วันศุกร์, กันยายน 13, 2024
spot_img
หน้าแรกEXCLUSIVE“ไซยาไนด์”....พิษร้ายในเงามืด “3คดี”สะเทือนขวัญเมืองไทย!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ไซยาไนด์”….พิษร้ายในเงามืด “3คดี”สะเทือนขวัญเมืองไทย!

ในรอบปี 2567 เกิดคดีสะเทือนขวัญ เกี่ยวกับ “การใช้ไซยาไนด์” อย่างน้อย 2 คดี คดีแรก เป็นคดีสะเทือนขวัญที่โรงแรมหรูกลางกรุง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 พบร่างอันไร้วิญญาณของชาวเวียดนามรวม 6 ราย นอนเรียงรายอยู่ภายในห้อง จากการตรวจสอบ พบสารไซยาไนด์ปริมาณมาก อยู่ในถุงยาและแก้วเครื่องดื่ม

สำหรับปมเหตุการวางยาหมู่ครั้งนี้ พบแรงจูงใจจากการล้างหนี้ รวม 10 ล้านบาท

ถัดมาเพียง 1 เดือน เกิดคดีที่ 2 ในเดือนสิงหาคม เกิดข่าวใหญ่อีกคดีในจังหวัดลพบุรี เมื่อพบการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุของ “แม่เลี้ยงเดี่ยว” วัยเบญจเพส มีลูกติด 1 ราย

จากคดีรถล้มธรรมดา กลายเป็นคดีปริศนา ที่มีการใช้ยาพิษ เพื่อหวังเงินประกัน รวม 10 ล้านบาบ น้ำมือคนร้ายที่ก่อเหตุคือ “เจ๊เบียร์เมืองลิง” เพื่อนสนิทของ “น้องตอง” ที่ถูกวางยา

ตำรวจคลี่คลายคดีนี้ไม่ยากนัก เมื่อพบความเชื่อมโยงว่า ผู้ที่รับผลประโยชน์จากประกันภัย คือ “เบียร์” เพียงคนเดียวพิรุธในคดีนี้อีกหนึ่งอย่างคือ เจ๊เบียร์เมืองลิง ผู้วางแผนร้าย เป็นผู้จ่ายเงินค่าเบี้ยประกันให้กับน้องตอง

สุดท้ายเธอถูกเพื่อนสนิท วางยาพิษไซยาไนด์ ใส่ในแคปซูล ก่อนจะให้เพื่อนกิน เพื่อหวังฮุบเอาเงินประกันทั้งหมด

และหากย้อนไปก่อนหน้านั้น ในปี 2566 ไม่มีคดีไหนใหญ่ไปกว่า “คดีแอมไซยาไนด์”

เธอสั่งไซยาไนด์ผ่านทางออนไลน์ แล้วนำมาวางยาฆ่าล้างหนี้ในวงแชร์เป็นคดีฆาตกรรมต่อเนื่องคดีใหญ่ที่สุดของเมืองไทยเพราะเธอถูกกล่าวหาว่า วางยาพิษเหยื่อ 15 ราย มีผู้โชคดีรอดมาได้ 1 ราย

สำหรับจุดเชื่อมโยงคดีวางยาพิษด้วยไซยาไนด์ ในประเทศไทยเปรียบได้เป็น “พิษร้ายในเงามืด” เนื่องจากปัจจุบัน ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างจริงจัง

หากไล่เรียงตั้งแต่ “คดีแอม” ถึง “คดีเบียร์เมืองลิง” พบจุดร่วมทั้ง 2 คดีคือ การสั่งซื้อผ่านทางออนไลน์ ส่วนจุดร่วมใน 3 คดีสะเทือนขวัญเมืองไทย ล้วนเกี่ยวข้องกับปัญหาในเรื่อง “เงิน”

ย้อนไปหลังเกิดเหตุคดีแอมไซยาไนด์ ครั้งนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่กำกับดูแลการซื้อขายวัตถุอันตรายออกมาแอคชั่นด้วยการสั่งควบคุมการซื้อขายไซยาไนด์ผ่านออนไลน์ การตรวจสอบกลับไปยังผู้ซื้ออย่างเข้มงวด

แต่ผ่านมาเพียง 1 ปี กลับเกิดคดีเจ๊เบียร์เมืองลิง ซ้ำรอยขึ้นมาอีกซ้ำร้าย ยังมีรายงานการสืบสวน ว่าทั้ง 2 คน สั่งซื้อผ่านออนไลน์แพลตฟอร์มเดียวกันอีกด้วย

นั่นอาจสะท้อนให้เห็นว่า จากคดีฆาตกรรมต่อเนื่อง มาจนถึงฆ่าเอาเงินประกันที่ลพบุรี

การควบคุมดูแลการสั่งซื้อไซยาไนด์ ไปใช้ในทางที่พิษ เป็นจุดบอดที่ป้องกันค่อนข้างยากในสังคมไทย เพราะโรงงานขนาดเล็ก ร้านชุบเงิน ชุบทองและประชาชนทั่วไป สามารถซื้อได้ จึงอาจเป็นช่องโหว่ในการนำสารไซยาไนด์ไปใช้ในทางที่ผิด

สำหรับ โพแทสเซียมไซยาไนด์ จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ

ทางผู้ประกอบการที่ประสงค์จะนำเข้า จะต้องขอขึ้นทะเบียนและหากฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนผู้ครอบครองต้องมีการรายงานปริมาณการครอบครองทุก 3 เดือน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม หากพบว่ามีการนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่ “จุดโหว่” ที่ยังพบในปัจจุบันนั่นคือ “การควบคุมการสั่งซื้อออนไลน์”

และการนำไปใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์ เพราะการควบคุมทำได้ค่อนข้างยาก

เนื่องจากไซยาไนด์ เป็นพิษที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ออกฤทธิ์อย่างรุนแรงต่อระบบภายในร่างกาย

ปัจจุบัน พบว่าราคาไซยาไนด์ปัจจุบัน เพิ่มไปถึงขวดละ 5 หมื่นบาท แม้หน่วยงานที่รับผิดชอบ จะมีเงื่อนไขพิเศษควบคุมการซื้อขายให้กับรายย่อยออกมาแต่ผู้ที่คิดนำมันไปใช้ในทางที่ผิด ก็ยังเลือกที่จะเสี่ยง เพราะโทษปรับหรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี ก็ยังคุ้มค่า

ดังนั้น คดีสะเทือนขวัญจากไซยาไนด์ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย จึงอาจไม่ใช่คดีสุดท้าย เมื่อแนวทางป้องกันยังไร้ผลในทางปฏิบัติเช่นนี้

………………

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img