วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 4, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVE‘กมธ.ทหารฯ’แนะเร่งควบคุมกลุ่มป่วนใต้ ดึง‘เยาวชน’ออกจาก‘มวลชนปฏิบัติการ’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘กมธ.ทหารฯ’แนะเร่งควบคุมกลุ่มป่วนใต้ ดึง‘เยาวชน’ออกจาก‘มวลชนปฏิบัติการ’

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2567 เกิดเหตุคาร์บอมบ์ แฟลตตำรวจ สภ.บันนังสตา จังหวัดยะลา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก

ในเบื้องต้นพบว่า คนร้ายที่ก่อเหตุคดีนี้ มีอย่างน้อย 2 คน รายแรก ขับรถกระบะที่เพิ่งขโมยมา วันที่ 29 มิถุนายน และนำไปประกอบคาร์บอมบ์ ส่วน รายที่ 2 ขี่จักรยานยนต์มารับคนร้ายคนแรก หลบหนีจากจุดเกิดเหตุ

ล่าสุด มีการจับตัวผู้ต้องสงสัยแล้ว 1 ราย เป็น “นายช่าง อบต.” สังกัดหนึ่ง ที่ตำรวจแกะรอยได้จากกล้องวงจรปิด ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนขยายผล ว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่หรือไม่

เรื่องนี้ยังสะท้อนในอีกมุมว่า ความพยายามการพูดคุยสันติสุข ที่นำคู่ขัดแย้ง คือฝ่ายเห็นต่างจากรัฐ นำโดยกลุ่มบีอาร์เอ็น มาเจรจากับฝ่ายรัฐ ระยะเวลารวมกว่า 11 ปี อาจยังไม่บรรลุผลในเร็ววันนี้

ขณะเดียวกัน ทีมข่าวได้ตรวจสอบรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง “ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : พัฒนาการและความท้าทายของรัฐ” โดย คณะกรรมาธิการทหารและความมั่นคงแห่งรัฐ วุฒิสภา ที่มีการพิจารณาในสภา ไปเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

วัตถุประสงค์ของรายงานดังกล่าว เพื่อการศึกษาทบทวนสถานการณ์การก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เป็น 3 ระยะ ได้แก่

1.ช่วงก่อนเหตุการณ์ความรุนแรงใน ปี พ.ศ.2547

2.สถานการณ์ช่วงปี พ.ศ.2547-2562

3.ช่วงปี พ.ศ.2562-2566 เป็นช่วงการบังคับใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

รายงานดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุวิธีการและแนวโน้มของปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

และ 1 ในประเด็นปัญหาที่หยิบยกมาวิเคราะห์ มีการพิจารณาไปถึงโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)

รายงานฉบับนี้ มีการให้รายละเอียดว่า ผู้ก่อเหตุรุนแรง หรือ “ผกร.” ได้ใช้เป็นที่ปลูกฝังความรู้ทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมลายูปัตตานี และคำสอนทางด้านศาสนาที่ถูกบิดเบือนให้กับเด็กเล็ก

มีการเสนอแนวทางในการแก้ไข ควรให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับพื้นที่ เข้ามากำกับดูแล ในโรงเรียนตาดีกา ร่วมกับ สช. และผู้นำศาสนา อาทิ

  • ใช้กลไกคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาสันติสุขตําบล กํานันผู้ใหญ่บ้านและผู้นําศาสนา
  • มีการควบคุมเงินอุดหนุนการศึกษาอย่างเป็นระบบ
  • ยกระดับมาตรฐานการศึกษาของเด็ก เยาวชน ใน จชต.
  • จัดชุดความรู้ทางประวัติศาสตร์ให้เหมาะสมแต่ละชั้นวัย
  • เพิ่มวิชาชีพสําหรับเด็กและเยาวชน ที่ต้องออกจากระบบการศึกษา
  • ส่งเสริมทุนการศึกษาให้เด็กและเยาวชนให้มากขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ

โดยใช้กลไกคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) สภาสันติสุขตำบล ดำเนินการโครงการที่ใช้หลักคำสอนทางศาสนาในการดำเนินวิถีชีวิต เช่นโครงการกัมปงตักวา (โครงการชุมชนศรัทธา) และโครงการฮูกุมปากัต มาดำเนินการในระดับหมู่บ้านอย่างทั่วถึง

เนื่องจากพบว่า มีเด็กที่ถูกบ่มเพาะมาตั้งแต่ชั้นตาดีกา เมื่อถึงระดับมัธยมจะถูกการเก็งตัว คัดสรร จากผู้ก่อเหตุรุนแรง เพื่อเข้ารับการฝึก เป็นมวลชนสนับสนุน และเป็นมวลชนปฏิบัติการของกลุ่ม ผกร.

ฝ่ายรัฐจึงควรจัดสรรทุนการศึกษาให้เด็ก-นักเรียนมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้เด็ก-นักเรียนได้เรียนต่อในชั้นอุดมศึกษา ทั้งในประเทศ ต่างประเทศทั้งประเทศมุสลิม และไมใช่ประเทศมุสลิม จะสามารถดึงเยาวชน ที่ถูกบ่มเพาะและคัดสรรให้ออกจากขบวนการได้

……………

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img