วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง’ เรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องรู้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง’ เรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ต้องรู้

การตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง (High-Risk Pregnancy) คือ ภาวะใด ๆ ก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ อาจทำให้เกิดอันตรายหรือเสียชีวิตได้

นพ.ธิติพันธุ์ น่วมศิริ สูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM) โรงพยาบาลนวเวช ได้ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายและป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดภาวะครรภ์เสี่ยงสูง   

นพ.ธิติพันธุ์ น่วมศิริ

     

สำหรับปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะครรภ์เสี่ยงสูง  เช่น ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อนมีปัญหา เช่น ครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด คลอดทารกตัวเล็กหรือใหญ่ ผิดปกติ มีภาวะแท้งบ่อยๆ ทารกพิการหรือเสียชีวิตในครรภ์   มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน ครรภ์แฝด หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 18 ปี หรือมากกว่า 35 ปี หญิงตั้งครรภ์สูงน้อยกว่า 140 ซม. หญิงตั้งครรภ์น้ำหนักเกินปกติ มีโรคประจำตัว เช่น SLE ต่อมไทรอยด์ โลหิตจาง โรคหัวใจ โรคติดเชื้อ เป็นต้น มีเนื้องอกที่มดลูกหรือรังไข่ เลือดออกทางช่องคลอด หรือเคยผ่าตัดทางสูตินรีเวช หมู่เลือด Rh negative หรือมีการใช้สารเสพติด ติดสุรา สูบบุหรี่

อันตรายจากภาวะครรภ์เสี่ยงสูงนั้นมีหลายอาการ เช่น โลหิตจาง เพลีย เหนื่อยง่าย ทารกโตช้าในครรภ์ เด็กตัวเล็กพัฒนาการไม่สมบูรณ์ พันธุกรรมหรือโครโมโซมทารกผิดปกติ และมีความพิการแต่กำเนิด เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง ครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนด

หากคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าข่ายภาวะครรภ์เสี่ยงสูง ควรเริ่มฝากครรภ์โดยเร็วกับสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ เพื่อรับคำแนะนำ ปรึกษา และได้รับการดูแลอย่างครบถ้วน ปลอดภัยทั้งแม่และลูก

นอกจากนี้ การตรวจวินิจฉัยก็นับว่ามีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพ และคัดกรองความเสี่ยงคุณแม่ตั้งครรภ์ เช่นการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยการดื่มน้ำตาลกลูโคส (50-g Glucose Challenge Test) เพื่อเช็คระดับน้ำตาลในเลือดขณะตั้งครรภ์

เจ็บครรภ์และคลอดก่อนกำหนด ส่วนมากแล้วจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และมีโอกาสเกิดซ้ำในครรภ์ถัดไป แต่ปัจจุบันมีวิธีการทำนายการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดแต่รักษาได้ โดยปัจจัยเสี่ยงที่พบ ได้แก่ เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนด การติดเชื้อที่ปากมดลูก หรือในน้ำคร่ำ ครรภ์เป็นพิษ รกเกาะต่ำ หรือลอกตัวก่อนกำหนด ครรภ์แฝด เป็นต้น

สามารถวินิจฉัยด้วยการตรวจและรักษาได้ เช่น การตรวจอัลตราซาวด์ ประเมินความยาวปากมดลูก การตรวจสาร Fetal Fibronectin จากช่องคลอด (สาร Fetal Fibronectin เป็นสารที่พบอยู่ระหว่างถุงน้ำคร่ำ กับเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อเกิดการหดรัดตัวของมดลูกจะทำให้มีสารชนิดนี้ออกมาอยู่ในช่องคลอด) การใส่ห่วงพยุงปากมดลูก (Arabin pessary) การเย็บปากมดลูก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด

การตรวจคัดกรองครรภ์เป็นพิษ โดยการประเมินจากการตรวจอัลตราซาวด์เส้นเลือดมดลูกขณะตั้งครรภ์ รวมถึงการเจาะเลือดเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ โดยในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับยา เพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษในช่วงเวลาที่เหมาะสม การตรวจหาความผิดปกติและประเมินสุขภาพทารกในครรภ์

นอกจากนั้นการตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อตรวจประเมินและความผิดปกติของทารก เช่น ปากแว่ง/เพดานโหว่ ความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ภาวะหัวใจทารกเต้นผิดปกติ ความผิดปกติของสมอง ความผิดปกติของกระดูกแขนขา และความพิการแต่กำเนิดอื่น ๆ เป็นต้น ด้วยอัลตราซาวด์ 2 มิติ และ 4 มิติ

วินิจฉัยโรคที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือโรคบางชนิดได้ เช่น โรคดาวน์ซินโดรม โรคทารกติดเชื้อในครรภ์ โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ด้วยการเจาะน้ำคร่ำ การตรวจชิ้นเนื้อรก และการเจาะเลือดจากสายสะดือทารก

การรักษาภาวะแทรกซ้อนของทารกในครรภ์ (Fetal Therapy) คือการรักษาภาวะแทรกซ้อน และความผิดปกติของทารกในครรภ์มารดา ได้บางชนิด เช่น ภาวะหัวใจทารกเต้นผิดจังหวะ ภาวะทารกโลหิตจาง ทารกบวมน้ำ ภายใต้การดูแลรักษาจากสูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ MFM

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img