วันศุกร์, พฤษภาคม 16, 2025
หน้าแรกNEWSกกต.แจงยิบปมนำราษฎรไม่มีสัญชาติไทยรวมคำนวณแบ่งเขตเลือกตั้ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กกต.แจงยิบปมนำราษฎรไม่มีสัญชาติไทยรวมคำนวณแบ่งเขตเลือกตั้ง


เลขากกต.แจงยิบ ปมนำราษฎรไม่มีสัญชาติไทยรวมคำนวณแบ่งเขตเลือกตั้ง ไม่ใช่คนต่างด้าว งงถูกด่าทั้งที่ยึดจำนวนราษฎรตามข้อมูล มท.ประกาศ

เมื่อวันที่ 10 ก.พ. นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กล่าวถึงกรณีที่กกต.ถูกโจมตีว่านำต่างด้าวมาคำนวณในการเทียบจำนวนส.ส.ในแต่ละพื้นที่เขตเลือกตั้งนั้นว่า คำว่าจำนวนราษฎร กับจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งนั้นต่างกัน ซึ่งชาวไทยตามรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่ทุกคนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งเราต้องดูว่าประชาชนคนไทย ระบุหน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญนั้น คนไทยทุกคนก็ไม่ใช่ผู้มีสิทธิ์ทางการเมืองที่จะมีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งกำหนดคุณสมบัติอย่างน้อยดังนี้1.คุณจะต้องเป็นคนไทย 2. ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ทั้งนี้ตามกฎหมายไม่ได้บอกว่าให้เอาผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมาคำนวณ แต่ให้นำจำนวนราษฎรทั้งประเทศ ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย โดยนายทะเบียนราษฎรกลาง ซึ่งคำว่า “ราษฎร” ตามกฎหมายมี 2 ประเภท คือ 1.คนที่เป็นคนไทยแท้ๆมีเลข 3 นำหน้าในบัตรประชาชน 2.คนต่างด้าวที่เป็นบุคคลประเภทที่ 8 เข้าตามเงื่อนไขของกฎหมายไทย ซึ่งคนที่กกต.เอามาคำนวณเทียบจำนวนส.ส.นั้น ไม่ใช่แรงงานพม่าที่มาทำงานเป็นแม่บ้านอยู่ตามบ้าน เขาไม่มีสิทธิ์อยู่แล้ว หรือแรงงานตามโรงงาน แม้จะเข้าเมืองโดยถูกกฎหมาย แต่ไม่เข้าเงื่อนไข 2 ข้อข้างต้นจึงไม่อยู่ในประเภทราษฎรตามกฎหมายนี้

“สงสัยว่าถ้าอย่างนั้นแทนที่คุณจะไปด่ากระทรวงมหาดไทย ว่าทำไมคุณประกาศคนต่างด้าวเป็นราษฎร แต่กลับมาด่ากกต. ที่เอาข้อมูลกระทรวงมหาดไทยมาคำนวณจำนวน ส.ส.แต่ละพื้นที่ เราเข้าใจว่าเราไม่น่าเชื่อถือ พูดจริงคนก็ไม่เชื่อ เมื่อมีคนพูดทำให้คนสับสนเหมือนกับบอกว่า นำแรงงานต่างด้าว พม่า ลาว เขมร ที่มาทำงานแม่บ้าน มาคำนวณด้วย”เลขาธิการกกต. กล่าว

นายแสวง กล่าวอีกว่า ในส่วนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้อง แต่ไม่เข้าเงื่อนไข 2 อย่าง คือ ไม่มีเลขประจำตัว 13 หลัก ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงของประเทศนั้นกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง จะพิจารณาอนุญาตด้วยความเข้มงวดมาก ในการออกเลขประจำตัว 13 หลักให้หรือไม่ เพื่อใช้ควบคุมคนบอกตัวตนของบุคคล เหมือนกรณี“โค๊ชเช” โค้ชเทควันโดไทย ก็อยู่ในประเภทบุคคลที่ได้ใบสำคัญคนต่างด้าวนี้ หลังจากนั้นขอแปลงสัญชาติเกาหลีเป็นสัญชาติไทย จะเป็นบุคคลที่มีตัวเลข8 เป็นตัวแรกในบัตรประชาชนและได้รับอนุญาตให้อยู่ในเมืองไทยโดยมีทะเบียนบ้านในไทย (บุคคลประเภทที่ 8) แต่เลข13หลัก ยังคงเป็นเลขเดิม ทั้งนี้ไม่ใช่พูดจาส่งเดชว่าเอาแรงงานต่างด้าวมาคำนวณ ซึ่งพูดให้คนสับสน ซึ่งคนที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้อง แต่ไม่มี 2 อย่างคือ ไม่มีเลข 13 หลัก ตัวอย่างเช่น ที่จังหวัดภูเก็ต มีคนอาศัยอยู่จำนวนล้านคน แต่กกต.คำนวณส.ส.เทียบจากราษฎรแค่ 400,000 คน คนพวกนั้นเขาเข้ามาทำงาน โดยเป็นคนที่ได้รับการอนุญาตให้มาทำงาน ในประเทศ แต่ไม่เป็นราฎรตามกฏหมาย เพราะขาดคุณสมบัติ 2 ข้อข้างต้นดังกล่าว ในขณะเดียวกันคนต่างด้าวจำนวนมากมาอาศัยอยู่เมืองไทยเป็นเวลานาน10-20ปี แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยก็มีจำนวนมาก แต่เมื่อลูกของเขาเกิดมาก็จะได้สัญชาติไทยทันทีตามหลักกฎหมายดินแดน นั้น กรณีนี้พ่อแม่ของเขาก็มีสถานะเป็นราษฎร ซึ่งข้าราชการหลายคนก็อยู่ในกลุ่มนี้

เมื่อถามถึงกรณีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ แสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าวนั้น นายแสวง กล่าวว่า คือเราทำตามกฎหมายแล้วท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร คือคนที่สื่อไปถึงท่าน เหมือนจะบอกว่าคนต่างด้าว คือคนที่เราเห็นทั่วไป ซึ่งความจริงไม่ใช่ เพราะข้าราชการหลายคนที่เกิดในเมืองไทยแต่พ่อแม่เป็นคนจีนหรือเป็นต่างด้าว เพราะไปขอสัญชาติไม่ได้ แต่ถ้าหากเขาขอสัญชาติได้ ก็จะเป็นบุคคลประเภทที่ 8 เหมือนโค้ชเช ซึ่งเป็นไปตามพ.ร.บ.บัตรประชาชน ทั้งก็จัดว่าเขาเป็นราษฎรตามกฎหมายของเรา แต่สำหรับคนที่ทำงานแม่บ้านเข้ามาทำงานในประเทศไทยที่ต้องมีใบ work permit ทำงานในประเทศไทย ซึ่งคนกลุ่มนี้จะไม่ได้เลข 13 หลัก และไม่มีทะเบียนบ้านในเมืองไทย คนกลุ่มนี้ไม่จัดอยู่ในกลุ่มราษฎรตามกฎหมาย.

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img