MyCloudFulfillment ขยายธุรกิจ รับช้อปปิ้งออนไลน์โต พร้อมเตือน 3 สิ่งควรระวัง เพื่อให้ร้านค้าอยู่รอดในโลกอีคอมเมิร์ซแห่งอนาคต
นายนิธิ สัจจทิพวรรณ กรรมการผู้จัดการ และผู้ร่วมก่อตั้ง MyCloudFulfillment บริษัท อี-เอ็มพาวเวอร์เมนท์ จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันแนวโน้มตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซทั่วโลก ที่มีการเติบโตต่อเนื่อง โดยข้อมูลจาก Statista คาดการณ์ปี 2563 มูลค่าตลาดทั่วโลกจะอยู่ที่ 75 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 26% จากปี 2562 มีจำนวนผู้ใช้งานมากถึง 3,468 ล้านคน เพิ่มขึ้น 9.6% จากปี 2562 เช่นกัน
ทั้งนี้ ความน่าสนใจในตลาดอีคอมเมิร์ซ คือรายได้ของทั่วโลกในปี 2563 มาจากภูมิภาคเอเชียมูลค่าอยู่ที่ 45 ล้านล้านบาท เติบโต 29% จากจำนวนผู้ใช้ถึง 2,133 ล้านคน คิดเป็น 61.5% ของผู้ใช้ทั่วโลก สะท้อนขนาดตลาดที่ใหญ่สุดในโลก หากมองเจาะลึกลงไปในภูมิภาคเอเชีย ยังพบว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่มูลค่าอีคอมเมิร์ซเติบโตสูงสุดถึง 44% ซึ่งมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยจะอยู่ที่ 2แสนล้านบาท โตขึ้นมาถึง 42% จากปีที่แล้ว โดยตลาดที่มีกำลังซื้อ คนมีศักยภาพในการใช้จ่ายสูงอันดับหนึ่ง ได้แก่ คนอินโดนีเซีย มีอัตราการใช้จ่ายผ่านอีคอมเมิร์ซต่อผู้ใช้ต่อปีที่ 219 เหรียญสหรัฐ คิดเป็น 6,856 บาทต่อคนต่อปี และที่รองลงมาก็คือ คนไทย 215.67 เหรียญสหรัฐ คิดเป็น 6,752 บาทต่อคนต่อปี แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังมีอัตราคาดการณ์ของการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ต่ำกว่าอินโดนีเซียอยู่มาก นั่นหมายความว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเป็นตลาดที่ คนมีกำลังซื้อ และ ยังขยายได้อีกมากในอนาคต
“ตลาดการซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ถือว่าอยู่ในจุดที่เรียกว่า Sweet spot คือไม่ใช่จุดที่ดีที่สุด แต่เราอยู่ในจุดที่หอมหวานที่สุด คนไทยชื่นชอบและนิยม การซื้อสินค้าออนไลน์ ใช้จ่ายเฉลี่ยใกล้เคียงกับผู้บริโภคชาวอินโดนีเซีย แต่เทียบประชากรเราแล้ว การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเราต่ำกว่า จึงสะท้อนว่าโอกาสทางการตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยยังมีอีกมหาศาล ในอนาคตจะมีผู้คนเข้ามาโลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ ลูกค้าหน้าใหม่ยังเกิดใหม่เรื่อยๆ หากผู้ประกอบการต้องการลงทุน ขยายตลาดช่องออนไลน์ ต้องดำเนินการตอนนี้เลย”
นายนิธิ ยังเล่าให้ฟังว่าธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ โควิดจนถึงตอนนี้ และ จะเติบโตต่อไปอีกในอนาคต คือ อุตสาหกรรมอาหารเครื่องดื่มที่ผ่านการบรรจุภัณฑ์, อุปกรณ์ที่ใช้ภายในบ้าน และ ผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้ซื้อ (New normal) และ จากกลุ่มลูกค้าหน้าใหม่ที่เข้ามาทดลองในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งติดใจกับการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ไปเรียบร้อยแล้ว
ส่วนธุรกิจที่น่าจับตามองคือ ความงามเครื่องสำอาง,ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกาย, และ ธุรกิจกลุ่มสุขภาพและอาหารเสริม เนื่องจากมีการเติบโตที่น่าสนใจช่วงโควิด ถึงจะลดตัวลงนิดหน่อยจากการกลับมาของหน้าร้าน แต่ จะกลับมาเติบโตได้ดีบนออนไลน์อีกครั้งในอนาคต โดยสุดท้ายแล้ว อุตสาหกรรมที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือธุรกิจแฟชั่น ที่ตกลงอย่างต่อเนื่อง จากผลกระทบของการท่องเที่ยว
เตือน 3 สิ่งควรระวัง เพื่อให้ร้านค้าอยู่รอดในโลกอีคอมเมิร์ซแห่งอนาคต
ถึงแม้ว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะมีการขยายตัว และเป็นขุมทรัพย์ตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล แต่ก่อนจะบุกทำตลาดผู้ประกอบการต้องเข้าใจทิศทางตลาดและผู้บริโภคให้ถ่องแท้ เพื่อระมัดระวัง เตรียมตัวรับมือ และสามารถอยู่รอดในโลกของอีคอมเมิร์ซในอนาคต ซึ่งหากเจาะลึกจะมี 3 อย่างที่ต้องทำความเข้าใจ ประกอบด้วย
1.Understand lifestyles not trend ต้องเข้าใจไลฟ์สไตล์ของลูกค้าก่อน ไม่ใช่เทรนด์ เนื่องจากยุคดิจิทัลเทรนด์ตลาดหรือผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาจอยู่ได้ไม่กี่วัน เทียบอดีตอยู่ได้เป็นเดือนหรือเป็นปี แต่การเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเชิงลึกจะทำให้ผู้ประกอบการขายสินค้าได้อย่างยั่งยืน เช่น ผู้บริโภคซื้อแอลกฮอล์ หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 และมองหาสินค้าอื่นเพื่อดูแลสุขอนามัย สะท้อนความต้องการสินค้าอื่นอย่างต่อเนื่อง เพราะไลฟ์สไตล์กลัวเชื้อโรค รักสุขภาพไม่เปลี่ยน แต่ความต้องการสินค้าเปลี่ยนได้
“หากผู้ประกอบการยึดติดที่ตัวสินค้าจะขายดีแค่ช่วงเวลาหนึ่งแต่การเข้าใจปัญหาลูกค้า จะสามารถขายดีได้อย่างต่อเนื่อง”
2.Understand journey not channels ต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าก่อนเลือกช่องทาง การเข้าใจเส้นทางการซื้อสินค้าของผู้บริโภค (Customer journey) มีความสำคัญมาก เพื่อให้พ่อค้าแม่ขายสามารถนำเสนอสินค้าและบริการ โปรโมชั่น ผ่านช่องทางออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Marketplace อย่างLazada, Shopee, JD Central Social Commerce อย่าง Facebook, Instagram หรือ ช่องทางเว็ปไซต์ ได้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย
“ปัจจุบันทุกช่องทางจำหน่ายมีความสำคัญเท่าๆกัน เพราะตอบโจทย์คนละอย่างกัน ไม่มีช่องทางออฟไลน์ หรือออนไลน์สำคัญกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้าน, Shopee, Lazada หรือFacebook เพราะแต่ละช่องทางมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป ไม่ใช่ว่าทุกช่องทางจะเหมาะกับทุกคน เช่น Marketplace เป็นการค้นหาสินค้าใหม่ๆ โซเชียลคอมเมิร์ซเป็นช่องทางอ้างอิงว่าสินค้าน่าเชื่อถือ และ Website หรือ Line @ เป็นช่องทางช่วยทำให้เกิดการซื้อซ้ำ แต่ละช่องทางคาแร็กเตอร์ต่างกัน ผู้คนที่เข้ามาในช่องทางแต่ละอันก็คาดหวังไม่เหมือนกัน เส้นทางการซื้อสินค้า (Customer journey) ต่างกัน หากคุณทำช่องทางMarketplace แพง ๆ หวังกำไร โพสขายของหนัก ๆ บนโซเชียลมีเดีย และ ทำเว็บไซต์ตัวเองหรือไลน์ไว้เพื่อหาลูกค้าใหม่ ธุรกิจคุณไปต่อได้ยากแน่ ๆ เพราะใช้แต่ละช่องทางผิดจุดประสงค์ ผู้ประกอบการต้องทำความเข้าใจเส้นทางการซื้อสินค้าของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ก่อน เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการ โปรโมชั่นที่สอดคล้องกับความต้องการลูกค้า”
3.Understand patterns not numbers ต้องเข้าใจรูปแบบไม่ใช่ตัวเลข การขายสินค้าออนไลน์ค่อนข้างมีรูปแบบ อย่างการจัดโปรโมชั่น 11 11, 12 12 ของ Marketplace แบรนด์ต่างๆ หรือสถานการณ์ก่อนและหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะรู้ทิศทางสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ สินค้าขายดี เช่น สินค้าแฟชั่น เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เมื่อถูกกระทบจากโควิดยอดขายจึงหดตัว เป็นต้น
“ไม่ต้องการให้ผู้ประกอบการยึดติดกับตัวเลขที่คาดการณ์ไปล่วงหน้า เพราะความไม่แน่นอนคือสิ่งที่แน่นอน แม้จะมีดาต้า เราก็ไม่สามารถคาดการณ์อนาคตว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก แต่การเข้าใจแพทเทิร์น ทำให้รู้ว่าหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำเราจะไม่พลาดอีก เช่น หากเกิดโรคระบาดอีกครั้ง จะทราบว่าสินค้าหมวดไหนจะตก อันไหนจะเติบโต ที่สำคัญคุณต้องไว้วางใจผู้อื่นมากขึ้นอย่าถือทุกอย่างไว้ที่ตัวเอง กระจายการทำงานที่ไม่ถนัดให้คนที่เค้าถนัดทำ คุณจะได้สามารถโฟกัสเฉพาะแค่สิ่งที่ถนัดได้ และหากเกิดวิกฤตอีก จะได้ยืดหยุ่นพอที่จะปรับแปลงบริบทได้แบบทันท่วงที ทั้งนี้ต้องระมัดระวังเรื่องการนำเงินไปลงทุน ต้องกระจายความเสี่ยง อย่าเพิ่งลงทุนหวังผลระยะยาวและความคุ้มค่า ลงทุนเพื่อสร้างความยืดหยุ่นก่อนดีกว่า”
อย่างไรก็ตาม 3 สิ่งที่พึงระวังดังกล่าว การใช้ข้อมูลหรือดาต้า ถือเป็นหัวใจสำคัญมาก ข้อมูลในอดีตเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการวางแผนงานได้แม่นยำ สังเกตเห็นว่าเราทำอะไรที่ผิดพลาด และ ทำยังไงให้ธุรกิจการค้าทำดีขึ้นกว่าเมื่อวานได้ ซึ่ง MyCloudFulfillment ในฐานะผู้ให้บริการด้านคลังสินค้าออนไลน์ครบวงจร มีจุดแข็งด้านดาต้าในกระบวนการ เก็บ แพ็ค ส่งที่ช่วยลูกค้าได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า (Order Management Data) ที่สามารถช่วยรวมออเดอร์ของแต่ละช่องทางการขายมาเป็นที่เดียว และ ช่วยให้จัดการข้อมูลการซื้อของลูกค้า จัดการช่องทางการขาย จัดโปรโมชั่นอย่างมีประสิทธิภาพ และ มองเห็นโอกาสการเติบโตได้ (Growth potential)
การบริหารจัดการข้อมูลการเก็บสต็อคสินค้า (Inventory Management Data) ที่สามารถช่วยแนะนำสต็อคสินค้าที่เหมาะสมของแต่ละ SKU ได้ (Stock optimization) ให้สามารถเห็นได้ว่าสินค้าตัวไหนเก็บเยอะเกินไปหรือน้อยเกินไป ขั้นต่ำที่ควรเก็บคือจุดไหน เมื่อสต็อคเหลือถึงจุดไหนถึงควรเติม ทั้งหมดจะช่วยให้ธุรกิจบริหารค่าใช้จ่าย ค่าเช่า การเก็บสินค้า และ การขนส่งเติมสินค้าให้พอดี เพื่อช่วยไม่ให้เงินจม และ การบริหารจัดการข้อมูลการแพ็คและส่งสินค้า (Fulfillment Performance Data) ที่สามารถช่วยให้มองเห็นกำไรและต้นทุนของ แต่ละสินค้าแต่ละออเดอร์ได้ ร้านค้าจะทราบได้ว่าสินค้าตัวไหนขายแล้วได้กำไรดี ตัวไหนขายแล้วขาดทุน สามารถช่วยแนะนำวิธีให้ร้านค้าทำให้การซื้อต่อครั้งแพงขึ้น และ ช่วยให้ทำกำไรได้ดีขึ้น