Rooftop Solar Power: The Huge Global Potential for Energy
“……ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Powered Electricity ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มเหมาะสมมากที่สุดที่จะช่วยชะลอ และหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ….”
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ Solar PV ซึ่งเป็นแผงโซลาร์เซลล์ที่คุ้มค่าที่สุด มักถูกติดตั้งบนดาดฟ้า หรือหลังคาบ้านเรือน อาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม .. พวกมัน คือ กุญแจสำคัญในการผลิตกำลังไฟฟ้าโดยไม่ทำให้วิกฤติสภาพภูมิอากาศเลวร้ายลงไปกว่านี้ ..
ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Powered Electricity ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มเหมาะสมมากที่สุดที่จะช่วยชะลอ และหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change เนื่องจากเป็นการผลิตไฟฟ้า “พลังงานหมุนเวียน” จากแสงแดด .. กำลังไฟฟ้าสำหรับบ้าน ครัวเรือน และอาคารพาณิชย์เหล่านี้ ผลิตขึ้นโดยไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases สู่ชั้นบรรยากาศ รวมทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide และมีเทน Methane ..
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change มีส่วนสำคัญทำให้เกิดภัยพิบัติมากมาย ได้แก่ อุทกภัย คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และไฟป่า ด้วยสถานการณ์ที่เลวร้ายลงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่แคนาดาไปจนถึงออสเตรเลีย ..
ปัจจุบัน แผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ Solar PV Panels กลายเป็นทางเลือกที่ดีในการผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน ซึ่งต้องขอบคุณพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ .. การลดต้นทุนลงอย่างรวดเร็ว และความง่ายในการติดตั้ง .. การเชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายระบบสายส่งเพื่อนำพลังงานที่เป็นกำลังไฟฟ้าส่วนเหลือไปจัดเก็บไว้ก่อน หรือขายได้ด้วยราคาที่สูงขึ้น .. สำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ International Renewable Energy Agency: IRENA คาดหมายว่า แผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ Solar PV Panels จะสามารถผลิต และจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ 25-49 % ของความต้องการพลังงานไฟฟ้าทั่วโลก Global Electricity Needs ภายในปี 2593 ..
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการประเมินศักยภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลกในการผลิตกำลังไฟฟ้า การกระจายทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ที่ดีที่สุดในการติดตั้ง และค่าใช้จ่ายสำหรับการเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ ซึ่งจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า หลังคา เป็นสถานที่ที่เหมาะสมยิ่งสำหรับแผงโซลาร์เซลล์ Rooftops are the Ideal Location for Solar Panels ..
ต้นทุนการผลิตกำลังไฟฟ้าจากแผงโซลาร์รูฟท็อป Solar Rooftop Panels บนหลังคาอาคารลดลงอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา .. ชุดข้อมูลใหม่ ๆ เหล่านี้ ช่วยให้ภาครัฐ องค์กรต่าง ๆ และเจ้าของธุรกิจ ระบุ ‘ Hot-Spots’ พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งพวกเขาสามารถระดมการลงทุนสำหรับแผงโซลาร์เซลล์ใหม่ ๆ New Solar Panels ได้อย่างเที่ยงตรง และสิ่งนี้จะช่วยเร่งการนำพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียนจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญสู่ชีวิตที่ดีกว่าในอนาคต ..
ศักยภาพมหาศาลสำหรับพลังงานจากแผงโซลาร์รูฟบนหลังคา หรือชั้นดาดฟ้า Huge Global Potential for Energy from Rooftop Solar Panels ..
ปัจจุบัน ทีมนักวิจัย ได้ทำแผนที่พื้นที่ผิวโลก 130 ล้านตารางกิโลเมตร เพื่อระบุพื้นที่บนหลังคาอาคาร Rooftop Area จำนวน 0.2 ล้านตารางกิโลเมตร โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ที่เรียกว่า Machine Learning Algorithm เพื่อระบุพื้นผิวโลกที่เป็นชั้นหลังคาอาคาร และดาดฟ้า ที่เหมาะสำหรับการจัดวางแผงโซลาร์เซลล์ Solar PV ..
จากนั้นจึงวิเคราะห์พื้นที่บนชั้นดาดฟ้า เพื่อคำนวณศักยภาพที่แท้จริงโดยรวมสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา และชั้นดาดฟ้า Total Global Potential for Rooftop Solar PV เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และระบุประเทศที่มีศักยภาพที่ดี และแย่ที่สุดบางส่วน ..
ทีมวิจัยพบว่า ศักยภาพกำลังผลิตไฟฟ้าทั่วโลกที่แท้จริงจากการคำนวณในโมเดล Rooftop Area จำนวน 0.2 ล้านตารางกิโลเมตร อยู่ที่ 27 Petawatt-Hour per Year: PWh/Y ซึ่งมากกว่าการใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วโลกในปี 2561 .. ถึงแม้ว่า การตระหนักถึงศักยภาพในอนาคตนี้จะขึ้นอยู่กับการพัฒนา และต้นทุนของโซลูชัน หรือข้อไขสำหรับระบบจัดเก็บพลังงานที่สร้างขึ้น และติดตั้งไว้พร้อมด้วย เพื่อรองรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่กำลังส่องแสง และนำกำลังไฟฟ้ามาจัดเก็บไว้ใช้ในเวลาที่ไม่มีแสงแดด ..
ศาสตราจารย์ Brian Ó Gallachóir จาก UCC กล่าวว่า ” ศักยภาพการผลิตกำลังไฟฟ้าด้วยขนาด 27 PWh ต่อปี จากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา มีความสำคัญมาก .. โดยเฉพาะสำหรับการเปรียบเทียบ การใช้ไฟฟ้าทั้งหมดของเราในบ้านทุกหลังทั่วโลก คือ 6 PWh ในปี 2562 .. ผลลัพธ์เหล่านี้มีความเหมาะสมมาก ในบริบทของข้อมูลการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก COP26 ในสหราชอาณาจักร เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา .. Solar PV บนชั้นดาดฟ้า Rooftop Solar PV ไม่เพียงช่วยลดการปล่อยมลพิษเท่านั้น แต่ยังผนวกรวมถึงบทบาทของผู้คน และเจ้าของอาคารบ้านเรือนโดยตรงในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสังคมไปสู่การใช้แหล่งพลังงานสะอาดอีกด้วย ” ..
ทั้งนี้ นักวิจัยยังได้ข้อค้นพบอีกว่า ภูมิภาคที่มีศักยภาพมากที่สุดสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา หรือชั้นดาดฟ้าของอาคาร Electricity Generated by Rooftop Solar Panels อยู่ในภูมิภาคเอเชีย อเมริกาเหนือ และยุโรป ตามลำดับ ..
พื้นที่บางแห่งที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เพื่อให้ได้มาซึ่งศักยภาพสูงสุด อยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยค่าใช้จ่าย 66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ MWh และประเทศจีน ซึ่งจะต้องใช้ต้นทุน 68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ MWh เพื่อให้ได้ศักยภาพดังกล่าว .. สรุปได้ว่า การค้นพบของพวกเขามีนัยสำคัญสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน และความพยายามในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก .. ผู้คนเกือบ 800 ล้านคนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ในปี 2561 อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกลนอกโครงข่ายระบบสายส่ง ..
สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด โดยมีต้นทุนพลังงานจาก Rooftop Solar Panels อยู่ที่ 251 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ MWh และ 238 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ MWh ..
“เป็นครั้งแรกที่เราสามารถวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะเชิงพื้นที่ และเวลาของเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา หรือชั้นดาดฟ้าของอาคารทั่วโลกได้ด้วยความแม่นยำที่เพิ่มขึ้นโดยใช้การผสมผสานข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data, การเรียนรู้ของเครื่องจักรคำนวณ Machine Learning และ GIS .. การศึกษาเหล่านี้ สามารถช่วยในการนำเสนอผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา หรือชั้นดาดฟ้า Rooftop Solar Photovoltaics ในระบบพลังงานทั่วโลกได้ดีขึ้น” .. Siddharth Joshi นักวิจัยจาก MaREI ศูนย์วิจัยพลังงาน สภาพภูมิอากาศ และทางทะเลของ SFI ใน University College Cork : UCC ชี้ให้เห็นชัดเจนถึงศักยภาพมหาศาลสำหรับพลังงานจากแผงโซลาร์รูฟบนหลังคา หรือชั้นดาดฟ้า Rooftop Solar PV หมายถึง มนุษยชาติไม่เคยมีปัญหาขาดแคลนพลังงาน ปัญหาของระบบพลังงานโลกจริง ๆ นั้น คือ เพียงประเด็นเรื่องราคาเท่านั้น ..
แผงโซลาร์บนหลังคา หรือชั้นดาดฟ้า Rooftop Solar Panels ดูเหมือนว่าจะมีประโยชน์เท่าเทียมกันในพื้นที่ที่มีประชากรน้อยเช่นเดียวกับในใจกลางเมือง .. สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล แผงโซลาร์บนหลังคาจะช่วยเติม หรือเปลี่ยนอุปทานจากโครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้าในท้องถิ่น หรือในพื้นที่ที่ความน่าเชื่อถือต่ำ และสำหรับผู้ที่อยู่ในเมืองนั้น พวกมันสามารถลดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลให้เป็นพลังงานได้อย่างมาก ..
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องชี้ให้เห็นว่า การจ่ายกำลังไฟฟ้าทั่วโลกไม่สามารถพึ่งพาแหล่งผลิตไฟฟ้าเพียงแหล่งเดียวเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนหลายพันล้านคนได้ และด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และวัฏจักรกลางวันและกลางคืนของโลก อุปสงค์ และอุปทานพลังงานแสงอาทิตย์จึงยังไม่ตรงความต้องได้ในทุกที่ทุกเวลา .. ดังนั้น อุปกรณ์ หรือระบบที่จำเป็นในการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อไว้ใช้ในภายหลังนั้น ปัจจุบันยังคงถือว่ามีราคาแพงมาก .. นอกจากนี้ แผงโซลาร์เซลล์ Solar Panels จะไม่สามารถส่งพลังงานเพียงพอสำหรับบางอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น การผลิตสินค้าจำนวนมาก และการแปรรูปโลหะ ต้องใช้กำลังไฟฟ้าปริมาณสูงมาก และการจ่ายไฟฟ้าแบบพิเศษ ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ยังไม่สามารถให้พลังงานได้อย่างเพียงพอโดยตรง ด้วยเหตุนี้ การจัดวางระบบจัดเก็บพลังงานที่เหมาะสมไว้พร้อมด้วยจึงเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ซึ่งมันจะแพงเกินไปนั้นไม่ได้ .. ..
อย่างไรก็ตาม โซลาร์รูฟท็อป Rooftop Solar PV มีศักยภาพมหาศาลในการบรรเทาความขาดแคลนด้านพลังงาน และนำพลังงานสะอาดที่ปราศจากมลภาวะกลับมาอยู่ในมือของผู้บริโภคทั่วโลก .. หากต้นทุนของพลังงานแสงอาทิตย์ยังคงลดลงอยู่อย่างต่อเนื่องต่อไป คาดหมายได้ว่า แผงหลังคา Rooftop Panels จะกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ดีที่สุดในการลดคาร์บอน Decarbonize ในระบบแหล่งส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า Electricity Supply ของมนุษยชาติจากนี้ไป ..
ตัวอย่าง Rooftop Solar PV และโครงการ Solar Rooftop ใหญ่สุดในประเทศไทย ..
ตลาด Rooftop Solar PV พลังแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านเรือน และอาคารพาณิชย์ สำหรับในประเทศไทย เติบโตอย่างมีนัยสำคัญด้วยเช่นกัน .. การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในภาคการเกษตร คาดว่า มันจะมีส่วนสำคัญในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ที่เป็นไปได้ สำหรับการประยุกต์ใช้งานอย่างชาญฉลาด และประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในระดับฟาร์มเกษตร ซึ่งเกี่ยวพันกับความมั่นคงทางพลังงานของชาติ และเกษตรทฤษฎีใหม่อีกด้วย ..
ตัวอย่างโครงการ Solar Rooftop ใหญ่สุดในประเทศไทยของ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ CPF โดย นายสุขสันต์ เจียมใจสว่างฤกษ์ ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และกรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม และนายสุขวัฒน์ ด่านเสริมสุข ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจอาหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วม ได้ลงนามความร่วมมือในโครงการ Solar Rooftop กับ บริษัทกันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) โดย นายกัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการ ซึ่งเป็นโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาขนาด 40 MW ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ..
ในช่วงที่ผ่านมาซีพีเอฟมีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบตามหลักสากล โดยบริษัทสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปแล้วกว่า 79,000 ตันคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เทียบเท่า (tonCO2eq) หรือเทียบกับการปลูกต้นสัก ประมาณ 4,000,000 ต้น ข้อตกลงความร่วมมือผลิตพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาของซีพีเอฟในครั้งนี้ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกถึงปีละ 28,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือคิดเป็นการปลูกต้นสักถึง 1,440,000 ต้น ส่งผลดีต่อการรักษาสภาพแวดล้อมโดยรวมของประเทศไทย และตอกย้ำการเป็นผู้ผลิตอาหารปลอดภัยด้วยพลังงานสะอาดของซีพีเอฟ CPF ..
นายสุขวัฒน์ ด่านเสริมสุข ประธานคณะผู้บริหารธุรกิจอาหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ซีพีเอฟ กล่าวว่า “ซีพีเอฟ เป็นครัวของโลก เป็นผู้ผลิตอาหารปลอดภัยในมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับ การใช้พลังงานสะอาดเช่น พลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นอีกมาตรการหนึ่งในด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อมที่จะส่งเสริมให้ธุรกิจซีพีเอฟเติบโตได้อย่างยั่งยืนในเวทีโลก นอกเหนือไปจากประโยชน์ด้านการลดต้นทุนค่าพลังงานไฟฟ้าที่บริษัทได้รับ และบริษัทจะยังคงมุ่งมั่นแสวงหาแหล่งพลังงานอื่น ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป” ..
นายกัลกุล ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการ บริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “กันกุลฯ ดำเนินธุรกิจ ด้วยทีมงานและประสบการณ์ด้านพลังงานทดแทนมายาวนานกว่า 36 ปี และทำโรงไฟฟ้าโซล่าร์มาแล้วกว่า 300 เมกะวัตต์ ซึ่งมีทั้งโรงไฟฟ้าโซล่าร์บนพื้นดิน และติดตั้งบนหลังคา การร่วมมือกับซีพีเอฟในครั้งนี้ เป็นการติดตั้งโซล่าร์รูฟ จำนวน 34 โครงการ รวม 40 MW ซึ่งนับว่าเป็นการทำโซล่าร์บนหลังคาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในขณะนี้ ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของกันกุลฯ และจะเป็นข้อพิสูจน์ว่า พลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ สำหรับภาคอุตสาหกรรม และภาคการผลิตได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าที่ถูกลง และสามารถนำมาใช้เป็นพลังงานหลักในเวลากลางวันได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น” ..
โครงการ CPF Solar Rooftop ดังที่กล่าวถือว่าเป็นความร่วมมือในรูปแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่มีมูลค่าโครงการประมาณ 1,400 ล้านบาท โดยบริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้ลงทุน และดูแลระบบตลอดอายุสัญญาระยะเวลา 15 ปี โดยจะทำการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ Solar PV ทั้งหมด 120,000 แผ่น บนหลังคาของโรงงานซีพีเอฟจำนวน 34 แห่ง ครอบคลุมโรงงานอาหารสัตว์บก โรงงานอาหารสัตว์น้ำ โรงงานแปรรูปอาหาร และโรงงานอาหารสำเร็จรูป รวมเป็นพื้นที่ราว 230,000 ตารางเมตร หรือเทียบได้กับโรงไฟฟ้าขนาด 40 MW สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ถึง 53 ล้านหน่วยต่อปี ซึ่งนับได้ว่าเป็นโครงการ Rooftop Solar PV ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในปัจจุบันนี้ และสามารถช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าขององค์กรได้อีกด้วย ..
พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ..
พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 6,000 MW ภายในปี 2579 .. ในปี 2556 ปี กำลังการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ติดตั้งเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเทียบกับปีก่อนหน้านี้ ซึ่งประกอบไปด้วย Solar Rooftop และ Solar PV บนแหล่งน้ำ รวมทั้งบนพื้นที่การเกษตร โดยกำลังผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์พุ่งขึ้นสูงถึง 704 MW ในปีเดียว .. และจนถึง ณ สิ้นปี 2558 ด้วยกำลังการผลิตรวม 2,500-2,800 MW .. ประเทศไทย มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์มากกว่าประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมกัน ..
ประเทศไทยมีศักยภาพในการรับแสงอาทิตย์มากโดยเฉพาะภาคใต้ ตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดอุดรธานี และบางพื้นที่ในภาคกลาง ประมาณ 14.3% ของประเทศมีการเปิดรับแสงอาทิตย์ทุกวันประมาณ 19-20 MJ/m2/วัน .. ในขณะที่อีก 50% ของประเทศได้รับพลังงานประมาณ 18-19 MJ/m2/วัน ในแง่ของศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ประเทศไทยนั้น อาจน้อยกว่าในสหรัฐฯ แต่นำหน้าญี่ปุ่น ..
ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของไทย มีส่วนแบ่งมากกว่า 3 GW ซึ่งเป็นกำลังการผลิตมากกว่า 60 % ของกำลังการผลิตที่ติดตั้งทั้งหมดในภูมิภาคอาเซียน ตามด้วยฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ .. ในมุมมองนี้ Shady Germany ได้ติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว 40+ GW .. โควต้าพลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย ซึ่งหมายถึง พลังงานแสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล จะเพิ่มขึ้นเป็น 30% ภายในปี 2580 หรือก่อนหน้านี้ .. ปัจจุบัน พลังงานแสงอาทิตย์จากครัวเรือน และชุมชน บนหลังคา และดาดฟ้าของอาคารบ้านเรือน อาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม กำลังจะเป็นแหล่งพลังงานสะอาดหลักภายใต้ แผนงานพัฒนาพลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียน AEDP ของประเทศ ..
ทั้งนี้ ภาพรวมตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย คาดว่าจะเติบโตอยู่ที่ค่า CAGR ที่ 9.14% ในช่วงคาดการณ์ปี 2562-2567 .. ปัจจัยต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนจากรัฐบาลที่แข็งแกร่ง สำหรับการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ในรูปแบบของแผนพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียน AEDP และการลดต้นทุนของระบบ Solar PV คาดหมายได้ว่า จะสามารถผลักดันตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยให้เติบโตด้วยความเร่งอย่างต่อเนื่องต่อไปได้ ..
อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเข้าถึงโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าที่มีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ของภาครัฐ คาดว่าจะยับยั้งผู้ประกอบการจากการลงทุนในโครงการพลังงานหมุนเวียนในช่วงเวลาที่คาดการณ์ไว้เช่นกัน หมายถึง การผูกขาดโครงข่ายระบบสายส่งของภาครัฐ อาจกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน ในประเทศไทย โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ .. ซึ่งผู้สันทัดกรณีด้านกิจการพลังงานทั้งหลายในประเทศ ยืนยันว่า การปลดล็อคการผูกขาดโครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้าของภาครัฐ เป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ เพื่อยกระดับความมั่นคงทางพลังงานในภาพรวมของประเทศ ..
คาดการณ์ตลาดพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาทั่วโลก Rooftop Solar Energy Global Market ..
การวิเคราะห์รายได้ การขาย สัดส่วน และการศึกษาวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับขนาดตลาดพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา และชั้นดาดฟ้าอาคาร ช่วงระยะเวลาปี 2665-2573 พบว่า ขนาดธุรกิจตลาดพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา และชั้นดาดฟ้าทั่วโลก Rooftop Solar Energy Global Market ได้รับการคาดหมายว่า อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา และชั้นดาดฟ้าอาคารทั่วโลกที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 20.14% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ปี 2665-2573 ..
ระบบโซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา Solar Photovoltaic Rooftop Systems นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการผลิตกำลังไฟฟ้าจากแสงแดด และติดตั้งบนอาคารเชิงพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม หลังคาบ้าน ที่อยู่อาศัย หรือที่ทำงานทั้งของภาครัฐ และเอกชน .. ระบบโซลาร์รูฟท็อป Solar Rooftop Systems เชื่อมต่อกับระบบผลิตกำลังไฟฟ้านอกโครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้าอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ..
ทั้งนี้ ในระบบโซลาร์รูฟท็อปที่เชื่อมต่อกับระบบกริดไฟฟ้านั้น กำลังไฟฟ้าถูกสร้างขึ้นจากโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาซึ่งเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าในระบบสาธารณูปโภค อย่างไรก็ตาม ระบบ Off-Grid จะสร้างกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกใช้โดยโหลดที่เชื่อมต่อ และพลังงานส่วนเกินจะถูกเก็บไว้ในชุดแบตเตอรี่เพื่อใช้ตามความจำเป็น และเมื่อจำเป็น .. ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความต้องการระบบโซลาร์รูฟท็อปเพิ่มขึ้นอย่างมาก และคาดว่าจะเติบโตอย่างน่าทึ่งด้วยความเร่งในอนาคต .. ระบบโซลาร์รูฟท็อป Solar Rooftop Systems ครองตลาดพลังงานหมุนเวียนเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากการใช้งานปลายทาง End-Use Applications ..
ตลาดโซลาร์รูฟท็อปทั่วโลก Global Solar Rooftop Market เป็นตลาดที่มีพลวัตสูง Very Dynamic Market และคาดว่า จะมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงคาดการณ์ .. การเติบโตของตลาดโซลาร์รูฟท็อป Solar Rooftop Market ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากความต้องการใช้พลังงานในครัวเรือน สถานที่ทำงาน และโรงงานอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก .. นอกจากนี้ ไฟฟ้าที่ผลิตโดยแหล่งพลังงานหมุนเวียนนั้น สะอาด คุ้มค่า และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในลักษณะที่ขับเคลื่อนตลาดไปสู่การเติบโต .. อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่สูงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของตลาดโซลาร์รูฟท็อป แต่ผลจากการศึกษาวิจัยเชิงที่ถือเป็นข้อค้นพบยังชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นว่า ตลาดโซลาร์รูฟท็อปทั่วโลกจะสามารถเติบโตที่ค่า CAGR 20.14% หรือมากกว่าในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ไว้ได้ ..
ข้อค้นพบอื่นที่สำคัญ ได้แก่ บนพื้นฐานของกำลังการผลิต ตลาดแบ่งออกเป็นขนาดไม่เกิน 10 KW, 11-100 KW และมากกว่า 100 KW ซึ่งพบว่า Solar Rooftop PV ขนาด 11-100 KW ครองตลาดโซลาร์รูฟท็อปทั่วโลก Global Solar Rooftop Market ด้วยส่วนแบ่ง 40.3% ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา ในแง่ของมูลค่าขนาดของตลาด คาดหมายว่า จะเติบโตที่ CAGR 21.54% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ..
สำหรับประเด็นบนพื้นฐานของการเชื่อมต่อ ตลาดแบ่งออกเป็น On-Grid และ Off-Grid พบว่า Solar Rooftop แบบ On-Grid ครองตลาดด้วยส่วนแบ่ง 74.6% ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา ในแง่ของมูลค่าขนาดของตลาด คาดหมายว่า จะเติบโตที่ CAGR 20.38% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ..
ทั้งนี้ ประเด็นผู้ใช้ปลายทาง End-User ตลาดแบ่งออกเป็นที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม พบว่า ตลาด End-User เชิงพาณิชย์ครองตลาดโซลาร์รูฟท็อปทั่วโลก Global Solar Rooftop Market ด้วยส่วนแบ่ง 42.4% ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา ในแง่ของมูลค่าขนาดของตลาด คาดหมายว่า จะเติบโตที่ CAGR 21.96% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ..
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีส่วนแบ่งการตลาดขนาดใหญ่ที่สุดที่ 47.6% ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา รองลงมา คือ ยุโรปซึ่งคาดว่า จะเติบโตที่ CAGR 19.14% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ .. อเมริกาเหนือ คาดว่าจะเติบโตจากขนาดตลาด 7,284.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2559 เป็น 21,722.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในสิ้นปี 2566 ส่วนอื่น ๆ ของโลกมีส่วนแบ่งการตลาด 3.5% ตั้งแต่ปี 2559 และคาดว่า จะเติบโตอยู่ที่ค่า CAGR ของ 20.23% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ..
สรุปส่งท้าย ..
ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Powered Electricity ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มเหมาะสมมากที่สุดที่จะช่วยชะลอ และหยุดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change .. การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ Solar PV Modules บนหลังคา และดาดฟ้าของอาคารที่อยู่อาศัย สถานที่ทำงาน หรือบนหลังคาโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเรื่องที่สะดวกง่ายดายด้วยค่าใช้จ่าย และต้นทุนพลังงานที่ลดลงเรื่อย ๆ ..
การคำนวณศักยภาพในการผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังแสงอาทิตย์บนหลังคา Rooftop Solar PV เหล่านี้ด้วยการวิเคราะห์จากสถานที่ตั้งนั้น โดยทั่วไป หลังคา และดาดฟ้าอาคารที่ตั้งอยู่ในละติจูดที่สูงขึ้น เช่น ในยุโรปตอนเหนือ หรือแคนาดา อาจแตกต่างกันมากถึง 40% ในศักยภาพกำลังผลิตไฟฟ้าตลอดทั้งปี อันเนื่องมาจากความแตกต่างอย่างมากของแสงแดดระหว่างฤดูหนาว และฤดูร้อน .. อย่างไรก็ตาม บนหลังคา หรือชั้นดาดฟ้าอาคารที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มักจะแตกต่างกันไปตามศักยภาพการผลิตประมาณ 1% ในแต่ละฤดูกาล เนื่องจากแสงแดดมีความสม่ำเสมอมากกว่ามาก ..
นี่คือประเด็นสำคัญเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอากาศในศักยภาพรายเดือน อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของพลังงานไฟฟ้าที่ขับเคลื่อนด้วยแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ในภูมิภาคนั้น นั่นหมายถึง สถานที่ที่มีแสงแดดไม่สม่ำเสมอต้องการระบบจัดเก็บพลังงานที่เหมาะสมอย่างพอเพียง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนพลังงาน และค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ..
อย่างไรก็ตาม สถานีไฟฟ้าโซลาร์เซลล์บนหลังคา และชั้นดาดฟ้า Rooftop Photovoltaic Power Station ทั้งแบบ On-Grid หรือ Off-Grid สามารถใช้งานร่วมกับแหล่งพลังงานอื่น ๆ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล กังหันลม ชุดแบตเตอรี่ เป็นต้นได้อย่างยอดเยี่ยม .. ระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริดเหล่านี้ Solar Hybrid Power Systems อาจเป็นแหล่งพลังงานที่ให้กำลังไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง และได้รับการคาดหมายว่า พวกมันกำลังได้รับความนิยมอย่างมากอีกด้วย ..
ทั้งนี้ ระบบไฟฟ้าไฮบริด Hybrid Electric System จำนวนมาก ที่เป็นระบบแยกเดี่ยว Stand Alone Systems ลูกผสมซึ่งประกอบด้วย Rooftop Solar PV ผสมผสานกับแหล่งพลังงานลม และระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ ทำงานนอกโครงข่ายระบบสายส่ง Off-Grid กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่สุดจากนี้ไป .. นั่นหมายถึง ระบบแยกเดี่ยวเหล่านี้ จะต้องมีความสมบูรณ์ในตัว และอาจมิได้เชื่อมต่อกับระบบสายส่งจำหน่ายกำลังไฟฟ้าบนระบบสาธารณูปโภคทั่วไป .. สำหรับช่วงเวลาที่ลม หรือแสงแดดไม่ได้ผลิตกำลังไฟฟ้า ระบบไฮบริดส่วนใหญ่ จะให้พลังงานผ่านชุดแบตเตอรี่ และ/หรือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงทั่วไป เช่น ดีเซล Diesel .. หากแบตเตอรี่เหลือน้อย เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของเครื่องยนต์สามารถจ่ายไฟ และชาร์จชุดแบตเตอรี่ได้ ..
การเพิ่มเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายในทำให้ระบบดูซับซ้อนมากขึ้น แต่ตัวควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย สามารถควบคุมระบบเหล่านี้ได้โดยอัตโนมัติ .. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสามารถลดขนาดของส่วนประกอบอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับระบบได้ ทั้งนี้ ระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage System ที่ติดตั้งมาพร้อมด้วย จะต้องมีขนาดความจุในการจัดเก็บที่ขนาดใหญ่เพียงพอที่จะจ่ายกำลังไฟให้กับความต้องการไฟฟ้าในช่วงที่ไม่มีการชาร์จกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ชุดแบตเตอรี่ จะถูกแผนแบบขนาดมาเพื่อสำหรับจ่ายโหลดไฟฟ้าสูงสุดให้ได้เป็นเวลา 1-3 วัน ..
ข้อดีของการติดตั้ง Rooftop Solar PV บนหลังคา หรือดาดฟ้าอาคาร สามารถป้อนกำลังไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเหลือเข้าสู่โครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าในระบบสาธารณูปโภคสาธารณะได้ ดังนั้น จึงได้รับอัตราค่าไฟฟ้าพิเศษที่สมเหตุสมผลต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงที่สร้างขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงประโยชน์ของไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในปัจจุบันของการติดตั้งระบบไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และชุดแบตเตอรี่ .. อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายทางเทคนิคมากมายในการรวมระบบ Rooftop Solar PV บนหลังคา และชั้นดาดฟ้าของอาคารจำนวนมากเข้ากับโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าซึ่งเก่าแก่ และมีอายุการใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ ..
อย่างน้อยในทางทฤษฎีแล้ว พลังแสงอาทิตย์บนหลังคา Rooftop Solar PV เป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการผลิตกำลังไฟฟ้าได้เกินกว่าความต้องการพลังงานทั่วโลกในปัจจุบันแน่นอน และมีแนวโน้มที่สดใสเป็นที่นิยมสู่อนาคตที่ดีกว่าไม่มีข้อสงสัย ..
ทั้งนี้ ภายใต้สถานการณ์ตามมาตรการลดการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero โดยสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency: IEA ซึ่งถือเป็นเส้นทางที่โลกต้องมุ่งเดินหน้าไปเพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่จุดเล็ง 1.5 oC .. ดังนั้น พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ จะต้องได้รับการจัดหามาใช้งานให้ได้อย่างน้อย 70% ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในช่วงกลางศตวรรษนี้ .. ปัจจุบัน IEA ระบุว่า หลังคา และดาดฟ้าอาคารจำนวน 25 ล้านหลังคาเรือนทั่วโลกมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ไว้แล้ว และเพื่อให้โลกเข้าสู่เส้นทางการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ได้สำเร็จ “จำนวน Rooftop Solar PV จะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านหลังคาเรือนภายในปี 2573 และ 240 ล้านหลังคาเรือน ภายในปี 2593” ..
มาตรการเหล่านี้ควรจะเป็นไปได้ด้วยความร่วมมือในระดับนานาชาติ จนถึงขณะนี้ 80 ประเทศได้ให้สัตยาบันในข้อตกลงกรอบงาน International Solar Alliance: ISA ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อประสานงานความพยายามระหว่าง “ประเทศที่อุดมด้วยพลังงานแสงอาทิตย์” เพื่อเพิ่มการใช้งานเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ “ในที่ปลอดภัย ง่าย สะดวก ราคาไม่แพง มีความเท่าเทียม และเดินหน้าไปได้อย่างยั่งยืน” ISA ยืนยันว่า กลุ่มประเทศสมาชิกทั้งหมดเห็นพ้องที่จะตั้งเป้าหมายระดมเงินลงทุนอย่างน้อย 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ..
Rooftop Solar PV บนหลังคา หรือดาดฟ้าอาคาร ได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญสู่เส้นทางศูนย์สุทธิ Net Zero .. แผงโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ Solar PV บนหลังคาบ้าน และดาดฟ้าของอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้าได้อย่างสะอาด และเงียบกริบ .. พวกมันไม่ได้ผลิตกำลังไฟฟ้าตลอดเวลา แต่จะผลิตไฟฟ้าเมื่อมีความจำเป็นมากที่สุด ในระหว่างวัน และในช่วงที่มีแดดจ้าจัด ปกติอย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง หรือจัดเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในภายหลังด้วยชุดแบตเตอรี่สำหรับงานหนักในช่วงเวลาอื่นต่อไป เป็นต้น ..
ข้อได้เปรียบอีกประการของพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก คือ ผลิตกำลังไฟฟ้า ณ จุดที่ต้องการ เช่น สถานที่เฉพาะที่ผู้คนอาศัยอยู่ หรือสถานที่ทำงานในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งหมายความว่า ไม่จำเป็นต้องถ่ายโอนพลังงานในระยะทางไกลโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานทางไฟฟ้าในระบบสายส่งที่มีราคาแพง ..
Rooftop Solar PV บนหลังคา หรือดาดฟ้าอาคาร ได้ทำให้ครัวเรือนมากมายในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยต่างได้รับประโยชน์อย่างมากในชีวิตประจำวัน .. การพึ่งพาแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนเพื่อเป็นแหล่งพลังงานหลักในระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติ แทนที่การใช้แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล คือประเด็นสำคัญต่อความมุ่งมั่นของโลก และนานาชาติเพื่อเข้าสู่เส้นทางศูนย์สุทธิ Net Zero ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
……………………………
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Study Finds Huge Global Potential for Energy from Rooftop Solar Panels | Imperial College London :-
https://www.imperial.ac.uk/news/230978/study-finds-huge-global-potential-energy/
Solar Rooftop Potential | DOE :-
https://www.energy.gov/eere/solar/solar-rooftop-potential
Solar Panels on Half the World’s Roofs could Meet its Entire Electricity Demand | World Economic Forum :-
https://www.weforum.org/agenda/2021/10/solar-panels-half-the-world-roofs-electricity-research/
Solar Rooftop Market Growth 2021, Global Industry Demand, Share, Top Players, Industry Size, Future Growth by 2030 | Market Watch :-
Solar Rooftop Market to rise at CAGR of 20.57% through 2028 – Report by Market Research Future | Market Research Future: MRFR :-
The Global Market Outlook for Solar Power 2021 – 2025 | Solar Power Europe :-
The Rise of Solar Power :-