วันเสาร์, พฤษภาคม 10, 2025
หน้าแรกCOLUMNISTS“Waste-to-Energy : WtE” กระบวนการ “แปลงขยะ”เพื่อสร้างพลังงาน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“Waste-to-Energy : WtE” กระบวนการ “แปลงขยะ”เพื่อสร้างพลังงาน

Waste-to-Energy : WtE to Use Waste to Create Energy

“…..โรงงานพลังงานจากขยะ ระดับขนาดที่จัดการขยะของเสียได้ประมาณ 50,000 ตันต่อปี จะสามารถสร้างก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ และก๊าซชีวภาพ ได้มากถึง 15,000 ต่อชั่วโมง …”

การแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE คือคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีต่างๆ ที่แปลงขยะซึ่งไม่สามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้ Non-Recyclable Waste ให้กลายเป็นพลังงานที่สามารถใช้งานได้ Usable Forms of Energy เช่น ความร้อน Heat, เชื้อเพลิง Fuels และกำลังไฟฟ้า Electricity .. การแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE สามารถเกิดขึ้นได้จากกระบวนการต่างๆ เช่น การเผา Incineration, การทำให้เป็นก๊าซ Gasification, กระบวนการไพโรไลซิส Pyrolysis Process, การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion และการกู้คืนก๊าซจากหลุมฝังกลบ Landfill Gas Recovery เป็นต้น ..

Waste to Energy : การเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน | Credit : สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน นครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ก่อนหน้านี้ คำว่า การแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE มักถูกใช้เรียกสำหรับ ‘การเผา Incineration’ โดยเฉพาะ ในกรณีการเผาไหม้ขยะอย่างสมบูรณ์หมดจด ณ อุณหภูมิที่สูงมาก Specific Reference to Incineration which Burns Completely Combusted Waste at Ultra-High Temperatures นั้น ทำให้สามารถกู้คืนพลังงานกลับมาได้เป็นอย่างดี .. โรงงานเผาขยะสมัยใหม่ Modern Incineration Facilities ใช้อุปกรณ์ควบคุมมลพิษ Pollution Control Equipments เพื่อป้องกันการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม Prevent the Release of Emissions into the Environment .. จนถึงวันนี้ การแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE ด้วยการเผา Incineration เพื่อสร้างพลังงานนั้น คือเทคโนโลยีเพียงประเภทเดียวที่คุ้มทุน และดำเนินการได้จริงในระดับเชิงพาณิชย์ Economically Viable & Operationally Feasible at Commercial Scale .. อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในตลาดการแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE Market กำลังจะเปลี่ยนไปแล้ว ..

ตัวอย่างอื่นๆ ของการแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE ได้แก่ ‘การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion : AD’ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่าแก่ แต่มีประสิทธิภาพในการแปลงอินทรีย์สารให้เป็นปุ๋ยหมัก Converts Organic Material into Compost และการผลิตก๊าซชีวภาพ Biogas Production เพื่อผลิตเชื้อเพลิงพลังงานชีวภาพ Fuels of Bioenergy หลากหลายรูปแบบ .. ระบบการหมัก หรือกระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion : AD System มีศักยภาพสูง และสามารถใช้เทคโนโลยีตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึงระดับสูง จึงสามารถให้บริการชุมชนในทุกระดับรายได้ของผู้คนในสังคมได้อย่างยอดเยี่ยม ..

อีกกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า ‘ไพโรไลซิส Pyrolysis’ สามารถแปลงผลิตภัณฑ์ของเสียให้เป็นเชื้อเพลิงเหลวที่สะอาดด้วยความร้อนทางเคมี Thermo-Chemically Convert Waste Products into Clean Liquid Fuels ..

ทั้งนี้ สำหรับในประเด็นของ ‘การกู้คืนก๊าซจากหลุมฝังกลบ Landfill Gas Recovery’ นั้น พวกมันหมายถึง กระบวนการดักจับก๊าซที่ปล่อยคายออกมาจากหลุมฝังกลบของเทศบาล ชุมชน และแปลงพวกมันให้เป็นพลังงาน Process of Capturing the Gases Emitted from Municipal Landfills & Converting it for Energy .. รูปแบบการรวบรวมที่พบมากที่สุด เกิดขึ้นโดยการเจาะบ่อน้ำแนวนอน หรือแนวตั้งลงในหลุมฝังกลบ Drilling Horizontal or Vertical Wells และใช้เครื่องเป่า และเครื่องดูด เพื่อรวบรวมก๊าซสำหรับการบำบัด Use of Blowers & Vacuums to Collect the Gas for Treatment ..

อย่างไรก็ตาม ‘เชื้อเพลิงที่ได้จากขยะ Refuse-Derived Fuels: RDFs’ นั้น ถือเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตขึ้นจากวัสดุเหลือใช้ เช่น กระดาษ Paper, กระดาษแข็ง Cardboard และพลาสติก Plastics สามารถใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ในโรงไฟฟ้า Power Plants, เตาเผาซีเมนต์ Cement Kilns และเตาเผาเหล็กกล้า Steel Furnaces ได้เป็นอย่างดี ..

โดยทั่วไป เชื้อเพลิงที่ได้จากขยะ Refuse-Derived Fuels : RDFs ผลิตขึ้นได้จากขยะซึ่งถูกเก็บรวบรวมจากสถานที่เชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรม Waste Collected from Commercial & Industrial Sites ซึ่งวัสดุที่ไม่ติดไฟ เช่น แก้ว และโลหะ จะถูกกำจัดออกไป ขณะที่ขยะที่เหลือจะถูกฉีกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กับถูกทำให้แห้ง และจับรวมกันไว้เป็นมัด ..

เชื้อเพลิงที่ได้จากขยะ Refuse-Derived Fuels : RDFs ช่วยลดการปล่อย CO2 และสามารถส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy รวมทั้ง พวกมันสามารถให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ Economic Benefits ต่อสังคมมนุษยชาติได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย แม้ว่าการนำออกสู่ตลาด อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เนื่องจากองค์ประกอบของขยะที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ รวมถึง การเผาเชื้อเพลิงที่ได้จากขยะ Burning of Refuse-Derived Fuels : RDFs นั้น อาจมิได้ถือเป็นแหล่งพลังงานสีเขียว หรือคาร์บอนต่ำเสียทีเดียว ซึ่งประเด็นที่กล่าวถึงเหล่านี้ คือความท้าทายของตลาดพลังงานที่ได้จากขยะ Challenges of RDFs Energy Market สำหรับอนาคตจากนี้ไปพร้อมด้วย ..

จนถึงปัจจุบัน โลกสร้างขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล และชุมชน Municipal Solid Waste : MSW จำนวน 1.3 พันล้านตันต่อปี .. ภายในปี 2568 นี้ โลกอาจสร้างขยะมูลฝอยได้สูงถึง 2.2 พันล้านตันต่อปี .. การคาดการณ์ดังกล่าว ทำให้มนุษยชาติ ต้องพิจารณา และพัฒนาวิธีต่างๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายในการจัดการขยะมูลฝอยในอนาคต Future Waste Management : WM Challenges  .. เทคโนโลยีการแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE Technology จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน โดยเปลี่ยนขยะจากหลุมฝังกลบให้เป็นผลิตภัณฑ์พลังงาน Diverting Waste from Landfills for Energy Production ..

Benefits of Waste-to-Energy | Credit : Axil Integrated Services Limited 2024

น่าเสียดายที่แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยด้วยการแปลงพวกมันให้เป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE นั้น ยังไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่มากนัก ดังนั้น ผู้คนส่วนใหญ่ในโลกจึงยังคงใช้หลุมฝังกลบเป็นวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยหลัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีเลย เนื่องจากหลุมฝังกลบ Landfills คือการใช้ที่ดินอย่างไม่ยั่งยืน Unsustainable Use of Land และก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาคุณภาพน้ำและอากาศ Water & Air Quality Issues ..

สองชาติที่มีความโดดเด่นที่สุดในการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนด้วยการนำเทคโนโลยีการแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE Technology มาใช้ ได้แก่ สวีเดน Sweden และเดนมาร์ก Denmark .. สวีเดน Sweden รีไซเคิลขยะมูลฝอย MSW มากกว่า 99%, ขยะในครัวเรือนทั้งหมด All Household Waste อย่างน้อย 50.3% ถูกเผาเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่เป็นพลังงาน และ 16 % ถูกนำไปใช้ในกระบวนการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion : AD .. ในทำนองเดียวกัน เดนมาร์ก Denmark ได้นำแนวคิดเรื่อง “ความยั่งยืนแบบสุขนิยม Hedonistic Sustainability” มาใช้ โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการสร้างสังคมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่สาธารณะที่มีชีวิตชีวา และใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น โครงการล่าสุดของโคเปนเฮเกน Copenhagen’s Latest Projects ได้แก่ เตาเผาขยะ Incinerator ที่ทำหน้าที่เป็นลานสกี Ski Slope และศูนย์การศึกษา WtE Education Center สำหรับพลเมือง .. ขยะของโคเปนเฮเกน Copenhagen’s Trash เพียง 3% เท่านั้นที่ถูกฝังกลบ ขณะที่ ขยะ 54% ถูกใช้เป็นวัตถุดิบในเตาเผาขยะอุณหภูมิสูงเพื่อสร้างพลังงาน Energy, ความร้อน Heat และกำลังไฟฟ้า Electrical Power .. โดย 97% ของประชากรในเมืองทั้งหมด ได้รับพลังงานจากความร้อนส่วนเกินที่ผลิตโดยเตาเผาขยะของพวกเขาเหล่านี้ ..

ความท้าทายที่สำคัญที่สุด Most Significant Challenge ต่อการนำเทคโนโลยีการแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE Technology มาใช้งานอย่างกว้างขวางนั้น คือการตระหนักว่า ขยะ Waste สามารถนำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืน Sustainable Circular Economy เพื่อเป็นแหล่งพลังงานที่สะอาด และเชื่อถือได้ Used as a Source of Clean & Reliable Energy ..

พลังงานจากขยะ Energy from Waste : EfW กำลังจะกลายเป็นรูปแบบหลักของพลังงานชีวภาพ Key Form of Bioenergy ในเอเชีย Asia ..

พลังงานจากขยะ Energy from Waste : EfW กำลังมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่ต้องสงสัยในเอเชีย เนื่องจากการผลิตขยะมูลฝอยในเขตชุมชนเทศบาล Municipal Solid Waste : MSW ที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ ทำให้ชุมชนเมืองต่างๆ ต้องพัฒนาวิธีการจัดการขยะแบบใหม่โดยเร็ว .. อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ จีน China กำลังเร่งนำเทคโนโลยีพลังงานจากขยะ Energy from Waste : EfW Technology มาใช้ แต่ศักยภาพของเทคโนโลยีดังกล่าวนั้น ยังไม่ได้รับการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ในประเทศอื่นๆ ในเอเชีย .. หากดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุดแล้ว สิ่งอำนวยความสะดวกของพลังงานจากขยะ EfW Facilities จะให้ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และพลังงาน Environmental, Health & Energy Benefits ซึ่งเทคโนโลยีพลังงานจากขยะ Energy from Waste : EfW Technology คือวิธีการจัดการขยะที่มีคุณค่า Valuable Waste Management Solution ไร้ข้อสงสัย ..

ขยะในเขตชุมชนเทศบาล Municipal Waste สามารถกำหนดได้ว่าเป็นขยะที่รวบรวม และบำบัดโดยหรือสำหรับเขตเทศบาล และชุมขนเมือง .. ขยะ Waste ดังกล่าวครอบคลุมไปถึงขยะจากครัวเรือน Households, การค้าและการพาณิชย์ Commerce & Trade, อาคารสำนักงาน Office Buildings, สถาบัน Institutions และธุรกิจขนาดเล็ก Small Businesses รวมถึงขยะจากสนามหญ้า และสวน Yard & Garden Waste, การกวาดถนน Street Sweepings และขยะอื่นๆ ในถังขยะ Contents of Litter Containers เป็นต้น ..

The Potential of Turning Waste into Energy | Credit : Energy Watch

การผสมผสานจากการขยายตัวของเมือง ชุมชน และการเติบโตทางเศรษฐกิจ Urbanization & Economic Growth ของหลายประเทศในเอเชีย หมายความว่า จำเป็นต้องมีการแก้ไขเพื่อกำจัดปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้น Increasing Volumes of MSW .. การเติบโตของประชากรในเขตเมือง เพิ่มขึ้น 8% ในจีน China, 7% ในประเทศไทย Thailand, 5% ในอินโดนีเซีย Indonesia และ 4% ในเวียดนาม Vietnam ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา .. การขยายตัวของเมืองในอินเดีย India และปากีสถาน Pakistan ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้ว่าจะในอัตราที่ต่ำกว่า แต่เมื่อพิจารณาถึงการเติบโตของประชากรโดยรวมแล้ว แนวโน้มนี้ ส่งผลให้มีผู้อยู่อาศัยในเมือง เพิ่มขึ้น 160 ล้านคนในประเทศเหล่านี้ ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน .. ในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ Gross Domestic Product : GDP ของประเทศเหล่านี้ เพิ่มขึ้นเกินค่าเฉลี่ยทั่วโลก ..

การผลิตขยะมูลฝอยต่อหัว MSW Production per Capita เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากประชากรในเขตเมืองที่เพิ่มมากขึ้น และมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น อันเนื่องมาจากการเติบโตของ GDP ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การผลิตขยะมูลฝอยประจำปีในจีน China, ไทย Thailand, เวียดนาม Vietnam, อินเดีย India และปากีสถาน Pakistan รวมกันเติบโตขึ้นจากประมาณ 60 ล้านตันต่อปี เมื่อปี 2558 เป็นมากกว่า 300 ล้านตันต่อปี ในปัจจุบัน .. จีน China คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการเพิ่มขึ้นนี้ ขยะโดยรวมจากประเทศเหล่านี้ Waste from These Countries อาจเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าในช่วงปี 2558-2568 ส่งผลให้มีขยะมูลฝอย มากกว่า 600 ล้านตันต่อปีภายในปี 2568 นี้ ..

ทั้งนี้ หากไม่ได้รับการบริหารจัดการอย่างถูกต้องแล้ว ขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล และชุมชน Municipal Solid Waste: MSW จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ Human Health และสิ่งแวดล้อม Environment ในหลากหลายรูปแบบ .. อันตรายต่อสุขภาพ Health Hazards เกิดจากการปนเปื้อนของน้ำซึมจากใต้ดิน และผิวดิน Ground & Surface Water Contamination by Leachate และจากมลพิษทางอากาศจากการเผาขยะอย่างไม่เป็นทางการ Air Pollution from Informal Waste Burning .. การจัดเก็บและกำจัดขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพ Ineffective Collection & Disposal of Waste ยังดึงดูดเชื้อโรค แมลง และสัตว์รบกวนที่แพร่เชื้อโรค และการย่อยสลายขยะ MSW ตามธรรมชาติในหลุมฝังกลบ ยังก่อให้เกิดก๊าซมีเทน Methane : CH4 ซึ่งมีศักยภาพในการทำให้โลกร้อนสูงขึ้นมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เมืองต่างๆ ในเอเชีย จึงมุ่งไปที่การบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และการแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE รวมทั้งการประยุกต์ใช้พลังงานจากขยะ Energy from Waste : EfW นั้น คือข้อไขที่ยอดเยี่ยม Excellent Solution ..

สำหรับประเทศไทยนั้น ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการใช้งานพลังงานจากขยะ Energy from Waste : EfW .. โครงการ EfW Projects ต่างๆ หลายโครงการของไทยอยู่ในระหว่างการพัฒนา และกำลังการผลิต EfW ได้เพิ่มขึ้น เป็นมากกว่า 200 MW ในปี 2564 ขณะที่ ประเทศไทย Thailand ได้ตั้งเป้าหมายกำลังการผลิต EfW ระยะยาวไว้ อยู่ที่ 550 MW ภายในปี 2579 ตามแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกของไทย Thailand’s Alternative Energy Development Plan .. ปัจจุบัน Feed-in Tariff : FIT ซึ่งหมายถึง ราคาต่อหน่วยพลังงานสำหรับสนับสนุนการใช้งานพลังงานจากขยะ Energy from Waste : EfW Supports Deployment ของไทย อยู่ที่ 155-190 เหรียญสหรัฐฯต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง Megawatt-Hour : MWh แต่การพัฒนากำลังถูกตรวจสอบโดยภาคประชาสังคม และชุมชน เพื่อให้แน่ใจว่าโครงการต่างๆ เป็นไปตามมาตรฐานการก่อสร้าง และการดำเนินการที่จำเป็นด้วยราคาที่เหมาะสม .. ทั้งนี้โดยพื้นฐานแล้ว จะต้องให้ได้มาซึ่งราคาคงที่ต่อหน่วยกำลังไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่จะต้องลดลงให้มากกว่านี้อีก เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดพลังงานได้ และเหมาะสมสอดคล้องสำหรับอนาคตระบบการผลิตพลังงานชีวภาพ Bioenergy Production ในประเทศจากนี้ไป ..

การแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste to Energy : WtE หรือพลังงานจากขยะ Energy from Waste : EfW ในประเทศไทย ..

ในประเทศไทย “การแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste to Energy” หมายถึงกระบวนการแปลงขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล และชุมชนเมืองให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยการเผาในโรงงานเฉพาะทาง ซึ่งกำลังมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะวิธีจัดการกับปัญหาขยะที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศ และผลิตพลังงานหมุนเวียน โดยปัจจุบัน เขตหนองแขมของกรุงเทพฯ Bangkok’s Nong Khaem District คือ ตัวอย่างที่ตั้งของโรงไฟฟ้า Power Plant จากเครื่องเผาขยะเป็นพลังงานแห่งแรก First Operational Waste-to-Energy Incinerator ที่ดำเนินการอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา บนพื้นที่ขนาด 30 ไร่ ณ เขตหนองแขมทางฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ .. โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ Waste to Energy Power Plant แห่งนี้ ได้รับการออกแบบให้สามารถแปรรูปขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลได้ 500 ตันต่อวัน และผลิตกำลังไฟฟ้าได้ 9.8 MW ด้วยต้นทุนเริ่มต้นประมาณ 900 ล้านบาท แนวทางนี้ถือเป็นส่วนสำคัญของวาระแห่งชาติของไทยในการจัดการขยะ Waste Management และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Reduce Greenhouse Gas Emissions ต่อเนื่องมามากกว่า 10 ปีแล้ว ..

ทั้งนี้ การนำขยะมาแปรรูปเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE ได้ถูกบูรณาการเข้าไว้ในแผนพัฒนาประเทศไทย Thailand’s Development Plan โดยมุ่งเน้นการรักษาความมั่นคงทางพลังงาน Energy Security, ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ Economic Efficiency และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมผ่านการใช้ขยะ Environmental Sustainability through Waste Utilization นั่นเอง ..

แม้ว่าการแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE จะมีศักยภาพ แต่ความกังวลเกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างเหมาะสม Proper Waste Sorting, การปล่อยมลพิษที่อาจเกิดขึ้น Potential Emissions และการยอมรับของชุมชน Community Acceptance ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ ..

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีที่ใช้ในโรงงานแปลงขยะเป็นพลังงานของไทย Technology Used in Waste – to – Energy Plants in Thailand มักใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อลดการปล่อยมลพิษให้เหลือน้อยที่สุด รวมถึงระบบระบายความร้อนก๊าซไอเสีย Flue Gas Cooling Systems, ตัวกรองถุง Bag Filters และเครื่องขัดแบบเปียก Wet Scrubbers ซึ่งนโยบายภาครัฐของรัฐบาลไทย เป็นที่ชัดเจนว่า กำลังมุ่งส่งเสริมการพัฒนาโรงงานแปลงขยะเป็นพลังงานเพิ่มเติม More Waste-to-Energy Facilities ในภูมิภาคต่างๆ และในท้องถิ่นทั่วประเทศ เช่น โรงไฟฟ้าจากขยะ Waste Power Plants, โรงไฟฟ้าชีวมวล Biomass Power Plants และบ่อหมักการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion : AD สำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพ Biogas จากขยะของเหลือทิ้งภาคการเกษตร Agriculture Waste บนพื้นที่ชุมชนเกษตรกรรมในท้องถิ่น เป็นต้น เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการขยะโดยรวมของประเทศอย่างจริงจังมากขึ้นสำหรับอนาคตจากนี้ไป ..

จากรายงานล่าสุด ระบุว่า ประเทศไทย Thailand มีโรงไฟฟ้าที่เป็นโรงงานแปรรูปขยะเป็นพลังงาน Operational Waste-to-Energy Power Plants ที่ดำเนินการอยู่ประมาณ 25 แห่ง ในปัจจุบัน และมีแผนจะสร้างเพิ่มเติมอีก 79 แห่ง ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ประเทศไทย Thailand มีโรงงานไฟฟ้าแปรรูปขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า Waste Power Plants ทั้งหมด 104 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งรวมถึงโครงการที่อยู่ระหว่างการพิจารณา และโครงการที่วางแผนจะดำเนินการภายในไม่กี่ปีข้างหน้าด้วยกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นใหม่ รวม 619 เมกะวัตต์ MW ..

Waste to Energy : การเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน | Credit : กระทรวงพลังงาน

บริษัทเอกชนของไทยหลายบริษัท และหน่วยงานระดับท้องถิ่น Local Authorities กำลังดำเนินการพัฒนาโครงการพลังงานจากขยะ Developing Waste-to-Energy Projects ทั่วประเทศไทยอย่างแข็งขัน โดยเน้นที่เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม Modern Technology to Minimize Environmental Impact ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดชลบุรี Chonburi Clean Energy : CCE Power Plant คือตัวอย่างที่โดดเด่นของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมชลบุรี สามารถแปลงขยะอุตสาหกรรมเป็นกำลังไฟฟ้า Converting Industrial Waste into Electricity ได้ด้วยกำลังการผลิต 8.63 MW โดยแปลงขยะอุตสาหกรรมกว่า 400 ตันต่อวัน ให้เป็นกำลังไฟฟ้า หรือประมาณ 100,000 ตันต่อปี ..

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานขยะชีวมวลภูเก็ต Phuket Waste To Energy Plant ขนาด 14 MW ที่ใช้ขยะมูลฝอยของชุมชนเทศบาลเป็นเชื้อเพลิง, โรงไฟฟ้าพลังงานขยะนครปฐม Nakorn Pathom Waste-to-Energy Plant ของบริษัท WSPT ซึ่งสามารถกำจัดขยะได้ประมาณ 500-550 ตันต่อวัน และ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะมหาสารคาม Maha Sarakham Waste to Energy Facility ซึ่งใช้เทคโนโลยีล่าสุดที่ล้ำสมัย ด้วยกำลังการผลิตขนาด  9.9 MW สามารถกำจัดขยะได้ประมาณ 500 ตันต่อวัน ซึ่งเป็นรูปแบบโครงการกำจัด และแปรรูปมูลฝอยเป็นพลังงานไฟฟ้าในท้องถิ่น โดยเทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นเจ้าของโครงการ และบริษัท มหาสารคามเพาเวอร์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินโครงการ คาดว่าจะเป็นตัวอย่างแหล่งผลิตกำลังไฟฟ้าสำหรับชุมชน และไอน้ำอุตสาหกรรม Industrial Steam ได้เป็นอย่างดี เป็นต้น ..

ในประเทศไทย มีบริษัทเอกชนที่ดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่โดดเด่น ได้แก่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) TPI Polene Power Public Company Limited ซึ่งดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมูลฝอยเทศบาลที่ใหญ่ที่สุด, บริษัท อีสเทิร์นซีบอร์ด คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด Eastern Seaboard Clean Energy Company Limited ซึ่งมีโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่จังหวัดชลบุรี CCE Plant โดยใช้ขยะอุตสาหกรรม, นิวสกาย เอ็นเนอร์ยี่ ประเทศไทย Newsky Energy Thailand ซึ่งดำเนินกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในกรุงเทพมหานคร และบริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) WHA Utilities and Power Plc ซึ่งดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่จังหวัดชลบุรี Chonburi Clean Energy Plant มาพร้อมด้วย เป็นต้น ..

ทั้งนี้ สำหรับในประเด็น การย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion : AD ของไทยนั้น มีการเน้นย้ำถึงศักยภาพในการแปลงขยะอินทรีย์ เช่น เศษวัสดุทางการเกษตร Agricultural Residues, เศษอาหาร Food Scraps และมูลสัตว์ Animal Manure ให้เป็นพลังงานหมุนเวียน และไบโอแก๊สที่สะอาด Clean & Renewable Biogas Energy .. ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมโดยการลดปัญหาขยะในท้องถิ่น อีกทั้งให้สามารถผลิตกำลังไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิงในพื้นที่สำหรับชุมชน บ้านเรือน และธุรกิจ โดยพุงเป้าไปที่ความเชี่ยวชาญของบริษัทฯ ในท้องถิ่นภายในประเทศเป็นหลัก ..

การเปลี่ยนขยะของผู้คนให้เป็นพลังงานสะอาด Transform Waste into Clean Energy ด้วยการก้าวสู่อนาคตด้วยการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Future with Anaerobic Digestion : AD เปลี่ยนเศษอาหาร Food Scraps, เศษวัสดุทางการเกษตร Agricultural Waste และแม้แต่ตะกอนน้ำเสีย Sewage Sludge ให้เป็นไบโอแก๊สที่มีค่า Valuable Biogas ส่งจ่ายพลังงานให้กับครัวเรือน หรือธุรกิจ Powering Home or Business ของผู้คนในชุมชนไปพร้อมกับปกป้องสิ่งแวดล้อม Protecting the Environment คือ กระแสหลักสำหรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ในปัจจุบัน .. การลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน Reduce Carbon Footprint และประหยัดเงิน Save Money ด้วยการแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE นั้น ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญในเศรษฐกิจชีวภาพของประเทศไทยที่ยั่งยืน Sustainable Bioeconomy Thailand .. นอกจาก โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ Waste-to-Energy Power Plants แล้ว การเรียนรู้วิธีนำระบบการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion : AD ในท้องถิ่น คืออีกหนึ่งในเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้คน โดยเฉพาะในชุมชนเกษตรกร และประเทศเกษตรกรรม เช่น ประเทศไทย สำหรับอนาคตความมั่นคงทางพลังงานของชาติจากนี้ไป ..

คาดการณ์ตลาดพลังงานจากขยะทั่วโลก Global Waste to Energy Market ..

อ้างถึงข้อมูลการสำรวจตลาดของ Grand View Research พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดพลังงานจากขยะทั่วโลก Global Waste to Energy Market มีมูลค่าประมาณ 42.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2567 และคาดว่าจะ ขยายตัวด้วยอัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate: CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดพลังงานจากขยะทั่วโลก Global Waste to Energy Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 8.3% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2568-2573 .. ตลาดนี้ มุ่งเน้นไปที่การแปลงขยะเทศบาล และขยะอุตสาหกรรมเป็นพลังงาน Converting Municipal & Industrial Waste into Energy ผ่านกระบวนการเผา Incineration และการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion : AD ..

ตลาดพลังงานจากขยะทั่วโลก Global Waste to Energy Market นี้ ขับเคลื่อนโดยความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น Rising Energy Demands, กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด Stringent Environmental Regulations และความต้องการโซลูชันข้อไขการจัดการขยะที่ยั่งยืน Need for Sustainable Waste Management Solutions ..

นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี Technological Advancements และการตระหนักรู้ของสาธารณชนที่เพิ่มขึ้น Increasing Public Awareness เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy และพลังงานชีวภาพ Bioenergy ยังช่วยให้ตลาดเติบโตมาพร้อมอีกด้วย ..

อย่างก็ตาม ข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ Waste-to-Energy Power Plants ล่าสุดนั้น พบว่า ตลาดโรงไฟฟ้าพลังงานขยะทั่วโลก Global Waste-to-Energy Power Plant Market มีมูลค่าประมาณ 35,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปัจจุบัน และคาดว่าจะเติบโตถึงประมาณ 56,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯภายในปี 2575 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 4.7% ซึ่งขับเคลื่อนโดยความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น และความต้องการแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนมาพร้อมด้วยเช่นกัน .. ปัจจุบัน ยุโรป Europe ครองส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุด ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คาดว่าจะเติบโตเร็วที่สุดในช่วงเวลาที่คาดการณ์ ..

Waste to Energy : Secrets of Anaerobic Digestion for Students | Credit : ALPS Ecoscience

สำหรับประเด็นเฉพาะการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion : AD นั้น ตลาดการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนทั่วโลก Global Anaerobic Digestion : AD Market ในปัจจุบัน มีมูลค่าประมาณ 14,290 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะเติบโตถึง 32,630 ล้านเหรียญสหรัฐฯภายในปี 2573 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 10.87% ซึ่งขับเคลื่อนโดยการให้ความสำคัญกับการจัดการขยะมากขึ้น ความต้องการพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น และโครงการริเริ่มของรัฐบาลที่ส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน Promoting Circular Economy โดย “ขยะอินทรีย์ Organic Waste” ครองส่วนแบ่งในภาควัตถุดิบ Feedstock Segment เนื่องจากมีขยะทางการเกษตร Agricultural Waste ปริมาณมากที่ผลิตขึ้นทั่วโลก ..

นวัตกรรมล่าสุดในกระบวนการทำให้เป็นก๊าซ Gasification ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแปลงขยะมูลฝอยของแข็งให้เป็นก๊าซสังเคราะห์ Converting Solid Waste into Syngas ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีค่า Valuable Energy Source ได้อย่างมาก .. การออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบใหม่ New Reactor Designs ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนและเวลาคงอยู่ในระบบ ทำให้การย่อยสลายขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้น More Effective Waste Breakdown .. นอกจากนี้การพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาขั้นสูง Advanced Catalysts Accelerates Chemical Reactions ยังช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมี ส่งผลให้ได้ก๊าซสังเคราะห์ในปริมาณที่สูงขึ้นพร้อมการใช้พลังงานที่ลดลง .. การปรับปรุงเหล่านี้ ช่วยเพิ่มการกู้คืนพลังงานโดยรวมจากขยะ Overall Energy Recovery from Waste และลดต้นทุนการดำเนินงาน Reduce Operational Costs ทำให้ระบบเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน Waste to Energy Systems มีความคุ้มต่อการลงทุนมากขึ้น ..

คาดว่า การแปลงขยะเป็นพลังงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Asia Pacific Waste to Energy จะขยายตัวด้วยอัตราการเติบโตต่อปีสูงที่สุด อยู่ที่ค่า CAGR 13.2% ตลอดช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของเมือง และการเติบโตของประชากรที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตามข้อมูลของสหประชาชาติ .. ภายในปี 2573 คาดหมายว่า ประชากร 60% ของภูมิภาคนี้ จะอาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่งผลให้มีขยะเพิ่มมากขึ้น และเมืองต่างๆ เช่น จาการ์ตา Jakarta และมุมไบ Mumbai กำลังเผชิญกับความท้าทายในการจัดการขยะ ส่งผลให้มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน Investments in Waste to Energy Technologies เพื่อแปลงขยะเป็นพลังงาน Convert Waste into Energy สำหรับตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น Growing Energy Demands ..

การขยายตัวของเมือง และการเติบโตของประชากรที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน Increasing Unprecedented Urbanization & Population Growth ในประเทศจีน คือแรงผลักดันให้ตลาดพลังงานจากขยะเพิ่มขึ้น .. รัฐบาลจีนได้จัดทำกรอบการกำกับดูแลที่แข็งแกร่งซึ่งสนับสนุนการเติบโตของขยะในเทคโนโลยีพลังงานโดยตรง กฎหมายการจัดการขยะ Waste Management Law ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม ในปี 2563 มีบทบาทสำคัญในความพยายามนี้ โดยกำหนดให้มีการแยกขยะ และสนับสนุนโครงการรีไซเคิล .. กฎหมายนี้มุ่งหวังที่จะลดปริมาณขยะที่ส่งไปยังหลุมฝังกลบ Reduce the Waste Sent to Landfills และส่งเสริมการแปลงขยะเป็นพลังงาน Promote Waste Conversion into Energy .. นอกจากนี้กฎหมายพลังงานหมุนเวียนในประเทศจีน Renewable Energy Law in China ยังสนับสนุนโครงการแปลงขยะเป็นพลังงานอย่างแข็งขัน โดยให้แรงจูงใจในการกู้คืนพลังงานจากขยะ ดังนั้น กฎหมายนี้จึงอำนวยความสะดวกในการบูรณาการโรงงานแปลงขยะเป็นพลังงานเข้ากับโครงข่ายพลังงานแห่งชาติ Integration of Waste to Energy Plants into the National Energy Grid ทำให้มั่นใจได้ว่าพลังงานที่สร้างจากขยะจะได้รับการบำบัดอย่างเท่าเทียมกับแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ..

ปัจจุบัน ตลาดพลังงานจากขยะด้วยกระบวนการไพโรไลซิส Pyrolysis Waste-to-Energy Market คืออุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน .. พวกมัน ใช้ความร้อนในการย่อยสลายขยะอินทรีย์ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์พลังงานที่มีคุณค่า Uses Heat to Break dow Organic Waste into Valuable Energy Products เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels, ก๊าซชีวภาพ Biogas และถ่านไบโอชาร์ Biochar จากขยะชีวมวลอินทรีย์สาร Biomass Organic Waste .. กระบวนการไพโรไลซิส Pyrolysis Process สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Reduce Greenhouse Gas Emissions และสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy ได้เป็นอย่างดีในตลาดพลังงานจากขยะทั่วโลก Global Waste to Energy Market มาพร้อมด้วยจากนี้ไป ..

Pyrolysis Plants : Transforming Waste into Resources for a Greener Future | Credit : CharGrow

สรุปส่งท้าย ..

โรงงานพลังงานจากขยะ EfW Plants ระดับขนาดที่จัดการขยะของเสียได้ประมาณ 50,000 ตันต่อปี จะสามารถสร้างก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Syngas และก๊าซชีวภาพ Biogas ได้มากถึง 15,000 Normal Cubic Meter of Air : Nm3 ต่อชั่วโมง ..

เทคนิคกระบวนการแปรสภาพแก๊ส Gasification Process และกระบวนการไพโรไลซิส Pyrolysis Process เป็นกระบวนการให้ได้มาซึ่ง “ก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel Gas : Syngas” ที่พัฒนาขึ้นใหม่ด้วยการใช้วัตถุดิบตั้งต้นที่เป็นขยะพลาสติก Plastics Waste, เศษวัสดุที่ตกค้างจากการคัดแยกคาร์บอนจากสารอินทรีย์, ขยะชีวมวล และชิ้นส่วนยาง ตลอดจนวัสดุที่หั่นย่อยเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ กำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากสำหรับแหล่งเชื้อเพลิงสะอาดกว่าที่ใช้ในเครื่องยนต์สันดาปภายในทดแทนเชื้อเพลิง Diesel & Gasoline ในทศวรรษหน้า ..

ปัญหาขยะพลาสติกและการจัดการขยะพลาสติกก็เช่นกัน พวกมันกลายเป็นประเด็นระดับโลกที่ผู้คนต่างคำนึงถึง โดยเฉพาะปัญหาไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนอยู่ในทะเล อาจส่งผลกระทบร้ายแรง ในประเด็นห่วงโซ่อาหาร กลับมาทำร้ายมนุษยชาติหรือไม่ ..

การรีไซเคิลขยะพลาสติก เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์พลาสติกอีกครั้งนั้น มิได้ง่าย และยังไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากยังคงมีขยะพลาสติกส่วนเกิน ส่วนเหลือ และส่วนที่ทำรีไซเคิลไม่ได้ อีกเป็นจำนวนมาก และมากกว่ากว่าส่วนที่รีไซเคิลได้อีกต่างหากหลายเท่าตัว สุดท้ายไปลงเอยที่การฝังกลบ Landfills จึงถือว่า การจัดการขยะพลาสติกด้วยการรีไซเคิลนั้น ยังไปไม่ถึงสุดทาง กระบวนการจึงยังไม่จบ ปัญหาไมโครพลาสติกปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ยังไม่ได้รับการแก้ไข ..

ดังนั้น การปรับเปลี่ยนแนวทางหลักในการจัดการขยะพลาสติก Plastics Waste ด้วยการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงในรูปแบบต่าง ๆ กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในอนาคตอันใกล้ เพื่อจบกระบวนการไปให้สุดทาง ซึ่งภาครัฐสมควรยกระดับกำหนดให้ “การเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นเชื้อเพลิง Convert Plastics Waste to Fuels ด้วยเทคโนโลยีการแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE Technology” คือแนวทางหลักในระดับนโยบายภาครัฐ มิใช่เป็นเพียงกลยุทธ์เท่านั้น เพราะมันสำคัญต่อคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง ..

ในสังคมสมัยใหม่ การพึ่งพาผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพลาสติกในชีวิตประจำวันกลายเป็นความจำเป็นของมนุษยชาติ จึงมีแนวโน้มที่สังคมภาพรวมจะสามารถผลิตขยะ รวบรวมขยะพลาสติก ได้จำนวนมากในแต่ละปี ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์พลาสติก ไปจนถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง ..

ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ บางครั้งยากที่จะแยก และรีไซเคิลอย่างถูกต้อง เกือบ 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด ทำด้วยโพลีโพรพีลีน Polypropylene ซึ่งนักวิจัยหลายสำนัก ได้คิดวิธีเปลี่ยนผลิตภัณฑ์โพลีโพรพีลีน Polypropylene ให้เป็นน้ำมัน และเชื้อเพลิง ด้วยต้นทุนที่ไม่แพงมากได้แล้ว ..

ตามรายงานของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ และ Argonne National Laboratory ชี้ว่า ในสหรัฐฯประเทศเดียว 10 ปีที่ผ่านมา มีการจัดการทรัพยากรที่เป็นขยะ และเศษอาหาร มากกว่าเฉลี่ย 32 ล้านเมตริกตันต่อปี ไปยังหลุมฝังกลบ หรือประมาณ 70 ล้านล้านปอนด์ของขยะต่อปีนั้น ถูกนำไปฝังกลบ ..

จนถึงปัจจุบัน การรีไซเคิลขยะพลาสติกทั่วโลกนั้น มีสัดส่วนที่น้อยมาก และน้อยกว่า 5% ในแต่ละปี ขยะพลาสติก Plastics Waste เหล่านี้ ทำให้มหาสมุทรกลายเป็นปัญหาใหญ่ และนักวิจัยเชื่อว่า จะต้องใช้เวลามากกว่า 450 ปีในการย่อยสลายทางชีวภาพ หากเป็นเช่นนั้น ธุรกิจ โรงงาน และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่จะมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงพลาสติกเป็นเชื้อเพลิง จะถือว่ามีศักยภาพที่จะสามารถสร้างงานใหม่ๆ เฉพาะในสหรัฐฯชาติเดียว ได้มากกว่า 39,000 ตำแหน่ง และผลผลิตทางเศรษฐกิจได้สูงถึง 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี ..

สิ่งเหล่านี้เป็นผลดีทางเศรษฐกิจของทุกๆ ประเทศ ในขณะเดียวกันก็จะเป็นวิธีใหม่ๆ ในการนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งมิใช่การรีไซเคิล แต่เป็นการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง รวมทั้งเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมด้วย ดังนั้นการจัดการกับขยะพลาสติก โดยการเลือกที่จะการเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นเชื้อเพลิง น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการนำขยะพลาสติกมารีไซเคิล ..

อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมของการจัดการขยะ Waste Management นั้น การประยุกต์ใช้ “พลังงานจากขยะ Energy from Waste : EfW” หมายถึงกระบวนการที่ใช้ขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลนำกลับมาใช้ใหม่ได้ Non-Recyclable Waste ให้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานที่ใช้ได้ Fuel to Generate Usable Energy โดยทั่วไปจะเป็นกำลังไฟฟ้า Electricity หรือความร้อน Heat ผ่านการเผาที่ควบคุมไว้ Controlled Incineration โดยพื้นฐานแล้ว คือ การแปลงขยะที่มิฉะนั้นจะต้องนำส่งไปฝังกลบ ให้กลายเป็นแหล่งพลังงาน Energy Sources ซึ่งมักถือว่าเป็นทางออกในการจัดการขยะที่ยอดเยี่ยม เมื่อทางเลือกในการรีไซเคิลนั้น หมดลง ..

ทั้งนี้ ประโยชน์ของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ Benefits of Waste-to-Energy Power Plants ซึ่งเห็นได้ชัดเจน ได้แก่ ประสิทธิภาพการจัดการขยะ และการลดขยะ รวมทั้งช่วยจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล ชุมชนเมืองในปริมาณมาก และลดการพึ่งพาการฝังกลบขยะ Reducing Reliance on Landfills ได้อย่างเฉียบขาด .. นอกจากนั้น พลังงานจากขยะ Energy from Waste : EfW นั้น คือแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources ช่วยให้มีการผสมผสานพลังงานที่ยั่งยืนมากขึ้นโดยใช้ขยะเป็นแหล่งเชื้อเพลิง Utilizing Waste as a Fuel Sources รวมทั้งสามารถสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ Economic Benefits, สร้างงาน Create Jobs และสร้างรายได้ Generate Revenue ผ่านยอดขายกำลังไฟฟ้า Electricity Sales ในท้องถิ่นมาพร้อมด้วย ..

Waste to Energy : การเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน | Credit : สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน นครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับประเทศไทยนั้น การประยุกต์ใช้การแปลงขยะเป็นพลังงาน Waste-to-Energy : WtE จากแหล่งวัตถุดิบขยะเหลือทิ้งให้เป็นก๊าซชีวภาพ Biogas ที่อุดมไปด้วยก๊าซมีเทน Methane : CH4 ซึ่งสกัดออกมาจากการบำบัดน้ำเสีย Wastewater, ขยะในเขตเทศบาล และชุมชนเมือง หรือ Municipal Solid Waste : MSW, ขยะของเหลือทิ้งจากการเกษตร Agriculture Waste, ของเสียของมนุษย์ Human Waste และมูลสัตว์ Poop ในภาคเกษตรกรรม เพื่อผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 Production หรือใช้ขับเคลื่อนเครื่องยนต์ก๊าซเทอร์ไบน์ผลิตกำลังไฟฟ้า หรือการผลิตกำลังไฟฟ้าจาก Syngas และเชื้อเพลิงพลังงานชีวมวล Biomass Energy Fuels อื่นๆ รวมทั้งการทำตลาด Biogas & Syngas สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในภาคการขนส่ง และภาคเกษตรกรรมของไทยนั้น ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ..

ดังนั้น จึงเห็นสมควรให้หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง หรือเอกชนที่มีศักยภาพ เร่งส่งเสริมกำลังผลิตเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ Biogas และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel Gas รวมทั้งการผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 Production จาก Biogas ที่ได้จากชีวมวล Biomass ที่เป็นของเสียมนุษย์ Human Waste, มูลสัตว์ Poop, ขยะพลาสติก Plastics Waste, ขยะมูลฝอยของแข็งในชุมชน Municipal Solid Waste : MSW และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร Agriculture Waste เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงดีเซล Diesel Fuel และก๊าซธรรมชาติ Natural Gas ในประเทศให้เพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นระบบ รวมทั้งผลักดันการผลิตกำลังไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากแหล่งพลังงานชีวมวล Power Generation Using Biomass Fuels รูปแบบกระจายแยกย่อยในชุมชน หมู่บ้าน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ พื้นที่เกษตรกรรม ให้เป็นไปตามแผนงานโดยเร็ว กับการเร่งปลดล็อคการผูกขาดระบบสายส่งภาครัฐ และขยายศักยภาพโครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้ารองรับระบบหน่วยผลิตกำลังไฟฟ้าย่อย ๆ รูปแบบกระจายที่กำลังจะเติบโตขึ้นในชุมชนเกษตรกร และชุมชนเมืองสำหรับอนาคตอันใกล้ ..

ทั้งนี้ การพัฒนาตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพ และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Biogas, Biofuel & Synthetic Fuel Gas Market ในประเทศให้แข็งแกร่งด้วยต้นทุนที่ลดลงอีก กลายเป็นความจำเป็นเชิงนโยบายภาครัฐที่ขาดไม่ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ จะสร้างโอกาสทางธุรกิจ สร้างงาน และทำให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อภาพรวมความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และสามารถกระจายความเข้มแข็งทางพลังงานสู่ชุมชน หมู่บ้าน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ผู้คนในสังคมไทย และเกษตรกรในท้องถิ่นอย่างมากได้ในที่สุดโดยไม่มีข้อสงสัย ..

…………..

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Waste to Energy | Student Energy :-

https://studentenergy.org/conversion/waste-to-energy/#:~:text=Waste%20to%20Energy%3F-,Waste%20to%20Energy%20(WTE)%2C%20is%20a%20term%20that%20is,and%20landfill%20gas%20recovery%201

Will Energy from Waste Become the Key form of Bioenergy in Asia? | IEA :-

https://www.iea.org/articles/will-energy-from-waste-become-the-key-form-of-bioenergy-in-asia

Refuse – Derived Fuel | Wikipedia :-

https://en.wikipedia.org/wiki/Refuse-derived_fuel

As Waste to Energy Incinerators Spread in Southeast Asia, So Do Concerns :-

Thailand’s Growing Waste to Energy Market | TANA :-

Thai Renewable Energy Firms form Strategic Alliance for Waste to Energy Projects :-

https://www.reccessary.com/en/news/th-market/thai-renewable-energy-firms-form-strategic-alliance-for-waste-to-energy-projects

Waste To Energy Market Size, Share & Trends Report, 2030 | Grand View Research :-

https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/waste-to-energy-technology-industry#:~:text=Waste%20To%20Energy%20Market%20Size%20%26%20Trends,through%20incineration%20and%20anaerobic%20digestion

Synthetic Fuel Gas : Gasification of Plastic Waste & Biomass to SynGas or from Power to X Technology :-

https://photos.app.goo.gl/dDGTMm9r6qM29XxVA

Biomass Energy :-

https://photos.app.goo.gl/nbevEx1cE59Jzf2X8

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img