วันพุธ, ตุลาคม 2, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS‘ซูเปอร์โพล’ เปิดผลสำรวจรัฐบาลดิจิทัลของคนไทย ขยับขึ้นอันดับที่ 55 จาก 193 ประเทศ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ซูเปอร์โพล’ เปิดผลสำรวจรัฐบาลดิจิทัลของคนไทย ขยับขึ้นอันดับที่ 55 จาก 193 ประเทศ


‘ซูเปอร์โพล’ เผยผลสำรวจความพึงพอใจบริการของ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในภาพรวมพบอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก


เมื่อวันที่ 3 พ.ย. ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่าเป็นประจำทุกปี ที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจบริการของ สพร. ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดำเนินการโดยสำนักวิจัยซูเปอร์โพล ทำการสำรวจจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 3,148 ราย แบ่งเป็นภาครัฐ 1,407 ราย และภาคประชาชน 1,741 ราย ระหว่างวันที่ 1-31 ก.ค. โดยพบว่าความพึงพอใจต่อบริการของ สพร. ปีงบประมาณ 2565 ในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมของทุกบริการอยู่ที่ 4.14 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน

ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบผลคะแนนความพึงพอใจโดยรวมในปี 2565 เทียบกับปี 2564 พบว่าได้รับผลความพึงพอใจรวมที่สูงขึ้น โดยบริการที่มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยสูงสุดในภาครัฐ คือ สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA) หลักสูตรผู้บริหาร โดยมีคะแนนอยู่ที่ 4.49 คะแนน ในส่วนของบริการภาคประชาชน ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (Info.go.th) ได้รับคะแนนความพึงพอใจสูงสุดที่ 4.34 คะแนน

ทั้งนี้ ภาคประชาชน มีความพึงพอใจในภาพรวมต่อบริการของ สพร. ในระดับมากที่ 4.09 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2564 และพบว่า ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นในทุกบริการ ได้แก่ ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (Info.go.th), ระบบข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ (ภาษีไปไหน-GovSpending), ศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal), ระบบพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน (แอพพลิเคชั่นทางรัฐ – Citizen Portal) และบริการศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Data.go.th) ส่วนบริการระบบกลางทางกฎหมาย (Law Portal) ซึ่งเป็นบริการใหม่ที่ทำการสำรวจในปี 2565 เป็นครั้งแรก มีค่าคะแนนอยู่ในระดับมากเช่นกัน

ดร.สุพจน์ กล่าวถึงแนวทางในการพัฒนาดิจิทัล ในจังหวะต่อไปว่า จะให้ความสำคัญกับบริการที่มุ่งเน้นให้บริการประชาชนเป็นหลัก ด้วยการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้อย่างสะดวก ได้แก่ ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (data.go.th), ช่องทาง ในการเข้าถึงบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ (Portal) เช่น Citizen Portal, Biz Portal และระบบดิจิทัลที่ต้องรองรับการทำงานร่วมกันจากหลายหน่วยงาน เพื่อให้บริการประชาชนในบางเรื่อง เช่น ระบบชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล ในฐานะหัวหน้าโครงการสำรวจความพึงพอใจ ฯ กล่าวว่า ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ผลิตภัณฑ์และบริการที่ควรนำมาพิจารณาพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายบริการ ให้เป็นผลิตภัณฑ์และบริการหลัก (Core Products) ของ สพร. คือระบบพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน (Citizen Portal) เพราะการขยายบริการเพียงร้อยละ 20 ของทั้งหมด ก็จะสามารถครอบคลุมความพึงพอใจได้เกือบร้อยละร้อยและสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลและควรพัฒนา Citizen Portal ให้เป็น Big Data ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงและใช้บริการดิจิทัลแบบเบ็ดเสร็จ

ทั้งนี้ ควรพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลตามลักษณะฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในการทำธุรกรรมข้อมูลบริการสำคัญของกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการในรูปแบบต่าง ๆ (Volume) ด้วยความหลากหลายทั้งข้อมูลที่มีรูปแบบโครงสร้างเอกสารทางราชการและข้อมูลที่ไม่อยู่ในรูปแบบเชิงโครงสร้างที่มีแหล่งข้อมูลจากภาพ เสียง และวิดีโอ เป็นต้น (Variety) โดยข้อมูลที่อยู่ใน Big Data ในผลิตภัณฑ์ Citizen Portal ควรเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันสมัยรวดเร็วต่อความต้องการใช้ประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมาย (Velocity) ถูกต้องและน่าเชื่อถือ (Veracity)

อนึ่ง จากรายงานขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งได้เผยแพร่ผลการสำรวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (The UN E-Government Survey 2022) พบว่า ดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government Development Index: EGDI) ของประเทศไทย ขยับขึ้นมา 2 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 55 จากอันดับที่ 57 ปี 2563 โดยประเทศไทยได้อันดับ 3 ของอาเซียน ซึ่งการสำรวจ EGDI นี้ ประเมินการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภาครัฐของ 193 ประเทศ ซึ่งการที่ประเทศไทยถูกจัดอันดับดีขึ้นในปี 2564 เป็นผลมาจากปัจจัยหลัก คือ องค์ประกอบด้านทุนมนุษย์ (Human Capital Index) และด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีและการสื่อสาร (Telecommunication Infrastructure Index)…

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img