วันศุกร์, พฤศจิกายน 29, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSสภากาชาดไทยหนุนนร.- เยาวชนชายแดนใต้เรียนรู้ภาษาไทย
- Advertisment -spot_imgspot_img

สภากาชาดไทยหนุนนร.- เยาวชนชายแดนใต้เรียนรู้ภาษาไทย

สภากาชาดไทย ลงพื้นที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนักเรียน-เยาวชนชายแดนใต้ที่มีปัญหาการอ่านและเขียนภาษาไทยให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่น พร้อมครูอาสาร่วมสนองพระราชดำริ

นายกฤษฎา บุญราช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด ได้ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดปัตตานี โดยได้ทราบความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ดังนี้ การคัดเลือกครูอาสาสอนหนังสือ ภาษาไทยตามโครงการแก่เด็กนักเรียนและเยาวชน

ตามเป้าหมายพบว่าการใช้ครูอาสาหรือบุคคลที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ที่ว่างเว้นจากการสอนหนังสือตามปกติหรือการรับสมัครให้ครู อาจารย์ที่เกษียณราชการหรือบุคคลที่มีความรู้ด้านการสอนหนังสือและมีจิตอาสาเข้าร่วมโครงการมาสอนเสริมแก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมายจะสามารถดำเนินการได้มีประสิทธิภาพเพราะทั้งครูอาสาและนักเรียนไม่ต้องเดินทางไกลจากที่พักสามารถนัดสถานที่และเวลาสอนเสริมได้สะดวกไม่เสียเวลาและไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านงบประมาณมากนัก เพื่อให้การกำหนดหลักสูตรและวิธีการสอนเสริมภาษาไทยให้สอดคล้องสภาพปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ภาษาไทยของนักเรียนนั้น สำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาดมีข้อแนะนำว่าควรจัดนักเรียนเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

กลุ่มเด็กนักเรียนจากครอบครัวกลุ่มชาติพันธ์ุที่ใช้ภาษาชนเผ่าติดต่อสื่อสารกันในครอบครัวเกือบตลอด 24 ชั่วโมงประกอบกับมีภูมิลำเนาครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารไม่มีไฟฟ้าและไม่มีเครื่องมือสื่อสารต่างๆ จึงไม่ได้ยินเสียงภาษาไทยจากสื่อทีวีหรือวิทยุทำให้ไม่มีโอกาสได้ใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันและการสื่อสารในครอบครัวก็ใช้ภาษาชนชาติพันธุ์ตนเองเท่านั้น นักเรียนกลุ่มนี้มีโอกาสใช้ภาษาไทยได้เมื่อมาโรงเรียนเท่านั้น

กลุ่มนักเรียนเป้าหมายที่มีวัฒนธรรมและการใช้ภาษาตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่แตกต่างจากนักเรียนทั่วไป เช่น นักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เมื่อกลับไปบ้านหรือภูมิลำเนาของตนเองจะสื่อสารกับบุคคลในครอบครัวด้วยภาษามาลายูเดิมรวมทั้งบางครอบครัวอาจไม่สามารถมาเรียนหนังสือได้สม่ำเสมอเพราะต้องช่วยผู้ปกครองทำงานบ้าน แต่นักเรียนเหล่านี้ยังมีโอกาสได้ใช้และได้ฟังภาษาไทยจากสื่อภาษาไทยต่างๆรวมทั้งในชุมชนข้างเคียงเมื่อกลับไปบ้านหรือภูมิลำเนามากกว่านักเรียนกลุ่มแรก

กลุ่มนักเรียนไทยทั่วไปที่ไม่สามารถใช้ภาษาไทยทั้งการอ่านและเขียนนั้น อาจเกิดจากมีปัญหาครอบครัวยากจนรายได้ไม่เพียงพอต้องขาดการเรียนไปช่วยผู้ปกครองทำงานทำให้ไม่มีเวลาเรียนได้เต็มตามหลักสูตรหรือมีปัญหาด้านการพัฒนาการทางการเรียนรู้(LD) เป็นต้น

นายกฤษฎา  กล่าวว่าจะนำผลการติดตามการดำเนินงานของโครงการฯที่จังหวัดนราธิวาสไปแนะนำเหล่ากาชาดจังหวัดต่างๆในการรับสมัครครูอาสาสอนเสริมภาษาไทยและปรับวิธีการ รวมทั้งเทคนิคการถ่ายทอดการใช้ภาษาไทยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของนักเรียนตามกลุ่มปัญหาต่างๆรวมทั้งจะเน้นให้เหล่ากาชาดจังหวัดคัดเลือกครูอาสาจากกลุ่มบุคคลในพื้นที่ก่อน เช่น กลุ่มครูที่เกษียณหรือบุคคลที่มีคุณวุฒิด้านการสอนและมีเวลาว่างพร้อมเป็นครูอาสาร่วมสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามโครงการข้างต้น

สำหรับสถานที่และเวลาการสอนเสริมให้เหล่ากาชาดประสานงานกับครูใหญ่หรือผู้บริหารสถานศึกษาของนักเรียนเป้าหมายรวมทั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขตต่างๆ/สำนักงาน กศน./สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด/สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด/มหาวิทยาลัยในพื้นที่/หน่วยงาน ตชด. ตลอดจนภาคีเครือข่ายหน่วยงานต่างๆที่อาสาสมัครมาร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนกับสภากาชาดไทย เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ชมรมครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เป็นต้น เพื่อร่วมกันปรึกษาหารือในการจัดการเรียนการสอนเสริมภาษาไทยให้กับเด็กและเยาวชนกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมต่อไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img