จากการประชุมเศรษฐกิจโลกที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ภายใต้ชื่องาน Davos Agenda 2021 เรื่อง Net Zero หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ กลายเป็นหัวข้อสำคัญของการประชุมฯ ที่มีการเรียกร้องให้นำแนวทางมาปรับใช้ช่วยให้เมืองต่างๆ มีความยั่งยืนมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ คือความจริง และระเบิดเวลาด้านสภาพอากาศกำลังเดินหน้าไปเรื่อยๆ มีความคิดริเริ่มหลายอย่างเพื่อช่วยให้เมืองต่างๆ มีความเป็นกลางด้านคาร์บอนหรือมีสภาพอากาศที่เป็นกลางได้ภายในปลายทศวรรษนี้ โดยคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้รับอาสาทำภารกิจในการสนับสนุนและส่งเสริม 100 เมืองในยุโรปในการปฏิรูประบบเพื่อมุ่งสู่การสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอน ภายในปี 2030 ซึ่งหลายเมืองที่อยู่ในหน่วยงาน CNCA (Carbon Neutral Cities Alliance) จากเมืองแอดิเลดจนถึงกรุงอัมสเตอร์ดัม จากเฮลซิงกิจนถึงวอชิงตันดีซี ล้วนมุ่งเป้าไปที่การสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอนได้สำเร็จภายใน 10-20 ปีถัดไป
ทำไมจึงมุ่งเน้นที่เมืองแทนที่จะเน้นภาคอุตสาหกรรม? จริงๆ แล้วเราต้องจัดการกับทั้งสองภาคอย่างแน่นอน แต่ความแตกต่างสำคัญที่การเป็นมหานครที่สามารถกำจัดคาร์บอนได้จะให้ผลกระทบในวงกว้างได้มากกว่า เนื่องจากเมืองต่างๆ กินพื้นที่ราว 3 เปอร์เซ็นต์ของโลก แต่ผลิตก๊าซเรือนกระจกในปริมาณรวมที่มากถึง 72 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น เมืองต่างๆ ยังมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและจะยังคงเป็นศูนย์กลางสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แม้กระทั่งในช่วงที่เกิดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หากจะบรรยายการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศ เปรียบได้ว่าเป็นสงครามการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของเรา ก็คือการต่อสู้กับเมืองเหล่านี้
สิ่งที่ผมมองเห็นคือ ความเร่งด่วนทั้งในด้านสภาพภูมิอากาศและการแพร่ระบาด ทำให้เราสร้างความเปลี่ยนแปลง หรือการเกิดใหม่ได้ ทั้งผู้วางนโยบายและชาวเมืองสามารถสร้างการมีส่วนร่วมในบทบาทสำคัญในการคิดทบทวนด้านการวางแผนสำหรับเมือง เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กลับคืนสู่เมืองได้มากยิ่งขึ้น แนวทางการแก้ไขบางอย่างยังรวมไปถึงเรื่องของพลังงานไฟฟ้าที่สะอาด เทคโนโลยีดิจิทัลที่ฉลาด ระบบโครงสร้างและอาคารที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับแนวทางด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับการจัดการน้ำ ของเสีย และวัสดุต่างๆ
คำนึงถึงเรื่องเงิน
การปฏิรูปเมืองต่างๆ สู่ความเป็นกลางด้านคาร์บอน ไม่ว่าจะภายใน 10 หรือ 30 ปี ก็ล้วนแต่เป็นความท้าทาย อย่างไรก็ตาม ทั้งเทคโนโลยีและโซลูชันนวัตกรรมเพื่อบ้านที่ยั่งยืน อาคารสำนักงาน พลังงาน การขนส่ง อาหาร น้ำ และระบบวัสดุต่างๆ ล้วนมีอยู่แล้ว และจะตามมาอีกมากมาย เนื่องจากเทคโนโลยีที่ยั่งยืนมีราคาลดลง อีกทั้งได้รับเงินสนับสนุนจากนักลงทุนมากขึ้น
ความท้าทายที่แท้จริงคือการเปลี่ยนวิธีคิด สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลง ผู้คนต้องเปลี่ยนวิธีคิดก่อนและการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นเรื่องที่เจ็บปวด ในฐานะของการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ เราต้องทำให้ผู้คนตระหนักว่าความยั่งยืนไม่ได้มีผลกระทบเรื่องประสิทธิภาพ ความสำเร็จ หรือมาตรฐานความเป็นอยู่ อาคารอัจฉริยะที่ให้ความยั่งยืนหมายถึงอาคารที่ลดการปล่อยของเสีย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ จากนั้น เราต้องเปลี่ยนอุปสรรคต่างๆ ให้กลายเป็นโอกาสด้วยขุมพลังของเทคโนโลยีสมัยใหม่
บ้านอัจฉริยะ ช่วยให้เกิดเมืองอัจฉริยะได้อย่างไร
ที่อยู่อาศัยหรือบ้านมีส่วนสำคัญส่งผลต่อปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกถึง 30 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งคาดว่าจะกลายเป็นตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากที่สุดในทศวรรษหน้า จึงทำให้บ้านต้องกลายเป็นวาระสำคัญของเมืองที่ปลอดคาร์บอน ซึ่งหลังการแพร่ระบาด บ้านจะเป็นที่เราใช้ชีวิตส่วนใหญ่และใช้พลังงานเป็นหลัก การเข้าถึงการผลิตพลังงานในท้องถิ่นได้ง่าย ช่วยนำไปสู่การหยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เร็ว ตัวอย่างเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ทำให้บ้านเรือนสะอาดขึ้นมีความยั่งยืนมากขึ้น เราควรช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถขายพลังงานส่วนเกินคืนให้กลับโครงข่ายไฟฟ้าหรือชุมชนท้องถิ่นได้
แต่เราจำเป็นต้องก้าวไปไกลกว่านั้น ระบบบ้านอัจฉริยะสามารถให้มุมมองเชิงลึกอย่างที่เราไม่เคยได้มาก่อนในแง่ของการใช้พลังงาน ทั้งสำหรับการทำความร้อน การปรุงอาหาร การชาร์จรถยนต์ หรือเพื่อความบันเทิง บ้านอัจฉริยะที่ให้ความยั่งยืนยังให้ความสะดวกสบายส่วนตัวได้มากขึ้น อีกทั้งให้ประสิทธิภาพในการลดค่าไฟฟ้า เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนความยั่งยืนด้วย AI ยังช่วยให้เราปลอดภัย นอกจากจะช่วยให้เรามั่นใจว่าได้สูดอากาศสะอาดและรักษาระดับอุณหภูมิห้องที่ให้ความสบาย ยังช่วยแจ้งเตือนเราในเชิงรุกหากมีความผิดพลาดในระบบไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นได้ ลองคิดถึงผลกระทบหากเราสามารถหยุดการเกิดเพลิงไหม้จากระบบไฟฟ้าไม่ให้ทำลายความเป็นอยู่ของเรา
โซลูชันระบบดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสำหรับบ้านอัจฉริยะสามารถขยายขอบเขตการทำงานและเชื่อมโยงกับอาคารอื่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น กระทั่งเชื่อมกับชุมชนทั้งหมดหรือทั้งเมืองได้ อย่างไรก็ตาม ระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่ปลอดคาร์บอน จะเป็นจริงได้ด้วยการใช้ระบบโครงสร้างดิจิทัลระดับโลกที่ทันสมัย มีการนำ IoT และแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องมาใช้งานในวงกว้าง ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้งานในลักษณะเดียวกันสำหรับชุดข้อมูลแบบเปิดที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะเชื่อมโยงและแบ่งปันการใช้งานทั่วระบบนิเวศของเมือง เพื่อยุติระบบไซโลและสร้างมุมมองเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และ AI นี่คือสิ่งที่องค์กรทั้งหมดควรเรียกร้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือ และมีการประสานงานร่วมกันทั่วอุตสาหกรรม อีกทั้งนำเทคโนโลยีที่ดีที่สุดมาช่วยขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันด้วยการเชื่อมต่อถึงกันและการวิเคราะห์
การบรรลุผลสำเร็จร่วมกันนี้ เราต้องเปิดใจกว้างและดำเนินตามนโนบายของการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาในบทบาทของอุตสาหกรรม ซึ่งนับเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นตลอด เมื่อถึงเวลาช่วยโลก งานของเราจึงไม่เคยเสร็จสิ้น และโซลูชันที่ดีที่สุดในสองสามปีที่ผ่านมาก็อาจจะไม่ใช่โซลูชันที่ช่วยแก้ปัญหาในปัจจุบันได้
ตัวอย่างเช่น การยึดติดเรื่องการปรับปรุงอาคารเพื่อประหยัดพลังงานมากไปในปัจจุบัน เช่นการติดฉนวนกันความร้อนในอาคาร ก็จะเป็นการใช้สาธารณูปโภคมากเกินไป เพราะเมืองต้องมีการขยายตัวด้วยอาคารใหม่ๆ การคิดในขอบเขตเล็กก็จะทำให้เราไปไม่ถึงไหน อาจทำให้เกิดความล่าช้ากับภาพรวมที่มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เราจึงต้องมีเครื่องมือดิจิทัลที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจแนวโน้มการใช้พลังงานได้อย่างแม่นยำ และเราต้องนำมาใช้ในวงกว้างได้
ช่วยโลก อีกทั้งอนุรักษ์เศรษฐกิจ
เราอยู่ท่ามกลางการปฏิวัติด้านพลังงาน หากคุณมองย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของมนุษย์ คุณจะเห็นการเติบโตของเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยความพร้อมด้านพลังงานที่จัดหามาได้ง่าย ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวในตอนนี้ก็คือเรากำลังพูดถึงการใช้พลังงานในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมถึงความต้องการพลังงานสะอาด
การทำให้เมืองต่างๆ มีค่าคาร์บอนเป็นกลาง เป็นเรื่องยากและไม่ธรรมดา เราต้องมีแนวคิดที่ถูกต้อง และยึดมั่นในหลักปฏิบัติ ดำเนินตามหลักปรัชญาที่ว่า “งานของเราไม่มีวันเสร็จเสมอ” การนำเทคโนโลยีดิจิทัลล่าสุดมาใช้ จะช่วยให้เรามีมุมมองเชิงลึกและมีศักยภาพที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้ อีกทั้งงานต่างๆ ที่มีความเป็นสีเขียวมากขึ้น รวมถึงนวัตกรรมเทคโนโลยีและการลงทุนด้าน ESG เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืนจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ ไม่ว่าเราจะเลือกแนวทางไหนก็ตามในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพอากาศ หรือใช้โซลูชันใดก็ตาม เราต้องจำไว้ว่า ความยั่งยืนก็เป็นเช่นเดียวกับทุกสิ่งดีๆ ที่เริ่มต้นจากบ้าน
……………………………….
โดย “จาย ธัมปิ”
รองประธานอาวุโสฝ่ายนวัตกรรมและกลยุทธ์ Home & Distribution
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric)