วันศุกร์, พฤศจิกายน 15, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“สุรพงษ์”สั่งพัฒนาระบบฟีดเดอร์เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงกับระบบขนส่ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สุรพงษ์”สั่งพัฒนาระบบฟีดเดอร์เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดงกับระบบขนส่ง

“สุรพงษ์” เร่งเดินหน้าพัฒนาระบบฟีดเดอร์เชื่อมรถไฟสายสีแดงกับระบบขนส่ง เตรียมนำร่อง 3 จุดภายในสิ้นปีนี้ หรือต้นปี 67 คมนาคมเตรียมชงครม.เคาะ 3 เส้นทางส่วนต่อขยายสายสีแดง 21,754 ล้านบาท

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง โดยได้รายงายงานผลการดำเนินงานนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของระบบรถไฟชานเมือง (รถไฟฟ้าสายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน พบว่าผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันได้มอบนโยบาย รฟฟท. การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ร่วมกันพัฒนาระบบฟีดเดอร์ เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้าทุกสายในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกผู้โดยสารเดินทางเชื่อมทุกโหมด

ทั้งนี้จะมุ่งเน้นการใช้ระบบทางรางเป็นหลัก ปรับบทบาทของขนส่งทางล้อเป็นฟีดเดอร์ป้อนผู้โดยสารสู่ระบบรางและขนส่งผู้โดยสารไปสู่ปลายทาง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ต้นทุนการเดินทาง เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ส่วนการจัดทำระบบฟีดเดอร์นี้ทุกหน่วยงานในสังกัดคมนาคมต้องบูรณาการร่วมกัน โดย ขร. และ ขบ. เป็นหน่วยงานหลักทำระบบฟีดเดอร์ต้องพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินการด้วย ทั้งข้อดีและข้อเสีย เช่น รถตู้ หรือรถสองแถวที่ให้บริการตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่มีการทำระบบฟีดเดอร์

“หากมีนโยบายนี้จะเกิดผลกระทบต่อการประกอบอาชีพเดิมหรือไม่ เช่น จำนวนผู้โดยสารลดลง รายได้ลดลง ดังนั้นต้องหาแนวทางดำเนินการที่เป็นธรรม และเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายต่อไป ทั้งผู้ประกอบการ และผู้โดยสารสามารถอยู่ร่วมกันได้ คาดว่าแผนจัดระบบฟีดเดอร์นี้สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดง ต้องมีการนำร่อง 3 จุด ภายในสิ้นปี 66 หรือต้นปี 67”นายสุรพงษ์ กล่าว

นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า ระบบฟีดเดอร์เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีแดง รฟฟท. นำร่องระบบฟีดเดอร์ไปแล้ว จากมหาวิทยาลัยรังสิต-สถานีหลักหก พบว่าจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มต่อเนื่อง จากช่วงก่อนนโยบาย 20 บาทตลอดสาย ก่อนวันที่ 16 ต.ค.66 มีผู้โดยสารใช้บริการอยู่ที่ 1,000 คนต่อวัน และ หลังนโยบาย 20 บาทตลอดสาย มีผู้โดยสารใช้บริการ 1,500 คนต่อวัน เพิ่มขึ้น 500 คนต่อวัน

นอกจากนี้เพิ่มระบบฟีดเดอร์อีกสิ้นปี 66 จำนวน 3 เส้นทาง 1.เส้นทางห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-สถานีรังสิต 2.เส้นทางตลิ่งชัน-การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ 3.เส้นทางมหาวิทยาลัยมหิดล-ศาลายา

สำหรับความคืบหน้าโครงการระบบรถไฟชานเมือง ส่วนต่อขยายสายสีแดง ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างผลักดัน 3 เส้นทาง รวมวงเงิน 21,754 ล้านบาท ประกอบด้วย

1.ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 8.84 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 6,468 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอบรรจุเป็นวาระ เพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ขณะเดียวกัน รฟท. เตรียมจัดทำเอกสารการประกาศประกวดราคา หาก ครม. อนุมัติสามารถเปิดประมูลโครงการได้ทันที คาดว่าใช้ระยะเวลาประมูล 6-8 เดือน

2.ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา 14.8 กม. วงเงิน 10,670 ล้านบาท อยู่ระหว่างเตรียมเสนอต่อกระทรวงคมนาคมภายในสัปดาห์นี้ หลังจากนั้นจะเสนอ ครม. เห็นชอบต่อไป

3.ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช 5.7 กม. วงเงิน 4,616 ล้านบาท ทรฟท. ได้ตอบกลับความเห็นสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ปัจจุบันรอสศช.รับทราบการตอบกลับของ รฟท. มาก่อน คาดว่าสรุปภายในเดือน พ.ย.นี้ และ ทั้ง 3 โครงการ ครม. จะพิจารณาเห็นชอบได้ในภายในปี 66

ทั้งนี้ปัจจุบันผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงก่อนนโยบาย 20 บาทตลอดสาย ก่อนวันที่ 16 ต.ค.66 มีผู้ใช้บริการ วันธรรมดาอยู่ที่ 24,945 คนต่อวัน มีรายได้ 725,059 บาทต่อวัน หลังนโยบาย 20 บาทตลอดสาย ผู้โดยสารอยู่ที่ 27,941 คนต่อวัน มีรายได้ 553,729 บาทต่อวัน

เมื่อนำข้อมูลจำนวนผู้โดยสารและรายได้เปรียบเทียบกันช่วงก่อนและหลังนโยบาย 20 บาทตลอดสาย พบว่าจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 2,996 คนต่อวัน หรือคิดเป็น 12.01% ขณะที่รายได้ลดลงอยู่ที่ 171,330 บาทต่อวัน หรือคิดเป็น 23.63%

ส่วนวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จำนวนผู้โดยสารก่อนใช้นโยบาย 20 บาทตลอดสาย อยู่ที่ 16,002 คนต่อวัน มีรายได้ 512,096 บาทต่อวัน หลังนโยบาย 20 บาทตลอดสาย ผู้โดยสารอยู่ที่ 19,925 คน รายได้ 387,600 บาท

ทั้งนี้เมื่อนำข้อมูลจำนวนผู้โดยสารและรายได้เปรียบเทียบกันช่วงก่อนและหลังนโยบาย 20 บาทตลอดสาย พบว่า จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 3,923 คน หรือคิดเป็น 22.52% ขณะที่รายได้ลดลง 124,496 บาทต่อวัน หรือคิดเป็น 24.31%

ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีแดงมีให้บริการ 25 ขบวน ยังเพียงพอต่อการใช้บริการที่สามารถรองรับผู้โดยสารใช้บริการได้สูงสุดถึง 200,000 คนต่อวัน

อย่างไรก็ตาม การเดินทางข้ามสายระหว่างรถไฟฟ้าสายสีแดงและรถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้น ขณะนี้ธนาคารกรุงไทยอยู่ระหว่างการพัฒนาซอฟแวร์ คาดว่าสามารถใช้บริการสายสีแดงและสายสีม่วงข้ามระบบได้ ช่วงเดือน พ.ย.66 และไม่เกิน 1 ธ.ค.66 ซึ่งจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย อยู่ที่สถานีบางซ่อน ก่อนมีโนยาย 20 บาทตลอดสายมีผู้ใช้บริการอยู่ที่ 300 คนต่อวัน และหลังมีนโยบาย 20 บาทใช้บริการอยู่ที่ 500 คนต่อวัน เพิ่มขึ้น 200 คนต่อวัน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img