วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 21, 2025
หน้าแรกEXCLUSIVEดรามาระอุ‘NRM’กรอง‘เหยื่อแก๊งคอลฯ’ 10,000ราย-ตร.โบ้ย‘เมียนมา’ดำเนินการ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ดรามาระอุ‘NRM’กรอง‘เหยื่อแก๊งคอลฯ’ 10,000ราย-ตร.โบ้ย‘เมียนมา’ดำเนินการ

กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่นักสิทธิมนุษยชน รวมถึงพรรคฝ่ายค้าน จับตาการช่วยเหลือ เหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ กลับจาก เมืองสแกมเมอร์ หรือ เมืองเมียวดี ภายใต้การดูแลของ “พันเอกหม่อง ชิต ตู่” ที่ให้สัมปทาน “กลุ่มจีนเทา” มาลงทุน ทำกาสิโนในพื้นที่

ดรามาที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา ทางฝ่ายตำรวจไทย บอกว่า จากการสอบสวนเหยื่อคอลเซ็นเตอร์ 260 คน ที่รับตัวกลับมาจากพบพระ พบว่ามีเพียง 1 ราย ที่ตกเป็นเหยื่อ

จากนั้นวันที่ 16 ก.พ. “กัณวีร์ สืบแสง” ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ได้โพสต์ตั้งข้อสังเกตว่า การที่ตำรวจออกมาให้ข่าว ว่าเหยื่อคอลเซ็นเตอร์ จาก 260 คนที่ช่วยมาได้ มีเพียง 1 คนที่เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ จะเอาแบบนี้จริงๆ ใช่หรือไม่

กัณวีร์ สืบแสง

เรื่องนี้สะท้อนว่า กระบวนการคัดกรองและเข้าสู่กลไกการส่งต่อระดับชาติ (National Referral Mechanism หรือ NRM) ของประเทศเรา มีปัญหาอย่างหนัก เข้าขั้น “ซูเอี๋ย” ช่วยเหลือขบวนการค้ามนุษย์ โยนบาปและผิดให้กับผู้ถูกกระทำทันที

โดยมีการยกข้อกฎหมายทั้งสากลและของไทย ถือว่าเป็นการค้ามนุษย์ ดังนี้

1.หลอกว่าจะมาทำงานที่แม่สอด และหลายแห่งในประเทศไทย แต่ถูกพาข้ามแดน

2.ติดต่อครอบครัวไม่ได้

3.ยึดพาสปอร์ต

4.โดนขัง โดนทรมานและทำร้ายร่างกาย

แต่สุดท้าย ทางตำรวจไซเบอร์ โดย “พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ” ผู้บัญชาการตร.ไซเบอร์ ต้องออกมายอมรับว่า…“เป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากเดิมที่เคยแถลงข่าวไปก่อนหน้านี้ ว่ามีเหยื่อที่ถูกหลอกลวงเพียง 1 คน ทางตำรวจไซเบอร์ จึงขออภัยในความผิดพลาดครั้งนี้”

ล่าสุด “กัณวีร์” ออกมาย้ำอีกครั้งว่า กระบวนการคัดกรองและเข้าสู่กลไกการส่งต่อระดับชาติ หรือ NRM นั้น ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่ง

โดยเฉพาะการคัดกรองโดยสหวิชาชีพ มากกว่าการคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเพียงอย่างเดียว เพราะสหวิชาชีพ ต้องร่วมกันพิจารณาว่า บุคคลใดจะเป็นผู้เสียหายจากขบวนการค้ามนุษย์

เรื่องนี้ ไม่สามารถพิจารณาได้ด้วยเพียงวิชาชีพเดียว โดยเฉพาะตำรวจซึ่งจะมองในมุมของการกระทำผิดกฎหมาย เช่น ความผิดการเข้าเมือง การค้ามนุษย์ หรือ อุ้มหาย

แต่การคัดกรอง ต้องมองเชื่อมโยงไปถึง “กระบวนการนำพา และการค้ามนุษย์” ไม่สามารถมองแยกส่วนได้ โดยขบวนการค้ามนุษย์นั้น ผู้เสียหายจะถูกทารุณกรรม ทำร้าย มีการนำพา หลอกลวง ล่อหลอกต่างๆ หากตำรวจบอกว่า สมัครใจมาเอง ไม่ใช่ผู้เสียหายแล้ว นั่นถือเป็นการชี้นำ กลไก NRM

“กัณวีร์” ในฐานะผู้ก่อตั้งมูลนิธิสิทธิเพื่อสันติภาพ ได้ย้ำว่า เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐชี้มาเช่นนั้น อาจทำให้สังคมมองว่า ผู้ได้รับความเสียหายเหล่านี้เป็นสแกมเมอร์ การทำเช่นนี้ ถือเป็นการด้อยค่าการนำพา และการค้ามนุษย์ ทำให้อาชญากรรมข้ามชาติถูกเพิกเฉยไปด้วยหรือไม่

แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่ตั้งใจไปทำงานเพื่อเป็นสแกมเมอร์หลอกลวงผู้อื่น ก็ต้องรับโทษตามกฎหมายด้วยเช่นกัน

ชง “เมียนมา” คัดกรองเหยื่อแก๊งคอลฯ 10,000 ราย

ล่าสุดมีการประชุมร่วมกัน ระหว่างศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับตัวแทนจากสถานเอกอัครราชทูต 18 ประเทศ และตัวแทนจาก 2 หน่วยงาน ร่วมกันประชุมหารือป้องกันการค้ามนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมข้ามชาติและอาชญากรรมทางออนไลน์

โดยผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือถูกปล่อยตัวกลับมา 260 คน ทั้งหมดกำลังเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง ตามกลไก NRM

สำหรับผู้ที่จะถูกส่งตัวกลับมาคาดว่าจะมีประมาณ 10,000 คน ขณะนี้ทางการไทยอยู่ระหว่างการเจรจา ให้ขั้นตอน NRM เกิดขึ้นในประเทศเมียนมา เนื่องจากเป็นประเทศต้นทางที่เกิดเหตุ

ส่วนผู้ที่จะถูกส่งตัวกลับมาอีกประมาณ 500 คน ภายในสัปดาห์นี้ ทางการไทยก็อยู่ระหว่างการเจรจาให้ทำแบบคัดกรอง NRM ที่ฝั่งประเทศเมียนมาเช่นกัน สำหรับผู้ที่ผ่านการคัดกรองและยืนยันว่ามีสถานะเป็นผู้เสียหาย จะต้องไปแจ้งความดำเนินคดีที่ประเทศเมียนมา

…………

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img