วันศุกร์, กันยายน 20, 2024
spot_img
หน้าแรกEXCLUSIVE‘ผู้ประสบภัย’กับภาระค่าทำความสะอาด เมื่อ‘เงินเยียวยาภาครัฐ’ไม่พอ‘ซับน้ำตา’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ผู้ประสบภัย’กับภาระค่าทำความสะอาด เมื่อ‘เงินเยียวยาภาครัฐ’ไม่พอ‘ซับน้ำตา’

เมื่อลองมาคำนวณ มูลค่าในการทำความสะอาดบ้านเรือน พี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยครั้งนี้ เป็นตัวเลขคร่าวๆ ให้เห็นความเดือดร้อน เพราะอุปกรณ์บางอย่าง ร้านค้าในบ้างพื้นที่อ้างว่า “ขาดตลาด” และมีการ ฉวยขึ้นราคากัน อาทิ

ไม้กวาดพลาสติกรีดน้ำ ไม้ถูพื้น อันละ 290-400 บาท (จากเดิม 100 บาทเศษ)
ร้องเท้าบูท คู่ละ 170-200 บาท (จากเดิม คู่ละ 70 บาท)
ไม้กวาดทางมะพร้าว 80-100 บาท (แล้วแต่ว่าอย่างหนาหรือบาง)
ค่าแรงทำความสะอาด วันละ 500 บาท
ค่ารถขนย้ายสิ่งของ เหมา 2,000-2,500 บาท/วัน

หากเราคำนวณกันคร่าวๆ ว่า การทำความสะอาดบ้านเรือนที่เต็มไปด้วยดินโคลน จะต้องใช้แรงงานอย่างน้อย 3-4 คน ก็ตกวันละ 1,500-2,000 บาท ใช้เวลา 2-3 วัน แล้วแต่ขนาดของบ้าน ก็เป็นเงิน 3,000-8,000 บาทแล้ว

ยังมีอุปกรณ์ที่ต้องเพิ่มตามมา ทั้ง ไม้กวาด ร้องเท้าบูท ตีเป็นค่าอุปกรณ์ให้แรงงานคนละ 700 บาท ก็ตก 2,100 บาท

นี่ยังต้องรวมสิ่งของจิปาถะอื่นๆ เช่น หากต้องมีการขนย้าย ว่าจ้างรถขนของ รถตักดิน ก็ต้องเสียเงินเพิ่มเข้าไปอีก รวมคร่าวๆ แล้ว ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น อาจถึงหลักหมื่นบาทต่อหลัง

ดังนั้น ในภาวะที่มีหลักเกณฑ์ช่วยผู้ประสบภัยมาเป็นข้อจำกัด หรือเป็นเงื่อนไข เช่น ท่วมตั้งแต่ 1-7 วัน หรือ 1-30 วัน จะได้รับเงินช่วยเหลือขั้นต่ำเท่านั้น-เท่านี้ เราบอกได้เลยว่า ไม่มีทางเพียงพอ หรือทำได้แค่ “บรรเทา” ค่าใช้จ่าย ให้ผู้ประสบภัยบางส่วนเท่านั้น

ส่วนค่าใช้จ่ายฟื้นฟูบ้าน ที่เพิ่มขึ้น เจ้าของบ้านก็ต้องหาเงินมาจ่ายเพิ่มเติมเอง บางพื้นที่เจอพ่อค้าแม่ค้าที่ฉวยโอกาส ขึ้นราคาอุปกรณ์ซ้ำเติม ก็ยิ่งทำให้ภาระผู้ประสบภัยเหล่านี้ เพิ่มขึ้นไปอีกเป็นเท่าตัว

……………….

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img