Biofuel: Any Fuel that is Derived from Biomass
“….เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel ถือเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ที่ยั่งยืนบนแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality ซึ่งแตกต่างจากเชื้อเพลิงฟอสซิล…”
เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel หมายถึง เชื้อเพลิงใดๆ ที่ได้มาจากชีวมวล Biomass กล่าวคือ วัสดุจากพืช Plant หรือสาหร่าย Algae Material รวมถึง ขยะอินทรีย์ Organic Waste ขยะพลาสติก Plastic Waste ของเสียจากมนุษย์ และสัตว์ Human & Animal Waste เป็นต้นด้วย ..
เนื่องจากวัตถุดิบป้อนเข้าเพื่อการผลิตเหล่านี้ สามารถจัดหารวบรวมไว้ได้ง่ายอย่างรวดเร็ว .. ดังนั้น เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel จึงถือเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ที่ยั่งยืนบนแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality ซึ่งแตกต่างจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels เช่น น้ำมันดิบ หรือปิโตรเลียม Petroleum, ถ่านหิน Coal และก๊าซธรรมชาติ Natural Gas ..
เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel มักได้รับการสนับสนุนให้เป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่คุ้มค่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนที่ปิโตรเลียม และเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของราคาน้ำมันที่สูงขึ้น สงครามพลังงาน สงครามอาหาร และความกังวลเกี่ยวกับการใช้แหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน Global Warming .. Biofuels จุดระเบิดในเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันได้ด้วยการปรับจูนเครื่องยนต์เพียงเล็กน้อย จึงมีคุณค่ายิ่งสำหรับเป็นแหล่งพลังงานหลักแทนที่น้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลเหลว และก๊าซธรรมชาติ ในภาคพลังงาน ภาคการขนส่งบนถนน ระบบราง การเดินเรือ การบิน และภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการผลิตกำลังไฟฟ้าบนโครงข่ายระบบสายส่ง นอกโครงข่ายระบบสายส่ง บน Smart Grid และในครัวเรือนได้อย่างยอดเยี่ยมแทบจะไร้รอยต่อ เว้นแต่เรื่องราคาของพวกมัน ..
อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์ส่วนหนึ่งแสดงความกังวลเกี่ยวกับขอบเขตการขยายตัวของเชื้อเพลิงชีวภาพบางชนิด เนื่องจากต้นทุนทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต รวมถึงปัญหาความขัดแย้งการจัดสรรทรัพยากรในพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ว่าจะใช้พื้นที่เกษตรกรรมไปผลิตอาหาร หรือผลิตพลังงาน .. ทั้งนี้ ด้วยความเป็นจริงแล้ว มนุษยชาติ มิได้มีปัญหาขาดแคลนพลังงาน แหล่งพลังงานมีอยู่มากมายเหลือเฟือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ได้ ปัญหาจริงๆ ของมนุษยชาติในภาคพลังงาน คือ ประเด็นเรื่องของราคา ..
ปัจจุบัน แม้ว่าพลังงานสะอาดสีเขียว Green Energy จะมีราคาลดลงเรื่อย ๆ แต่ยังคงมีราคาสูงมากเกินสำหรับต้นทุนในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติในอนาคตจากนี้ไป .. ดังนั้น พวกมันจะมีราคาสูงเกินไปนั้นไม่ได้ ..
ชีวมวล Biomass สามารถแปลงเป็นเชื้อเพลิงเหลว Liquid Fuels ได้โดยตรง ..
แตกต่างจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources อื่น ๆ ชีวมวล Biomass สามารถเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงเหลว Liquid Fuels ได้โดยตรง ที่เรียกกันว่า “เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels” เพื่อช่วยตอบสนองความต้องการเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่ง Transportation Fuel Needs .. เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ที่ใช้กันมากที่สุด 2 ประเภทในปัจจุบัน คือ เอทานอล Ethanol และไบโอดีเซล Biodiesel ซึ่งทั้ง 2 ชนิดเป็นตัวแทนของเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นแรกยุคที่ 1 หรือ First Generation of Biofuel Technology ที่สามารถใช้ทดแทนเชื้อเพลิงปิโตรเลียมเหลวในเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน Internal Combustion Engines : ICE ได้อย่างยอดเยี่ยมจนถึงปัจจุบัน ..
ตัวอย่างพัฒนาการเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel Technology มีให้เห็นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก .. สำนักงานเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพ Bioenergy Technologies Office : BETO กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ US DoE กำลังร่วมมือกับเอกชน และภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในยุคหน้า Next-Generation Biofuels ที่ผลิตขึ้นจากของเสีย น้ำเสีย ขยะอินทรีย์ ขยะพลาสติก ขยะเปียก ขยะแห้ง เศษไม้ แกลบ และมูลสัตว์ รวมทั้งทรัพยากรจากภาคเกษตร เช่น พืชน้ำมัน อ้อย ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน และสาหร่าย เป็นต้น .. ชีวมวลจากเซลลูโลส Cellulosic Biomass และทรัพยากรจากสาหร่าย Algae-Based Resources กลายเป็นหนึ่งในข้อไขสำคัญสำหรับอนาคตอันใกล้ที่น่าสนใจยิ่ง ..
Bioenergy Technologies Office : BETO มุ่งเน้นไปที่การผลิต เชื้อเพลิงชีวภาพไฮโดรคาร์บอน Hydrocarbon Biofuels หรือที่เรียกว่าเชื้อเพลิงแบบ “ดรอปอิน Drop-In” ซึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นเชื้อเพลงเหลวทดแทนผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโรงกลั่น Refineries ในถังน้ำมัน Tanks, ท่อส่ง Pipelines, ปั๊ม Pumps, ยานพาหนะ Vehicles และเครื่องยนต์สันดาปภายใน Internal Combustion Engines : ICE ขนาดต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมได้เป็นอย่างดี ..
เชื้อเพลิงปิโตรเลียม Petroleum Fuels เช่น น้ำมันเบนซิน Gasoline, ดีเซล Diesel และน้ำมันอากาศยาน Jet Fuel มีส่วนผสมของสารไฮโดรคาร์บอน หมายถึง โมเลกุลของไฮโดรเจน และคาร์บอนที่ซับซ้อน Complex Mixture of Hydrocarbons ซึ่งถูกเผาเพื่อผลิตพลังงาน .. ไฮโดรคาร์บอน Hydrocarbons สามารถผลิตขึ้นได้จากแหล่งชีวมวล Biomass Sources ผ่านกระบวนการทางชีววิทยา และความร้อนทางเคมี Biological & Thermochemical Processes ที่หลากหลาย ..
เชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนหมุนเวียนที่ใช้ชีวมวลเป็นฐาน Biomass – Based Renewable Hydrocarbon Fuels เกือบจะเหมือนกันทุกประการกับเชื้อเพลิงปิโตรเลียม .. พวกมัน ถูกนำมาประยุกต์ใช้งาน และออกแบบมา เพื่อใช้ทดแทนผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงปิโตรเลียมได้อย่างยอดเยี่ยม ดังนั้น จึงเข้ากันได้ดีกับเครื่องยนต์ Engines, ปั๊ม Pumps และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ Other Infrastructure ในปัจจุบันได้อย่างยอดเยี่ยมไร้รอยต่อ..
เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels .. การผลิต และการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ได้รับการพิจารณาโดยรัฐบาลสหรัฐฯ แล้วว่า พวกมันมีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า หรือน้อยลงมากเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเบนซิน Gasoline และดีเซล Diesel ที่ผลิตขึ้นโดยโรงกลั่นน้ำมัน หรือโรงแยกแก๊ส ซึ่งใช้วัตถุดิบจากแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมันดิบลึกลงไปใต้เปลือกโลก Petroleum, ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas และถ่านหิน Coal เป็นต้น ..
นอกจากนี้ Biofuels ยังสามารถสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงทางพลังงานของชาติได้อย่างน่าประทับใจในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย หมายถึง การมุ่งผลิต และใช้เชื้อเพลิงชีวภาพภายในประเทศ จะช่วยลดความจำเป็นในการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงปิโตรเลียมจากต่างประเทศ .. โครงการภาครัฐที่ส่งเสริม และ/หรือ สนับสนุนให้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพอย่างกว้างขวางในชีวิตประจำวัน และในสังคมไทย การกำหนดประเภทของเชื้อเพลิงชีวภาพ Types of Biofuels และกระบวนการหรือแนวทางผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพคาร์บอนต่ำ Processes or Low-Carbon Pathways ที่สามารถผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพขึ้นได้เองในท้องถิ่นทั่วประเทศด้วยคุณสมบัติเชื้อเพลิงที่ตรงตามมาตรฐาน คือ นโยบายภาครัฐสำคัญจำเป็นที่ขาดไม่ได้จากนี้ไป ..
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเชื้อเพลิงชีวภาพจะมีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมมากกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ทั่วไป แต่กระบวนการผลิต และการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ Production & The Use of Biofuels ยังคงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องการการบริหารจัดการที่ดี .. การนำขยะของเสีย และขยะพลาสติกมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels นั้น เหนือชั้นกว่าการนำขยะเหล่านั้นไปเผาโดยตรง หรือฝังกลบเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ การใช้งานแหล่งเชื้อเพลิงชีวมวล Biomass เหล่านี้ ถือว่าตั้งอยู่บนแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality หมายถึง การเพิ่มขึ้นของคาร์บอนในบรรยากาศโดยรวมจะเข้าสู่ศูนย์สุทธิ Net Zero ในที่สุดได้ ..
เอทานอล และไบโอดีเซลบริสุทธิ์ Pure Ethanol & Biodiesel ไม่มีพิษ Nontoxic และย่อยสลายได้ทางชีวภาพ Biodegradable .. ทั้งนี้ หากมีการรั่วไหลสู่ธรรมชาติ พวกมันก็จะแตกตัวเป็นสารที่ไม่เป็นอันตราย Harmless Substances .. อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับเชื้อเพลิงปิโตรเลียม Petroleum Fuels เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels สามารถติดไฟได้โดยเฉพาะเอทานอล Ethanol ดังนั้น จึงต้องทำการจัดเก็บ และขนส่งเคลื่อนย้ายพวกมันอย่างระมัดระวังด้วยมาตรฐานความปลอดภัยที่เพียงพอ ..
เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels เส้นทางสู่ความเป็นกลางของคาร์บอน Carbon Neutrality ..
การเปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ในระบบเศรษฐกิจ และสังคมเป็นหลัก มาเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกปราศจากคาร์บอน Carbon-Neutral Alternatives เป็นหลักแทนด้วยแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality กำลังดำเนินไปอย่างกว้างขวางในหลายภาคส่วนทั่วโลก ซึ่งหมายรวมถึงอุตสาหกรรมการเดินเรือในทะเลที่มุ่งมั่นจะให้บรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยมลพิษ ในปี 2573 ขององค์การการเดินเรือระหว่างประเทศ International Maritime Organization : IMO อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ..
ในบรรดาเชื้อเพลิงทางเลือกคาร์บอนต่ำ หรือคาร์บอนเป็นกลาง Carbon-Neutral Fuel Alternatives ที่มีอยู่ปัจจุบันนั้น หนึ่งในเชื้อเพลิงทางเลือกที่ได้รับการพิสูจน์รับรองที่ยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมการขนส่ง Transportation Industry แล้ว นั่นคือ เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ..
เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels เป็นรูปแบบพลังงานที่ยั่งยืน Sustainable Energy Form ซึ่งได้มาจากการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปชีวมวล Biomass ประเภทต่าง ๆ รวมถึงของเสีย ขยะอินทรีย์ ขยะพลาสติก ถ่านไม้ การประมง ของเหลือใช้จากภาคเกษตรกรรม และผลผลิตทางการเกษตร .. การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวภาพ Burning Biofuels สามารถสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Carbon Impact on the Environment และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHG เช่น กำมะถัน Sulfur, มีเทน Methane และโอโซน Ozone ได้เป็นอย่างมาก ..
อย่างไรก็ตาม การใช้งานพวกมันในภาคอุตสาหกรรมเดินเรือ Marine Industry ยังถือว่าล่าช้า โดยน้อยกว่า 1% ของกองเรือเดินสมุทรทั่วโลกเท่านั้นที่ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ในปัจจุบัน .. เนื่องจากเชื้อเพลิงจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมีรูปแบบที่หลากหลาย เจ้าของเรือ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้จัดการจะต้องพิจารณาข้อดี และข้อเสียของเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับการเดินเรือ .. ทั้งนี้ นอกจากเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels แล้ว คาดหมายได้ว่า Green Ammonia : NH3 จะกลายเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่น่าสนใจอีกประเภทหนึ่ง เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงปิโตรเลียมสำหรับการเดินเรือในมหาสมุทรจากนี้ไป ..
เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels มีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทานที่มีการปล่อยมลพิษน้อยลง Supply Chain with Fewer Emissions อีกด้วย .. เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ขึ้นอยู่กับการผลิตทรัพยากรวัตถุดิบที่เป็นชีวมวล Biomass เช่น พืชผล ป่าไม้ ของเสีย และขยะ .. การทำฟาร์ม และการทำป่าไม้อย่างยั่งยืน Sustainable Farming & Forestry, การใช้ที่ดินอย่างรับผิดชอบ Responsible Land Use และการจัดการขยะและของเสีย Waste Management เพื่อหลีกเลี่ยงการนำมาเผาโดยตรง หรือจบงานด้วยการฝังกลบนั้น ได้รับการคาดหวังผลลัพธ์ในเชิงคุณภาพ และปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตร และระบบกำจัดขยะของเสียที่ยั่งยืนกว่า .. เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ได้รับประโยชน์จากขั้นตอนการผลิตก่อนหน้านี้ โดยมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ..
เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ยุคที่ 1-4, ประเภท และกระบวนผลิต Biofuel Conversion Processes ..
เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่ 1 หรือ First Generation Biofuels หมายถึง เชื้อเพลิงที่ได้มาจากแหล่งชีวมวลต่าง ๆ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมันสัตว์ และน้ำมันพืช ซึ่ง Biofuels ที่เป็นเชื้อเพลิงเหลว ก๊าซ หรือเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งที่ได้นั้น มาจากการใช้เทคนิคการแปลง Conversion Processes และกระบวนผลิตรูปแบบธรรมดาดั้งเดิม .. เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่ 1 หรือ First Generation Biofuels ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดบางประเภท เช่น เอทานอล Ethanol, ไบโอดีเซล Biodiesel, แอลกอฮอล์ชีวภาพอื่น ๆ Other Bioalcohols, ดีเซลสีเขียว Green Diesel, น้ำมันเบนซินเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel Gasoline, น้ำมันพืชผัก Vegetable Oil, ไบโออีเทอร์ Bioethers, ก๊าซชีวภาพ Biogas, เชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synfuel & Syngas และเชื้อเพลิงชีวภาพที่เป็นของแข็ง Solid Biofuels เป็นต้น ..
เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่สอง Second Generation Biofuels หรือที่เรียกว่า เชื้อเพลิงชีวภาพประยุกต์ Advanced Biofuels เป็นเชื้อเพลิงที่สามารถผลิตขึ้นได้มาจากชีวมวลประเภทต่างๆ มากขึ้น รวมทั้งวัสดุจากพืช และวัสดุจากสัตว์ ซึ่งหมายความว่า วัตถุดิบสารอินทรีย์ที่ใช้นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นสารอาหารเสมอไป .. ต่างจากเชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่ 1 ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมบางชนิด ได้แก่ น้ำมันไฮโดรทรีทติ้ง Hydrotreating Oil, ไบโอออยล์ Bio-Oil, FT Oil, เอธานอลลิกโนเซลลูโลส Lignocellulosic Ethanol, บิวทานอล Butanol และแอลกอฮอล์ผสม Mixed Alcohols ..
เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่ 3 หรือ Third Generation Biofuels มักอ้างถึงในกรณีเชื้อเพลิงชีวภาพที่อุดมไปด้วยคาร์บอนที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต Autotrophic ในน้ำ เช่น สาหร่าย Algae .. แสง Light, คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 และสารที่เป็นธาตุอาหาร Nutrients รวมทั้งทรัพยากรคาร์บอนที่มีอยู่ทั้งหลาย Carbon Resource Available เช่น ขยะพลาสติก ขยะแห้ง ขยะเปียก เศษไม้ และของเหลือทิ้งจากภาคเกษตร เป็นต้นนั้น ถูกใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Production of Biofuels ..
ทั้งนี้ เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่ 4 หรือ Fourth Generation Biofuels อาจไม่ใช่หมวดหมู่ทั่วไป แต่มีการอ้างอิงถึงในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงชีวภาพสังเคราะห์ Synthetic Biofuels เป็นจำนวนมาก .. ในระบบกระบวนผลิตยุคที่ 4 หรือ Fourth Generation Production Systems นี้นั้น พืชไร่ชีวมวล Biomass Crops จะถูกมองว่า พวกมันเป็นส่วนประกอบในระบบดักจับคาร์บอน Carbon Capturing ที่มีประสิทธิภาพซึ่งนำ CO2 ออกจากบรรยากาศ และกักขังไว้ในตัวของพืชไร่ ได้แก่ กิ่งก้าน ลำต้น ใบ ดอก และผล ..
จากนั้นชีวมวลที่อุดมด้วยคาร์บอน Carbon-Rich Biomass จะถูกแปลงเป็นเชื้อเพลิงเหลว และเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ โดยใช้เทคนิคในกระบวนผลิตรุ่นที่ 2 .. ก่อน ระหว่าง หรือหลังกระบวนการแปลงทางชีวภาพ Bioconversion Process คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 จะถูกดักจับโดยใช้กระบวนการที่เรียกว่ากระบวนการก่อนการเผาไหม้ Precombustion, ออกซิเจนเชื้อเพลิง Oxyfuel, หรือกระบวนการหลังการเผาไหม้ Postcombustion Processes .. เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่ 4 หรือ Fourth Generation Biofuels ได้แก่ ไฮโดรเจนชีวภาพ Biohydrogen, ไบโอมีเทน Biomethane และเชื้อเพลิงชีวภาพสังเคราะห์ Synthetic Biofuels เป็นต้น ..
สำหรับกระบวนการแปลงชีวมวลให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel Conversion Processes และการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพประยุกต์ Producing Advanced Biofuels เช่น เซลลูโลสเอทานอล Cellulosic Ethanol และเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนหมุนเวียน Renewable Hydrocarbon Fuels นั้น มักเกี่ยวข้องกับกระบวนการหลายขั้นตอนต่อเนื่อง .. ประการแรก โครงสร้างที่แข็งแรงของผนังเซลล์พืช ซึ่งรวมถึงโมเลกุลทางชีววิทยา เซลลูโลส Cellulose, เฮมิเซลลูโลส Hemicellulose และลิกนิน Lignin ที่เกาะติดกันอย่างแน่นหนา จะต้องถูกทำให้แตกสลายเสียก่อน ซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งจาก 2 วิธี ได้แก่ เทคนิคการแยกสลายโครงสร้างที่อุณหภูมิสูง High Temperature Deconstruction และวิธีการแยกสลายด้วยอุณหภูมิต่ำ Low Temperature Deconstruction ..
การแยกสลายโครงสร้างที่อุณหภูมิสูง High-Temperature Deconstruction ใช้ความร้อน และความดันสูงในการสลายชีวมวลที่เป็นวัตถุดิบของแข็งให้เป็นของเหลว หรือก๊าซ Break Down Solid Biomass into Liquid or Gaseous ด้วย 3 กระบวนวิธีทางเทคนิคหลัก ได้แก่ ไพโรไลซิ Pyrolysis, การทำให้เป็นแก๊ส Gasification และการทำให้เป็นของเหลวด้วยไฮโดรเทอร์มอล Hydrothermal Liquefaction ..
ทั้งนี้ ในระหว่างการทำไพโรไลซิส Pyrolysis นั้น ชีวมวล Biomass จะได้รับความร้อนอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิสูง 500-700oC ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปราศจากออกซิเจน Oxygen-Free Environment .. ความร้อนจะสลายชีวมวล ให้เป็น ไอของไพโรไลซิส Pyrolysis Vapor, ก๊าซ Gas และถ่าน Char .. เมื่อนำถ่านออกแล้ว ไอระเหยจะถูกทำให้เย็นลง และควบแน่นกลายเป็นน้ำมันที่เรียกว่า “น้ำมันดิบชีวภาพ Bio-Crude เหลว” ที่เป็นของเหลว หรือ Liquid Bio-Crude Oil ..
สำหรับกระบวนการทำให้เป็นแก๊ส Gasification เป็นกระบวนการแปลงชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงที่คล้ายคลึงกันกับกระบวนการไพโรไลซิส Pyrolysis เล็กน้อย .. อย่างไรก็ตาม ชีวมวลสัมผัสกับช่วงอุณหภูมิที่สูงขึ้นในระดับที่มากกว่า 700oC โดยมีออกซิเจนอยู่บ้าง เพื่อผลิตเชื้อเพลิงก๊าซสังเคราะห์ หรือซินแก๊ส Synthesis Gas : Syngas ซึ่งมีส่วนผสมที่ประกอบด้วยคาร์บอนมอนอกไซด์ Carbon Monoxide และไฮโดรเจน Hydrogen เป็นส่วนใหญ่ ..
อย่างไรก็ตาม เมื่อทำงานกับวัตถุดิบเปียกชื้น เช่น สาหร่าย Algae การทำให้เป็นของเหลวด้วยไฮโดรเทอร์มอล Hydrothermal Liquefaction จะถือเป็นกระบวนการทางความร้อนที่เหมาะสมกว่า .. กระบวนการนี้ ใช้น้ำภายใต้อุณหภูมิปานกลาง 200-350oC และแรงดันที่สูงขึ้น เพื่อเปลี่ยนชีวมวล Biomass ให้เป็น น้ำมันดิบชีวภาพเหลว Liquid Bio-Crude Oil ..
สำหรับเทคนิคการแยกสลายโครงสร้างที่อุณหภูมิต่ำ Low-Temperature Deconstruction มักใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพที่เรียกว่า เอนไซม์ Enzymes หรือกระบวนการทางเคมีเพื่อแยกย่อยวัตถุดิบให้เป็นตัวกลาง .. ประการแรก ชีวมวล Biomass จะผ่านขั้นตอนการปรับสภาพซึ่งจะเปิดโครงสร้างทางกายภาพของผนังเซลล์พืช และสาหร่าย ทำให้สามารถเข้าถึงโพลีเมอร์น้ำตาล Sugar Polymers เช่น เซลลูโลส Cellulose และเฮมิเซลลูโลส Hemicellulose ได้ง่ายขึ้น .. สารโพลีเมอร์ Polymers เหล่านี้จะถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์ หรือทางเคมีให้เป็นส่วนประกอบหลักในการผลิตน้ำตาลอย่างง่ายในระหว่างกระบวนการที่เรียกว่า ไฮโดรไลซิส Hydrolysis ..
ทั้งนี้ หลังจากทำการแยกสลายโครงสร้าง Deconstruction วัตถุดิบที่เป็นชีวมวล Biomass และสารอินทรีย์คาร์บอนสูง Rich-Carbon Organic Materials แล้ว จะต้องอัปเกรดสารตัวกลางที่ได้ เช่น น้ำมันดิบชีวภาพเหลว Liquid Bio-Crude Oil, ซินแก๊ส Syngas, น้ำตาล Sugars และส่วนประกอบทางเคมีอื่น ๆ เพื่อผลิตเชื้อเพลิงสำเร็จรูปที่เป็น Biofuel ตามมาตรฐานการใช้งานต่อไป .. ขั้นตอนนี้ อาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางชีวภาพ หรือกระบวนการทางเคมี Biological or Chemical Processing ..
จุลินทรีย์ Microorganisms เช่น แบคทีเรีย Bacteria, ยีสต์ Yeast และไซยาโนแบคทีเรีย Cyanobacteria สามารถหมักน้ำตาล หรือทำสารตัวกลางที่เป็นก๊าซให้กลายเป็นส่วนผสมในเชื้อเพลิง และสารเคมีได้ .. อีกทางเลือกหนึ่ง น้ำตาล และสารที่ผ่านกระบวนการแยกสลายโครงสร้าง อื่น ๆ เช่น น้ำมันดิบชีวภาพเหลว Liquid Bio-Crude Oil และซินแก๊ส Syngas อาจถูกแปรรูปโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อกำจัดสารประกอบที่ไม่ต้องการ หรือปฏิกิริยาใด ๆ ออกเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติสำหรับการจัดเก็บ และการบริหารจัดการ ..
ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปขั้นสุดท้ายจากกระบวนการผลิตทั้งหมด คือ เชื้อเพลิง Fuels สำหรับผลิตพลังงาน และกำลังไฟฟ้า หรือผลิตภัณฑ์ชีวภาพ Bioproducts ที่พร้อมจำหน่ายออกสู่ตลาดทดแทนผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจากปิโตรเลียม และเชื้อเพลิงฟอสซิลในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ซึ่งรวมไปถึงผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ Bioplastics ที่สามารถย่อยสลายในธรรมชาติได้อีกด้วย ..
อย่างไรก็ตาม สารตัวกลางที่มีความเสถียร และผ่านกระบวนการแยกสลายโครงสร้างแล้ว เช่น น้ำมันดิบชีวภาพเหลว Liquid Bio-Crude Oil และซินแก๊ส Syngas ได้กลายเป็นวัตถุดิบที่มีมูลค่าทางการค้าซึ่งเหมาะสำหรับนำส่งป้อนเข้าโรงกลั่นปิโตรเลียม หรือโรงงานผลิตสารเคมี Petroleum Refinery or Chemical Manufacturing Plant เพื่อจบงานการผลิตในเชิงพาณิชย์อย่างสมบูรณ์ได้ต่อไป ..
คาดการณ์ตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลก Biofuels Global Market ..
ภาพรวมการวิเคราะห์อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels Industry Analysis โดย Fact.MR Market Research Report เปิดเผยว่า ขนาดของรายได้จากธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลก Global Revenue from the Sales of Biofuels อยู่ที่ 134 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 และ 141 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 .. ทั้งนี้ ขนาดธุรกิจในตลาดอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลก Biofuels Industry Global Market มีแนวโน้มที่จะขยายตัวด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดตลาดอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels Industry Global Market ทั่วโลกที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 4.8% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2564-2574 .. ไบโอเอทานอล Bioethanol คาดว่า จะสร้างรายได้สูงที่สุดด้วยปริมาตรเชื้อเพลิงเหลวสูงที่สุด ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลกในปัจจุบัน โดยได้รับการคาดหมายว่าจะมีมูลค่าพุ่งสูงแตะระดับ 53.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงสิบปีข้างหน้า ..
อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลก Global Biofuels Market นั้น แม้ว่าไบโอเอทานอล Bioethanol จะมีสัดส่วน และรายได้สูงสุด แต่ไบโอดีเซล Biodiesel มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในช่วงที่คาดการณ์ .. มูลค่าตลาดไบโอดีเซลทั่วโลก Global Biodiesel Market ยืนอยู่ที่ 90.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 คาดว่า อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 6.9% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ปี 2564-2574 .. ตลาดไบโอดีเซลทั่วโลก Global Biofuels Market ได้รับการคาดหมายว่า มูลค่าขนาดตลาดไบโอดีเซลทั่วโลกจะพุ่งแตะระดับ 187.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2574 แซงหน้าไบโอเอทานอล Bioethanol ไปได้อย่างสบาย ๆ เนื่องจากตลาดน่าจะได้รับแรงหนุนจากการใช้ไบโอดีเซล Biodiesel ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกสำหรับเชื้อเพลิงเหลวในรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในเพื่อการคมนาคม ขนส่ง และการพาณิชย์ต่าง ๆ ซึ่งเหนือชั้นกว่ายานยนต์ไฟฟ้า EVs โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับงานหนัก ..
ไบโอดีเซล Biodiesel เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่ยั่งยืน Sustainable Biofuel และสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพเช่นกัน .. ไบโอดีเซล Biodiesel สามารถผลิตขึ้นได้ด้วยหลากหลายวิธี รวมทั้ง Ultrasonic Techniques, Batch Procedures และ Microwave Methods เป็นต้น .. เครื่องยนต์ดีเซลมาตรฐาน Standard Diesel Engines ส่วนใหญ่ สามารถใช้ไบโอดีเซล Biodiesel ที่ผลิตขึ้นจากชีวมวล Biomass เป็นเชื้อเพลิงเหลวทดแทนน้ำมันดีเซล Diesel Fuel รูปแบบดั้งเดิมที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ Crude Oil ได้เป็นอย่างดี ด้วยเพียงอาจต้องปรับแต่งเครื่องยนต์ที่ติดตั้งบนตัวรถไว้แต่เดิมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ..
ภูมิภาคอเมริกาเหนือ คิดเป็นเกือบ 35% ของความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ทั่วโลก .. ทั้งนี้ ความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพ Demand for Biofuels คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และเติบโตด้วยความเร่งในช่วงเวลาที่คาดการณ์ และตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลก Biofuels Global Market คาดหมายว่าจะมีมูลค่า 226 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในสิ้นปี 2574 ..
ตัวอย่างการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Production of Biofuels โดยประมาณทั้งหมดในสหรัฐฯ และบราซิล ในปี 2563 มีมากกว่า 9.5 พันล้านแกลลอน .. แม้ว่าทั้ง 2 ประเทศจะมีสัดส่วนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพมากกว่า 3 ใน 4 ของโลก แต่ก็คิดเป็นเกือบ 50% ของความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลก .. เชื้อเพลิงเอทานอล Ethanol และไบโอดีเซล Biodiesel ในทั้งสองประเทศ ผสมผสานกับเชื้อเพลิงฟอสซิลสำหรับภาคการขนส่ง .. ในบราซิล เชื้อเพลิงชีวภาพ ใช้สำหรับยานยนต์ และแข่งขันกับน้ำมันเบนซิน Gasoline โดยตรง ..
ทั้งนี้ ราคาเอทานอล Ethanol และเชื้อเพลิงชีวภาพรูปแบบอื่น ๆ เช่น ไบโอดีเซล Biodiesel ซึ่งผลิตขึ้นในประเทศที่แข่งขันได้กับราคาน้ำมันเบนซิน Gasoline จะสามารถผลักดันความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพให้เพิ่มสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์สงครามพลังงานที่ส่งผลให้ราคาพลังงานสูงขึ้นมาก .. ในประเด็นนี้ อาจถือเป็นโอกาสดีของทั่วโลกที่จะมุ่งปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Resources เป็นหลัก แทนที่แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ในระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติสำหรับ Energy Transition จากนี้ไปให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
สรุปส่งท้าย ..
เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel จากชีวมวล Biomass เช่น วัสดุจากพืช Plant หรือสาหร่าย Algae Material รวมถึง ขยะอินทรีย์ Organic Waste ขยะพลาสติก Plastic Waste ของเสียจากมนุษย์ และสัตว์ Human & Animal Waste เป็นต้นนั้น ถือเป็นเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นกลางซึ่งได้รับการคาดหมายว่า พวกมันกำลังกลายเป็นเชื้อเพลิงที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในรูปแบบดั้งเดิมสำหรับอนาคต .. ก่อนหน้านี้ เคยมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายสำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายในยุคสงครามโลกครั้งที่สองก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยน้ำมันเบนซิน Gasoline .. พัฒนาการทางเทคโนโลยี ความสำเร็จ และความท้าทายในการประยุกต์ใช้ Biofuel ให้เป็น Biodiesel และ Syngas เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้าในสถานีไฟฟ้า รวมทั้งแนวโน้มศักยภาพของเชื้อเพลิงชีวภาพสำหรับเครื่องยนต์ที่ใช้งานอยู่ทั่วไปในปัจจุบันเหล่านี้นั้น ได้ทำให้เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ทั้งที่เป็นของเหลว และที่เป็นก๊าซ มีความน่าสนใจในเชิงเศรษฐกิจอย่างยิ่ง ..
ปัจจุบัน นานาประเทศ กำลังเตรียมแผนงานยกเลิกการพึ่งพาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในระบบเศรษฐกิจของพวกเขาด้วยความมุ่งมั่น .. ตัวอย่างการแปลงเพียงขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels มีศักยภาพที่จะทำให้เกิดงานใหม่ได้มากกว่า 39,000 ตำแหน่ง และผลผลิตทางเศรษฐกิจเกือบ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี .. วิธีการใหม่นี้ อาจมีต้นทุนถูกกว่าวิธีการรีไซเคิล ซึ่งปัจจุบัน ขยะพลาสติกเพียง 5% เท่านั้นที่รีไซเคิลได้ รวมทั้งการรีไซเคิลถุงพลาสติก และขยะพลาสติก 1 ตันมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 4,000 เหรียญสหรัฐฯ และสุดท้ายการจัดการขยะพลาสติก ขยะอินทรีย์ ของเหลือทิ้งในครัวเรือน ของเสีย และน้ำเสีย มักจะนำไปสู่การเผาโดยตรง หรือจบงานในหลุมฝังกลบเพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับการจัดการขยะเหล่านี้ ซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การนำพวกมันไปเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel หรือ Synthetic Fuel & Gas ถือเป็นแนวปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม และสะอาดกว่า ..
เครื่องยนต์สันดาปภายใน เป็นกระดูกสันหลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคม ของมนุษยชาติในยุคอุตสาหกรรมมาโดยตลอด และมันจะยังคงอยู่ต่อไป ไม่ได้หายไปจากระบบขนส่ง หรือระบบสาธารณูปโภคปัจจุบันแต่อย่างไร .. เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels รูปแบบต่าง ๆ กำลังดึงดูดความสนใจนักลงทุนทั้งรายใหญ่ และรายย่อยให้เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่เครื่องบินไอพ่น เรือ ไปจนถึงรถยนต์นั้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องคิดใหม่ ปรับแต่ง หรือเปลี่ยนเครื่องยนต์ไปจากรูปแบบเดิม ๆ มากนัก เนื่องเพราะพวกมันสามารถจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์เหล่านี้ได้ด้วยการปรับจูนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ..
ประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรมชั้นแนวหน้าของโลก มีวัตถุดิบที่เป็นชีวมวล Biomass อย่างมากมายหลากหลายรูปแบบ มีผลผลิตการเกษตรคุณภาพ และมีแหล่งเชื้อเพลิงที่เป็นสารอินทรีย์ปริมาณมาก มีพื้นที่การทำเกษตรไม้โตเร็วเพื่อเป็นเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และชายฝั่งทะเลที่เหมาะสมแก่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายอยู่ทั่วประเทศ มีอุจจาระจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ขยะเปียก ขยะแห้ง รวมทั้งขยะพลาสติกจำนวนมากมาย สามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels และ/หรือ เชื้อเพลิงสังเคราะห์ Syngas สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล หรือนำไปผลิตกำลังไฟฟ้าโดยตรงจากแหล่งพลังงานชีวมวลใช้เองในชุมชน ท้องถิ่น หรือส่งกำลังไฟฟ้าส่วนเกินเข้าโครงข่ายระบบสายส่งเพื่อขาย และ/หรือจ่ายเข้าระบบ Virtual Power Plant : VPP ที่ชาญฉลาดกว่าในอนาคตได้ .. รวมทั้ง ไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่มีนโยบายการสนับสนุนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels อย่างชัดเจน เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่วัตถุดิบจากภาคการเกษตร ..
สำหรับประเทศไทยแล้ว เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ถือเป็นเชื้อเพลิงพลังงานทางเลือก Alternative Renewable Energy ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีศักยภาพทางการผลิตวัตถุดิบสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพสูงมาก อีกทั้งการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ในประเทศไทย ยังส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงานในชุมชน ท้องถิ่น ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตทางการเกษตรของไทย รวมไปถึงประโยชน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ เช่น ก๊าซมีเทน Methane : CH4 ด้วยแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality ..
ปัจจุบัน เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ที่ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ และจำหน่ายอยู่ในประเทศไทย เช่น เอทานอล Ethanol, น้ำมันแก๊สโซฮอล์ Gasohol, น้ำมันดีเซลจากปาล์ม และไบโอดีเซล Biodiesel เป็นต้น โดยภาครัฐได้จัดทำแผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579 หรือ Alternative Energy Development Plan : AEDP 2015 ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมถึงการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในประเทศ Biofuels Production in Country โดยเฉพาะอย่างยิ่งไบโอดีเซล Biodiesel เพื่อใช้แทนที่น้ำมันดีเซลที่เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลเหลวในระบบขนส่งสำหรับงานหนัก และการผลิตกำลังไฟฟ้าในสถานการณ์เฉพาะต่าง ๆ ด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในกำเนิดไฟฟ้า รวมทั้งในภาคอุตสาหกรรมในประเทศ ..
ทั้งนี้ ความขัดแย้งการจัดสรรทรัพยากรในพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่สีเขียว จะกลายเป็นประเด็นปัญหาสำคัญจากนี้ไป ซึ่งจะต้องมุ่งแก้ไขด้วยความเป็นธรรม และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และประชาชนในพื้นที่ ท้องถิ่น และชุมชม ซึ่งถือเป็นผู้รับผลกระทบ ประโยชน์ และผลดีผลเสียโดยตรง .. โรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels และกระบวนการรวบรวมวัตถุดิบเพื่อการผลิต จะต้องสะอาดสีเขียวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย รวมทั้งเป็นที่ยอมรับของสังคม ชุมชน หรือให้องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น และประชาชนคนในพื้นที่เป็นเจ้าของ ..
อย่างไรก็ตาม นโยบายภาครัฐในการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ทั้งจากภาครัฐ และเอกชนที่มีศักยภาพ หรือกระจายสู่ชุมชนด้วยราคาพลังงานที่แพงเกินไปนั้นไม่ได้, การให้สิทธิพิเศษทางภาษีจากคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน BOI, การสนับสนุนการวิจัย และพัฒนา รวมไปถึงการให้ความรู้ทางด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels แก่ประชาชน กลายเป็นเรื่องจำเป็นสำคัญที่ขาดไม่ได้ในระดับยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของชาติเช่นกัน เพื่อให้มั่นใจว่า ประเทศไทยจะสามารถบรรลุเป้าหมายการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ในประเทศ และใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels เหล่านี้ เป็นหลักทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่ต้องนำเข้า และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแบบยั่งยืนอย่างมั่นคงด้วย Sustainable BCG Economy ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
…………………………
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Biofuel Basics | Department of Energy :-
https://www.energy.gov/eere/bioenergy/biofuel-basics
Biofuel and Biochemical 2020 | EEC :-
https://www.eeco.or.th/en/filedownload/1162/65973e1515bceb50fbb8e62e284dc61f.pdf
Biofuels explained Ethanol and Biomass – Based Diesel | EIA :-
https://www.eia.gov/energyexplained/biofuels/
Liquid Biofuels | GreenFacts :-
https://www.greenfacts.org/en/biofuels/l-2/1-definition.htm
Biofuels Market Share & Trends Analysis | Fact.MR :-
https://www.factmr.com/report/biofuels-market
Biodiesel Market to Develop at CAGR of 6.9% | Cision US Inc. :-
The Renewable Energy & How to Save the World Documentary :-
https://goo.gl/photos/TusY3UndbtWjDfXx9
Synthetic Fuel Gas: Gasification of Plastic Waste & Biomass to SynGas or from Power to X Technology :-
https://photos.app.goo.gl/dDGTMm9r6qM29XxVA
Biomass Energy :-
https://photos.app.goo.gl/nbevEx1cE59Jzf2X8
Biofuel: Any Fuel that is Derived from Biomass :-