร้อมด้วยนั้น กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อให้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิของไทย สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2593 ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
คาดการณ์ตลาดพลังงานชีวภาพพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอนทั่วโลก Global Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS Market ..
ตลาดพลังงานชีวมวลภาพพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอนทั่วโลก Global Market for Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS คาดว่าจะเติบโตในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า .. BECCS คือ วิธีที่มีแนวโน้มดีเยี่ยมในการลดการปล่อยคาร์บอน Reduce Carbon Emissions และบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Achieve Net – Zero Carbon Emissions ..
อ้างถึงข้อมูลการสำรวจตลาดของ Grand View Research พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดพลังงานชีวภาพพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอนทั่วโลก Global Market for Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS มีมูลค่า 210.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 และคาดว่าจะขยายตัวด้วยอัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate: CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดพลังงานชีวภาพพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอนทั่วโลก Global Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 19.84 % ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2767 – 2573 ..
แรงผลักดันหลักสำหรับการเติบโตของตลาดพลังงานชีวภาพพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS คือ การผลักดันระดับโลกเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ รัฐบาลของหลายประเทศ และองค์กรต่าง ๆ มุ่งมั่นมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนที่เข้มงวด Stringent Carbon Reduction Targets และเทคโนโลยีพลังงานชีวมวลพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS Technology ได้นำเสนอข้อไขโซลูชันสำคัญที่ไม่เหมือนใคร ..
อย่างไรก็ตาม การใช้ที่ดิน Land Use, ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency และต้นทุน Cost รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร Food Security, การใช้ที่ดิน น้ำ Land, Water Use และความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติในระดับโครงงานขนาดใหญ่ Possibility of Large – Scale Implementation อีกทั้งการแข่งขันกับการผลิตอาหาร Competition with Food Production และความเสี่ยงต่อระบบนิเวศ Risks to Ecosystems ยังคงถือเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ ..

ในทางปฏิบัติสำหรับพลังงานชีวภาพพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS นั้น โครงการ Illinois Industrial CCS ในสหรัฐฯ คือ โรงงาน BECCUS ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน .. กองทุนนวัตกรรมของสหภาพยุโรป EU’s Innovation Fund ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโปรแกรมการให้เงินทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับการสาธิตนวัตกรรมเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ Innovative Low – Carbon Technologies ได้ให้ทุนสนับสนุนโครงการพลังงานขนาดใหญ่ที่รวมถึง BECCS มาพร้อมด้วย ขณะที่ Carbon Removal X – Prize ในสหรัฐฯ กำลังพัฒนา และสาธิตเทคโนโลยีการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide Removal: CDR Technologies ในกระบวนการผลิตพลังงานชีวภาพ Bioenergy Productions สำหรับภาคการผลิตกำลังไฟฟ้าจากชีวมวล Electricity Generation from Biomass Sector, การขนส่ง Transportation, อุตสาหกรรมกระดาษ และเยื่อกระดาษ Paper & Pulp Industry และอุตสาหกรรมซีเมนต์ Cement Industry ..
หากพิจารณาตามประเภทของการใช้งาน Based on Application พบว่า กลุ่มการแปลงชีวมวล Biomass Conversion Segment เป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งรายได้สูงสุดที่ 81.40 % ในปี 2566 .. การแปลงชีวมวล Biomass Conversion โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผนวกรวมเข้ากับการดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Carbon Capture & Storage: CCS มีบทบาทสำคัญในตลาดพลังงานชีวภาพ Bioenergy Market .. เนื่องจากความต้องการแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น Demand for Renewable Energy Sources Grows ส่งผลให้การแปลงชีวมวล Biomass Conversion กลายเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืนด้วยการใช้สารอินทรีย์จากพืช และขยะ Utilizing Organic Material from Plants & Waste for Energy Production เพื่อผลิตพลังงาน ..
วิธีการของ BECCS เหล่านี้ ไม่เพียงช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล Reduces Reliance on Fossil Fuels เท่านั้น แต่ยังหมายถึงแนวทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพหมุนเวียน Circular Bioeconomy Concept มาพร้อมด้วย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ขยะของเสียเหลือทิ้งถูกนำกลับมาใช้ใหม่เป็นพลังงานที่ใช้งานได้เป็นอย่างดี .. ความคล่องตัวของทรัพยากรชีวมวล Versatility of Biomass Resources ตั้งแต่เศษวัสดุจากการเกษตร Agricultural Residues ไปจนถึงผลพลอยได้จากป่าไม้ Forestry By – Products ได้ส่งเสริมการใช้งาน BECCS มากขึ้น และทำให้พวกมัน กลายเป็นเสาหลักที่สำคัญในความพยายามลดคาร์บอนทั่วโลกจากนี้ไป ..
เทคโนโลยีการจัดเก็บคาร์บอน Carbon Storage Technologies อยู่ในกลุ่มหลักของ BECCS และความก้าวหน้าในสาขานี้ กำลังปลดล็อคโอกาสใหม่ ๆ สำหรับการเติบโต .. นวัตกรรมในประสิทธิภาพการดักจับคาร์บอน และวิธีการจัดเก็บ CO2 ไว้ใต้ดิน ทำให้การกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมากนั้น เป็นไปได้ และคุ้มทุนมากขึ้น .. นอกจากนี้ การพัฒนาในด้านการทำแผนที่การจัดเก็บทางธรณีวิทยา Geological Storage Mapping, เทคโนโลยีการติดตามผล Monitoring Technologies และการขนส่งที่ปลอดภัย Secure Transportation ยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการปรับขนาดของโครงการเหล่านี้ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ..
สรุปส่งท้าย ..
พลังงานชีวภาพ Bioenergy คือ แหล่งพลังงานหมุนเวียนยั่งยืนที่สำคัญ Important Sustainable Renewable Energy Sources .. พวกมัน เป็นหนึ่งในทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมากมาย เพื่อช่วยตอบสนองความต้องการพลังงานของมนุษยชาติ และเป็นแหล่งพลังงานทดแทน Renewable Energy รูปแบบหนึ่งที่ได้มาจากวัสดุอินทรีย์ที่เพิ่งมีชีวิต Recently Living Organic Materials หรือที่เรียกว่าชีวมวล Biomass ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงสำหรับภาคการขนส่ง Transportation Fuels, ความร้อน Heat, ไฟฟ้า Electricity และผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องต่าง ๆ ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพหมุนเวียน Circular Bioeconomy ..

การเผาไหม้มวลชีวภาพ Burning Biomass แน่นอนว่าจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide: CO2 แต่เนื่องจากมันปล่อยคาร์บอน Carbon ในปริมาณที่เท่ากันกับที่สารอินทรีย์ที่ถูกใช้ในการผลิต และดูดซับไว้ในขณะที่พืชพันธุ์สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นเติบโต พวกมันจึงมิได้ทำลายสมดุลของคาร์บอนในชั้นบรรยากาศด้วยแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality Concept .. ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS Technology นั้น มิใช่เพียงบรรลุแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality Concept เท่านั้น แต่พวกมัน สามารถผลกดันเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติไปสู่การปล่อยมลพิษเป็นลบสุทธิ Negative Emissions Technologies: NETs มาพร้อมด้วย ..
ในทางตรงกันข้าม การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล Burning Fossil Fuels จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide: CO2 ที่ถูกกักเก็บไว้เป็นเวลาหลายสิบล้านปี จากช่วงเวลาที่ชั้นบรรยากาศของโลกแตกต่างกันมาก สิ่งนี้จะเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศปัจจุบันของเรามากขึ้น และทำลายสมดุลของคาร์บอน Carbon Balance ในระบบนิเวศวิทยาตามธรรมชาติ ..
ดังนั้น ความยั่งยืนโดยรวม และผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของพลังงานชีวภาพ Overall Sustainability & Environmental Benefits of Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS นั้น จะขึ้นอยู่กับทั้งการบริหารจัดการ และแผนการใช้วัตถุดิบตั้งต้น หรือพืชพลังงานที่เป็นของเสีย Waste Feedstocks or Energy Crops นั่นเอง ..

ความมุ่งมั่นสู่การเติบโตของตลาดพลังงานชีวภาพ Bioenergy Market เกิดขึ้นจากข้อตกลงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปารีส Paris Climate Change Agreement ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา .. ปัจจัยสำคัญหลักที่ส่งเสริมการเติบโตของตลาดนี้ ถูกระบุอยู่ในรายงานของบริษัท Fortune Business Insights™ ซึ่งได้สำรวจขนาดตลาดพลังงานชีวภาพเชิงลึก รวมทั้งการวิเคราะห์อุตสาหกรรมตามประเภทผลิตภัณฑ์ชีวมวลแข็ง Solid Biomass, เชื้อเพลิงชีวภาพเหลว Liquid Biofuel, ก๊าซชีวภาพ Biogas และอื่น ๆ โดยใช้วัตถุดิบที่เป็นของเสียจากการเกษตร Agricultural Waste, ไม้และมวลชีวภาพจากไม้ Wood & Woody Biomass, ขยะมูลฝอยและอื่น ๆ Solid Waste & Others เพื่อการใช้งานสำหรับการผลิตกำลังไฟฟ้า Power Generation, การผลิตความร้อน Heat Generation, การขนส่ง Transportation และอื่น ๆ ..
จนถึงปัจจุบัน โลกพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลมากเกินไปเพื่อตอบสนองความต้องการด้านพลังงาน ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐฯ เชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels คิดเป็น 81.5 % ของการใช้พลังงานทั้งหมด .. การพึ่งพาแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปมากเกินไป ทำให้อัตราการหมดสิ้นไปแซงหน้าอัตราการเติมเต็ม .. สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ The US Energy Information Administration: EIA ประมาณการว่า สต็อกน้ำมันดิบทั่วโลกในปัจจุบันจะเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำมันของโลกจนถึงปี 2593 .. รายงานที่เผยแพร่โดย Millennium Alliance for Humanity and the Biosphere: MAHB ระบุว่า ถ่านหิน Coal จะหมดลงในอีก 70 ปี ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas จะหมดใน 40 ปี และน้ำมัน Oil จะหมดในอีก 30 ปีข้างหน้า .. การคาดการณ์ที่ชัดเจนเหล่านี้ ตอกย้ำความจำเป็นของระบบเศรษฐกิจ และสังคมโลกในการพัฒนา และยอมรับแหล่งพลังงานชีวภาพ Bioenergy Sources อย่างแข็งขัน และลดการพึ่งพาพลังงานรูปแบบดั้งเดิม รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide: CO2 ด้วยเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพพร้อมระบบดักจับ และจัดเก็บคาร์บอน Bioenergy with Carbon Capture & Storage: BECCS Technology ไปพร้อมด้วย ทั้งนี้ เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งมั่นจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่จุดเล็ง 1.5 oC ให้สำเร็จได้ในที่สุดจากนี้ไป ..
คอลัมน์ …..Energy Key
By …”โลกสีฟ้า”
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Bioenergy with Carbon Capture & Storage | IEA :-
BECCS | Globalccsinstitute :-
https://www.globalccsinstitute.com/wp-content/uploads/2019/03/BECCS-Perspective_FINAL_PDF.pdf
Bioenergy With CCS Market Size & Share Report, 2030 | Grand View Research :-
Carbon Capture and Storage : Industrial – Scale Capture of CO2 From Ambient Air :-
https://goo.gl/photos/8bLYuxubbgrKbR789
Biomass Energy :-
https://photos.app.goo.gl/nbevEx1cE59Jzf2X8
Bioeconomy : The Challenges of a Key Model for Sustainable Development :-