วันอาทิตย์, มิถุนายน 23, 2024
หน้าแรกNEWSธปท.เตรียมระงับ ‘บัญชีม้า’ ในชื่อบุคคล หากพบเส้นทางการเงินของมิจฉาชีพ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ธปท.เตรียมระงับ ‘บัญชีม้า’ ในชื่อบุคคล หากพบเส้นทางการเงินของมิจฉาชีพ

ธปท.เตรียมระงับ ‘บัญชีม้า’ ในชื่อบุคคล จากเดิมระงับแค่รายบัญชี หากพบเส้นทางการเงินของมิจฉาชีพ อายัดทันทีทุกบัญชีและเปิดบัญชีใหม่ไม่ได้ เตรียมยกระดับเข้ม รายชื่อผู้ถูกแจ้งความหรือมีส่วนเกี่ยวข้องมิจฉาชีพ จะถูกติดตามเป็นกลุ่มเสี่ยง วางระบบแชร์ข้อมูล ‘ข้ามธนาคาร’

วันที่ 13 มิ.ย.67 นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า ปีที่แล้วได้มีการออกพระราชกำหนด (พรก.) มาตรการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 วัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อจัดการกับบัญชีม้าที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการรับเงินและถ่ายโอนเงินจากการกระทำผิด และแลกเปลี่ยนเส้นทางเงินเพื่อสนับสนุน การสืบสวนของเจ้าหน้าที่ อีกทั้ง พรก. ยังได้กำหนดโทษเอาผิดกับบัญชีม้าให้ชัดเจนขึ้น


อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา การจัดการกับบัญชีม้ายังมีข้อจำกัด ในครั้งนี้ ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงร่วมกันยกระดับการจัดการบัญชีม้าให้เข้มงวดขึ้น เพื่อให้ธนาคารป้องกันความเสี่ยง และแก้ไขปัญหาการหลอกลวงออนไลน์ ที่เกิดกับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจะดูแลให้กระทบประชาชนผู้สุจริตน้อยที่สุด


โดยหลังจากนี้จะระงับบัญชีม้าใน ‘รายชื่อบุคคล’ จากเดิมที่ระงับ ‘รายบัญชี’ ซึ่งหมายถึง หากพบว่า รายชื่อใดที่ระบุและพบว่ามีบัญชีอยู่ในเส้นทางการเงินของมิจฉาชีพ จะถูกอายัดในทุกบัญชี และจะเปิดบัญชีใหม่ไม่ได้เช่นกัน


การยกระดับมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ประกอบด้วยมาตรการ 2 กลุ่ม ได้แก่


กลุ่มที่ 1 การยกระดับการจัดการบัญชีม้า ปรับจากการดำเนินการระดับ “บัญชี” เป็นระดับ “บุคคล” รวมถึงการจัดการบัญชีต้องสงสัยได้เร็วขึ้น และดำเนินการเข้มข้นขึ้น ทั้งบัญชีในปัจจุบันและการเปิดบัญชีใหม่ โดยการกวาดล้างบัญชีม้าในระบบ ด้วยการจัดการทุกบัญชีในทุกธนาคารของเจ้าของบัญชีต้องสงสัย ซึ่งธนาคารจะใช้ข้อมูลจาก 3 แหล่ง คือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) , ระบบข้อมูล Central Fraud Registry (CFR) , ฐานข้อมูล CFR (ม้าเทา) ซึ่งเป็นรายชื่อที่ผู้ถูกแจ้งความหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งบัญชีกลุ่มนี้จะถูกติดตามทันทีว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งธนาคารสามารถเห็นข้อมูลกลุ่มม้าเทานี้ ‘ข้ามธนาคาร’ ได้ โดยธนาคารมีการออกหนังสือเวียนฯ ในช่วงต้นเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา


ข้อมูลบัญชีที่ธนาคารตรวจสอบว่า มีพฤติกรรมต้องสงสัย เช่น บัญชีที่โอนเงินเข้า-ออกมูลค่าน้อยในเวลาสั้น ๆ หลายครั้ง ก่อนมีเงินโอนเข้า-ออกมูลค่าสูง เพื่อจัดระดับความเสี่ยงในการดำเนินการกับบัญชีเหล่านั้น ซึ่งทุกธนาคารจะมีมาตรฐานเดียวกัน เช่นการระงับการใช้บัญชีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ทันที พิสูจน์ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมตามระดับความเสี่ยง ซึ่งจะทำให้การกวาดล้างบัญชีม้าทำได้ครอบคลุมและรวดเร็วขึ้น ฝ่ายกลยุทธ์สื่อสารและความสัมพันธ์องค์กร Communications Department การเพิ่มความเข้มงวดในการเปิดบัญชีใหม่ให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีพฤติกรรมผิดปกติ เพื่อป้องกันการเกิดบัญชีม้าใหม่ โดยธนาคารจะตรวจสอบความเสี่ยงของลูกค้าจากฐานข้อมูล หรือแหล่งข้างต้น หากพบลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูงมาเปิดบัญชี ทุกธนาคารต้องดำเนินการตามระดับความเสี่ยงด้วยมาตรฐานเดียวกัน เริ่มตั้งแต่ต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับเข้มข้น ไม่ให้เปิดบัญชีผ่านช่องทางออนไลน์ ให้เปิดบัญชีแบบมีเงื่อนไข ไม่ให้ใช้บริการผ่านช่องทาง mobile banking ไปจนถึงการปฏิเสธไม่ให้เปิดบัญชีทุกช่องทาง ทั้งแบบออนไลน์และที่สาขา


ในการนี้ ธปท.ได้ออกหนังสือเวียน เรื่อง การเพิ่มความเข้มงวดในการจัดการบัญชีเงินฝากหรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ในกรณีลูกค้ามีความเสี่ยงสูง หรือใช้บัญชีที่มีลักษณะหรือพฤติกรรมผิดปกติ เพื่อให้ธนาคารนำข้อมูลรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงในระบบ CFR มาใช้ข้ามธนาคาร เพื่อดำเนินการกับบัญชีต้องสงสัยได้ครอบคลุมและรวดเร็ว รวมทั้งเป็นมาตรฐานเดียวกัน


กลุ่มที่ 2 การมีผลิตภัณฑ์หรือบริการเพิ่มเติมเพื่อดูแลธุรกรรมของลูกค้าให้ปลอดภัยมากขึ้นธปท. กำหนดให้ธนาคารมีผลิตภัณฑ์หรือบริการเพิ่มเติมเพื่อดูแลให้ลูกค้าใช้บริการดิจิทัลได้ปลอดภัยขึ้น ได้แก่ การล็อควงเงินที่ห้ามทำธุรกรรมออนไลน์ โดยการปลดล็อควงเงินดังกล่าวให้ทำได้ยากขึ้น และ/หรือ การปรับลดวงเงินต่อครั้งในการสแกนใบหน้าการทำธุรกรรมบน mobile banking ต่ำกว่า 50,000 บาท
นอกจากนี้ ธนาคารแต่ละแห่งจะเสนอบริการเพื่อดูแลลูกค้า เพิ่มเติมได้ เช่น การโอนเงินที่อาศัยบุคคลอื่นช่วยอนุมัติ (double authorisation) ,การโอนเงินเฉพาะรายชื่อที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะเริ่มเห็นการให้บริการตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2567


ทั้งนี้ พบว่ามูลค่าความเสียหายจากการทุจริตทางการเงินทุกประเภท จากการแจ้งความ online ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 มี.ค. 65 – 31 พ.ค. 67 มีกว่า 63,000 ล้านบาท มากสุด 36% คือการหลอกลงทุน รองลงมา 28% คือการหลอกโอนเงิน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img