วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 22, 2025
หน้าแรกEXCLUSIVEชงคลัง“ถอน”ประกาศธปท.เปิดช่องเอกชนรีด“ดอกเบี้ย”ปชช.เกิน 15%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ชงคลัง“ถอน”ประกาศธปท.เปิดช่องเอกชนรีด“ดอกเบี้ย”ปชช.เกิน 15%

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา นายณัฐพงษ์ สุปริยศิลป์ ประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน ได้ยื่นข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการเงิน การคลังฯ ถึง นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

เพื่อขอให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย 2 ฉบับ คือ

1.สนส. 11/2563 เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต โดยอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 16

2. สนส.12/2563 เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับให้ผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อและสถาบันการเงิน เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบุคคลที่มีเป็นประกัน ร้อยละ 24 และกรณีไม่มีทะเบียนรถเป็นประกัน ร้อยละ 25

โดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามข้อ 14 แห่งประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 พ.ศ.2515 หรือ ปว.58 ที่กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบอำนาจให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการแทนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน สินเชื่อต่าง ๆ และการกำหนดอัตราดอกเบี้ย  

โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จะต้องออกประกาศกำหนดเงื่อนไข เพื่อความปลอดภัยและผาสุกของประชาชนตามความในข้อ 7 ของ ปว.58

จากผลการศึกษาโดยคณะคณะอนุกรรมาธิการการเงิน การคลังฯ แล้วเห็นว่าประกาศทั้ง 2 ฉบับ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ชอบด้วย ปว.58 เนื่องจากเป็นการออกประกาศที่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการเอารัดเอาเปรียบประชาชน เพราะกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ร้อยละ 15 ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ในมาตรา 654

โดยสามารถเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 16 และ 24-25 ต่อปี ตามลำดับ ประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้

ดังนั้น จึงไม่ใช่เงื่อนไขเพื่อความปลอดภัยและผาสุกของประชาชน เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 และพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ระบุให้เรียกอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หากเกินจะมีโทษจำคุก

ผลการศึกษา โดยคณะอนุ กมธ.การเงินการคลัง ยังพบด้วยว่า ในช่วงปลายปี พ.ศ.2561 มีเอกชน ประกอบกิจการสินเชื่อรายหนึ่งถูกประชาชนผู้กู้เงินแจ้งความดำเนินคดีในข้อหาความผิดตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ

ต่อมา กรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับดำเนินคดี แต่ปรากฎว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ ที่ สนส. 2/2562 ในวันที่ 31 มกราคม 2562 ทำให้กรมสอบสวนคดีดีพิเศษมีคำสั่งไม่ฟ้อง บริษัทเอกชน เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศดังกล่าว ที่มีการกำหนดอัตราเรียกเก็บดอกเบี้ย ค่าทวงถาม บริการต่างๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี

คณะอนุกรรมาธิการ การเงิน การคลัง ยังตั้งข้อสังเกตว่าธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศฉบับดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เพื่อวัตถุประสงค์ใด หรือไม่ พร้อมรายงานผลการศึกษา ไปยัง กมธ.การเงิน การคลัง

ต่อมา คณะกรรมาธิการ การเงินการคลังจึงมีข้อเสนอแนะ ถึง รมว.คลัง ดังนี้

1. ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณายกเลิกการมอบอำนาจให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการแทนในเรื่องกำกับดูแล และกำหนดเงื่อนไขตาม ปว.58

2. ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาใช้อำนาจดำเนินการยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย 2 ฉบับ คือ สนส. 11/2563 และที่ สนส. 12/2563 ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการเรียกอัตราดอกเบี้ยได้เกินร้อยละ 15 และให้ออกประกาศฉบับใหม่เพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าร้อยละ 15 ต่อปี เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนต่อไป

…………….

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

ฟังบทวิเคราะห์…

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img