วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกLIFE STYLEเค็มน้อย อร่อยสไตล์ LOW-SO(DIUM) หนีโรค NCDs
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เค็มน้อย อร่อยสไตล์ LOW-SO(DIUM) หนีโรค NCDs

อาหารที่มีรสจัดเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมหรือโรค NCDs เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง

จากข้อมูลสำรวจการบริโภคเกลือแกงในประเทศไทยปี 2552 พบว่า คนไทยได้รับโซเดียมจากการรับประทานอาหารต่อวันมากถึง 4,000 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่ามากกว่าปริมาณความต้องการของร่างกายในแต่ละวันถึงสองเท่า

นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถานการณ์การบริโภคโซเดียมที่ล้นเกินของคนไทย ทำให้เกิดการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในประเทศไทย เพื่อลดโอกาสที่จะนำไปสู่การป่วย การเสียชีวิต และผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการเพิ่มขึ้นของโรค NCDs โดยมีเป้าหมายที่จะให้ประชาชนบริโภคเกลือและโซเดียมลดลงร้อยละ 30 ภายในปี 2568 เพื่อสนับสนุนแผนบริการของกระทรวงสาธารณสุข ในการลดโรค NCDs รวมถึงโรคไตวายระยะสุดท้ายของคนไทย

ขณะที่ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า สสส. ร่วมกับกระทรวงและภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ โดยผลักดันนโยบายสาธารณะเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน จากปัจจัยเสี่ยงด้านการบริโภคอาหาร เสริมพลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติป้องกันและควบคุมโรค NCDs รวมทั้งสื่อสารให้ความรู้ประชาชนถึงโทษของการบริโภค “หวาน มัน เค็ม” เกินพอดี

รสเค็มเป็นรสที่ส่งผลต่อการกินมากที่สุด รสชาติเค็มเปรียบเหมือนยาเสพติด โดยเร่งการผลิตโดปามีน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองส่งผลต่ออารมณ์ความพึงพอใจ ความสุข ทำให้เกิดความรู้สึกอยากอาหาร เมื่อติดรสชาติเค็มแล้ว หากไม่ได้รสชาติเค็มก็จะรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย หงุดหงิด อารมณ์เสีย หากติดเค็มแล้ว เพียงแค่นึกถึงอาหารที่มีรสชาติเค็มก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกหิวและอยากอาหารได้  ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่ชอบกินเค็ม เนื่องมาจากความรู้สึกอยากอาหารที่เพิ่มมากขึ้น

สำหรับวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินเค็มให้ลดลงนั้น  ควรเริ่มด้วยการเลือกรับประทานอาหารสดจากธรรมชาติให้มากขึ้น เน้นผัก ผลไม้ สด และลดการกินอาหารแปรรูป อ่านฉลากโภชนาการเป็นประจำ เลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่เหมือนกันแต่มีปริมาณของโซเดียมให้น้อยที่สุด หรือเลือกดูบรรจุภัณฑ์ที่มีคำว่า ลดการใช้เกลือ หรือ Low sodium

นอกจากนั้นควรเลือกน้ำเปล่าแทนที่น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ เนื่องจากน้ำผลไม้ในปัจจุบันบางครั้งมีการเติมเกลือลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติ แต่จะยิ่งทำให้เราติดรสเค็มมากยิ่งขึ้น ชิมรสชาติอาหารก่อนปรุง เครื่องปรุงรสเค็ม  ตั้งเป้าหมายในการกินเพื่อลดความเค็มลง โดยลดการเติมเครื่องปรุงในอาหาร และเมื่อรับประทานอาหารนอกบ้าน อาจขอแยกซอสปรุงรสต่าง ๆ หรือขอเค็มน้อยแทน



- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

ว่าด้วยเรื่อง พัฒนา“พุทธมณฑล”

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img