Ocean Battery & Stored Energy at Sea: StEnSEA
“……Ocean Battery คือ ระบบพลังน้ำแบบสูบกลับ Pumped Hydro Storage ในถังกระเปาะ หรือกล่องใต้ทะเล ผนวกกับแนวคิดการจัดเก็บพลังงานอัดอากาศลึกลงไปใต้ทะเล….”
แบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Battery เป็นข้อไขระบบจัดเก็บพลังงานด้วยอุปกรณ์โมดูลาร์สำเร็จรูปที่ปรับขนาดได้สำหรับการจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ที่ผลิตโดยแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources ในระบบสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ เช่น กังหันลม และโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำในทะเลนอกชายฝั่ง Offshore Wind & Solar Farm ..
Ocean Battery คือ ระบบพลังน้ำแบบสูบกลับ Pumped Hydro Storage ในถังกระเปาะ หรือกล่องใต้ทะเล ผนวกกับแนวคิดการจัดเก็บพลังงานอัดอากาศลึกลงไปใต้ทะเล Underwater Compressed Air Energy Storage: CAES ซึ่งด้วยแรงดัน และความกดของน้ำ พวกมันสามารถจัดเก็บพลังงานปริมาณมหาศาลบนโครงข่ายระบบสายส่งขนาดใหญ่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Eco-Friendly Utility Scale Energy Storage ได้จนถึงระดับความจุขนาด GWh ขึ้นไป .. กลไกเหล่านี้ ใช้เทคโนโลยีเขื่อนพลังน้ำ Hydro Dam Technology และพลังงานน้ำระบบสูบกลับ Pumped Storage Hydropower : PSH ซึ่งพิสูจน์ตัวเองมานานกว่าศตวรรษแล้วว่า เชื่อถือได้ และมีประสิทธิภาพสูงอย่างยิ่ง ..
เพื่อจัดเก็บพลังงาน ระบบแบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Battery จะสูบน้ำทะเลเข้าไปยังกล่อง Rigid Reservoirs หรือถังกระเปาะแบบยืดหยุ่น Bladder ที่ก้นทะเล ซึ่งพลังงานจะถูกเก็บสะสมเป็นพลังงานศักย์ Potential Energy ในรูปของน้ำภายใต้ความกดดันเช่นเดียวกับการชาร์จแบตเตอรี่ และเมื่อมีความต้องการพลังงาน น้ำจะถูกดันไหลกลับออกจากกล่อง หรือถังกระเปาะแบบยืดหยุ่น หรือออกไปสู่ย่านน้ำภายนอกถังกระเปาะ หรือถังกระเปาะยืดหยุ่นอีกตัวหนึ่งที่มีแรงดันต่ำกว่า Low Pressure Rigid Reservoirs และพลังงานของน้ำที่ไหลกลับออกมา หรือไหลเข้าไปขึ้นอยู่กับการออกแบบนั้น จะขับเคลื่อนกังหันใบพัดพลังน้ำหลายตัว เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้า ..
การทำงานของ โรงไฟฟ้าระบบจัดเก็บพลังงานด้วยแรงดันน้ำทะเล Seawater Pressure Storage Power Plant ลักษณะนี้นั้น อิงแนวคิดเช่นเดียวกับระบบไฟฟ้าพลังงานน้ำแบบสูบกลับ Pumped Storage Hydropower : PSH ตามรูปแบบปกติ .. ภาพรวมของระบบ ประกอบด้วยการติดตั้งกล่องคอนกรีตทรงกลมกลวงพร้อมกังหันปั๊มในตัว จัดวางไว้ใต้ทะเล หรือที่ก้นทะเล เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับที่รู้จักกันดี น้ำทะเลที่ล้อมรอบกล่องคอนกรีตทรงกลมกลวง หมายถึง แอ่งน้ำด้านบน และด้านในของกล่องคอนกรีตทรงกลมกลวงแสดงถึงแอ่งน้ำด้านล่าง นั่นเอง .. แนวคิดของพลังงานที่ถูกจัดเก็บไว้ที่ทะเล Stored Energy at Sea : StEnSEA ใช้ความแตกต่างของแรงดันน้ำระหว่างทรงกลมกลวง กับน้ำทะเลโดยรอบ ซึ่งโดยปกติจะอยู่ประมาณ 75 บาร์ ที่ความลึก 600-800 เมตร หรือ 1 บาร์ต่อความลึก 10 เมตร ..
เทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานลอยตัว Buoyancy Energy Storage Technology : BEST ..
เทคโนโลยีระบบจัดเก็บพลังงานลอยตัว Buoyancy Energy Storage Technology : BEST ด้วยการประยุกต์ใช้ศักยภาพความดันของน้ำในมหาสมุทร คือ ข้อไขโซลูชันสำหรับการจัดเก็บพลังงาน Energy Storage Solution ที่เหมาะสมต่อพื้นที่เป็นเกาะในทะเล Islands, บริเวณชายฝั่ง Coastal Regions, แหล่งพลังงานลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Power และการบีบอัดจัดเก็บไฮโดรเจน Hydrogen Compression ..
ปัจจุบัน โลกกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition .. แหล่งพลังงานสะอาด Clean Energy Sources หลากหลายประเภทด้วยพลังงานปริมาณมหาศาล มีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะแหล่งพลังงานที่ไม่ต่อเนื่องบนโครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้า เช่น แหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Power และพลังงานลม Wind Farm .. แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนที่ผันแปรเหล่านี้ ต้องการข้อไขโซลูชันการจัดเก็บพลังงานเพื่อให้สามารถผนวกรวมแหล่งพลังงานเหล่านี้ไว้ด้วยกันให้ได้อย่างราบรื่น ..
ชุดแบตเตอรี่ Battery Packs สามารถให้โซลูชันการจัดเก็บระยะสั้น Short-Term Storage Solutions ได้ .. อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความจำเป็นสำหรับเทคโนโลยีที่สามารถจัดเก็บพลังงานปริมาณมากพอที่จะส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าให้แก่ชุมชนระยะทนยาวมากกว่า 1 สัปดาห์ในพื้นที่ต่าง ๆ ที่อาจไม่มีศักยภาพสำหรับการจัดเก็บพลังน้ำแบบสูบน้ำ Pumped Hydro Storage : PHS ซึ่งต้องการภูมิประเทศที่เหมาะสมเท่านั้น ..
นวัตกรรมสำหรับรูปแบบการจัดเก็บพลังงานโดยอิงจาก “การเก็บพลังงานลอยตัว Buoyancy Energy Storage” ในมหาสมุทร .. ทะเลที่มีความลึกมาก มีแนวโน้มสามารถจัดเก็บพลังงานศักย์ไว้ได้มากกว่าในระบบจัดเก็บพลังงานแรงโน้มถ่วง Gravitational Based Energy Storage Systems .. ยิ่งระบบ Buoyancy Energy Storage ถูกจัดวางอยู่ลึกเท่าใด ปริมาณพลังงานที่จัดเก็บไว้ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น .. ค่าใช้จ่ายของเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานลอยตัว Buoyancy Energy Storage Technology : BEST คาดว่าจะแตกต่างกันไปตั้งแต่ 50-100 เหรียญสหรัฐฯ/KWh ของขนาดความจุกำลังไฟฟ้าที่เก็บไว้ Stored Electric Energy และ 4,000-8,000 เหรียญสหรัฐฯ/KW ของความจุติดตั้ง Installed Capacity .. ทั้งนี้ Buoyancy Energy Storage : BES ในทะเล อาจเป็นตัวเลือกที่เป็นไปได้ในการเสริมระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ระยะทนยาวเป็นสัปดาห์ ซึ่งนอกจากการเก็บพลังงานปริมาณมหาศาลได้แล้ว ระบบยังสามารถใช้สำหรับการบีบอัดไฮโดรเจน Compress Hydrogen ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ..
การเปลี่ยนแปลงของพลังงานศักย์ Potential Energy ที่ระดับความลึก และความกดดันของน้ำในมหาสมุทร Ocean Depths & Pressures ที่แตกต่างกันนั้น นำมาซึ่งการจัดการที่ดีที่สุด .. ข้อค้นพบสำคัญ ได้แก่ ระบบ BEST ที่เก็บพลังงานได้มากที่สุด คือ ระบบที่เริ่มต้นที่ 1,000 บาร์ Bars ด้วยความลึกสูงสุดประมาณ 10,000 เมตร และหยุดที่ 300 บาร์ Bars ที่ความลึกขั้นต่ำประมาณ 3000 เมตร สำหรับการใช้ทั้งอากาศ และไฮโดรเจน เป็นก๊าซบีบอัด Both Air & Hydrogen as Compressed Gases .. หากแรงดันขั้นต่ำก๊าซที่ออกแบบไว้ของระบบมีขนาดเล็กลง ปริมาตรของก๊าซจะลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ศักยภาพในการจัดเก็บพลังงานของระบบลดลง หากแรงดันขั้นต่ำที่ออกแบบไว้เพิ่มขึ้น ความแปรผันของระดับความสูงที่ระบบสามารถทำงานได้จะลดลง .. ดังนั้น ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ‘แรงดันต่ำสุดในอุดมคติของระบบ BEST เพื่อให้ได้ศักยภาพในการจัดเก็บพลังงานสูงสุด คือ 300 บาร์ Bars หรือ 300 เท่าความดันบรรยากาศ หากแรงดันสูงสุด เท่ากับ 1,000 บาร์ Bars หรือ 1,000 เท่าความดันบรรยากาศ’ ..
ข้อดีของไฮโดรเจน Hydrogen Advantage คือ แม้ว่าความหนาแน่นของไฮโดรเจนจะเพิ่มขึ้นตามความลึก Density of Hydrogen Increases with Depth แต่ความแตกต่างระหว่างไฮโดรเจนที่ถูกบีบอัด และน้ำที่ระดับความลึกสูง จะยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งช่วยให้ระบบ BEST เข้าถึงระดับความลึกที่สูงมากโดยไม่สูญเสียความสามารถในการลอยตัว และเพิ่มความสามารถในการจัดเก็บพลังงานของระบบ .. ความหนาแน่นที่ความดันสูงสำหรับอากาศ และไฮโดรเจน The Density at High Pressures for Air & Hydrogen คือประเด็นคุณสมบัติที่โดดเด่นของ Buoyancy Energy Storage Technology : BEST ..
ในเชิงเปรียบเทียบ หากปริมาตรแหล่งน้ำด้านบนสำหรับการจัดเก็บพลังงานในระบบพลังน้ำแบบสูบกลับ Pumped Hydro Storage มีปริมาตร 785,000 ลบ.ม. ถูกเติมด้วยน้ำ ตกลงมาด้วยแรงโน้มถ่วงความสูง 10,000 ม. และผลิตกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 90% พบว่า ระบบจะสามารถจัดเก็บกำลังไฟฟ้าได้ที่ขนาดความจุ 19.3 GWh ซึ่งใกล้เคียงกับความจุของโรงไฟฟ้า Ludington Pumped Storage Power Plant ในสหรัฐฯ .. อย่างไรก็ตาม ระบบ Buoyancy Energy Storage Technology : BEST ที่มีปริมาตรอุปกรณ์รับการจัดเก็บ Storage Recipient Volume และไฮโดรเจนบีบอัด Hydrogen as Compressed Gas ใกล้เคียงกันซึ่งผลิตกำลังไฟฟ้าได้ตั้งแต่ระดับความลึก 10,000 ม. ถึง 3000 ม. และด้วยประสิทธิภาพ 90% พบว่า พวกมันจะสามารถจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าได้ 7.9 GWh ในทางกลับกัน หากใช้อากาศในระบบ จะจัดเก็บพลังงานได้เพียง 4.6 GWh เท่านั้น ..
ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ว่า สถานที่ที่มีศักยภาพสูงสุดสำหรับการติดตั้งแบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Batteries ที่ใช้ เทคโนโลยีระบบจัดเก็บพลังงานลอยตัว Buoyancy Energy Storage Technology : BEST ได้แก่ หมู่เกาะในมหาสมุทร และตามแนวชายฝั่งของญี่ปุ่น Japan, ฟิลิปปินส์ Philippines, อินโดนีเซีย Indonesia, ออสเตรเลีย Australia, สหรัฐฯ USA, เม็กซิโก Mexico, ชิลี Chile, เปรู Peru, เอกวาดอร์ Ecuador, โคลัมเบีย Colombia, คิวบา Cuba, จาเมกา Jamaica, กัวเตมาลา Guatemala, ฮอนดูรัส Honduras, บราซิล Brazil, โปรตุเกส Portugal, โอมาน Oman, แอฟริกาใต้ South Africa, มาดากัสการ์ และโซมาเลีย Madagascar and Somalia, ไอวอรี่โคสต์ และกานา Ivory Coast & Ghana ..
ตัวอย่างการจำลองสถานการณ์ปฏิบัติงานของโรงงานไฟฟ้า Ocean Battery ที่ใช้ระบบจัดเก็บพลังงานลอยตัว Buoyancy Energy Storage Technology : BEST Plant ในโครงการก่อสร้างพลังงานลมนอกชายฝั่งแบบลอยตัว Floating Offshore Wind Power Project ที่มีกำลังการผลิตติดตั้ง 10 GW ใกล้กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวางแผนงานประยุกต์ใช้ระบบ BEST ร่วมกับระบบชุดแบตเตอรี่ที่มีกำลังการผลิตติดตั้ง และความจุรวม 7 GW/300 GWh เพื่อลดความผันผวนของกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ด้วยรอบการจัดเก็บพลังงานรายชั่วโมง และรายวันที่ต่ำในการผลิตกำลังไฟฟ้า ดังนั้น ชุดแบตเตอรี่ Batteries จึงไม่ถูกรวมเพื่อให้ทำงานพร้อมกันกับระบบ BEST System เนื่องจากกำลังผลิตของ BEST สูงกว่า และค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดเก็บพลังงานต่อความจุระดับ GWh ต่ำกว่าชุดแบตเตอรี่อยู่มาก ซึ่งบางครั้งชุดแบตเตอรี่ ไม่สามารถชาร์จประจุสำหรับจัดเก็บพลังงานลมนอกชายฝั่งส่วนเกินทั้งหมด All Excess Offshore Wind Generation ได้เพียงพอตามที่ต้องการได้ ..
ต้นทุน Ocean Battery ที่ใช้ระบบจัดเก็บพลังงานลอยตัว Buoyancy Energy Storage Technology: BEST จะมีต้นทุนการติดตั้งต่อกำลังผลิตจะแตกต่างกันไประหว่าง 4-8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ/MW และต้นทุนการจัดเก็บพลังงาน Energy Storage Cost อยู่ที่ 50-100 เหรียญสหรัฐฯ/MWh ของ โดยโครงการมีขนาดต่าง ๆ กันตั้งแต่ 10 ถึง 100 MW ยิ่งความลึกของมหาสมุทรมากขึ้นเท่าใด ต้นทุนของโครงการก็จะยิ่งต่ำลง และไฮโดรเจน Hydrogen ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นสื่อในการจัดเก็บพลังงานที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับอากาศที่เป็นCompressed Gas ..
ก่อนหน้านี้ Buoyancy Energy Storage Technology : BEST เป็นทางเลือกในการจัดเก็บพลังงานที่สามารถแข่งขันได้ แต่ไม่ได้รับความสนใจมากนัก .. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความต้องการระบบจัดเก็บพลังงานระยะทนยาวขนาดใหญ่ในทะเลสำหรับแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ Floating Solar PV และพลังงานลมนอกชายฝั่ง Off Shore Wind Farm ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ความต้องการโซลูชันข้อไขที่มีศักยภาพ ประสิทธิภาพสูงในระบบจัดเก็บพลังงานในทะเล หรือแบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Battery ด้วยระบบ BEST System และการบีบอัดไฮโดรเจน Compressing Hydrogen ไปพร้อมด้วย จึงกลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในตลาดระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ระยะทนยาวในอนาคตจากนี้ไป ..
พลังงานที่ถูกจัดเก็บไว้ที่ทะเล Stored Energy at Sea : StEnSEA ..
โครงการพลังงานที่ถูกจัดเก็บไว้ที่ทะเล Stored Energy at Sea : StEnSEA เป็นระบบจัดเก็บพลังงานแบบสูบกลับรูปแบบใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าในปริมาณมากนอกชายฝั่ง Store Significant Quantities of Electrical Energy Offshore .. หลังจากการวิจัย และพัฒนา ได้มีการทดสอบในระดับแบบจำลองเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อเชื่อมโยงระบบจัดเก็บพลังงานในทะเล หรือระบบพลังงานที่ถูกจัดเก็บไว้ที่ทะเล Stored Energy at Sea : StEnSEA กับแหล่งพลังงานลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Platforms และลดปัญหาที่เกิดจากความผันผวนของกำลังผลิตไฟฟ้า .. พวกมันทำงานโดยน้ำที่ไหลลงสู่ภาชนะที่มีแรงดันต่างระดับกัน จึงสามารถขับเคลื่อนกังหัน Driving a Turbine ได้ .. เมื่อมีไฟฟ้าสำรองส่วนเหลือเกิน น้ำจะถูกสูบออกไปจากถัง หรือ Container เช่นเดียวกับการชาร์จแบตเตอรี่ ซึ่งช่วยทำให้สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้ในเวลาที่ต้องการมากขึ้นด้วยการปล่อยน้ำไหลกลับถัง หรือ Container เข้ามาผ่านกังหันใบพัดผลิตไฟฟ้า เช่นเดียวกับการคายประจุของชุดแบตเตอรี่นั่นเอง ..
ศ.ดร.ฮอสท์ ชมิดท์-บอคกิ้ง Horst Schmidt-Böcking มหาวิทยาลัยเกอเธ่ แฟรงก์เฟิร์ต Goethe University Frankfurt และ ดร.เกอร์ฮาร์ด ลูเธอร์ Gerhard Luther มหาวิทยาลัยซาร์ลันด์ Saarland University ได้คิดค้นระบบจัดเก็บพลังงานระบบปั๊มสูบกลับแบบใหม่ New Pump Storage System ซึ่งจะจัดวางไว้บนพื้นทะเล ระบบนี้จะใช้แรงดันน้ำสูงที่ระดับความลึกของน้ำมาก เพื่อจัดเก็บพลังงานไว้ในวัตถุที่เป็นโพรง Store Energy in Hollow Bodies ..
หลังจากที่แนวความคิดของพวกเขาถูกตีพิมพ์เมื่อปี 2554 ในหนังสือพิมพ์ Frankfurter Allgemeine Zeitung กลุ่มบริษัทค้าร่วม Consortium of the Fraunhofer Institute for Energy Economics & Energy System Technology และบริษัท Hochtief AG ก็ได้ก่อตั้งขึ้น .. พวกเขาทำงานร่วมกัน และได้จัดทำร่างเบื้องต้นครั้งแรก ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของแนวคิดการจัดเก็บพลังงานระบบสูบน้ำกลับในทะเล ซึ่งกระทรวงเศรษฐกิจ และพลังงานแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน German Federal Ministry for Economic Affairs and Energy ได้สนับสนุนการพัฒนา และทดสอบแนวคิดใหม่นี้อย่างจริงจัง ..
ตัวอย่าง Ocean Battery ล่าสุด บริษัทสตาร์ตอัป Ocean Grazer ประเทศเนเธอร์แลนด์ พัฒนาระบบจัดเก็บพลังงานไฟฟ้า Ocean Battery ขึ้นมา และจัดวางไว้ก้นทะเล เพื่อแก้ไขปัญหาความผันผวนของกำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานลมนอกชายฝั่ง Off Shore Wind Farm โดยการนำกำลังไฟฟ้าที่ถูกผลิตจากฟาร์มกังหันลมไปจัดเก็บไว้ใต้พื้นทะเลอาศัยหลักการทำงานคล้ายกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ Pump Hydro Energy Storage ..
การจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าแบบสูบกลับในทะเล Stored Energy at Sea : StEnSEA ใช้วิธีนำพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากฟาร์มกังหันลมไปใช้สูบน้ำขึ้นมาจากถังน้ำคอนกรีตขนาดใหญ่ที่ถูกฝังไว้ใต้พื้นทะเลขึ้นมาจัดเก็บในถุงน้ำขนาดใหญ่ด้านบนพื้นทะเล .. เมื่อต้องการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้อีกครั้งระบบจะทำการปล่อยน้ำออกจากถุงน้ำขนาดใหญ่ด้านบนพื้นทะเลโดยอาศัยแรงดันจากความลึกของน้ำมหาศาลที่อยู่รอบถุง น้ำที่ถูกปล่อยออกจากถุงน้ำขนาดใหญ่จะไหลลงไปหมุนกังหันผลิตกระแสไฟฟ้า และน้ำจะไหลลงไปเก็บในถังน้ำคอนกรีตขนาดใหญ่ที่ถูกฝังไว้ใต้พื้นทะเล กระบวนการทั้งหมดสามารถจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 10 MWh ต่อ 1 หน่วยสำหรับจัดเก็บ ..
วิธีการทำงานดังกล่าวคล้ายกับระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage System: ESS หรือที่เรียกว่าโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ Pumped Storage Hydropower : PSH ซึ่งถูกใช้งานในเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำหลายแห่งทั่วโลก รวมไปถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ เขื่อนศรีนครินทร์ เครื่องที่ 4 และ 5 ที่จังหวัดกาญจนบุรี กำลังผลิตเครื่องละ 180 MW รวมแล้วมีกำลังผลิต 360 MW, เขื่อนภูมิพล เครื่องที่ 8 จังหวัดตาก กำลังผลิต 171 MW และโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เครื่องที่ 1-4 กำลังผลิตเครื่องละ 250 MW รวมแล้วมีกำลังผลิต 1,000 MW เป็นต้น ซึ่งใช้การจัดเก็บน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างระดับ และใช้การไหลขึ้นลงของน้ำไปหมุนกังหันผลิตกำลังไฟฟ้า .. ทั้งนี้การทำงานของพวกมัน ยังคล้ายกับแนวคิดระบบจัดเก็บพลังงานรูปแบบอากาศอัด Compressed Air Energy Storage : CAES อีกด้วย ..
อย่างไรก็ตาม ระบบจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าใต้พื้นทะเล หรือแบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Battery ยังคงอยู่ในขั้นตอนการวิจัยพัฒนา เนื่องจากการก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ใต้ทะเลยังคงเป็นสิ่งที่มีความท้าทายทางด้านวิศวกรรม รวมไปถึงการกัดกร่อน Corrosion ของน้ำทะเลต่อโครงสร้าง และถุงเก็บน้ำขนาดใหญ่ แม้ทางบริษัทสตาร์ตอัป Ocean Grazer จะยืนยันว่าเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ สามารถทำงานต่อเนื่องได้นานกว่า 20 ปี ใต้พื้นทะเล ..
อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงการระบบพลังงานที่ถูกจัดเก็บไว้ที่ทะเล Stored Energy at Sea : StEnSEA ของ Hochtief Solutions AG, University of Stuttgart ประเทศเยอรมัน .. โครงการประกอบด้วยการพัฒนาและทดสอบแนวคิดการจัดเก็บพลังงานแบบสูบกลับ Pumped Storage System สำหรับการจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าจำนวนมากนอกชายฝั่ง โดยใช้ท้องทะเลเป็นอ่างเก็บน้ำด้านบน และทรงกลมกลวงบนพื้นทะเลเป็นอ่างเก็บน้ำด้านล่าง น้ำถูกสูบออกจากทรงกลมในระหว่างการสูบน้ำ คือ การอัดประจุ และน้ำจะไหลกลับเข้าสู่ทรงกลม และขับเคลื่อนกังหันใบพัดควบคู่ไปกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าระหว่างการผลิตกำลังไฟฟ้า หมายถึง การคายประจุ ..
โครงการระบบพลังงานที่ถูกจัดเก็บไว้ที่ทะเล Stored Energy at Sea : StEnSEA นี้ สร้างขึ้นเพื่อศึกษา ตรวจสอบความเป็นไปได้ การประเมินต้นทุน และราคาพลังงาน ซึ่งดำเนินการโดยพันธมิตรกิจการค้าร่วม และประกอบด้วยการวิเคราะห์ระบบโดยละเอียด รวมถึง การก่อสร้าง การผลิต และแนวคิดด้านโลจิสติกส์ของถัง หรือกล่องภาชนะทรงกลมกลวงโพรงภายใต้แรงดันน้ำตามความลึก เป็นต้น .. การพัฒนา และการออกแบบโดยละเอียดของปั๊มสูบ/กังหันใบพัดผลิตไฟฟ้า การผนวกรวมระบบจัดเก็บพลังงานบนโครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้าบนพื้นฐานของการคำนวณโหลดสูงสุด การวิเคราะห์ตลาด และการคำนวณความอยู่รอดทางเศรษฐกิจสำหรับตลาดต่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนากลยุทธ์การค้า และแผนงานสำหรับการดำเนินการทางเทคนิค ..
นอกจากนี้ในเฟสขั้นตอนโครงการปัจจุบัน การทดสอบภาคสนามของแบบจำลองมาตราส่วน 1:10 จะดำเนินการในทะเลสาบน้ำจืด Lake Constance ด้วยความลึก 100 เมตร .. ในบริบทนี้ จะมีการตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้าง และการผลิต การติดตั้ง และการขนส่ง ตลอดจนการใช้งาน และการบำรุงรักษาระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ที่ก้นทะเล เพื่อให้แบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Battery สามารถทำงานร่วมกับแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ได้อย่างยอดเยี่ยมสำหรับอนาคตในพื้นที่ทะเลที่เหมาะสมต่อไป ..
คาดการณ์ตลาดระบบจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่ง Off Shore Energy Storage Global Market ..
ขนาดธุรกิจในตลาดการจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่งทั่วโลก Off Shore Energy Storage Global Market ซึ่งรวมระบบจัดเก็บพลังงานบนเรือเดินสมุทรไว้ด้วยนั้น ได้รับการคาดหมายว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2571 อยู่ที่ค่า CAGR 19.6% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ปี 2565-2571 .. อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการวิจัยของบางสถาบันในค่ายยุโรปเหนือ คาดว่า ตลาดจะเติบโตจาก 374 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 แตะระดับ 1,897 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 .. ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate: CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดการจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่ง Off Shore Energy Storage Global Market ทั่วโลกที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุนอยู่ที่ค่า CAGR 19.8% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2564-2573 อีกด้วย ซึ่งถือเป็นการประมาณการณ์ที่ใกล้เคียงกัน ..
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะการเติบโตตลาดพลังงานลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Market ทั่วโลก ได้รับการคาดหมายว่า จะเติบโตจากประมาณ 31.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 เป็น 56.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2569 อยู่ที่ค่า CAGR 12.3 % ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ปี 2564 – 2569 .. นอกจากนั้น ขนาดธุรกิจในตลาดแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ และในทะเล Floating Solar PV Market ทั่วโลกมีมูลค่า 30.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 และคาดว่าจะเติบโตที่อัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 22.5% ตั้งแต่ปี 2565-2573 ไปพร้อมด้วย ..
ทั้งนี้ กังหันลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Farm และแผงโซลาเซลล์แบบลอยน้ำ Floating Solar Farm มีการติดตั้งเพิ่มมากขึ้น และมีการเติบโตที่แข็งแกร่งอย่างมีนัยสำคัญจากนี้ไป คาดว่าจะส่งผลให้ระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ระยะทนยาวเชื่อมต่อโครงข่ายระบบสายส่ง เช่น แบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Batteries กลายเป็นความต้องการสำคัญที่ผลักดันการเติบโตด้วยความเร่งของตลาดพลังงานที่ถูกจัดเก็บไว้ที่ทะเล Stored Energy at Sea: StEnSEA Market สำหรับอนาคตอันใกล้ในที่สุด ..
ทั้งนี้ ตัวขับเคลื่อนหลัก และข้อจำกัดของตลาดการจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่งทั่วโลก Global Offshore Energy Storage Market ได้แก่ การรับรู้ที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และการดำเนินการตามกฎและข้อบังคับที่เข้มงวดโดยหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน Renewable Technologies มาใช้นั้น คาดหมายว่าจะผลักดันตลาดการจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่งให้เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ..
การลงทุนที่เพิ่มขึ้นในการสำรวจ และผลิตทรัพยากรพลังงานสะอาดในพื้นที่ทะเลน้ำลึก คาดว่าจะขับเคลื่อนตลาดการจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่งทั่วโลก .. บริษัทฯ ยักษ์ใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจระบบจัดเก็บพลังงาน และผู้ให้บริการจำหน่ายกำลังไฟฟ้าในระบบสาธารณูปโภค ต้องการแหล่งพลังงานสำรองสำหรับรองรับสถานการณ์ไฟฟ้าดับ และเพื่อสนับสนุนความน่าเชื่อถือของการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าด้วยแผนงานจัดวางระบบจัดเก็บพลังงาน ณ แหล่งพลังงานในทะเลที่เป็นพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่นอกชายฝั่ง Offshore Wind & Solar Energy Sources ..
การเพิ่มขึ้นของการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Infrastructure จะช่วยกระตุ้นตลาดการจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่งทั่วโลก Global Offshore Energy Storage Market ระหว่างปี 2565-2573 .. แหล่งจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่งที่เป็นแบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Batteries สามารถนำเสนอเครือข่ายไฟฟ้าที่เชื่อถือได้ Reliable Electrical Network ด้วยการจัดหาพลังงานสะอาด Clean Energy และส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าผ่านโครงข่ายระบบสายส่งได้อย่างมั่นใจ ..
นวัตกรรมทางเทคโนโลยีในการออกแบบระบบจัดเก็บพลังงานรูปแบบต่าง ๆ คาดว่าจะขับเคลื่อนตลาดการจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่งทั่วโลก เช่น Ocean Battery หรือตลาดระบบพลังงานที่ถูกจัดเก็บไว้ที่ทะเล Stored Energy at Sea : StEnSEA อย่างมากในช่วงเวลาจากนี้ไป .. อย่างไรก็ตาม การลงทุนด้วยต้นทุนเริ่มต้นสูงลิ่วที่จำเป็นสำหรับการติดตั้งระบบจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่งนั้น คาดว่าจะเป็นตัวยับยั้ง และชะลอการเติบโตของตลาดการจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่งทั่วโลก Global Offshore Energy Storage Market ด้วยเช่นกัน ..
สรุปส่งท้าย ..
แบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Battery เป็นข้อไขระบบจัดเก็บพลังงานด้วยอุปกรณ์โมดูลาร์สำเร็จรูปที่ปรับขนาดได้สำหรับการจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ในระบบสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ ที่ผลิตโดยแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources เช่น กังหันลม และโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำในทะเลนอกชายฝั่ง Offshore Wind & Solar Farm ..
พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy สร้างภาพทุ่งแผงโซลาร์เซลล์หรือกังหันลมสูงตระหง่าน .. การจัดเก็บพลังงานจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น .. นี่เป็นเพราะข้อเท็จจริงที่ว่า พวกมันสะอาด และเป็นแหล่งพลังงานผลิตกำลังไฟฟ้าโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งมันเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ..
ก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas จากการใช้แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลลึกลงไปใต้เปลือกโลก เก็บสะสมความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน Global Warming ที่หมายถึงหายนะของโลก .. กำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Power ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากกระแสการขับเคลื่อนไปสู่การใช้พลังงานทดแทนเป็นหลักมีแนวโน้มเข้มข้นมากขึ้นทั่วโลก .. แม้ว่าพลังงานลมจะมีราคาถูกลงอย่างเห็นได้ชัดอันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ระบบสาธารณูปโภค ยังคงต้องการกลไกในการจัดเก็บพลังงานส่วนเหลือเกินไว้เมื่อมีความต้องการต่ำ เพื่อจะได้นำไปใช้ในภายหลังเมื่อความต้องการสูงด้วยระยะเวลาทนยาว ..
ปัจจุบัน พลังงานหมุนเวียนนอกชายฝั่ง Offshore Renewables กำลังได้รับความนิยม และมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition .. อย่างไรก็ตาม พลังงานเหล่านี้ต้องการข้อไขระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ที่อาจรวมเข้ากับโครงข่ายระบบสายส่งที่เชื่อมต่อกับแหล่งพลังงานหมุนเวียนนอกชายฝั่ง Offshore Renewables System โดยตรง หรือยึดพวกมันไว้กับก้นทะเลเพื่อให้ทำงานได้อย่างเหมาะสมกว่า .. หนึ่งในโซลูชันที่เป็นข้อไขดังกล่าว คือ แบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Battery .. แบตเตอรี่มหาสมุทรรูปแบบใหม่ล่าสุดนี้ ได้รับการเปิดตัวสู่สาธารณะเมื่อไม่นานมานี้ที่งาน Consumer Electronics Show : CES 2022 ในลาสเวกัส Las Vegas ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญที่สุดของโลกที่อุทิศให้กับนวัตกรรมทางเทคโนโลยี โดย Ocean Grazer ซึ่งเป็นชิ้นงานที่แยกมาจาก Dutch University of Groningen .. ซึ่งนวัตกรรมชิ้นนี้ ได้รับรางวัล CES Innovation Award อันทรงเกียรติแทบจะในทันที ..
แนวคิดของการใช้ถัง หรือกล่องกลวงโพรง Reservoir Concept นี้ มีลักษณะเดียวกับแนวคิดระบบจัดเก็บพลังงานอัดอากาศ Compressed Air Energy Storage : CAES .. พลังงานลม Wind Energy ทำงานได้ดีในช่วงลมแรง ซึ่งมักจะไม่เป็นไปตามความต้องการกำลังไฟฟ้าของชุมชน ซึ่งเป็นแง่มุมที่สำคัญจริง ๆ .. อย่างไรก็ตาม กังหันลม Wind Turbines สามารถทำงานต่อเนื่องไปได้แม้เมื่อมีความต้องการพลังงานสูงในขณะช่วงเวลาที่มีกำลังผลิตต่ำ ต้องขอบคุณเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงาน Energy Storage Technology ที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยราคาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ..
เมื่อกล่าวถึงระบบจัดเก็บพลังงานอัดอากาศ Compressed Air Energy Storage หลักการง่าย ๆ คือ ใช้กำลังไฟฟ้าส่วนเกิน เพื่อจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์อัดอากาศเมื่อมีความต้องการต่ำ จากนั้นปล่อยอากาศไปยังกังหันใบพัดผลิตกำลังไฟฟ้าเมื่อมีความต้องการพลังงานสูง ..
การจัดเก็บพลังงานใต้ท้องทะเลในรูปแบบของ “แบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Battery” นั้น คล้ายคลึงกับรูปแบบการจัดเก็บพลังงานน้ำระบบสูบกลับ Pumped Storage Hydropower : PSH ซึ่งใช้พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ในการสูบน้ำขึ้นเนินไปยังอ่างเก็บน้ำ .. แรงโน้มถ่วงถูกประยุกต์ใช้ด้วยการปล่อยให้น้ำไหลลงเขาผ่านไปยังกังหันใบพัดผลิตกำลังไฟฟ้า ที่เรียกว่า ไฟฟ้าพลังน้ำ Hydroelectricity เมื่อจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ..
ทั้งนี้ บทบาทของ Ocean Battery จึงได้แก่ การจัดเก็บพลังงานปริมาณมหาศาลไว้สำหรับโรงไฟฟ้าทางทะเล Maritime Power Plants ที่ใช้พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง Tidal, พลังงานคลื่น Wave, แสงแดด Sun และลม Wind โดยเฉพาะการดำเนินงานในโครงการรูปแบบใหม่เหล่านี้ จำลองตามรูปแบบโรงไฟฟ้าพลังน้ำระบบจัดเก็บพลังงานแบบสูบกลับ Pumped Storage Hydroelectric Plants ซึ่งอาศัยน้ำ และแรงโน้มถ่วงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ..
แผนแบบของพวกมัน ประกอบด้วยการสร้างถังคอนกรีตบนพื้นทะเล Reservoir ที่สามารถรองรับน้ำแรงดันต่ำได้ถึง 20 ล้านลิตร รวมทั้ง ระบบของปั๊ม และเทอร์ไบน์เช่นเดียวกับถุงลมที่ยืดหยุ่นด้านบน Bladder .. ไฟฟ้าที่เกิดจากระบบพลังงานหมุนเวียนส่วนเหลือเกิน หรือจากชุดแบตเตอรี่ จะนำไปใช้สูบน้ำจาก Reservoir เข้าสู่ Bladder ขึ้นอยู่กับการออกแบบ .. แรงดันน้ำเหนือ Bladder จะขับเคลื่อนปล่อยน้ำที่เก็บไว้เมื่อจำเป็น .. การถ่ายโอนจากบนลงล่างมีจุดประสงค์เพื่อเริ่มการผลิตพลังงานใหม่ด้วยกังหันใบพัดผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ Hydroelectric Turbines ..
นักพัฒนากล่าวว่า แบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Battery ใต้ทะเล มีประสิทธิภาพ 70-80% และอายุการใช้งาน 20 ปี รวมถึงรอบการชาร์จ และการคายประจุไม่จำกัดจำนวน .. Ocean Battery หนึ่งหน่วย มีความจุ 10 MWh ซึ่งสามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการเพิ่มหน่วยตามความต้องการขั้นสุดท้ายจากแผนแบบ ..
ระบบแบตเตอรี่มหาสมุทรที่ติดตั้งใต้ท้องทะเล The Seabed-Installed Ocean Battery เป็นอุปกรณ์จัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ระยะทนยาวแบบสำเร็จรูปแยกหน่วย Modular Utility-Scale Energy Storage Device ซึ่งขับเคลื่อนโดยแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources เช่น กังหันลม Wind Turbines, โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ Floating Solar Farms, พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง Tidal Energy และพลังงานคลื่น Wave Energy Systems .. แบตเตอรี่มหาสมุทร คือ ระบบสูบน้ำกลับในกล่องต่างระดับความดัน สามารถจัดเก็บพลังงาน และผลิตกำลังไฟฟ้าระดับยูทิลิตี้ Utility-Scale Energy Storage ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ด้วยขนาดความจุมากถึง GWh .. พวกมันมีประสิทธิภาพสูง ต้องการการบำรุงรักษาเพียงเล็กน้อย และถูกสร้างขึ้นโดยคำนึงถึงความยั่งยืน Sustainable Earth In Mind อีกด้วย ..
ก่อนหน้านี้ ระบบจัดเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Battery ที่ประยุกต์ใช้ Buoyancy Energy Storage Technology : BEST เป็นทางเลือกในการจัดเก็บพลังงานที่สามารถแข่งขันได้ แต่ไม่ได้รับความสนใจมากนัก .. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความต้องการระบบจัดเก็บพลังงานระยะทนยาวขนาดใหญ่ในทะเลสำหรับแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ Floating Solar PV, พลังงานลมนอกชายฝั่ง Off Shore Wind Farm และแหล่งพลังงานหมุนเวียนนอกชายฝั่ง Offshore Renewable Energy อื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ได้ทำให้ความต้องการโซลูชันข้อไขที่มีศักยภาพ ประสิทธิภาพสูงในระบบจัดเก็บพลังงานในทะเล Stored Energy at Sea : StEnSEA หรือแบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Battery หรือด้วยระบบ BEST System และการบีบอัดไฮโดรเจน Compressing Hydrogen ไปพร้อมด้วย กลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในตลาดระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ระยะทนยาว Utility-Scale Long Duration Energy Storage Market ในอนาคตจากนี้ไป ..
……………………………..
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Ocean Grazer | Ocean Battery :-
StEnSea – Stored Energy in the Sea :-
https://www.iee.fraunhofer.de/en/topics/stensea.html
StEnSea – Stored Energy in Sea | The Feasibility of an Underwater Pumped Hydro Storage System | Dr. Andreas Garg Christoph Lay Robert Füllmann :-
Deep Sea Pumped Storage | ESIG :-
The Solution for the Global Energy Storage Problem – Ocean Grazer :-
https://oceangrazer.com/wp-content/uploads/2022/01/Ocean-Battery-Magazine-A4-media.pdf
Ocean Grazer Launches “Infinitely Scalable” Ocean Battery :-
Ocean Grazer to charge energy transition with Ocean Battery :-
Ocean Battery Stores Renewable Energy at the Bottom of the Sea :-
https://newatlas.com/energy/ocean-battery-renewable-energy-storage/
Ocean Battery: A Breakthrough Solution :-
5 Ws of the Ocean Battery :-
https://www.techbriefs.com/component/content/article/tb/pub/features/five-ws/40847
Buoyancy Energy Storage Technology :-
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2352152X21004771
Ocean Battery | How the Ocean Could be the Future of Energy Storage :-