วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTSBattery Recycling โลกต้องเร่งถอดรหัสรีไซเคิลชุดแบตเตอรี่โดยเร็ว
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

Battery Recycling โลกต้องเร่งถอดรหัสรีไซเคิลชุดแบตเตอรี่โดยเร็ว

The World Needs to Crack Battery Recycling、Fast

“….โลกต้องการถอดรหัสรีไซเคิลชุดแบตเตอรี่ Battery Recycling ด้วยการทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่ายให้สำเร็จอย่างรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน .. “

การเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles: EVs เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น แต่จะทำให้เรามีแบตเตอรี่ใช้แล้วหลายแสนตันที่จำต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม และการรีไซเคิลชุดแบตเตอรี่ Battery Recycling คือ ข้อไขสำคัญจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ..

จนถึงปี พ.ศ.2578 หรือ ค.ศ.2035 รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles: EVs กำลังเข้ายึดครองถนนอย่างแน่นอนเปลี่ยนแปลงไม่ได้ .. คาดหมายได้ว่า รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเบนซิน และดีเซล Petrol & Diesel Cars จะกลายเป็นอดีตในไม่ช้า .. สหภาพยุโรป European Union ได้สั่งห้ามการซื้อขายรถยนต์ใหม่ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ตั้งแต่ปี 2573 เป็นต้นไปเพื่อเร่งการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานที่สะอาดขึ้น และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ..

แท้จริงแล้ว รถยนต์ไฟฟ้าจะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide: CO2 เมื่อขับขี่ แต่ชุดแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ Rechargeable Batteries กลับสร้างความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมในตัวของมันเอง พวกมันประกอบขึ้นด้วยโลหะหายาก ราคาแพง และเมื่อแบตเตอรี่สิ้นสภาพหมดอายุการใช้งานลงนั้น ปัญหาของพวกมัน ได้แก่ การรีไซเคิล Recycle กระทำได้อย่างยากเย็น ..

The Race to Crack Battery Recycling Before It’s Too Late | Credit: Wired

แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium Ion Batteries ทั่วไป ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ และมีน้ำหนักหลายร้อยกิโลกรัม .. แบตเตอรี่ที่ใช้ใน Nissan Leaf ประกอบด้วยชุดเซลล์ไฟฟ้าเคมี 192 เซลล์ ส่วนในรุ่น Tesla Model S มีเซลล์ทรงกระบอก 7,104 เซลล์ .. ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในโมดูลที่ขันเกลียว เชื่อม และติดกาวเข้าด้วยกันเพื่อควบคุมเป็นหน่วยเดียว ในขณะที่ขยะแบตเตอรี่ใช้แล้วเริ่มสะสมมากขึ้น ผู้ผลิตรถยนต์ บริษัทแบตเตอรี่ และนักวิจัยกำลังพยายามช่วยพวกมันให้พ้นจากการถูกฝังกลบ และนำกลับมาใช้ใหม่ให้ได้

ผู้รีไซเคิลส่วนใหญ่สนใจที่จะสกัดโลหะมีค่า และแร่ธาตุในเซลล์ไฟฟ้าเคมีเป็นหลัก การเข้าถึงวัสดุเหล่านี้มีความซับซ้อน และเป็นอันตราย .. หลังจากถอดโครงเหล็กแล้ว จะต้องแยกชุดแบตเตอรี่แต่ละเซลล์อย่างระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตราย .. อิเล็กโทรไลต์ ซึ่งเป็นของเหลวที่มีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายลิเธี่ยมไอออนระหว่างแคโทด และแอโนด สามารถติดไฟ หรือระเบิดได้หากได้รับความร้อน .. อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคนิคที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้นั้น เมื่อแกะบรรจุภัณฑ์แล้ว ผู้รีไซเคิลสามารถดึง ลิเธี่ยม นิกเกิล ทองแดง และโคบอลต์ที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าแยกออกมาได้อย่างปลอดภัย ..

ก่อนหน้านี้ โคบอลต์ เป็นวัสดุที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในแบตเตอรี่ซึ่งใช้ในแคโทด ในรูปแบบวัตถุดิบ .. โลหะสีน้ำเงินอมเทาที่หายากมีแหล่งที่มาอย่างเด่นชัดจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งคนงานเหมืองทำงานในสภาพที่เต็มไปด้วยอันตราย .. ปัจจุบัน ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของโลกส่วนใหญ่ได้ยกเลิกเลิกใช้โคบอลต์ไปแล้ว เนื่องเพราะผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน การขาดแคลนในห่วงโซ่อุปทาน และราคาที่ผันผวนรุนแรง ..

นั่นทำให้เกิดคำถามว่า ผู้รีไซเคิลจะยังคิดว่ามันคุ้มค่าอีกหรือไม่ที่จะรื้อแบตเตอรี่รุ่นใหม่ ๆ ที่ขาดส่วนประกอบที่มีค่าที่สุด “เมื่อคุณเปลี่ยนไปใช้วัสดุที่มีความยั่งยืนมากขึ้น และวัสดุที่มีต้นทุนต่ำ แรงจูงใจในการรีไซเคิล และนำกลับมาใช้ใหม่จะลดลง” Jenny Baker ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดเก็บพลังงานที่มหาวิทยาลัยสวอนซีกล่าว เธอเปรียบสิ่งนี้กับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ .. การซื้อโทรศัพท์มือถือใหม่มักจะถูกกว่าการซ่อมแซม หรือการรีไซเคิล ..

เหตุใดการรีไซเคิลแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า EV’ Batteries Recycling จึงเป็นความจำเป็น ..

ในปี 2558 ความต้องการแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนอยู่ที่ประมาณ 60 GWh แต่เพียง 5 ปีต่อมาก็เพิ่มขึ้นเป็น 300 GWh .. และได้รับการคาดหมายว่า จะแตะระดับ 2 TWh ภายในปี 2573 ซึ่งรวมถึงความต้องการทุกอย่างตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงการขนส่ง .. หากกำลังพูดถึงเพียงแค่ภาคการขนส่ง รายงานฉบับเดียวกันนี้ชี้ว่า EVs Batteries คิดเป็น 1.8 TWh ของความต้องการนั้น ..

ซึ่งทำให้เกิดคำถามขึ้นอีกว่า เรามีวัสดุเพียงพอเพื่อรองรับการผลิตแบตเตอรี่จำนวนขนาดนั้นหรือไม่ .. วัสดุทั่วไปที่จำเป็นสำหรับแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน ได้แก่ นิกเกิล โคบอลต์ ลิเธี่ยม กราไฟต์ และทองแดง ..

ความต้องการลิเธี่ยมเพียงอย่างเดียวคาดว่า จะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 300,000 เมตริกตัน Metric Ton ในปี 2563 เป็นมากกว่า 1.7 ล้านเมตริกตัน Metric Ton ในปี 2573 .. แม้ว่าทรัพยากรในทางเทคนิคยังจะถือว่ามีเพียงพอเพื่อรองรับความต้องการ แต่ก็มีเหมืองไม่เพียงพอที่จะขุด ขณะที่แร่ธาตุสำรองในธรรมชาติใกล้จะหมดลง .. มันได้กลายเป็นปัญหาใหญ่เพียงอย่างเดียวที่ยังหาคำตอบที่เหมาะสมไม่ได้ ..

ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน นักวิจัยจากสถาบัน Faraday Institution ของสหราชอาณาจักร ซึ่งอิงจากยอดขายรถยนต์ 1 ล้านคันในปี 2560 ที่เน้นเรื่องเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ประมาณการว่า แบตเตอรี่ที่ยังไม่ได้แปรรูปจำนวน 250,000 ตัน Metric Ton จะหมดอายุใน 15 ถึง 20 ปี ซึ่งเท่ากับแบตเตอรี่ใช้แล้วครึ่งล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอสำหรับเติมสระว่ายน้ำขนาดโอลิมปิก 200 สระ แม้ว่าแบตเตอรี่บางส่วนจะหมดอายุก่อนเวลาอันควรเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน หรือจะนำกลับมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมอื่น และนำไปรีไซเคิลในภายหลัง ..

กำลังการผลิตทั่วโลกสำหรับการกู้คืนวัตถุดิบจากแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วอยู่ที่ประมาณ 830,000 ตัน Metric Ton ต่อปี ตามรายงานของ Circular Energy Storage ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาในลอนดอน .. Hans Eric Melin กรรมการผู้จัดการกล่าวว่า “สินค้าส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีน และไม่มีจำหน่ายในตลาดอื่น เนื่องจากจีนห้ามนำเข้าแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วทิ้ง และแม้ว่า บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ของจีน ครอบครองส่วนแบ่งมากกว่าสองในสามของห่วงโซ่อุปทานสำหรับแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน แต่การรีไซเคิลอาจสามารถดำเนินการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ในที่สุด” Melin กล่าว

สหภาพยุโรปกำลังตามติดมาอย่างช้า ๆ ทั้งในแง่ของการผลิตแบตเตอรี่ และการรีไซเคิล โดยผู้ผลิตรถยนต์หลายรายเป็นผู้นำในการเรียกคืนวัสดุอันมีค่าเหล่านี้ .. สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency: IEA คาดการณ์ว่า การรีไซเคิลแบตเตอรี่ Battery Recycling จะสามารถตอบสนองความต้องการลิเธี่ยม Lithium, นิกเกิล Nickel, ทองแดง Copper และโคบอลต์ Cobalt สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ได้ถึงประมาณ 12 % ภายในปี 2573 ..

เทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium – ion Battery Recycling Technology ..

การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีเครื่องกล และไฮโดรเมทัลโลหการ Mechanical & Hydrometallurgical Technologies เพื่อรีไซเคิลวัสดุแบตเตอรี่ Recycle the Battery Materials เป็นกระบวนการที่นิยมใช้ในระดับอุตสาหกรรมที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ ช่วยให้สามารถกู้คืน ลิเธี่ยม โคบอลต์ แมงกานีส และนิกเกิล จากแบตเตอรี่ใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ใหม่ กระบวนจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้วเหล่านี้ เหมาะสมที่สุด ปลอดภัย ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ..

A Revolutionary Lithium – ion Battery Recycling Technology | Credit: RecycLiCo™/ American Association for the Advancement of Science

ตัวอย่างแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนถูกถอดประกอบ และจัดการครั้งแรกในระหว่างกระบวนการเครื่องกล Mechanical Process ที่โรงงานของ Fortum ในเมือง Ikaalinen ประเทศฟินแลนด์ .. กระบวนการนี้ ช่วยให้สามารถกู้คืน พลาสติก อะลูมิเนียม ทองแดง และมวลสีดำ Black Mass .. มวลสีดำของแบตเตอรี่ Battery’s Black Mass ซึ่งอุดมไปด้วยโลหะวิกฤติ Critical Metals ถูกรวบรวม และนำไปแปรรูปทางไฮโดรโลหะวิทยา Hydrometallurgical Processing ที่โรงงานของ Fortum ในเมือง Harjavalta ประเทศฟินแลนด์ .. ทั้งนี้ วัสดุอื่นนอกจากนั้นจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ด้วยอีกกระบวนการ และขั้นตอนที่แยกจากกัน ..

สำหรับกระบวนการรีไซเคิลไฮโดรเมทัลโลหการ Hydrometallurgical Recycling Process นั้น จะเกี่ยวข้องกับวิธีการตกตะกอนด้วยสารเคมี ซึ่งช่วยให้แร่ธาตุที่หายากสามารถกู้คืนจากมวลสีดำ Black Mass และส่งกลับไปยังผู้ผลิตแบตเตอรี่เพื่อนำกลับไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ใหม่ต่อไปได้ .. ปัจจุบัน กลุ่มงานวิจัยทั่วโลก กำลังค้นหาวิธีการ และกระบวนการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อดึงผลผลิตให้สูงขึ้นอีก ..

อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคนิคที่ใช้งานอยู่นี้ เชื่อมั่นว่า อย่างน้อย 80 % ของแบตเตอรี่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยการผสมผสานระหว่าง กระบวนการรีไซเคิลเชิงกล และทางไฮโดรโลหะการ Mechanical & Hydrometallurgical Recycling Processes รวมทั้งมากกว่า 95 % ของโลหะมีค่าจากมวลสีดำของแบตเตอรี่ Battery’s Black Mass สามารถกู้คืนได้ด้วยกระบวนการรีไซเคิลไฮโดรเมทัลโลหการ Hydrometallurgical Recycling Process อันถือเป็น เทคโนโลยีชี้ขาด Cutting – Edge Technology ซึ่งไม่เพียงจะช่วยจัดการขยะโลหะหนักใช้แล้วเท่านั้น แต่สามารถนำพวกมันกลับมาใช้ใหม่ได้เกือบ 100 % ช่วยยืดอายุวงจรผลิตภัณฑ์ที่เป็นระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ได้ไปอีกนาน หรือจนกว่าจะมีอะไรที่ดีกว่านี้เข้ามาทดแทนพวกมันได้ เช่น แบตเตอรี่ไหล Redox Flow Battery และแบตเตอรี่เหล็กอากาศ Iron Air Battery เป็นต้น ซึ่งการรีไซเคิลง่ายดายกว่ามาก ..

ตัวอย่างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี Battery Recycling เริ่มต้นขึ้นแล้ว เมื่อบริษัท Northvolt ผลิตเซลล์แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium – ion Battery Cell เป็นครั้งแรกด้วย นิกเกิล แมงกานีส และโคบอลต์รีไซเคิล 100 % ..

ผู้ผลิตระดับ Giga – Scale Manufacturer ชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้สามารถกู้คืนโลหะได้ถึง 95 % จากแบตเตอรี่ใช้แล้ว ลดความต้องการวัตถุดิบที่ขุดขึ้นมาใหม่ และลดก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทาน ..

ตัวอย่างบริษัท Northvolt ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตเซลล์ไฟฟ้าเคมีสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ด้วยวัสดุรีไซเคิล 50% ภายในปี 2030 ซึ่งเทียบเท่ากับ 30 GWh ต่อปี ด้วยการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ถัดจากโรงงาน Northvolt Ett Gigafactory ในเมือง Skellefteå ประเทศสวีเดน ซึ่งสามารถรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมได้ 125,000 ตันต่อปี .. ทั้งนี้ แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium Ion Batteries ประมาณ 250,000 ตัน ได้รับการคาดหมายว่า จะหมดอายุการใช้งานในยุโรปภายในปี 2573 ซึ่งจะทำให้การนำไปรีไซเคิลเกิดความคุ้มค่า สามารถสร้างกำไรให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ดีกว่าการทำเหมือง ..

Northvolt มีกำหนดจะก่อสร้างโรงงานให้แล้วเสร็จสมบูรณ์สำหรับสายการผลิตแรกที่ Northvolt Ett ในปลายปี 2564 ก่อนที่จะขยายไปถึง 60 GWh ในที่สุด โดยได้รับเงินลงทุนนับพันล้านยูโรในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับยอดสั่งซื้อคงค้างมากกว่า 13 พันล้านยูโร หรือ 14.72 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ..

โรงงานแห่งที่สองนั้น มีสมรรถนะสูงถึง 50 GWh ต่อปี กำลังได้รับการพัฒนาผ่านการร่วมทุนระหว่าง Northvolt กับ Volvo โดยมีกำหนดเริ่มการผลิตในปี 2569 ..

การรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium – Ion Battery Recycling นั้น เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ..

วัสดุรีไซเคิลที่เป็นโลหะมีค่าในแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า Recyclable Materials in Electric Vehicle Batteries คือ เป้าหมายสำคัญ .. สามองค์ประกอบหลักที่สามารถกลับมารีไซเคิลได้ ประการแรกคือ วัสดุแคโทดที่ยังไม่ได้ใช้งาน ได้แก่ นิกเกิล แมงกานีส และโคบอลต์ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป .. วัสดุเหล่านี้มีค่ามาก โดยเฉพาะโรงงานผู้ผลิตแบตเตอรี่ที่ต้องการพวกมันทั้งหมด .. พวกมันจะถูกแยกออกจากแคโทด และรีไซเคิลกลับสู่ต้นน้ำเพื่อเป็นวัตถุดิบภายในโรงงานต่อไป ..

ประการที่สอง คือ แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนใช้แล้ว .. บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่จะเรียกซื้อคืน E – Waste เหล่านี้ และส่งผ่านโรงงานรีไซเคิลของตน จัดเก็บไว้ หรือส่งพวกมันไปรีไซเคิล ขาย และปล่อยให้บริษัทผู้รีไซเคิลอื่นในพื้นที่ทำทุกอย่างที่ต้องการด้วยกระบวนการ วัสดุ หรืออาจจะส่งพวกมันไปแปรรูป .. ทั้งนี้ บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ ต้องการเพียง นิกเกิล แมงกานีส และโคบอลต์ คืนกลับมาเป็นวัตถุดิบเท่านั้น ..

ประการที่สาม คือ แบตเตอรี่ LIB ที่ใช้แล้วแต่ยังไม่สิ้นอายุใช้งาน ซึ่งสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ปริมาณเทียบกับการผลิตในปัจจุบันยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก ในกรณีเหล่านี้ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะจ้างบุคคลที่สามเพื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ใหม่ ซึ่งน่าจะอยู่ภายใต้การรับประกัน จากนั้นพวกเขาจะถูกว่าจ้างให้นำแบตเตอรี่ LIB ใช้แล้วไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลต่อไป ..

ค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิล และค่าใช้จ่ายในการทำลายแบตเตอรี่ลิเธี่ยมนั้น คล้ายกับกระบวนการที่ใช้กับแบตเตอรี่กรดตะกั่ว .. ส่วนใหญ่เป็นเพราะกระบวนการนี้ใช้อุปกรณ์ที่คล้ายกัน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก็ใกล้เคียงกัน .. ประมาณ 100 – 200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตัน ของแป้งฝุ่นสีดำ มวลสีดำ Black Mass ซึ่งเป็นส่วนผสมของ นิกเกิล Nickel, แมงกานีส Manganese และโคบอลต์ออกไซด์ Cobalt Oxides กับคาร์บอน Carbon คิดเป็นประมาณ 60 % ของน้ำหนักแบตเตอรี่ขาเข้า เมื่อผ่านการปรับแต่งขั้นต้นแล้ว การแปลงแบตเตอรี่ใช้แล้วขาเข้าจะอยู่ที่ราคาประมาณ 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตัน ..

ในปริมาณ 60 % นี้ ครึ่งหนึ่งเป็นคาร์บอน Carbon และอีกครึ่งหนึ่งเป็นโลหะออกไซด์ Metal Oxides ที่ใช้แล้ว หรือยังไม่ได้ใช้, โคบอลต์ Cobalt, นิกเกิล Nickel และแมงกานีส Manganese รวมทั้งชิ้นส่วนพลาสติก และโลหะเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ .. สัดส่วนของโคบอลต์ มีอยู่ที่ประมาณ 5 – 10 % ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต .. มูลค่าของพวกมันประมาณ 300 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตันของหน่วยแบตเตอรี่ขาเข้าที่เป็นมวลสีดำ Black Mass ที่ขายในตลาดเปิด หรือ 500 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตันของมวลสีดำจริง Actual Black Mass ..

อลูมิเนียม และทองแดงค่อนข้างมีค่า หากพิจารณาปริมาณทองแดง และอะลูมิเนียมที่อยู่ในแบตเตอรี่ ให้คูณด้วย 30 % ของราคา London Metal Exchange และระดับราคาจะอยู่ที่ประมาณ 450 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตันสำหรับทองแดง และ 53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตันสำหรับอะลูมิเนียม ที่เพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งที่ออกมาจากกระบวนการนี้เกือบเท่า ๆ กับมวลสีดำ Black Mass .. สิ่งสำคัญสำหรับผู้รีไซเคิลต้องคำนึงถึงทั้งสองสิ่งนี้ เพราะพวกมันมีมูลค่าราคาขายเกือบเท่ากับมูลค่าของมวลสีดำ Black Mass ..

แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium – Ion Battery ที่เข้ามาหนึ่งเมตริกตัน จะมีราคาประมาณ 90 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยมวลสีดำขายได้ประมาณ 300 เหรียญสหรัฐฯ ขึ้นไป และหากเป็นโลหะที่ต้องการล้วน ๆ แล้ว จะมีราคาประมาณ 500 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตัน .. ซึ่งหมายถึง การดำเนินการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยม Lithium – Ion Battery Recycling ที่สามารถสร้างผลกำไรได้เป็นอย่างดีนั่นเอง ..

Value of Recycled EV Batteries by Battery Type | Credit: Statista 2021

ทั้งนี้ อ้างอิงข้อมูลจาก Statista 2021 พบว่า มูลค่าแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle: EV รีไซเคิลแยกตามประเภทแบตเตอรี่นั้น .. แบตเตอรี่ Lithium Nickel Cobalt Manganese Oxide: NCM111 เป็นแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าประเภทที่ทำกำไรได้มากที่สุดในการรีไซเคิล .. ผู้รีไซเคิลแบตเตอรี่จะได้รับเงิน 42 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง KWh .. ในทางกลับกัน แบตเตอรี่ Lithium Iron Phosphate Battery: LFP จะมีมูลค่าต่ำสุดที่ประมาณ 15 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง KWh ..

อย่างไรก็ตาม มูลค่าการสร้างรายได้จากการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมประเภทอื่นที่ได้รับการบันทึกไว้ในปีที่ผ่านมา ได้แก่ แบตเตอรี่ Lithium Nickel – Cobalt – Aluminum Oxide: NCA อยู่ที่ 24 เหรียญสหรัฐฯ / KWh, แบตเตอรี่ NCM 811 Battery or Nickel : Cobalt : Manganese at a Ratio of 8:1:1 Battery มีราคาอยู่ที่  25 เหรียญสหรัฐฯ / KWh และแบตเตอรี่ Lithium Nickel Cobalt Manganese Oxide: NCM622 มีมูลค่าอยู่ที่ 32 เหรียญสหรัฐฯ / KWh .. ซึ่งทั้งหมดถือว่า เป็นระดับราคาที่เป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ และง่ายกว่าการลงทุนทำเหมืองอย่างมากมาย ..

คาดการณ์ตลาดการรีไซเคิลแบตเตอรี่ทั่วโลก Battery Recycling Global Market ..

ตลาดรีไซเคิลแบตเตอรี่ทั่วโลก Global Battery Recycling Market เติบโตจาก 9.97 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 เป็น 11.04 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 ที่อัตราการเติบโตต่อปีที่ค่า CAGR 10.76 % .. การเติบโตของตลาดส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับการรีไซเคิลแบตเตอรี่ คาดว่า จะแตะระดับ 16.90 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2568 ที่ค่า CAGR 11.23 % ..

ตลาดการรีไซเคิลแบตเตอรี่ Battery Recycling Market ประกอบไปด้วยการขายแบตเตอรี่รีไซเคิลโดยหน่วยงาน องค์กร ผู้ค้ารายเดียว พันธมิตร และบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง .. การรีไซเคิลแบตเตอรี่ Battery Recycling เป็นวิธีการนำแบตเตอรี่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ และการแปรรูปแบตเตอรี่ใหม่ เพื่อลดจำนวนแบตเตอรี่ที่ถูกทิ้งเป็นขยะอันตรายฝังกลบ ..

แบตเตอรี่ประเภทหลักที่นำกลับมาใช้ใหม่ ได้แก่ แบตเตอรี่ตะกั่ว – กรด Lead – Acid Battery, แบตเตอรี่นิกเกิล Nickel – Based Battery, แบตเตอรี่ลิเธี่ยม Lithium – Based Battery และแบตเตอรี่ประเภทอื่น ๆ ..

แบตเตอรี่กรดตะกั่ว จะถูกชาร์จอย่างต่อเนื่องจากโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า และโดยปกติได้รับการออกแบบมาให้จ่ายกำลังไฟฟ้าในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมสามารถปิดอุปกรณ์ไฟฟ้ากำลังได้อย่างเหมาะสม ..

แบตเตอรี่ตะกั่วกรด Lead – Acid Batteries สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มาก โดยมีอัตราการรีไซเคิลมากกว่า 90 % ในหลายประเทศ .. แบตเตอรี่ที่ใช้นิกเกิล Nickel – Based Batteries มีอิเล็กโทรดนิกเกิลไฮดรอกไซด์ขั้วบวก และขั้วลบของแคดเมียม และให้ประสิทธิภาพที่ดีในอุณหภูมิแวดล้อมสูง ทนต่อไฟฟ้าได้ดี ใช้เนื่องจากสามารถปล่อยทิ้งไว้ในสภาวะปล่อยทิ้งเป็นเวลานานโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายถาวร ..

แบตเตอรี่แบบลิเธี่ยม Lithium – Based Batteries มีแคโทดลิเธี่ยมเมทัลออกไซด์ Lithium Metal Oxide Cathode และคาร์บอนแอโนดที่มีอิเล็กโทรไลต์อินทรีย์ Carbon Anode with an Organic Electrolyte และมีความหนาแน่นของพลังงานสูงสุด Highest Energy Density สำหรับระบบที่ชาร์จใหม่ทั้งหมด ความจุสูง และแรงดันไฟฟ้าเซลล์เดียวทำให้แบตเตอรี่เหมาะสำหรับการใช้งานหลายประเภท ทั้งที่ต้องการพลังงานสูง High Energy ไปจนถึงกำลังสูง High Power ..

กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการรีไซเคิลแบตเตอรี่ ได้แก่ การสกัดแยกวัสดุ Extraction of Material, การนำกลับมาใช้ใหม่ Reuse, การบรรจุซ้ำ Repackaging & Second Life และการกำจัด Disposal ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้ เป็นไปอย่างต่อเนื่องตามขั้นตอนเพื่อรีไซเคิลแบตเตอรี่สิ้นสภาพจากยานยนต์ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ สำหรับผู้บริโภค รวมทั้งระบบจัดเก็บพลังงานชุดแบตเตอรี่ในภาคอุตสาหกรรม ..

อเมริกาเหนือ เป็นภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในตลาดการรีไซเคิลแบตเตอรี่ในปี 2563 .. ทั้งนี้ ภูมิภาคที่กล่าวถึงในรายงานนี้ซึ่งตลาดรีไซเคิลแบตเตอรี่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ได้แก่ เอเชียแปซิฟิก ยุโรปตะวันตก ยุโรปตะวันออก อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ..

Global Lithium – ion Battery Recycling Market by End Use | Credit: Marketsandmarkets

อย่างไรก็ตาม หากเจาะลึกลงไปที่ ตลาดรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนทั่วโลก The Global Lithium – ion Battery Recycling Market ประเภทเดียว พบว่า มีมูลค่า 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 และคาดว่าจะพุ่งสูงแตะระดับ 22.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2573 .. ทั้งนี้ คาดหมายว่า อัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนทั่วโลก The Global Lithium – ion Battery Recycling Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 19.6 % ในช่วงที่คาดการณ์ ปี 2564 – 2573 .. ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตของตลาด คือ ปริมาณลิเธี่ยมสำรองในธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด และความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ..

กลุ่มผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่ลิเธี่ยม – โคบอลต์ Lithium Cobalt Battery: LCO มีส่วนแบ่งมูลค่าสูงสุดในปี 2563 ในตลาดรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน โดยพิจารณาจากประเภทแบตเตอรี่ หมวดหมู่นี้คาดว่า จะครองตลาดต่อไปในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ซึ่งสามารถระบุได้หลัก ๆ ว่า มีความหนาแน่นของพลังงานสูงกว่า ทำให้แบตเตอรี่ LCO เหมาะสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพา เช่น แล็ปท็อป โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต .. นอกจากนี้ แบตเตอรี่ Lithium Cobalt Battery: LCO ที่รีไซเคิลแล้ว ยังมีแรงดันไฟฟ้าสำหรับรอบการคายประจุสูง High Discharge Voltage จึงเป็นที่ต้องการสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ..

ทั้งนี้ กลุ่มหมวดหมู่ยานยนต์ไฟฟ้า คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุดในแง่ของมูลค่าในปี 2563 และคาดหมายว่า จะเห็นการเติบโตที่เร็วที่สุดในช่วงระยะเวลาคาดการณ์เช่นกันบนพื้นฐานของผู้ใช้ปลายทาง การเติบโตนี้ส่วนใหญ่มาจากการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก .. นอกจากนี้ ปริมาณลิเธี่ยมสำรองอย่างจำกัด ยังสนับสนุนให้มีการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนเพื่อนำกลับมาใช้งานอีกครั้งแล้วครั้งเล่า ด้วยความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ความต้องการแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนที่นำกลับมาใช้ใหม่จึงได้รับการคาดว่า จะเพิ่มขึ้นในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า Automotive Sector อย่างมากด้วยความเร่งจากนี้ไป ..

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ขับเคลื่อนตลาดรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนทั่วโลก ตามกรอบสถานการณ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development Scenario ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency: IEA คาดหมายไว้ว่า จำนวนยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ไม่รวมรถไฟฟ้าสอง และสามล้อ จะเพิ่มขึ้นเป็น 245 ล้านหน่วย ภายในปี 2573 ซึ่งในทางกลับกันคาดว่า จะส่งเสริมให้เกิดการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนเพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคตสำหรับแบตเตอรี่เหล่านี้ในรถยนต์ไฟฟ้า และถือเป็นความจำเป็นยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ ..

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Asia – Pacific: APAC เป็นผู้นำตลาดรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนทั่วโลก ในปี 2563 และคาดว่า จะยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในช่วงเวลาคาดการณ์ เป็นผลมาจากการนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้เพิ่มมากขึ้น .. ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ ผู้ผลิตรถยนต์ จึงมองหาการจัดหาแบตเตอรี่ด้วยวัสดุรีไซเคิลเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การตระหนักรู้เกี่ยวกับประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศกำลังพัฒนาของภูมิภาคนี้ คาดว่า จะช่วยเพิ่มความต้องการแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนที่นำกลับมาใช้ใหม่ปริมาณมหาศาลได้ในอนาคตอันใกล้ ..

สรุปส่งท้าย ..

ปริมาณลิเธี่ยมสำรองในธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด และความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ แรงผลักสำคัญสำหรับความต้องการถอดรหัสรีไซเคิลชุดแบตเตอรี่ Battery Recycling ทั่วโลกด้วยการทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่ายให้สำเร็จอย่างรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ..

แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium – Ion Batteries: LIB ใช้ลิเธี่ยมเป็นอิเล็กโทรไลต์ และองค์ประกอบแคโทดหลัก จึงเป็นที่มาของชื่อ .. แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน เปิดตัวในปี พ.ศ.2513 หรือ ค.ศ.1970 และได้กลายเป็นหลักในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค เครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป โทรศัพท์ แท็บเล็ต และอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้บริโภคต่าง ๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การใช้งานได้ขยายไปสู่ระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ และการจัดเก็บแบบอยู่กับที่ เช่นเดียวกับ รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle: EV ..

ประสิทธิภาพในระยะยาว Long – Term Performance ความหนาแน่นของพลังงาน และกำลังที่สูง High Energy & High Power Density ความสามารถในการเก็บประจุไว้เป็นเวลานาน Ability to Hold a Charge for a Long Time อัตราการคายประจุในตัวเองต่ำ Low Self – Discharge Rates และอัตราการชาร์จที่รวดเร็ว Fast Charging Rates ทำให้แบตเตอรี่ Lithium – Ion Batteries: LIB เหล่านี้ เป็นที่นิยมอย่างมาก ..

ปัจจุบัน อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค และยานยนต์ไฟฟ้า ได้เพิ่มความต้องการการใช้แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนจำนวนมาก และกำลังผลักดันให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่เพิ่มกำลังการผลิตขึ้นอีก .. นักวิเคราะห์ในภาคอุตสาหกรรม คาดการณ์ว่า ด้วยความต้องการ LIB มากกว่า 10 ล้านเมตริกตัน ภายในปี 2573 ขณะที่ปัจจุบันมีเพียง 5 % หรือน้อยกว่าของแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนที่ใช้แล้วเท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล ซึ่งหมายความว่า ส่วนใหญ่จะสิ้นสุดในหลุมขยะอันตรายฝังกลบ ..

กระบวนการกำจัดลักษณะเดิมที่ผ่านมาทำให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ E – Waste ซึ่งประกอบด้วยสารพิษ .. เป็นที่ทราบกันดีว่า ของเสียเหล่านี้ สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านลบหลังการกำจัด เช่น มลพิษทางน้ำ ผลกระทบด้านลบต่อสัตว์ป่า และอื่น ๆ อีกมากมาย ..

หลายคนยังคงทิ้งแบตเตอรี่ และไม่รู้ถึงประโยชน์ของการรีไซเคิล Benefits of Recycling .. การวิเคราะห์ประโยชน์ของการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ รวมทั้งข้อเสนอตัวเลือกที่ปลอดภัยที่สุดในการจัดเก็บ และส่งแบตเตอรี่เพื่อการรีไซเคิลเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน แสดงให้เห็นว่า การรีไซเคิลชุดแบตเตอรี่ Battery Recycling กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้จากนี้ไป .. มันไม่ใช่เรื่องยาก และเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ..

สำหรับประเทศไทยนั้น การผลิตแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium Ion Battery ภายในประเทศกำลังจะเริ่มขึ้นเต็มรูปแบบโดยเอกชนไทยที่มีศักยภาพ เพื่อใช้เอง และเพื่อการส่งออก .. การเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมเหมืองแร่ลิเธี่ยมในประเทศชิลีของบริษัทคนไทย เพื่อให้มั่นใจว่า จะไม่มีความขาดแคลนแร่ธาตุโลหะมีค่าที่จำเป็นในกระบวนผลิต เป็นการมองการณ์ไกลที่ยอดเยี่ยม ..

นอกจากนี้ ยังมีการนำซากขยะเซลล์แสงอาทิตย์ใช้แล้วมาเข้ากระบวนการรีไซเคิล เพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเธี่ยมใหม่ในประเทศอีกด้วยนั้น ได้ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถควบคุม และกำหนดราคาพลังงานสะอาดที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการได้เองอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน รวมทั้งจะทำให้ราคายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศลดลงจนสามารถแข่งขันในตลาดรถยนต์นั่งทั่วไปที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในได้ ..

การประเมินศักยภาพการรีไซเคิลซากแบตเตอรี่ชนิดที่มีลิเธี่ยมเป็นองค์ประกอบหลักในประเทศไทยนั้น เชื่อมั่น

ได้ว่า จะส่งผลต่อการบริหารจัดการที่ทำให้เกิดความคุ้มค่าทั้งทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ .. อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบางประการจากนโยบายภาครัฐ และมาตรการที่ชัดเจนในการส่งเสริมการรวบรวม และเรียกคืนซากแบตเตอรี่ลิเธี่ยม การคัดแยกซากแบตเตอรี่ และการรีไซเคิลแบตเตอรี่สิ้นสภาพใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้สำเร็จในอนาคตอันใกล้ได้ต่อไป ..

การพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมใช้แล้วภายในประเทศนั้น พบว่ามีจุดแข็งสำคัญ ได้แก่ ภาครัฐมีหน่วยงาน และมีมาตรการพื้นฐานในการกำจัดซากของเสียรองรับอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานภาคการศึกษา หรือหน่วยงานที่พร้อมสนับสนุนข้อมูลทางเทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่ Battery Recycle .. ส่วนปัจจัยในเชิงลบ หรือจุดอ่อนหลักที่ต้องคำนึง คือ การบังคับใช้กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ในการ

จัดการกับขยะแบตเตอรี่ หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์ E – Waste ซึ่งได้แก่ การรวบรวม การกักเก็บ รวมถึงการคัดแยก .. ภัยคุกคามหลัก คือ การขาดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการจัดการซาก ขยะมีพิษ หรือขยะอันตรายของประชาชน ซึ่งไม่เพียงแค่การรีไซเคิลซากแบตเตอรี่ลิเธี่ยมใช้แล้วเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการรีไซเคิลขยะประเภทอื่น ๆ ด้วย เช่น ขยะครัวเรือน  ขยะการเกษตร และขยะอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดแยกขยะอันตราย หรือการนำขยะพลาสติก และขยะอินทรีย์ มาผลิตเป็นเชื้อเพลิง SynGas or Synthetic Fuel เป็นต้นด้วย ..

อย่างไรก็ตาม พบว่า โอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาของลิเธี่ยมมีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนการแยกโลหะมีค่าจากการรีไซเคิลมีราคาลดลง จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาขยะอันตรายในชุมชนของไทยที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตโดยการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ .. นอกจากนั้น การเติบโตของตลาดรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนทั่วโลก The Global Lithium – ion Battery Recycling Market ซึ่งได้รับการคาดหมายว่าจะพุ่งสูงแตะระดับ 22.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2573 ที่ค่า CAGR 19.6 % ในช่วงที่คาดการณ์ ปี 2564 – 2573 หมายถึงโอกาสทางธุรกิจที่เป็นไปได้ และน่าสนใจอย่างยิ่ง ..

Recycled Lithium Batteries Market: 1.2 million tons per year to Hit $6 Billion by 2030 | Source: Circular Energy Storage

ทั้งนี้ ความต้องการแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium Ion Battery โดยเฉพาะในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว คาดการณ์ไว้ว่า ใน 10 – 15 ปีข้างหน้า ปริมาณความต้องการทั่วโลกจะขยายตัวถึง 100 เท่า ในขณะที่ราคาจะลดลงประมาณ 3 เท่า นี่ยังไม่รวมมูลค่าการตลาดจากระบบจัดเก็บพลังงานขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และอื่น ๆ ที่ติดตั้งตามบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ชุมชน ที่ทำงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม ..

การมุ่งสู่ระบบเศรษฐกิจ และสังคมของไทยด้วยการพึ่งพาแหล่งพลังงานสะอาด พลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียน เป็นเรื่องสำคัญจำเป็นยิ่งยวดในระดับชาติ .. การผลิตระบบจัดเก็บพลังงานสะอาดในประเทศก็เป็นอีกประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึง .. ต้นทุนพลังงานที่ถูกกว่า การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของชาติด้วยการให้การผลิตแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium Ion Battery รวมถึงการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium – ion Battery Recycling ให้เกิดขึ้นครบวงจรได้สำเร็จภายในประเทศ จึงเป็นกุญแจสำคัญของการเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในเวทีตลาดโลกได้อย่างแน่นอนไม่มีข้อสงสัย ..

……………………………

คอลัมน์ : Energy Key

By.. โลกสีฟ้า

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

The World Needs to Crack Battery Recycling, Fast :-

https://www.wired.co.uk/article/ev-battery-recycling-cobalt

Lithium – ion Battery Recycling Technology :-

https://www.fortum.com/products-and-services/fortum-battery-solutions/recycling/lithium-ion-battery-recycling-technology

Technology breakthrough as Northvolt produces first ever lithium – ion battery cell with 100% recycled nickel, manganese and cobalt :-

https://www.rechargenews.com/energy-transition/technology-breakthrough-as-northvolt-produces-first-ever-lithium-ion-battery-cell-with-100-recycled-nickel-manganese-and-cobalt/2-1-1098748

Recycling Lithium – ion Batteries from Electric Vehicles | Nature :-

https://www.nature.com/articles/s41586-019-1682-5

Battery Recycling Global Market Report 2021: COVID-19 Growth & Change :-

https://www.globenewswire.com/news-release/2021/07/09/2260426/0/en/Battery-Recycling-Global-Market-Report-2021-COVID-19-Growth-And-Change.html

Insights on the Lithium – Ion Battery Recycling Global Market to 2030 :-

https://www.prnewswire.com/news-releases/insights-on-the-lithium-ion-battery-recycling-global-market-to-2030—development-in-the-electrical–electronics-sector-presents-opportunities-301421431.html

Battery Recycling Market Outlook – 2026 :-

https://www.alliedmarketresearch.com/battery-recycling-market

Lithium – ion Battery Recycling: Benefits and Risks Analyzed :-

Battery Recycling Explained | Solving EV’s Biggest Problem :-

https://photos.app.goo.gl/DxCoUQcupA3dWpVT7

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img