วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกEXCLUSIVEปัญหาระดับชาติ“บุหรี่”ต้นเหตุ“มีลูกยาก” ชงตั้ง‘สเปิร์มแบงค์-ธนาคารไข่’แก้ปัญหา
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ปัญหาระดับชาติ“บุหรี่”ต้นเหตุ“มีลูกยาก” ชงตั้ง‘สเปิร์มแบงค์-ธนาคารไข่’แก้ปัญหา

หมอสูติฯชี้ “บุหรี่” ทำเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ “ชาย-หญิง” มีลูกยาก จ่อเสนอสิทธิรักษามีบุตรยาก ส่วน “สเปิร์มแบงค์-ธนาคารไข่” เป็นไปได้สูง

นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์ สูตินรีแพทย์ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร และโฆษกรมช.สาธารณสุข กล่าวถึงบุหรี่ไฟฟ้ากับผลกระทบต่อการเจริญพันธุ์หรือการมีลูกว่า ข้อมูลยังไม่ชัดเจน เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่งออกมาประมาณ 10 ปี แต่ถ้าเป็นบุหรี่มวนธรรมดามีผลต่อให้สมรรถภาพทางเพศแย่ลง เพราะทำให้หลอดเลือดแย่ลง ทำให้คุณภาพอสุจิในผู้ชายลดลง ทั้งปริมาณน้ำเชื้อ การเคลื่อนไหวของอสุจิ ความสามารถการเจาะไข่ลดลง ส่วนผู้หญิงที่สูบบุหรี่ก็เพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูก คุณภาพไข่แย่ลง ดังนั้นคนที่อยากมีลูกจึงขอแนะนำว่าขอให้เลิกสูบบหรี่ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และต้องเปลี่ยนภาพลักษณ์การสื่อสารว่า สูบบุหรี่หลังมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องเท่

นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์

นพ.โอฬาริก กล่าวว่า ทั้งนี้ ปัญหาการมีบุตรยากพบว่ามีประมาณ 10% ของคู่สมรส ส่วนใหญ่เป็นสาเหตุกายภาพ 50% มาจากผู้หญิง เช่น ช็อกโกแลตซีสต์ ไข่ไม่ตก ท่อนำไข่ไม่ดีจากการติดเชื้อมาก่อน อีก 50% มาจากผู้ชาย เช่น น้ำเชื้อไม่ดี เป็นต้น สำหรับการรักษาปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้สิทธิประโยชน์การรักษามีบุตรยากอยู่ และขณะนี้รอคณะกรรมการวิชาการ ของคณะกรรมการอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติพิจารณารายการที่เหมาะสมเพิ่มเติม เช่น ฉีดเชื้อ เด็กหลอดแก้ว ผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์รักษามีบุตรยาก ซึ่งจะมีการคุยกับทางประกันชีวิต และรับฟังภาคประชาชนด้วย ว่าอยากได้สิทธิอะไรบ้าง เช่น การไปพบแพทย์เพื่อรักษามีบุตรยากให้ถือเป็นวันลา โดยข้อเสนอต่างๆ จะเสนอภายในปี 2566 เชื่อว่าไม่ว่ารัฐบาลไหนเข้ามาจะเห็นความสำคัญ เพราะนี่เป็นปัญหาระดับชาติ 

ที่ปรึกษารมช.สธ. กล่าวต่อว่า สำหรับข้อเสนอที่ภาครัฐควรสนับสนุนคนที่อยากมีลูก ส่วนหนึ่งคือการเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้คนโสดได้มาเจอกัน เช่นที่กรมอนามัยทำอยู่ อาทิ โสดสมาร์ท แม่สื่อแม่ชัก ที่มาช่วยสนับสนุนเรื่องวิวาห์สร้างชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดเรื่องของการทำธนาคารอสุจิ ธนาคารไข่ เหมือนในต่างประเทศ ที่อนุญาตให้ครอบครัวที่มีลักษณะความสัมพันธ์กว่า 27 รูปแบบ ที่อยากมีลูก มีลูกได้ แต่กำหนดให้สเปิร์ม 1 คน มอบให้ไม่เกิน 10 ครอบครัว เพื่อป้องกันปัญหาเลือดชิดกันในอนาคต

นพ.โอฬาริก มุสิกวงศ์

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของไทยอาจจะต้องใช้เวลา ดูแนวโน้มน่าจะเป็นในทางบวก ส่วนกลุ่มที่อยากให้เข้าถึง คือ 1.กลุ่มที่เป็นโรค ผู้ชายที่ไม่มีอสุจิ หรือตอนเด็กเคยเป็นโรคคางทูม ติดเชื้อที่อัณฑะ ผู้หญิงอายุมากไข่ฝ่อ 2.กลุ่มที่เคยรับการรักษาและทำให้เซลล์สืบพันธุ์เสียไป 3.กลุ่มคนข้ามเพศ ที่ก่อนแปลงเพศอาจเก็บอสุจิ เก็บไข่ไว้ก่อน และ 4.กลุ่มที่ทำ แช่แข็งเก็บอสุจิเก็บไข้เอาไว้ 

“ผมเคยไปดูธนาคารอสุจิที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป เขามีจุดให้เก็บอสุจิ 5 ที่ในโคเปนเฮเกน ปั่นจักรยานไปเก็บได้เลย ได้เงินด้วยประมาณ 1,500 บาท พอเก็บถ้าอสุจิผ่านเกณฑ์จะได้รับการซักประวัติ มีโรคติดเชื้อไหม สุขภาพแข็งแรงดีไหม คนหนึ่งบริจาคถ้าพร้อมทำได้แค่ 10 ครอบครัว ก็เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเลือดชิด ถ้าอยากได้ Exclusive ไม่ให้ครอบครัวอื่นก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ซึ่งแบบนี้มี 4 ที่ทั่วยุโรป คือ ลอนดอน ฮัมบูร์ก อัมสเตอร์ดัม และโคเปนเฮเกน ยุโรปค่อนข้างเปิดกว้าง” นพ.โอฬาริก กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img