โรงงานผลิตแบตเตอรี่ Li-ion AMITA ได้ดำเนินการผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในระยะเริ่มต้น ขนาด 1 กิกะวัตต์ หรือ 1,000,000 กิโลวัตต์ สามารถนำมาใช้ในรถโดยสารไฟฟ้า ขนาด 11 เมตร ซึ่งขับเคลื่อนได้ระยะทางสูงสุด 240 กิโลเมตร ได้ถึง 4,160 คันต่อปี และการใช้รถโดยสารไฟฟ้า จำนวน 4,160 คัน
สำหรับโรงผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Li-Ion) แบบครบวงจรที่แรกของไทย บริษัทในกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ ซึ่งจะมีกำลังผลิตใน Phase แรกที่ 1GWh ต่อปี ที่ทาง บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ร่วมลงทุนกับ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี อิงก์ (ไต้หวัน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในไต้หวันมากว่า 20 ปี
เทรนด์การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว องค์ประกอบสำคัญของยานยนต์แห่งอนาคตที่จะขาดไม่ได้ คือ “แบตเตอรี่” ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจหลักและเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรม new S-curve ที่นักลงทุนให้ความสนใจ
EA เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจรที่ทันสมัยและมีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดใน World Class ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยขึ้นแท่นเป็นแหล่งผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมกักเก็บพลังงานไฟฟ้าในระดับภูมิภาค
โครงการดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นที่เขตโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) บนพื้นที่กว่า 90 ไร่ คิดเป็นพื้นที่โรงงาน 80,000 ตารางเมตร ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนชนิด pouch cell ระบบสำรองไฟฟ้าแบบครบวงจรที่ใช้ระบบอัจฉริยะ ระบบการผลิตอัตโนมัติ เริ่มต้นด้วยกำลังการผลิต 1 จิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี และสามารถขยายกำลังการผลิตสูงสุดได้ 4 จิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี ทั้งยังมีความพร้อมรองรับการขยายการลงทุนได้กว่า 10 เท่า สู่กำลังการผลิต 50 จิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี
แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ผลิตได้สามารถนำไปใช้กับยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า และเรือโดยสารไฟฟ้า ใช้เทคโนโลยีแบบ Ultra-Fast Charge รองรับการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ภายใน 15 นาที และชาร์จได้ถึง 3,000 รอบ ทำให้สามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่า
ที่สำคัญในการผลิตแบตเตอรี่แห่งนี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะจะไม่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นอันตราย เช่น กรดหรือตะกั่ว และใช้เทคนิคพิเศษในการผลิตเซลล์เพื่อให้สามารถคัดแยกแผ่นขั้วบวกและขั้วลบได้ง่ายในขั้นตอนของการรีไซเคิลเมื่อแบตเตอรี่หมดอายุใช้งานด้วย
“จะลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม โดยในการผลิตขนาด 1 จิกะวัตต์ หรือ 1,000,000 กิโลวัตต์ สามารถนำมาใช้ในรถโดยสารไฟฟ้าขนาด 11 เมตร ซึ่งขับเคลื่อนได้ระยะทางสูงสุด 240 กิโลเมตร ได้ถึง 4,160 คันต่อปี และการใช้รถโดยสารไฟฟ้า 4,160 คัน สามารถช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 91,709 ตันต่อปี และลดปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลได้ 97,066,667 ลิตรต่อปี เมื่อเทียบกับรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันดีเซล”
อีกทั้งยังได้สร้างโรงงานผลิตสาร Electrolyte ซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่สำคัญที่เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพของเซลล์แบตเตอรี่ใช้เองรายแรกในภูมิภาคอาเซียน ประกอบกับมีทีม In House R&D ทำให้สามารถนำสาร Electrolyte ที่ผลิตเสร็จมาทดสอบในเซลล์แบตเตอรี่เพื่อวัด performance ได้ทันที และสามารถคิดค้นพัฒนาสูตรเองให้ดียิ่งขึ้นตลอดเวลา