วันศุกร์, กันยายน 20, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightย้ำไทยไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยตามเฟด 'ธปท.'ชี้กนง.เน้น 3 ปัจจัยหลักในประเทศ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ย้ำไทยไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยตามเฟด ‘ธปท.’ชี้กนง.เน้น 3 ปัจจัยหลักในประเทศ

เศรษฐพุฒิ” ย้ำเฟดลดดอกเบี้ย กนง.ไม่จำเป็นต้องลดตาม  ยกเว้นมีเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถเรียกประชุมด่วนได้  ชี้ต้องชั่งน้ำหนักด้วยว่ากระตุ้นเศรษฐกิจ –ก่อหนี้ใหม่มากแค่ไหน

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยว่า  การลดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด 0.50% ถือว่าค่อนข้างเยอะ สะท้อนว่า เฟดเพิ่มน้ำหนักในการดูแลเศรษฐกิจและการจ้างงาน ลดน้ำหนักเรื่องเงินเฟ้อลง  ทำให้สบายใจว่า ในแง่การชะลอตัวเศรษฐกิจของสหรัฐจะชะลอตัวไม่รุนแรง( Soft Landing) มากขึ้น โอกาสที่จะ Hard Landing ก็น้อยลง

“ผลกระทบปรับลดอกเบี้ยของเฟด เป็นไปตามคาดการณ์ และตลาดรวมรับรู้ไปแล้ว ส่งผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าพอสมควร และทำให้ราคาทองคำโลกทำ All New High  และทำให้ค่าเงินในภูมิภาครวมถึงไทยที่แข็งค่าขึ้น ส่วนผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาจไม่ร้ายแรงมาก เนื่องจากระบบเศรษฐกิจพึ่งแหล่งเงินจากธนาคารพาณิชย์”

ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงิน(กนง.)ของไทยจะเน้นภายในประเทศเป็นหลัก 3 ปัจจัยหลักคือ  1.เศรษฐกิจจะเข้าสู่ศักยภาพหรือไม่ 2.อัตราเงินเฟ้อจะเข้ากรอบเป้าหมายหรือไม่ 3. เสถียรภาพการเงิน  โดย 3 ปัจจัยยังไม่เห็นอะไรที่เปลี่ยนไปจากประเมิน ยกเว้นเสถียรภาพการเงินที่เห็นว่า Credit Risk สูงขึ้น ทำให้สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ชะลอตัว ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบตึงตัวขึ้น

“เราไม่ได้กำหนดว่าดอกเบี้ย จะต้องอยู่ในระดับใด แต่เป็นการมองข้อมูลไปข้างหน้าว่า ทิศทางจะเป็นอย่างไร และไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยตามเฟดทันที เพราะยังมีเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ที่เราไม่ได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่แบบฮ่องกงที่ต้องลดทันที” 

ส่วนแรงกดดันให้กนง.ปรับลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปนั้น ธปท.ได้รับแรงกดดันเรื่องนโยบายดอกเบี้ยมาโดยตลอดอยู่แล้ว ส่วนการประชุมกนง.ยังเป็นไปตามกำหนดการเดิมคือครั้งต่อไป 16 ต.ค. แต่หากปัจจัยต่างๆเปลี่ยนไปจากที่คาดการณ์มากก็สามารถเรียกประชุมฉุกเฉินได้ 

โดยธปท.ติดตามดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด จากความเป็นห่วงความผันผวน โดยล่าสุดเงินบาทแข็งค่าแล้ว 3.1% จากต้นปีและมีความผันผวนมากขึ้น หลักๆ มาจากเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง จากการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ซึ่งเป็นไปตามกลกตลาด

อย่างไรก็ตาม การที่เงินบาทไทยเคลื่อนไหวผัวผวนมากกว่าภูมิภาค เพราะมีปัจจัยเฉพาะ จากการที่เงินบาทไทยผูกกับการซื้อขายทองคำมาก แต่ยังถือว่า ไม่ได้ผันผวนที่สุดในภูมิภาค ซึ่งเดิมอาจจะผันผวนเท่าๆกับค่าเงินของมาเลเซียและอินโดนีเซีย แต่ล่าสุดผันผวนใกล้เคียงเกาหลีใต้และญี่ปุ่น

​​​สำหรับการปรับลดดอกเบี้ยจะต้องพิจารณาและชั่งน้ำหนักว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากแค่ไหน และจะกระตุ้นหนี้ใหม่เยอะแค่ไหน โดยปัจจุบันจะเห็นว่าครัวเรือนมีปัญหาหนี้ไม่น้อย แต่จะเห็นว่าในสัดส่วนหนี้ มีทั้งอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) และดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) ดังนั้น ไม่ใช่ลดดอกเบี้ยปุ๊บภาระหนี้จะลดลงทันที

ขณะเดียวกัน จะเห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวลักษณะ K-shape แต่จะเห็นว่า K ขาล่างฐานกว้างขึ้น ซึ่งดอกเบี้ยเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่มี ภายใต้การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ Policy Mixed ทำให้มาตรการลดภาระหนี้ของคน เช่น กลุ่มเปราะบางลดดอกเบี้ยไม่ได้ผลมากเท่าการช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ก่อน และหลังเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)

“การลดดอกเบี้ยลิงก์กับหนี้อย่างไร เป็นสิ่งที่เราต้องชั่งน้ำหนัก โดยจะมีผล 2 ส่วนคือ ลดดอกเบี้ยมีผลต่อหนี้เก่าอย่างไร และหากลดดอกเบี้ย สินเชื่อก็ขึ้นเร็ว หนี้ใหม่เพิ่มขึ้นเร็ว ดังนั้น เราต้องชั่งน้ำหนักทั้ง 2 ตัว เราไม่อยากเห็นหนี้ครัวเรือนโตพุ่ง แต่เราก็ไม่อยากให้เหยียบเบรก”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img