Energy Sector: Lead of the 6 Solutions to Climate Crisis
“….United Nations Environment Programme: UNEP ได้ระบุถึง ‘6 ภาคส่วนข้อไขสำคัญ The Six – Sector Solution to the Climate Crisis’ ที่มีศักยภาพในการลดการปล่อยมลพิษได้มากพอที่จะทำให้อุณหภูมิโลกอยู่ต่ำกว่าจุดเล็ง 1.5°C ..”
ข้อตกลงระดับโลกฉบับใหม่ด้านสภาพอากาศของกลาสโกว์ Glasgow Climate Pact ถือว่า ได้บรรลุข้อตกลงในการประชุมสุดยอดรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 26th United Nations Climate Change: COP26 Conference เมื่อ 31 ตุลาคม ถึง 13 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ผู้นำ และผู้รณรงค์มุ่งมั่นบางคนกล่าวว่า มันยังอาจไม่เพียงพอ ..
อะไรคือข้อตกลง COP26 .. ข้อตกลงเหล่านี้ แม้ว่าจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายก็ตาม แต่จะกำหนดวาระระดับโลกด้วยความร่วมมือจากนานาชาติเกี่ยวกับการกอบกู้วิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis ในทศวรรษหน้า ..
เพื่อให้มั่นใจว่าสภาพอากาศจะคงที่ ไม่แย่ลงไปกว่านี้ และสามารถดำเนินการได้จริงตามคำมั่นสัญญาของข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งครอบคลุมเกือบ 200 ประเทศ ให้อยู่ภายใต้กรอบเดียวกันในมาตรการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยนานาชาติทั้งหมดเห็นด้วยกับความจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เมื่อ 5 ปีก่อนหน้านี้ .. United Nations Environment Programme: UNEP ได้ระบุถึง ‘6 ภาคส่วนข้อไขสำคัญ The Six – Sector Solution to the Climate Crisis’ ที่มีศักยภาพในการลดการปล่อยมลพิษได้มากพอที่จะทำให้อุณหภูมิโลกอยู่ต่ำกว่าจุดเล็ง 1.5°C ..
ความร่วมมือในระดับนานาชาติทั่วโลกเท่านั้น จึงจะสามารถสร้างเป็นไปได้ที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 30 GT ต่อปี ภายในปี 2573 ให้สำเร็จได้ .. อย่างไรก็ตาม ยังคงมีอีกหลากหลายวิธีการที่สามารถกระทำได้จากแนวทางแก้ปัญหาด้วย 6 ภาคส่วนสำคัญเพื่อกอบกู้วิกฤติสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ..
ภาคการเกษตร อาหาร และขยะ Agriculture, Food & Waste :-
ระบบผลิตอาหารของโลกเรามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลดการปล่อยมลพิษ .. โดยรวมแล้ว โซลูชันการผลิตอาหารในภาคเกษตรกรรม และปศุสัตว์ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 6.7 Gt ต่อปี .. การลดอาหารเหลือทิ้ง และของเสีย รวมทั้งการเปลี่ยนไปใช้ระบบจัดการขยะอินทรีย์ ทั้งที่เป็นขยะเปียก ขยะแห้ง และของเหลือทิ้งการเกษตรที่ยั่งยืนมากกว่านี้ ก็จะสามารถลดการปล่อยมลพิษได้เพิ่มขึ้นอีกมากกว่า 2 Gt ต่อปี ..
ทั้งนี้ การเน่าเสียของอาหาร และขยะอินทรีย์เหลือทิ้งเกิดขึ้นทั่วทั้งห่วงโซ่ จากฟาร์มหนึ่งไปสู่อีกฟาร์มหนึ่ง และการเปลี่ยนไปบริโภคอาหารที่อุดมด้วยพืชมากขึ้นเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผู้คนสามารถทำได้เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ ยังเป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้คนอีกด้วย ..
ดังนั้น จึงจะต้องมีการดำเนินการในทุกระดับ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้ชุมชน และผู้คนลดของเสียในชีวิตประจำวัน รวมทั้งให้เกษตรกรทำการเกษตรกรรมบนพื้นฐานตามธรรมชาติ .. การเปลี่ยนไปสู่อาหารที่อุดมด้วยพืชมากขึ้น การจัดเก็บอาหารเพื่อเพิ่มความสดสูงสุด รวมถึงการแช่แข็งอาหารตามความเหมาะสมหากเป็นไปได้ กลายเป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่สำคัญยิ่ง ซึ่งฝ่ายการเมือง จะต้องผลักดัน และสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการวางมาตรการในระดับชาติเกี่ยวกับการลด และจัดการขยะการเกษตร และอาหารเหลือทิ้ง รวมทั้งส่งเสริมการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืนด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่บนพื้นฐานตามธรรมชาติที่เป็นรูปธรรมให้สำเร็จในที่สุดได้ต่อไป ..
ภาคอาคารสถานที่ เมือง และการก่อสร้าง Buildings, Cities & Construction :-
ภายในปี 2573 อาคารสถานที่ เมือง และการก่อสร้าง จะปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องกับพลังงานประมาณ 12.6 Gt .. ข่าวดีก็คือว่า 70% ของโครงสร้างพื้นฐานในเมืองที่จะต้องสร้างขึ้นเพื่อรองรับโลกที่เติบโตอย่างรวดเร็วนั้นยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ ..
อย่างไรก็ตาม ด้วยการกำหนดให้เมือง ชุมชน และอาคารบ้านเรือนในอนาคตมีความพร้อมเหมาะสมสำหรับคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าในยุคคาร์บอนต่ำ Low – Carbon Age และด้วยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure ที่มีอยู่ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังจะเกิดขึ้นสำหรับที่อยู่อาศัย อาคารสถานที่ทำงาน รองรับการเติบโตของชุมชนเมืองด้วยแนวทางคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality จากนี้ไป .. โลกจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 5.9 Gt อย่างแน่นอนไม่มีข้อสงสัย ..
ดังนั้น จึงจะต้องมีการดำเนินการในทุกระดับ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน .. การปรับปรุงอาคารสาธารณะ การส่งเสริมการติดตั้งระบบพลังงานสะอาด เช่น Heat Pumps โซลาร์เซลล์ Solar Cells และเทคโนโลยีการจัดเก็บความร้อน Heat Storage Technology .. มาตรการการจูงใจให้ติดตั้งระบบทำความเย็น และความร้อนจากส่วนกลาง และการใช้แสงสว่าง รวมทั้งมุ่งเน้นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน .. การกำหนดมาตรฐานอาคารสำหรับการก่อสร้างใหม่ รวมทั้งอาคารหลักที่ยั่งยืนภายใต้การวางผังเมืองที่เหมาะสมต่อการประหยัดพลังงาน การสร้างแรงจูงใจในพื้นที่ชนบทด้วยโซลูชั่นมินิกริด Mini – Grid Solutions หรือระบบ Smart Grid และการจัดวางระบบพลังงานสะอาดรูปแบบแยกย่อย หรือแยกเดี่ยวตามอาคารบ้านเรือน ชุมชน สถานที่ทำงาน หรือแม้แต่อาคารโรงงานอุตสาหกรรม ..
ทั้งนี้ ฝ่ายการเมือง จะต้องนำเสนอมาตรฐานการก่อสร้างคาร์บอนเป็นกลาง การปรับปรุง ผลักดัน และสนับสนุนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอาคารที่ปราศจากคาร์บอน รวมทั้งนโยบายการปรับปรุงอาคารสถานที่เพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่า อาคารสถานที่ เมือง และการก่อสร้าง Buildings, Cities & Construction จะปล่อยคายมลพิษให้น้อยลงอีก เนื่องเพราะที่คาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 5.9 Gt นั้น อาจถือว่ายังน้อยเกินไป ..
ภาคพลังงาน Energy :-
ภาคพลังงาน มีศักยภาพที่จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 12.5 GT ต่อปี .. มนุษยชาติไม่จำเป็นต้องรอการประดิษฐ์ใหม่ เทคโนโลยีพลังงานสะอาดเพื่อการนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว .. ทั้งนี้ ภาคพลังงาน สมควรจะแสดงบทบาทนำมาก่อนหน้านี้แล้ว ความพร้อมของเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน เครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือน Virtual Power Plant: VPP ระบบจัดเก็บพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยขนาดที่หลากหลาย และระบบพลังงานแบบ Hybrid ตั้งแต่ในครัวเรือน ชุมชน หมู่บ้าน เมืองใหญ่ หรือพื้นที่ห่างไกลนอกโครงข่ายระบบสายส่ง รวมทั้งเทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจน Hydrogen Energy Technology นั้น ทำให้ภาคพลังงาน มีศักยภาพมากที่สุดในการกอบกู้วิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis ด้วยมาตรการต่าง ๆ ในระดับนานาชาติ เช่น การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงาน Energy Transition หรือการดำเนินแผนงานตามเส้นทางสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero เป็นต้น ..
สำหรับ ภาคพลังงาน Energy Sector นั้น เพื่อที่จะแสดงบทบาทนำในการกอบกู้วิกฤติสภาพอากาศได้นั้น คาดหมายว่า จะต้องมีการลงทุนด้านพลังงานสะอาดทั้งหมดต่อปีรวมเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 ในเส้นทางสู่ศูนย์สุทธิ Net Zero และมันจะสามารถขับเคลื่อนอัตราการเติบโตของ GDP ทั่วโลกให้เพิ่มขึ้น 0.4 % ต่อปี โดยอิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF .. คาดการณ์ไว้ว่า การใช้จ่ายภาครัฐ และเอกชนที่พุ่งสูงขึ้น สามารถสร้างงานใหม่ ๆ หลายล้านตำแหน่งในด้านพลังงานสะอาด รวมถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เช่นเดียวกับในภาคอุตสาหกรรม วิศวกรรม เกษตรกรรม การผลิต และการก่อสร้าง .. ทั้งหมดเหล่านี้ จะทำให้ GDP โลกสูงขึ้น 4 % ในปี 2030 หรือ พ.ศ.2573 ซึ่งมากกว่าที่จะไปถึงได้ด้วยแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลตามแนวโน้มในปัจจุบัน ..
ดังนั้น คาดหมายได้ว่า ภายในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 ระบบพลังงานโลกจากนี้ไป จะดูแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ความต้องการพลังงานทั่วโลกจะลดน้อยลงกว่าในปัจจุบันประมาณ 8 % แต่จะกลับสามารถรองรับระบบเศรษฐกิจโลกได้มากกว่าสองเท่า และประชากรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ..
ภาคการขนส่ง Transport :-
การขนส่งรับผิดชอบประมาณหนึ่งในสี่ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด .. การปล่อยก๊าซของภาคส่วนนี้ถูกกำหนดเป้าหมายให้ลดลงได้อีกอย่างน้อยสองเท่าภายในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 ..
การปรับเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และมาตรการจูงใจให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสังคมไปสู่ระบบคมนาคมขนส่งปลอดมลพิษ ซึ่งรวมถึงการเดินทาง และการขนส่งด้วยรถยนต์ รถแท็กซี่ รถโดยสาร รถบรรทุก และรถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยแหล่งพลังงานสะอาด .. การลงทุน และขจัดสิ่งกีดขวางโครงสร้างพื้นฐานสำหรับกิจกรรมที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ เช่น การจัดเลนจักรยานที่ปลอดภัย หรือทางเดินสำหรับคนเดินเท้า .. การส่งเสริมผลประโยชน์ด้านสาธารณสุขที่สำคัญจากนโยบายคาร์บอนต่ำ .. เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า การขนส่งสาธารณะพลังงานสะอาด จะต้องเพิ่มขึ้นด้วยความเร่ง รวมถึงการยกเลิกการใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจากแหล่งน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และ Shale Gas & Shale Oil คือ ข้อไขหลักที่จะทำให้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด เป็นไปตามเป้าหมาย และแผนงานได้ ..
ทั้งนี้ นอกจากรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles: EVs มาตรฐานทั่วไปที่ขับเคลื่อนด้วยแหล่งพลังงานจากชุดแบตเตอรี่แล้ว การประยุกต์ใช้ไฮโดรเจน Hydrogen กับเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell บนยานยนต์ไฟฟ้า เช่น Fuel Cell Electric Vehicles: FCEVs จากนี้ไปนั้น เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจของผู้คนในอันที่จะทำให้ภาคการขนส่ง Transport Sector สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สำเร็จเพิ่มอีกอย่างน้อย 4 – 5 เท่า หรือมากกว่านั้น ภายในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 ..
ภาคป่าไม้ และการใช้ที่ดิน Forests & Land Use :-
เมื่อการอนุรักษ์ป่าไม้ และการใช้ที่ดิน Forests & Land Use เชื่อมต่อกับระบบผลิตอาหารของเรา และหากหยุดการตัดไม้ทำลายป่า และฟื้นฟูป่าไม้ที่เสื่อมโทรมให้กลายเป็นป่าสมบูรณ์ได้ คาดหมายว่า โลกจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 5.3 Gt ต่อปี .. การกระทำเหล่านี้ จะช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศ เพิ่มปริมาณน้ำให้กับเมือง ชุมชน เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ เพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร และฟื้นฟูเศรษฐกิจในชนบทได้สำเร็จ ..
ภาคป่าไม้ และการใช้ที่ดิน Forests & Land Use นั้น การวางกรอบนโยบายภาครัฐที่เข้มงวด เป็นเรื่องสำคัญ .. การทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์เพื่อค้นหาข้อไขการทำงานร่วมกันเพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน การลงทุนในประเด็นการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปล่อยมลพิษให้เป็นศูนย์สุทธิ Net Zero ซึ่งการพิจารณาลงทุนใด ๆ บนพื้นที่ป่า และเขาสูง จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานทางสังคม และสิ่งแวดล้อมในระดับที่เพียงพอ .. การอยู่ร่วมกันระหว่างผู้คน ป่าไม้ และสัตว์ป่า การส่งเสริมการลงทุนในห่วงโซ่อุปทานที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า และพิจารณาความเหลื่อมล้ำกันระหว่างห่วงโซ่อุปทานที่มีความยืดหยุ่น การฟื้นฟูป่าไม้ ระบบนิเวศวิทยา รวมทั้งทำให้มันเกิดขึ้นอย่างจริงจังด้วยความร่วมมือจากภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เป็นความจำเป็นยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้อีกต่อไปด้วย ..
ภาคอุตสาหกรรม Industry :-
ภาคอุตสาหกรรม สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 7.3 GT ต่อปี ด้วยการใช้แหล่งพลังงานที่สะอาดกว่า .. การยอมรับระบบทำความร้อน และทำความเย็นแบบใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน หรือแบบ Passive .. การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และแก้ไขปัญหาเร่งด่วนอื่น ๆ เช่น การปล่อยก๊าซมีเทนออกสู่บรรยากาศมากเกินไป เป็นต้น ..
การขยายขนาดการวิจัย และพัฒนา เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ ๆ สำหรับกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่มีคาร์บอนต่ำ Low – Carbon Industrial Processes .. การตรวจสอบการใช้พลังงาน และประสิทธิภาพทรัพยากรของการดำเนินงานในกระบวนการผลิตสินค้า และบริการ เพื่อระบุการลดผลกระทบที่คุ้มค่า Cost – Effective High – Impact Reductions .. การทำความเข้าใจความเสี่ยงต่อสภาพอากาศ และเตรียมการรองรับโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์พลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียนรูปแบบต่าง ๆ ที่สะอาดกว่า และประสิทธิภาพของทรัพยากรพลังงานที่สูงกว่าด้วยแนวปฏิบัติทางอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน Sustainable Industrial Practices ..
นโยบายภาครัฐสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่มุ่งผลักดันไปสู่ประสิทธิภาพการใช้พลังงานสะอาดที่สูงขึ้น และการกำหนดราคาคาร์บอน เป็นประเด็นความร่วมมือสำคัญที่ฝ่ายการเมือง และภาคเอกชน จะต้องดำเนินการในทิศทางที่สอดคล้องกัน .. ซึ่งหากทำเช่นที่กล่าวถึงได้ มั่นใจได้ว่า ภาคอุตสาหกรรม จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าเป้าหมายในแผนงานที่ 7.3 GT ต่อปี ได้แน่นอนไม่มีข้อสงสัย ..
COP26 Glasgow Climate Pact ข้อตกลงนานาชาติที่สรุปในช่วงต่อเวลา และเห็นร่วมกันให้ข้อไขภาคพลังงาน Energy Solutions Sector แสดงบทบาทนำ ..
การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ COP26 ที่ผ่านมา ตั้งความหวังไว้ก่อนแล้วว่า ข้อตกลงร่วมกันนี้ จะสามารถกำหนดเกณฑ์ให้ทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 45 % ภายในปี 2573 และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกบนเส้นทางไปสู่ศูนย์สุทธิ Net Zero ภายในปี 2593 เพื่อไปสู่เป้าหมายจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 oC เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมได้สำเร็จในที่สุด ..
อย่างไรก็ตาม การเจรจาในช่วงต่อเวลาไปอีก 1 วัน ก่อนที่ประเทศที่เข้าร่วมเกือบ 200 ประเทศ จะบรรลุข้อตกลงที่เรียกว่า Glasgow Climate Pact ได้สำเร็จ .. ทั้งนี้ สำหรับ ‘6 ภาคส่วนข้อไขสำคัญ The Six – Sector Solution to the Climate Crisis’ ที่มีศักยภาพในการลดการปล่อยมลพิษได้มากพอที่จะทำให้อุณหภูมิโลกอยู่ต่ำกว่าจุดเล็ง 1.5 °C นั้น ข้อไขภาคพลังงาน Energy Solutions Sector ถือว่า มีศักยภาพโดดเด่นมากที่สุดซึ่งจะต้องแสดงบทบาทนำจากนี้ไป ด้วยนโยบาย และมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมของแต่ละประเทศ ประชาคมโลก ในทิศทางที่สอดคล้องกัน ..
พลังงานจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน ที่ใช้เป็นหลักในระบบเศรษฐกิจ และสังคม เช่น พลังน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ความร้อนใต้พิภพ และพลังงานไฮโดรเจน รวมทั้งการใช้เชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ Biofuel จาก Biomass หรือเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel & Gas จากแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง แทนที่แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลจากแหล่งน้ำมันดิบลึกลงไปใต้เปลือกโลก ก๊าซธรรมชาติใต้ทะเล เหมืองถ่านหิน และ Shale Gas & Oil ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ไม่ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้ แม้จะกระทบต่อตำแหน่งงานในระบบพลังงานแบบดั้งเดิม แต่ตำแหน่งงานในระบบพลังงานสะอาดนั้นมีมากกว่า เป็นล้านตำแหน่ง และคาดหมายว่า พวกมันจะสามารถสร้างผลผลิตมวลรวม GDP ต่อปีได้มากกว่าที่แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลจะไปถึงได้ ..
คุณภาพที่สูงขึ้น และราคาที่ลดลง ของแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ กังหันลม และชุดแบตเตอรี่รุ่นใหม่ ๆ ในตลาด กับต้นทุนที่ลดลงเรื่อย ๆ ของพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน รวมถึงเทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจน กำลังเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจและสังคมของมนุษยชาติไปตลอดกาล .. การพึ่งพาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน หรือจากหินภูเขาดินดาน รวมถึงเชื้อเพลิงถ่านหินด้วยนั้น กำลังจะกลายเป็นอดีต .. และถึงแม้มันอาจจะมาถึงในระยะเวลากว่า 10 – 15 ปีจากนี้ไปก็ตาม แต่ด้วยปัจจัยราคาต้นทุนในระบบพลังงานสะอาดกว่าที่ค่อย ๆ ลดลงต่อเนื่อง กับความมุ่งมั่นของมนุษยชาติทั่วโลกเพื่อให้แนวคิด Net Zero Emissions Society ในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 บรรลุสู่ความสำเร็จ จึงเป็นไปได้ในที่สุด ..
ทั้งนี้ เนื้อหาสำคัญในข้อตกลงนานาชาติ COP26 Glasgow Climate Pact ได้แก่ การยกเลิก หรือลดการผลิตกำลังไฟฟ้าจากถ่านหิน และเลิกสนับสนุนกำลังผลิตจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการลดการใช้ถ่านหิน และเชื้อเพลิงฟอสซิลลงในข้อตกลง COP โดยข้อตกลงเหล่านี้ ได้ขอให้ประเทศต่าง ๆ เร่งความพยายามในการลดกำลังการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ซึ่งครอบคลุมโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา .. การบรรเทาความสูญเสีย และความเสียหายที่เกิดจากปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง และการระดมทุนช่วยประเทศกำลังพัฒนาให้ปรับเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียน อย่างน้อย 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี เป็นอีกประเด็นที่สำคัญ ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของประเทศพัฒนาแล้วที่มั่งคั่งกว่า ..
ภายในสิ้นปี 2565 ประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องเพิ่มเป้าหมายด้านสภาพอากาศสำหรับปี 2573 โดยปัจจุบันโลกยังอยู่ในเส้นทางการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิระหว่าง 2.5 – 2.7 oC ภายในปี 2573 ซึ่งยังห่างไกลจากเป้าหมายของความตกลงปารีสเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาเดิม ซึ่งกำหนดเป้าหมายจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 2 oC เป็นอย่างน้อย หรือเป้าหมายใหม่ที่ 1.5 oC เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ..
คาดการณ์ตลาดพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก Global Renewable Energy Market ..
ขนาดธุรกิจตลาดพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ทั่วโลกมีมูลค่า 881.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 และคาดว่าจะสูงถึง 1,977.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2573 .. ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 8.4 % จากปี 2564 ถึง 2573 ..
พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy แม้จะเรียกว่าพลังงานสะอาด แต่พวกมันมักจะได้มาจากแหล่งพลังงานผันแปรสูงตามธรรมชาติที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด .. ตัวอย่างพลังงานลม ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียนชนิดหนึ่งที่ใช้ในการผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานจลน์ .. กังหันลมแปลงพลังงานลมเป็นพลังงานกล ซึ่งจะถูกแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า .. พลังงานลม สามารถผลิตได้จากพื้นที่นอกชายฝั่ง และบนบก .. พลังงานลมบนบกเกี่ยวข้องกับกังหันลมบนบกที่ตั้งอยู่บนบก ในขณะที่กังหันลมนอกชายฝั่งจะพบได้ในมหาสมุทรหรือในทะเล ..
พลังงานหมุนเวียน RE รูปแบบหลากหลายจากแหล่งพลังงานในธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ความร้อนใต้พิภพ พลังงานชีวภาพ ไฟฟ้าพลังน้ำ และพลังงานจากมหาสมุทร เป็นแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนสำคัญ .. ปัจจุบัน พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ถูกใช้ในภาคพลังงาน การทำความร้อน การผลิตกำลังไฟฟ้า การทำความเย็น ภาคการขนส่ง และอื่น ๆ .. สัดส่วนกำลังผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนรวมกันอยู่ที่ประมาณเพียง 7 % ของความต้องการพลังงานทั่วโลก ..
พลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน มีราคาค่อนข้างแพงกว่าพลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่ก็มีหลายปัจจัยที่เป็นต้นเหตุของการใช้พลังงานหมุนเวียนที่ทำให้ตลาดเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเรื่อยมา .. ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ สาเหตุของภาวะโลกร้อน Global Warming อันเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาก๊าซเรือนกระจก การแสวงหามาตรการความมั่นคงด้านพลังงานควบคู่ไปกับความเกลียดชังต่อพลังงานนิวเคลียร์รูปแบบดั้งเดิม และความชะงักงันพัฒนาการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ..
ทั้งนี้ รัฐบาลของประเทศกำลังพัฒนา และชาติพัฒนาแล้วต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy เนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้น มลพิษลดลง และค่าบำรุงรักษาต่ำ รวมทั้งความมุ่งมั่นของนานาชาติจากผลการประชุม COP26 ที่สหราชอาณาจักรสำหรับการต่อสู้กับวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis ที่ต้องการให้ภาคพลังงานแสดงบทบาทนำด้วยการจัดทำแผนงานยกเลิกการใช้แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็นน้ำมันเบนซิน ดีเซล น้ำมันก๊าด และถ่านหิน หรือเชื้อเพลิงฟอสซิลใด ๆ ที่ขุดขึ้นมาจากใต้ดิน ใต้ทะเล หินภูเขา รวมทั้งถ่านหินทั้งหมด อย่างน้อยในทศวรรษหน้าให้สำเร็จ .. ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้รวมกัน ทำให้ความต้องการพลังงานหมุนเวียนเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การเติบโตของตลาดพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากด้วยความเร่ง ..
ตลาดพลังงานหมุนเวียน แยกตามภูมิภาค พบว่า ขนาดธุรกิจตลาดพลังงานหมุนเวียนใหญ่ที่สุดอยู่ในเอเชียแปซิฟิก คาดว่าจะเติบโตที่ค่า CAGR ที่ 9.6 % ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ และคิดเป็น 35.2 % ของส่วนแบ่งตลาดพลังงานหมุนเวียนในปี 2563 .. ภูมิภาคนี้ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการใช้พลังงานทั่วโลกเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมด้วยการเพิ่มจำนวนประชากร .. ตลาดพลังงานหมุนเวียนเติบโตขึ้นอย่างมากในประเทศต่าง ๆ เช่น จีน และอินเดีย .. ประเทศจีนกลายเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าชีวภาพรายใหญ่ที่สุดของโลก ตั้งแต่ปี 2560 และตอนนี้จีนเป็นหนึ่งในผู้เล่นหลักในด้านพลังงานน้ำ Hydropower, พลังงานลมบนบก Onshore Wind Power และเซลล์แสงอาทิตย์ Solar PV ..
ตลาดพลังงานหมุนเวียน แยกตามประเภท พบว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมา กลุ่มไฟฟ้าพลังน้ำ Hydroelectric Power เป็นผู้สร้างรายได้ที่ใหญ่ที่สุด และคาดหมายว่า จะเติบโตอยู่ที่ค่า CAGR 6.5 % ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ .. การพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำจำนวนมากเกิดขึ้นในบราซิล Brazil มีกิจกรรมเพิ่มขึ้นทั่วทั้งทวีป โดยมีโครงการเด่นในโคลัมเบีย Colombia และเปรู Peru .. การลงทุนที่เพิ่มขึ้นสำหรับการผลิตพลังงานนอกโครงข่ายระบบสายส่ง และการใช้พลังงานไฟฟ้าในชนบท และพื้นที่ห่างไกลในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย จีน บราซิล และเวียดนาม ได้เพิ่มความต้องการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก นอกจากนี้ ความคิดริเริ่ม เช่น โครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กโดยภาครัฐ และการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าให้กับพื้นที่ชนบท และส่งเสริมการใช้พลังงานน้ำขนาดเล็กนอกระบบสายส่ง และ Mini – Grid คาดว่า จะสามารถขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดได้ ..
พลังงานสะอาดที่เป็นไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen มีความต้องการสูงในตลาดพลังงานในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเช่นกัน เนื่องจากความสามารถของพวกมันในการลดการปล่อยคาร์บอน นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก พวกมันเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน Sustainable Energy Source .. ดังนั้น จึงคาดหมายได้ว่า จะมีการใช้งานเพิ่มขึ้นในอนาคต การเติบโตของการรับรู้เกี่ยวกับการใช้ไฮโดรเจนเป็นตัวนำพาพลังงาน Hydrogen as an Energy Carrier คาดว่าจะขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดไฮโดรเจนสีเขียวทั่วโลก ..
ขนาดธุรกิจตลาดไฮโดรเจนสีเขียวทั่วโลก Global Green Hydrogen Market มีมูลค่า 0.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 และได้รับการคาดหมายว่าจะสูงแตะ 9.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2571 .. ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดไฮโดรเจนสีเขียว Global Green Hydrogen Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 54.7 % ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ปี 2564 – 2571 ..
ทั้งนี้ กลุ่มผลิตภัณฑ์พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนในภาคครัวเรือน Residential Segment End Use ได้รับตำแหน่งสูงสุดของตลาดโลกในปี 2563 และคาดว่า จะเติบโตที่ CAGR 8.4 % ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ .. การเพิ่มขึ้นของการใช้ปั๊มความร้อนใต้พิภพในการใช้งานระบบทำความร้อนที่อยู่อาศัย คาดว่า จะช่วยผลักดันการเติบโตของตลาด ความต้องการพลังงานความร้อนใต้พิภพคาดว่า จะเพิ่มขึ้นอย่างมากตามความต้องการกำลังไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ..
การดำเนินการตามความคิดริเริ่มของภาครัฐ และภาคประชาสังคมในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาในหลานประเทศ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน และลดเลิกการใช้แหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วไปเป็นหลักในการผลิตกำลังไฟฟ้า ได้กลายเป็นแรงผลักสำคัญที่ทำให้การใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมขนาดเล็ก หรือระบบผลิตไฟฟ้าพร้อมชุดแบตเตอรี่รูปแบบผสมผสาน Hybrid Solar & Wind Electric Systems with Battery & Thermal Storage เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้าสำหรับครัวเรือน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในชุมชนอย่างมีนัยยะสำคัญ ..
สรุปส่งท้าย ..
Carbon Footprint คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก Green House Gas: GHG ทั้งหมดที่เกิดจากบุคคล เหตุการณ์ องค์กร การบริการ อาคารสถานที่ หรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งแสดงเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าก๊าซเรือนกระจก รวมถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีก๊าซมีเทน เป็นส่วนประกอบ สามารถปล่อยออกมาได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล การจัดการที่ดิน พื้นที่การเกษตร การผลิต และการบริโภคอาหาร กระบวนผลิตสินค้า วัสดุ ไม้ ถนน อาคาร การขนส่ง และบริการอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมของมนุษย์ทั้งสิ้น ..
อย่างไรก็ตาม มีหลายวิธีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น พฤติกรรมการบริโภคที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น การใช้เครื่องใช้ในครัวเรือนที่ประหยัดพลังงาน การใช้งานรถยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และการมุ่งไปใช้แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานไฮโดร เจน เป็นหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของมนุษยชาติ รวมถึงการยกเลิกการพึ่งพาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลโดยสิ้นเชิง .. ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว มันไม่ง่ายเลย แต่มันเป็นไปได้ ..
ผลจากข้อตกลง COP26 Glasgow Climate Pact ได้เสนอเส้นทางสู่ศูนย์สุทธิด้วยการผลักดันให้ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลกจากแหล่งน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และ Shale Gas & Shale Oil รวมทั้งถ่านหินทั่วโลก ซึ่งได้ทำให้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen กลายเป็นนวัตกรรมสำคัญสำหรับข้อไขภาคพลังงานที่จำเป็นจะต้องแสดงบทบาทนำจากนี้ไป เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนสู่บรรยากาศ เนื่องเพราะ ก๊าซเรือนกระจก และมลพิษเหล่านี้ ปล่อยคายออกมาจากภาคพลังงาน การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในกระบวนผลิตกำลังไฟฟ้า ความร้อน และการขนส่ง มากถึงประมาณ 74 % ทั่วโลก รวมทั้งจนถึงการบริโภคในภาคอุตสาหกรรม .. ทั้งนี้ ในที่ประชุม COP26 นั้น ภาคพลังงาน และเทคโนโลยีของพวกมัน ได้ส่งสัญญาณชัดเจนว่า โลกพร้อมแล้วสำหรับระบบพลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ และ Hydrogen Economy ในอนาคตอันใกล้นี้ ..
รัฐบาลของประเทศกำลังพัฒนา และชาติพัฒนาแล้วต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy เนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้น มลพิษลดลง และค่าบำรุงรักษาต่ำ รวมทั้งความมุ่งมั่นของนานาชาติจากผลการประชุม COP26 ที่สหราชอาณาจักรสำหรับการต่อสู้กับวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis ที่ต้องการให้ภาคพลังงานแสดงบทบาทนำด้วยการจัดทำแผนงานยกเลิกการใช้แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็นน้ำมันเบนซิน ดีเซล น้ำมันก๊าด และถ่านหิน หรือเชื้อเพลิงฟอสซิลใด ๆ ที่ขุดขึ้นมาจากใต้ดิน ใต้ทะเล หินภูเขา รวมทั้งถ่านหินทั้งหมด อย่างน้อยในทศวรรษหน้าให้สำเร็จ .. ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้รวมกัน ทำให้ความต้องการพลังงานหมุนเวียนเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การเติบโตของตลาดพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากด้วยความเร่ง ..
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ถูกใช้ในภาคพลังงาน การทำความร้อน การผลิตกำลังไฟฟ้า การทำความเย็น ภาคการขนส่ง และอื่น ๆ .. สัดส่วนกำลังผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนรวมกันอยู่ที่ประมาณเพียง 7 % ของความต้องการพลังงานทั่วโลกเท่านั้น .. ด้วยเหตุนี้ การผลักดันให้ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลกจากแหล่งน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และ Shale Gas & Shale Oil รวมทั้งถ่านหิน ภายในทศวรรษนี้ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย .. ดังนั้น เพื่อที่จะทำเช่นนั้นให้สำเร็จได้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จะต้องไม่มีการลงทุนในโครงการจัดหาเชื้อเพลิงฟอสซิลใหม่ ๆ และไม่มีการลงทุนขั้นสุดท้ายเพิ่มเติมใด ๆ การตัดสินใจสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่จะต้องหยุดลง .. ภายในปี 2573 จะไม่มีการซื้อขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลคันใหม่อีกต่อไป และภายในปี 2593 คาดหมายตามแผนว่า ภาคการผลิตกำลังไฟฟ้าทั่วโลก จะเข้าสู่การปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ สำเร็จได้ในที่สุด ..
การเพิ่มเซลล์แสงอาทิตย์ประจำปีเพื่อให้ถึง 630 GW ภายในปี 2573 และพลังงานลมให้สูงถึง 390 GW .. ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว นี่คือระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึงสี่เท่าจากปี 2563 ..
การผลักดันทั่วโลกครั้งใหญ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของความพยายามเหล่านี้เช่นกัน ส่งผลให้อัตราการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั่วโลกเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4 % ต่อปีจนถึงปี 2030 หรือ พ.ศ.2473 ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยถึงสามเท่าในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ..
ความก้าวหน้าในพัฒนาการแบตเตอรี่ขั้นสูงรูปแบบต่าง ๆ ระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ เครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือน อิเล็กโทรไลเซอร์สำหรับไฮโดรเจน เซลล์เชื้อเพลิง ระบบจัดเก็บไฮโดรเจนและการส่งจ่ายไฮโดรเจนผ่านระบบท่อที่ปลอดภัย ตัวเก็บประจุยิ่งยวด รวมทั้งระบบการดักจับและจัดเก็บ CO2 โดยตรงจากบรรยากาศ เป็นต้นนั้น จะสามารถช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกได้เป็นพิเศษ และมันกลายเป็นความจำเป็นยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ในภาคพลังงานเช่นกัน ..
การเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้พลังงานสะอาด มีไว้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า และเกี่ยวข้องกับผู้คนทุก ๆ คน แผนงานต่าง ๆ ที่ผู้นำแต่ละประเทศประกาศความมุ่งมั่นในการประชุม COP26 และที่ระบุใน Glasgow Climate Pact แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ความท้าทายมหาศาลในการเปลี่ยนไปใช้ระบบพลังงานสะอาด ปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์อย่างรวดเร็วนี้นั้น ได้กลายเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับระบบเศรษฐกิจและสังคมของมนุษยชาติรูปแบบใหม่สู่อนาคตคุณภาพที่เหนือชั้นกว่า ..
การเปลี่ยนแปลงของขนาด และความเร็วในเรื่องดังกล่าวนี้ จะไม่สามารถทำได้โดยปราศจากการสนับสนุน และการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนจากภาคประชาชน ซึ่งได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยตรงในหลาย ๆ ด้าน .. ทั้งนี้ ความร่วมมือของประชาคมโลกในภาคพลังงาน จะต้องแสดงบทบาทนำในการกอบกู้วิกฤติสภาพอากาศ สำหรับเส้นทางตัวอย่างสู่เป้าหมายศูนย์สุทธิ Net Zero ภายในปี 2593 เพื่อไปสู่เป้าหมายจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 oC เมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมได้สำเร็จในที่สุด ..
…………………….
คอลัมน์ : Energy Key
By.. โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Governments’ Fossil Fuel Production Plans Dangerously Out of Sync with Paris Limits | UNEP :-
EU Energy Day at COP26: the EU Leads the Global Energy Transition :-
http://www.ececp.eu/en/cop26-eu-energy-day-summary/
COP26: Key Outcomes Agreed at the UN Climate Talks in Glasgow :-
The Glasgow Climate Pact – COP26 :-
https://ukcop26.org/wp-content/uploads/2021/11/COP26-Presidency-Outcomes-The-Climate-Pact.pdf
The 2021 Production Gap Report | UNEP :-
COP26: What was Agreed at the Glasgow Climate Conference? | BBC :-
https://www.bbc.com/news/science-environment-56901261
The Six – Sector Solution to the Climate Crisis | UNEP :-
https://www.unep.org/fr/node/30567
6 Surprising Climate Change Solutions from Business Leaders | World Economic Forum :-
https://www.weforum.org/agenda/2021/09/6-surprising-climate-change-solutions/
Energy is at the Heart of the Solution to the Climate Challenge | IPCC :-
Renewable Energy: A Key Climate Solution | IRENA :-
https://www.irena.org/climatechange/Renewable-Energy-Key-climate-solution
How the Energy Sector can Help Get Us on Track to Tackle the Climate Crisis :-
Going Beyond the Energy Sector to Fight the Climate Crisis :-
https://outrider.org/climate-change/articles/going-beyond-energy-sector-fight-climate-crisis/
Climate Change: Implications for the Energy Sector :-
Renewable Energy Market Update 2021 | IEA :-
https://www.iea.org/reports/renewable-energy-market-update-2021
Global Report on Renewable Energy Market Size & Demand Will Grow to USD 1911 Mn by 2026 :-
The Future of Energy: The Road to COP26 | Deloitte :-
The Six – Sector Solution to the Climate Crisis :-