วันพุธ, พฤศจิกายน 13, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSนายกฯพร้อมเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับพันธมิตรภายนอก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

นายกฯพร้อมเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับพันธมิตรภายนอก

นายกฯ แพทองธาร กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 19 ย้ำจุดยืนไทยต่อสถานการณ์โลกเรียกร้องสันติภาพในเมียนมา-ทะเลจีนใต้-คาบสมุทรเกาหลี-ตะวันออกกลาง พร้อมเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับพันธมิตรภายนอก และเน้นย้ำการปล่อยตัวประกันชาวไทย 6 คนในฉนวนกาซา

เมื่อเวลา 11.10 น.วันที่ 11 ต.ค. ในวันที่ 3 ของการประชุม นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 19 (19th East Asia Summit: EAS) โดยนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้  นายกรัฐมนตรีได้ กล่าวชื่นชมบทบาทและความเป็นผู้นำของ สปป. ลาว ในฐานะประธานอาเซียนในปีนี้ พร้อมเน้นย้ำประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกนี้ ยังเป็นเวทีสำคัญ โดยประเทศไทย ยืนยันความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับทุกพันธมิตร เพื่อให้แผนปฏิบัติการ EAS (EAS Plan of Action) ที่ได้รับการรับรองเมื่อปีที่ผ่านมา รวมทั้งมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific: AOIP) เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับพันธมิตรภายนอกทั้งหมด เพื่อสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และผลประโยชน์ร่วมกัน โดยประเทศไทยจะสนับสนุนการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและการบูรณาการอย่างเต็มที่

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้แบ่งปันมุมมองในประเด็นที่มีข้อห่วงกังวลร่วมกัน  อาทิ ประเด็นของประเทศเมียนมา ซึ่งไทยยังคงมุ่งมั่นต่อฉันทามติ 5 ข้อ (Five-Point Consensus) และสนับสนุนการมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการมีเมียนมาที่สงบสุข มีเสถียรภาพ และเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งในขณะที่มีการเรียกร้องให้ลดความรุนแรง ประเทศไทยให้ความสำคัญกับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยมอบเงินเพิ่มเติมจำนวน 290,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ศูนย์ประสานงานอาเซียน เพื่อความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการจัดการภัยพิบัติ (AHA Centre) สนับสนุนความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนเมียนมา สะท้อนถึงแนวทางการดำเนินงานที่สร้างสรรค์และเป็นรูปธรรมของไทยในฐานะส่วนหนึ่งของความพยายามร่วมกันของประชาคมอาเซียน 

ส่วนประเด็นต่างๆ ในทะเลจีนใต้นั้น ควรเป็นทะเลแห่งสันติภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยไทยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้สถานการณ์ซับซ้อนขึ้น โดยประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ที่เป็นรูปธรรมภายใต้ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration of the Conduct of Parties in the South China Sea – DOC) ขณะเดียวกัน ต้องพยายามผลักดันให้สรุปแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct in the South China Sea: COC) โดยเร็ว ซึ่งจะต้องมีเนื้อหาสาระและมีประสิทธิผลสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ปี ค.ศ. 1982 (UNCLOS)

สำหรับประเด็น ปัญหาในคาบสมุทรเกาหลี  ประเทศไทยมีความกังวลกับความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น โดยขอเรียกร้องให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (DPRK) ปฏิบัติตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยประเทศไทยพร้อมที่จะร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อบรรลุสันติภาพและเสถียรภาพอย่างยั่งยืนในคาบสมุทรเกาหลีที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ต่อไป

ส่วนประเด็นสถานการณ์ในตะวันออกกลาง  ประเทศไทยมีความกังวลอย่างยิ่งต่อความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นและสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมที่เลวร้ายลงในฉนวนกาซา โดยขอเรียกร้องให้ยุติการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ทั้งหมด และเรียกร้องให้มีการคุ้มครองพลเรือนตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งไทยยังสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างไม่มีข้อจำกัด และการบรรลุแนวทางแก้ไขปัญหาสองรัฐให้เป็นจริง (Two-State solution)

ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงการเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวตัวประกันทั้งหมดโดยทันที ซึ่งขณะนี้ยังมีคนไทยจำนวน 6 คน ที่ถูกจับกุมตัวอยู่ในฉนวนกาซา

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img