วันพุธ, พฤศจิกายน 27, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSครม.อนุมัติ6.2พันล้านช่วยเกษตรกรฯ สร้างอ่างเก็บน้ำ “น้ำกิ”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ครม.อนุมัติ6.2พันล้านช่วยเกษตรกรฯ สร้างอ่างเก็บน้ำ “น้ำกิ”

ครม.ไฟเขียว 6.2 พันล้านให้ก.เกษตรฯสร้างอ่างเก็บน้ำ‘น้ำกิ’ จ.น่าน เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 35,500 ไร่ ช่วยชาวบ้านกว่า 6,000 ครัวเรือน

เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม.มีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำ “น้ำกิ” จ.น่าน วงเงินงบประมาณ 6,200 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 ปี (ปีงบประมาณ 2567-2573) เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคของประชาชนในฤดูแล้ง ช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน รวมถึงสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวและขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดได้ สำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านวังผา หมูที่ 2 ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน มีพื้นที่รวม 1,733 ไร่ 84 ตารางวา โดยพื้นที่โครงการฯอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติน้ำยาวและป่าน้ำสวด ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติมีมติเห็นชอบให้กรมชลประทานใช้พื้นที่ดังกล่าวแล้ว และกรมชลประทานได้รับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่ พร้อมเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว

รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวอีกว่า โครงการนี้เป็นการก่อสร้างเขื่อนชนิดหินถมแกนดินเหนียว ความจุ 52.31 ล้านลูกบาศก์เมตร ความยาวเขื่อน 845 เมตร ความสูงเขื่อน 81.5 เมตร ความกว้างสันเขื่อน 12 เมตร พร้อมอาคารประกอบ อาทิ อาคารส่งน้ำ อาคารทางระบายน้ำล้น และระบบชลประทานแบบท่อส่งน้ำและคลองส่งน้ำคอนกรีต ความยาวรวม 88.13 กิโลเมตร สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการนี้ มีพื้นที่ชลประทานเกิดขึ้น 35,558 ไร่ ครอบคลุม 8 ตำบล ของ จ.น่าน คือ ต.ผาทอง, ผาตอ, ป่าคา, แสนทอง, ศรีภูมิ, ริม, ตาลชุม, เทศบาลตำบลท่าวังผา และมีประชาชนได้รับประโยชน์ 6,305 ครัวเรือน

น.ส.รัชดา กล่าวว่า นอกจากนี้ โครงการอ่างเก็บน้ำ“น้ำกิ” มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ขณะที่กรมชลประทานได้ออกแบบท่อส่งน้ำและอาคารโรงไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำไว้ด้วยแล้ว ดังนั้น เพื่อประโยชน์สาธารณะและประชาชนโดยรอบ ที่ประชุมเห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์บูรณาการร่วมกับกระทรวงพลังงานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำหรือพลังแสงอาทิตย์ของโครงการด้วย โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุดของโครงการเป็นสำคัญ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img