วันศุกร์, กันยายน 20, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightกางชื่อส.ส.-ส.ว.โหวตคว่ำ/ไม่คว่ำวาระ3 ‘ว่าที่2รมต.ป้ายแดง-24ส.ส.พท.’ล่องหน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กางชื่อส.ส.-ส.ว.โหวตคว่ำ/ไม่คว่ำวาระ3 ‘ว่าที่2รมต.ป้ายแดง-24ส.ส.พท.’ล่องหน

กางรายชื่อ “ส.ส.-ส.ว.” ทั้งโหวตคว่ำ-ไม่คว่ำแก้รธน.วาระ 3 “ว่าที่ 2 รมต.ป้ายแดง” หายตัว ไม่ต่างจาก “26 ส.ส.พท.” ล่องหนสวนมติพรรคตัวเองที่ให้โหวตรับร่าง ส่วน “น้องนายกฯ” ไม่ประสงค์ลงคะแนน ขณะที่ “น้องบิ๊กป้อม” นำทีม 84 ส.ว.งดออกเสียง

กรณีมติที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เมื่อวันพุธที่ 17 มีนาคม 2564 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาลงมติในวาระที่ 3 ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พุทธศักราช …. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญ ด้วยคะแนนเสียง ดังนี้

-เห็นชอบ สส. 206 เสียง สว. 2 เสียง รวม 208 เสียง
-ไม่เห็นชอบ สส. ไม่มี สว. 4 เสียง รวม 4 เสียง
-งดออกเสียง สส. 10 เสียง สว. 84 เสียง รวม 94 เสียง
-ไม่ลงคะแนนเสียง สส. 9 เสียง สว. 127 เสียง รวม 136 เสียง

ทั้งนี้ เสียงเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้ง 2 สภา (คือ ไม่มากว่า 369 คน) จึงถือว่าสมาชิกรัฐสภาเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช …. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1)

จากการตรวจสอบรายชื่อพบว่า ในส่วน คะแนนเห็นชอบ 208 เสียง นั้น เป็นของส.ส. 206 คน ส่วนใหญ่เป็นส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้าน และพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนอีก 2 เสียงเป็นของส.ว.คือ นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และนายพิศาล มาณวพัฒน์ ซึ่งเป็น 2 ใน 3 ส.ว.ที่เคยลงมติรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์ ขณะที่คะแนนเสียงไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ในวาระ 3 จำนวน 4 เสียงนั้น เป็นของส.ว.ทั้งหมดคือ นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม, นพ.พลเดช ปิ่นประทีป, นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา และนายเสรี สุวรรณภานนท์

ในส่วนการโหวต งดออกเสียง จำนวน 94 เสียง นั้น แบ่งเป็นส.ส. 10 เสียง และส.ว. 84 เสียง ส่วนส.ส.ที่งดออกเสียง ส่วนใหญ่เป็นของพรรคพลังประชารัฐ อาทิ นางกรณิศ งามสุคนธ์รัตนา ส.ส.กทม., นายกรุงศรีวิไล สุทินเผือก ส.ส.สมุทรปราการ, นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ ส.ส.กทม. รวมถึงนายดำรงค์ พิเดช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย และนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ส่วนของส.ว.ที่งดออกเสียง อาทิ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา, พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา, พล.อ.กนิษฐ์ ชาญปรีชา, นายจเด็จ อินสว่าง, พล.อ.ฉัตรชัย สาลิกัลยะ, พล.อ.ดนัย มีชูเวท, พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ น้องชายพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.อ.ประจิน จันตอง, นายสมชาย แสวงการ, นายวิทยา ผิวผ่อง, พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้, นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย

แต่ที่น่าสนใจกลับอยู่ที่รายชื่อ ผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 136 เสียง แยกเป็นของส.ส. 9 เสียง และส.ว. 127 เสียง โดยในส่วนของส.ส.ที่ไม่ประสงค์ลงคะแนน อาทิ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นางเกษม ศุภรานนท์ ส.ส.นครราชสีมา, นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กทม. จากพรรคพลังประชารัฐ, นายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ, น.ส.จุฑาฑัตต เหล่าธรรมทัศน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายสุพล จุลใส ส.ส.ชุมพร จากพรรครวมพลังประชาชาติไทย, นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทรักธรรม ส่วนส.ว.ที่ไม่ประสงค์ลงคะแนน อาทิ นายกล้านรงค์ จันทิก, นายคำนูณ สิทธิสมาน, นายเจตน์ ศิรธรานนท์, พล.อ.นพดล อินทปัญญา, พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา น้องชายพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี, นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์

ความน่าสนใจอีกอย่างคือ นอกเหนือจากส.ส.พรรคภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา วอล์กเอาต์ออกจากห้องประชุม ยังพบว่า มีส.ส.อีก 200 กว่าคน และส.ว.อีก 33 คน ที่ไม่ขานมติลงประชุมใดๆ เลย อาทิ อาทิ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม, ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์, น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ, น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ, นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ, น.ส.กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ, นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ รวมไปถึง 2 ว่าที่รัฐมนตรี ที่คาดหมายว่าจะได้รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรี อย่าง นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และน.ส.ตรีนุช เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว จากพรรคพลังประชารัฐ ด้วย

ส่วน ส.ส.จากพรรคเพื่อไทยอีก 26 คน ก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน ไม่ยอมขานมติใดๆ ในการโหวตวาระ 3 สวนทางกับมติพรรคที่ให้โหวตเห็นชอบ อาทิ นายการุณ โหสกุล ส.ส.กทม., นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์, นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม, น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม., นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม., นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม ฯลฯ ขณะที่ส.ส.พรรคก้าวไกลบางส่วน ที่ไม่ร่วมขานชื่อลงมติในการลงมติ อาทิ นายคารม พลพรกลาง ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายขวัญเลิศ พานิชมาท ส.ส.ชลบุรี, นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส.เชียงราย ซึ่งเป็นส.ส.งูเห่าในพรรค

ทางด้านส.ส.ประชาธิปัตย์ที่ไม่ขานชื่อในการลงมติเช่นกัน อาทิ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง, นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ จ.ตาก, นายชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร รวมถึง 6 ส.ว.โดยตำแหน่งจาก “ผู้บัญชาการเหล่าทัพ” ได้แก่ พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม, พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผบ.ทหารสูงสุด, พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ., พล.ร.อ.ชาติชาย ศรีวรขาน ผบ.ทร., พล.อ.อ.แอร์บูล สุทธิวรรณ ผบ.ทอ. และ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ก็ไม่ร่วมลงมติครั้งนี้เช่นกัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img