วันอังคาร, พฤศจิกายน 26, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSแก่แล้วกินยาแก้แพ้อาจสมองพัง “หมอดื้อ”เตือน ชี้พิจารณาความจำเป็น-ขนาดของยา
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แก่แล้วกินยาแก้แพ้อาจสมองพัง “หมอดื้อ”เตือน ชี้พิจารณาความจำเป็น-ขนาดของยา

หมอธีระวัฒน์” โพสต์แก่แล้วกินยาแก้แพ้อาจสมองพัง เตือนต้องพิจารณาความจำเป็นและขนาดของยาที่ใช้และระยเวลาที่ใช้

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. น.พ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง แก่แล้วกินยาแก้แพ้ อาจสมองพัง มีเนื้อหา ต่อไปนี้
แก่แล้วกินยาแก้แพ้ อาจสมองพัง
ยาแก้แพ้ แก้เวียน เมารถ เมาเรือ ยาหดหู่ ซึนเศร้า ยาลดปัสาวะบ่อย ยาเหล่านี้นอกจากเรื่องแพ้ เวียนหัว บ้านหมุน ยังนำมาใช้เป็นยานอนหลับเฉพาะกิจ และยังมีสรรพคุณลดอาการสั่นที่เจอในโรคพาร์กินสันได้ดีพอสมควร

  • ฤทธิ์สำคัญคือต้านระบบ Cholinergic (Anti-cholinergic, AC) ดังนั้น อาจมีปากแห้ง น้ำลาย น้ำตาแห้งร่วม บางรายที่มีปัญหาเรื่องปัสสาวะ ก็อาจจะต้องเบ่ง และอาจมีผลกระทบเรื่องความดันสูงในลูกตา โดยเฉพาะคนเป็นต้อหิน
  • มีการจัดอันดับความแรง (Anticholinergic burden score) เป็น 1-2-3 โดยแรงมากคือ เบอร์ 3 ที่ถูกจัดเป็นแรงมาก เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้เวียน Chlorpheniramine Dimenhydrinate (Dramamine) Diphenhydramine (Benadryl) Meclizineยาอารมณ์ดีด้านเศร้า เช่น doxepin nortriptyline ยาช่วยอาการปัสสาวะลำบากหรือผิดปกติรวมทั้งช้ำรั่ว เช่น Darifenacin Oxybutynin Tolterodine (Detrusitol) Trospium Solifenacin
    เริ่มอย่างน้อยตั้งแต่ปี 2005 มีการตั้งข้อสังเกตว่า ยากลุ่มต่างๆที่มีฤทธิ์ AC นี้จะมีผลทำให้สมองเฉื่อยชาไม่แล่น
    การศึกษามาจากกลุ่ม Alzheimer’ s Disease Neuroimaging Initiative (วารสารสมาคมแพทย์อเมริกันทางประสาทวิทยาปี 2016) ทั้งนี้ มีกลุ่มในการศึกษาที่ไม่ได้ใช้ยากลุ่มต้าน Cholinergic (แทนด้วย AC-) 350 ราย และกลุ่มที่ใช้ยา AC ในระดับฤทธิ์ 2 และ 3 (AC+) 52 ราย ลักษณะประจำกลุ่มที่คล้ายคลึงกันคือ อายุเฉลี่ย 73 ปี ผู้ชาย ผู้หญิงใกล้เคียงกัน ระดับการศึกษาพอกัน มียีนอัลไซเมอร์ (28% AC+ เทียบกับ 25% ใน AC-) เป็นคนขาว (84.6 ต่อ 94.2%)
    ปริมาณชนิดของยาที่ใช้ประจำใกล้กัน ทั้งสองกลุ่มนี้มีไม่มากนักที่เคยเป็นอัมพฤกษ์ โรคหัวใจ หรือเคยผ่าตัดหัวใจ เส้นเลือด หรือเป็นเบาหวาน รวมทั้งเป็นโรคนอนกรน อากาศไม่เข้าสมอง (ซึ่งอาจสุ่มเสี่ยงสมองเสื่อม) หัวใจเต้นระริก AF ซึ่งจะมีลิ่มเลือดไปอุดเส้นเลือดสมอง โรคซึมเศร้า กังวล นอนไม่หลับ รวมทั้งสมาธิสั้น โรคจิต และอุบัติเหตุสมอง
    ที่มีเยอะใกล้กันทั้ง 2 กลุ่มคือ มีความดันสูง ไขมันสูง ประมาณกึ่งหนึ่ง และทั้งสองกลุ่มถนัดขวาเป็นส่วนมาก
    การติดตามสมองมีทั้งการประเมินพุทธิปัญญา (Cognitive scores) การตรวจดูเมตาบอลิซึมของสมองด้วยเครื่อง PET scan (FDG) ดูการใช้กลูโคสของสมอง รวมทั้งดูความเหี่ยวฝ่อของสมอง โดยใช้คอมพิวเตอร์สมองสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
    โดยมีการวัดขนาดปริมาตรของสมองแต่ละส่วนอย่างละเอียดเป็นระยะ
    จากการติดตาม 96 เดือน ผลปรากฏว่า กลุ่ม AC+ มีความฝ่อของสมองทั้งปริมาตร เปลือกสมองและบริเวณกลีบขมับ (ควบคุมความจำ) และเนื่องจากสมองฝ่อเลยทำให้มีช่องโพรงน้ำในสมองกว้างขึ้น (Lateral และ Inferior lateral ventricle volumes) รวมทั้งมีการทำงานถดถอยจากการตรวจสมองด้วย PET Scan การตรวจทางพุทธิปัญญามีทั้งความจำ การทำงานด้านการจัดการ (Executive) พบมีคะแนนเลวกว่ากลุ่ม AC- โดยเฉพาะกลุ่ม AC+ ที่ใช้ยาแรงระดับ 3 กลไกของยา AC ไม่ทราบแน่ชัด
    จะอย่างไรก็ตาม ยาแก้แพ้รวมยากลุ่มอื่นๆทางปัสสาวะและช้ำรั่ว ยาอารมณ์ดี เป็นยาสำคัญและมีประโยชน์
    ดังนั้น ต้องพิจารณาความจำเป็นและขนาดของยาที่ใช้ และระยะเวลาที่ใช้
    แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่ายาสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ที่เพิ่มสาร Acetylcholine จะสามารถทำให้ให้เซลล์สมองเปล่งปลั่ง ตายช้า ตายยากได้นะครับ อาจเป็นคนละเรื่องเดียวกัน.
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img