วันอังคาร, เมษายน 29, 2025
หน้าแรกEXCLUSIVEสอบ“คุณสมบัติ”ว่าที่อธิการบดีมหาลัยดัง “บวชพระ”เพื่อ“หนีทหาร”ขาดคุณสมบัติ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สอบ“คุณสมบัติ”ว่าที่อธิการบดีมหาลัยดัง “บวชพระ”เพื่อ“หนีทหาร”ขาดคุณสมบัติ

เมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุม คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีประเด็นร้องเรียน เกี่ยวกับการสรรหาผู้ได้รับเสนอชื่อเป็น อธิการบดี “มหาวิทยาลัยชื่อดัง”

โดยพบว่า หนึ่งในประเด็น “ร้องเรียน” คือ คุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อ ในกรณีการ หลบเลี่ยงการรับราชการทหาร โดย “ผู้ร้องเรียน” นำหลักฐานผู้ได้รับการเสนอชื่อ เกิดเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2510 ขึ้นทะเบียนทหาร เมื่ออายุ 17 ปี ที่อำเภอเมืองพิษณุโลก ต่อมาช่วง พ.ศ.2530 ผู้ได้รับการเสนอชื่ออายุ 20 ปี ไปแสดงตนรับหมายเกณฑ์ แต่ไม่ได้ตรวจเลือกในเดือนเมษายน 2531 เนื่องจากเป็น “พระภิกษุ” จึงได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเกณฑ์ทหารเช่นบุคคลทั่วไป

ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตาม พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 13 (3) อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 กำหนดไว้ว่า หากลาสิกขาให้แจ้งด้วยตนเอง ต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนอยู่หรือทำการประจำภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาสิกขา และหากอายุยังไม่ถึง 30 ปีบริบูรณ์ ก็ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกด้วยเช่นกัน

หทารเกณฑ์ / cr : กองทัพบก

แต่ปรากฏว่า ในปี 2537 “ผู้ได้รับการเสนอชื่อ” อายุ 27 ปี ได้ลาสิกขาแล้วตามบัตรประชาชน แต่ไม่มีหลักฐานแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนเองอยู่ หรือทำการประจำภายใน 30 วันนั้น นับแต่วันลาสิกชา และไม่พบการไปเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองเกิน เข้าประจำการตลอดจนถึงอายุ 30 ปี แต่อย่างใด

“ผู้ร้อง” มองว่า การไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ถือเป็นการหลบเลี่ยงการรับราชการทหาร ส่งผลให้ “ขาดคุณสมบัติ” ในการเป็นข้าราชการหรือพนักงานมหาวิทยาลัย และขัดต่อคุณธรรม จริยธรรม การเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง “อธิการบดี” จึงไม่เหมาะสมทั้งในแง่กฎหมายและจริยธรรม

นอกจากนี้ “อธิการบดี” ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นิสิต โดยเฉพาะนิสิตชาย ซึ่งอยู่ในวัยที่ต้องเข้ารับการคัดเลือกทหาร หาก “ผู้นำองค์กร” มีประวัติหลบเลี่ยงราชการทหาร ย่อมส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือ และเป็นแบบอย่างที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนชายไทย

โดย “ผู้ร้อง” ได้มีการอุทธรณ์เรื่องนี้ไปยังกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ต่อมาทาง อว.ได้มีหนังสือขอข้อมูลจากมหาวิทยาลัย แต่พบว่า ทางมหาวิทยาลัยได้ส่งคำชี้แจงชุดเดิม กลับไปยัง อว. โดยไม่ได้ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมแต่อย่างใด

ขณะที่ “นิติกรของมหาวิทยาลัย” ที่เข้าชี้แจง ระบุว่า ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ได้กำหนดให้การแต่งตั้งอธิการบดี จะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 32 รวมถึงข้อกำหนดเรื่องการศึกษาหรือการปฏิบัติหน้าที่ในธานะข้าราชการ

โดยในกรณีของ “ผู้ได้รับการเสนอชื่อ” ที่บวชพระภิกษุและไม่ได้ลาสิกขา รวมถึงการหลีกเลี่ยงไม่เข้ารับการตรวจเลือกทหารนั้น จำเป็นต้องพิจารณาว่า เป็นการละเมิดคุณธรรมจริยธรรมหรือไม่ ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย รวมทั้งการให้ความเห็นทางกฎหมายจากคณะกรรมการกฤษฎีกา

ทั้งนี้ หากการร้องเรียนมีมูลว่า ขัดต่อคุณธรรมและจริยธรรม หรือหากมีการพิจารณาแล้วพบว่า “ผู้สมัคร” ไม่สมควรได้รับการโปรดเกล้าฯ สภามหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการถอดถอน หรือย้อนกระบวนการได้ นอกจากนี้ยังสามารถร้องเรียนต่อหน่วยงานภายนอก เช่น ศาลปกครองได้อีกช่องทาง

โดยหลังจากนี้ ต้องจับตาดูว่า กระบวนการแต่งตั้งอธิการบดีคนใหม่ จะมีความชัดเจนอย่างไร เพราะ “ทริค” การหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร ดูเหมือนว่าจะไม่ได้จำกัด อยู่ในเฉพาะแวดวงการเมือง ที่มีการขุดคุ้ยให้เห็นมาหลายรายแล้ว

…………..

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img