วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024
spot_img
หน้าแรกEXCLUSIVE“กฟผ.” เร่งลงทุนตามแผนพีดีพี “4.29แสนล้าน”กระตุ้นเศรษฐกิจ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กฟผ.” เร่งลงทุนตามแผนพีดีพี “4.29แสนล้าน”กระตุ้นเศรษฐกิจ

นอกจากที่รัฐบาลได้ออกมาตรการดูแลประชาชนจากผลกระทบของโควิด-19 ในระยะที่ 2 กรอบวงเงิน 140,000 ล้านบาทที่เริ่มใช้ตั้งแต่ครึ่งปีหลัง 2564 เพื่อหวังเป็นเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้วการเร่งลงทุนของภาครัฐและเอกชนก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ได้เร่งลงทุนในโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP 2018 Rev.1) ปี 2561-2580 ด้วยเม็ดเงินลงทุนรวม 429,567 แสนล้านบาท

นายบุญญนิตย์  วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ.เปิดเผยว่า กฟผ.จะเร่งดำเนินการลงทุนเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากได้ผลกระทบจากโควิด – 19 ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว โดยการลงทุนตามแผน PDP 2018 Rev.1 ของ กฟผ.นั้นมีการลงทุนในโครงการใหญ่หลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) การลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ (Hydro-floating Solar Hybrid) การลงทุนพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้าแรงดันสูง

สำหรับการลงทุนพัฒนาโรงไฟฟ้าจำนวน 19 โครงการโดยในจำนวนนี้เป็นโครงการโรงไฟฟ้า IPP จำนวน 3 โครงการกรอบวงเงินลงทุนรวม 97,000 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน ชุดที่ 8-9 กำลังการผลิตรวม 600 เมกะวัตต์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าจะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายในปลายปีนี้ โดยโครงการนี้มีกำหนด COD ในปี 2569

โครงการโรงไฟฟ้าพุนพินที่จ.สุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1-2 กำลังการผลิตรวม 1,400 เมกะวัตต์ ขณะนี้กฟผ.อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) เสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) อย่างไรก็ตามคาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ในเดือนมีนาคม 2565 มีกำหนด COD มกราคม 2570 และมกราคม 2572

โครงโรงไฟฟ้าน้ำพองทดแทน กำลังการผลิต 650 เมกะวัตต์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างเร่งการพิจารณารายงานศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) จากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และการจัดทำ EIA เพื่อเสนอ กก.วล. โดยคาดว่าจะเสนอให้ ครม. พิจารณาอนุมัติโครงการภายในเดือนธันวาคม 2564

DCIM\102MEDIA\DJI_0488.JPG

ลงทุนโซลาร์ลอยน้ำ

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำเป็นอีกโครงการหนึ่งทางกฟผ.คาดหวังว่าจะช่วยยกระดับการเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทนที่สอดรับกับนโยบายของกระทรวงพลังงานที่อยู่ระหว่างการเตรียมจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี 2022) คาดว่าจะส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40-45 ของกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม

“นายบุญญนิตย์” ระบุว่า กฟผ.อยู่ระหว่างเตรียมเสนอกระทรวงพลังงานให้พิจารณาเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็น 5,000 เมกะวัตต์บรรจุใน พีดีพี 2022 เนื่องการมองว่าการลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำในเขื่อนของ กฟผ. นั้นสามารถดำเนินการลงทุนได้ในทุกเขื่อน มีศักยภาพมากกว่า 10,000 เมกะวัตต์

อย่างไรก็ตามในช่วงที่รอจัดทำแผนพีดีพี 2022 กฟผ.จะเร่งลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ จำนวน 16 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตรวม 2,725 เมกะวัตต์ตามแผนพีดีพี 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ก่อน ซึ่งมีกรอบวงเงินลงทุนรวมราว 90,000 ล้านบาท ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างติดตั้งระบบเสร็จแล้ว 1 โครงการ คือโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร (Hydro-floating Solar Hybrid) ขนาด 45 เมกะวัตต์ ซึ่งเตรียม COD ในเดือนกันยายน 2564 และอยู่ระหว่างการเตรียมออกประกาศ รายละเอียดเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) คาดว่าจะเริ่มประกาศ TOR ได้ในช่วงปลายปีนี้ เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2565  และมีกำหนด COD ในปี 2566

นอกจากนี้ยังได้เร่งลงทุนในโครงการพัฒนาระบบส่งจำนวน 17 โครงการ ระดับแรงดัน 115kv 230kv และ 500kv มูลค่าการลงทุนรวมราว 242,567 ล้านยบาทที่ต้องดำเนินการลงทุนระหว่างปี 2564-2573 ซึ่งในจำนวนนี้เป็นโครงการที่ต้องเร่งรัดการลงทุนระหว่างปี 2564-2568 มูลค่า 136,405 ล้านบาท ขณะนี้ทั้ง 17 โครงการได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรียบร้อยแล้ว

ขณะเดียวกันนี้กฟผ.ก็ได้มีความร่วมมือกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ลงทุนในโครงการก่อสร้างคลังจัดเก็บและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ขนาด 3 ล้านตันต่อปี  ที่จ.สุราษฎร์ธานี นั้นในส่วนของคลังจัดเก็บและแปรสภาพก๊าซฯ จะเป็นการร่วมลงทุนฝ่ายละ 50% มูลค่าการลงทุนรวม 35,000 ล้านบาท ส่วนท่อส่งก๊าซฯ มูลค่าการลงทุนราว 7,000 ล้านบาทปตท.จะเป็นผู้ดำเนินการลงทุนฝ่ายเดียว

ทั้งนี้โครงการก่อสร้างคลังจัดเก็บและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว และท่อส่งก๊าซฯ คาดว่าจะเสนอให้กระทรวงพิจารณาได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 และมีกำหนดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2569 เพื่อป้อนก๊าซฯ ให้กับโรงไฟฟ้าพุนพิน และโรงไฟฟ้าขนอมตามแผนพีดีพี 2018 ฉบับปรับปรุงใหม่

การลงทุนของกฟผ.ตามแผนพีดีพี 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 คาดว่าจะเริ่มเห็นความชัดเจน และเริ่มทยอยการลงทุนได้ในช่วงครึ่งปีหลังต่อเนื่องไปถึงปี 2565 และในปี 2569 คาดว่าจะเห็นหลายโครงการของกฟผ.ดำเนินการลงทุนในช่วงนี้ เชื่อว่าจะสามารถช่วยในเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img