วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกEXCLUSIVE“เติมเต็มลิตรชัวร์”ไม่ต้องกลัวโดนโกง!!! “ปั๊ม”ไม่สามารถดัดแปลง-แก้ไข“หัวจ่าย”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เติมเต็มลิตรชัวร์”ไม่ต้องกลัวโดนโกง!!! “ปั๊ม”ไม่สามารถดัดแปลง-แก้ไข“หัวจ่าย”

หลังจากที่มีการเผยแพร่คลิปทางโซเชียลมีเดียในช่วงปลายเดือนธ.ค.66 ระบุว่า มีลูกค้ามาเติมน้ำมันดีเซล จำนวน 1,000 บาท ที่สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น หลังจากเติมแล้วรู้สึกว่า เกจ์วัดน้ำมันรถขึ้นไม่เป็นปกติ จนกลายเป็นประเด็นร้อนแรงนั้น

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ในฐานะที่ดูแลธุรกิจพีทีที สเตชั่น ไม่ได้นิ่งนอนใจและออกหนังสือชี้แจงอย่างทันท่วงที โดยย้ำว่า มาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงที่สถานีบริการน้ำมันทุกแห่งต้องผ่านการตรวจสอบและได้รับการับรองจากสำนักงานชั่งตวงวัด กระทรวงพาณิชย์ โดยที่ผู้ค้าน้ำมันไม่สามารถปรับแต่งมาตรวัดเองได้

OR ได้อธิบายกระบวนการขั้นตอนตรวจสอบอย่างละเอียด โดย ก่อนการจำหน่ายน้ำมัน ทางเจ้าหน้าที่สำนักชั่งตวงวัด จะเข้าดำเนินการตรวจสอบ ทดสอบ พร้อมให้คำรับรองมิเตอร์ โดยใช้ถังตวงมาตรฐานขนาดปริมาตร 5 ลิตร และ 20 ลิตรในการทดสอบ และจะมีการตีตราซีลเพื่อป้องกันไม่ให้สามารถทำการแก้ไข ดัดแปลง หรือปรับแต่ง ปริมาณการจ่ายน้ำมันได้ ทั้งนี้จะต้องมีค่าเท่ากับ 0 หรือ +- ไม่เกิน 0.5% เท่านั้น

ขณะที่ ระหว่างการใช้งาน สถานีบริการจะต้องทำการทดสอบปริมาณการจ่ายน้ำมันทุกมือจ่ายด้วยถังตวงมาตรฐาน ขนาดปริมาตร 5 ลิตร ทุกต้นเดือน และรวบรวมส่งรายงานต่อสำนักชั่งตวงวัด ทุกๆ เดือน โดยใช้เกณฑ์การตรวจสอบระหว่างใช้งาน อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่ +- 50 มิลลิลิตร (ไม่เกิน 1%)

โดยระหว่างการใช้งาน หากพบว่ามีปริมาณการจ่ายน้ำมันคลาดเคลื่อน เกินหรือขาดมากกว่า +-50 มิลลิลิตร ทางสถานีบริการจะหยุดการจำหน่ายมือจ่ายที่พบปัญหา (แขวนป้ายหยุดใช้งาน) และดำเนินการแจ้งสำนักชั่งตวงวัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ และให้คำรับรองมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่

ทั้งนี้ สถานีบริการไม่สามารถทำการตัดซีลตีตรา เพื่อทำการแก้ไข ดัดแปลง หรือปรับแต่ง ปริมาณการจ่ายน้ำมันได้ หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 280,000 บาท ฉะนั้น จะไม่มีผู้ค้ารายใดทำการแก้ไขดัดแปลง เนื่องจากโทษปรับทางกฎหมายมีมูลค่าความเสียหายสูงกว่าการมาปรับแต่งมิเตอร์

เมื่อสถานีบริการ ใช้งานตู้จ่ายน้ำมัน จนอายุคำรับรองครบระยะเวลา 2 ปี ทางสถานีบริการจะต้องนัดหมายเจ้าหน้าที่สำนักชั่งตวงวัดเข้ามาให้คำรับรองใหม่ ทั้งนี้การให้คำรับรองจะมีอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด อยู่ที่ 0.5%

ดังนั้น ทุกกระบวนการของสถานีให้บริการ ไม่ว่าจะ ก่อนเปิดสถานีบริการ, ระหว่างที่การจำหน่าย จนกระทั่งจำหน่ายไปเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ต้องได้รับการตรวจสอบจากสำนักชั่ง ตวง วัด จะมีตราประทับรับรอง (ซีล) สถานีบริการ ไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขได้

ส่วน ขั้นตอนการตรวจตู้จ่ายน้ำมันนั้น ก่อนจะเปิดการใช้งานหัวจ่าย จะต้องได้รับการตรวจสอบจากชั่ง ตวง วัด เรียกว่า “การตรวจสอบเพื่อรับรองตามประกาศกระทรวงพาณิชย์” ซึ่งกําหนดให้มีอายุ 2 ปี เพราะฉะนั้นทุกๆ 2 ปี สำนักชั่งตวงวัดจะเข้าทำการทดสอบและให้คำรับรองใหม่ จึงจะสามารถเปิดให้บริการผู้บริโภคต่อไปได้

การตั้งค่าตู้จ่ายน้ำมันก่อนเริ่มใช้งาน จะตั้งค่าให้เป็นศูนย์หรือบวกอยู่แล้ว แต่เนื่องจากตู้จ่ายเมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานาน อาจมีโอกาสเสื่อมสภาพ ทำให้ปริมาณการจ่ายน้ำมันคลาดเคลื่อนไป ซึ่งมีโอกาสเป็นได้ทั้งบวกและลบ การกำหนดให้จ่ายน้ำมันเกินไว้ตลอดจึงเป็นไปได้ยาก

แนวทางแก้ไขคือ กำหนดขอบเขตค่าความคลาดเคลื่อนให้แคบลงหรือกำหนดระยะเวลาตรวจซ้ำให้สั้นลง เพื่อปรับค่าความคลาดเคลื่อนให้อยู่ในขอบเขตของค่าความคลาดเคลื่อนที่กำหนดไว้ตลอดเวลาสถานีบริการ จะต้องทำการทดสอบมือจ่ายและรวบรวมส่งรายงานต่อสำนักชั่ง ตวง วัด ทุกๆ เดือน ซึ่งหากพบว่าปริมาณการจ่ายน้ำมันคลาดเคลื่อนต้องหยุดจำหน่าย แจ้งสำนักชั่งตวงวัดเพื่อให้เข้ามาตรวจสอบ และให้คำรับรองมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่

การตั้งค่าตู้จ่ายให้จ่ายน้ำมันไม่เต็มลิตร จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ รวมถึงตั้งให้พอดี หรือเกินตลอดก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน

นอกจากนั้นในการจำหน่ายน้ำมันยังต้องยึดหลักการเผื่อเหลือขาด ซึ่ง อัตราเผื่อเหลือขาด เป็นสิ่งที่กรมการค้าภายในกำหนด ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดชนิด และลักษณะของมาตรวัดปริมาตรของเหลว รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด และอายุคำรับรอง พ.ศ.2562 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดชนิด และลักษณะของมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงจ่ายก่อนเติม รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด และอายุคำรับรอง พ.ศ.2562

สำหรับสถานีบริการน้ำมันมีการกำหนดอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ตั้งแต่ก่อนการเปิดให้บริการ, ระหว่างใช้งาน และเมื่ออายุคำรับรองครบระยะเวลา 2 ปี สถานีบริการน้ำมันไม่สามารถดัดแปลงแก้ไขหัวจ่ายได้ มีโทษหนัก จำคุก 7 ปี ปรับไม่เกิน 280,000 บาท ทุกสถานีบริการน้ำมันจะได้รับการตรวจสอบอยู่ทุกเดือน โดยกรมการค้าภายในภายใต้มาตรฐานเดียวกันทุกสถานีบริการ เพื่อให้มั่นใจว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานเสมอ

…………………………..

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img