วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘ดัชนีฯผู้บริโภค’เดือนต.ค.ดีดปรับตัวขึ้น ครั้งแรกรอบ8เดือนรับผลบวกแจก1หมื่น
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ดัชนีฯผู้บริโภค’เดือนต.ค.ดีดปรับตัวขึ้น ครั้งแรกรอบ8เดือนรับผลบวกแจก1หมื่น

“ธนวรรธน์”เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค.อยู่ที่ระดับ 56 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8  เดือน หลังคลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วม -แจกเงินหมื่น

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า จากการสำรวจตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศจำนวน 2,242 คน  พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนต.ค.67 อยู่ที่ระดับ 56.0 จากเดิมอยู่ที่ 55.3 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนนับตั้งแต่เดือนมี.ค.2567 เป็นต้นมา

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม อยู่ที่ 49.6 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำ อยู่ที่53.5 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 65.1 ปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนเช่นกัน

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น มาจากผู้บริโภคมีคลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วม ดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ ให้แก่กลุ่มเป้าหมายรวม 14.55 ล้านคน โดยเริ่มทำการโอนเงิน 10,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. 2567 เป็นต้นไป

สำหรับดัชนีฯ ทุกตัวปรับขึ้นยกแผง เป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ผู้บริโภคเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวก จากที่การบริโภคเริ่มดีขึ้น เริ่มมีความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจในอนาคตที่สดใสและโดดเด่น ปัจจัยสำคัญเพราะคลายกังวลปัญหาน้ำท่วม และน้ำจะไม่ท่วมกรุงเทพ หรือน้ำท่วมหนักในภาคอื่นๆและการได้รับเงิน 10,000 บ. ช่วยให้การจับจ่ายใช้สอยคล่องตัวขึ้น ”

อย่างไรก็ตามแม้ดัชนีปรับตัวขึ้นยกแผงแต่ก็เป็นการปรับขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ผู้บริโภคหวังว่าในอนาคตจะปรับตัวดีขึ้นเรื่อย โดยการแจกเงินหมื่นได้มีการจับจ่ายใช้สอยไปแล้ว แต่ก็ยังมีการเก็บเงินไว้อีก 10-20 % ซึ่งเงินที่ใช้ไปแล้วน่าประมาณ 1-2 แสนล้านบาทที่เคลื่อนลงสู่ระบบเศรษฐกิจแต่ยังไม่สร้างความคึกคัก ทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวขึ้นเล็กน้อย

ดังนั้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีจึงมีความสำคัญ  ซึ่งรัฐบาลเองก็มองเห็นในจุดนี้ว่า การให้เงินดิจิทัลเฟส 2 จึงมีความจำเป็น และรัฐบาลเน้นการปรับโครงสร้างหนี้ ปรับลดเงินกองทุนฟื้นฟู แก้ไขปัญหาหนี้ภาคประชาชนและหนี้ภาคเอกชน

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนยังระมัดระวังการใช้จ่าย สะท้อนได้จากดัชนีความเหมาะการซื้อบ้านซื้อรถใหม่ยังติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 แม้จะรู้สึกว่าเศรษฐกิจดีแต่ไม่กล้าใช้เงินซื้อบ้าน ซื้อรถใหม่ ไปท่องเที่ยว ส่วนดัชนีการเมืองยังไม่ดีแต่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าเดิม  ส่วนดัชนีภาวะค่าครองชีพก็ยังลดต่อเนื่องที่ 8 และต่ำสุดในรอบ 18 เดือน ชี้ให้เห็นว่า แม้จะมีการเติมเงินลงในระบบเศรษฐกิจประชาชนก็ยังรู้สึกว่า ของแพงเมื่อเทียบรายได้ที่มี ซึ่งเป็นตัวบั่นทอนภาพของการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนแสดงว่า กำลังซื้อไม่มี ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ  

ทั้งนี้ม.หอการค้าไทยจึงยังประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้ 2.6 – 2.8 %  เฉลี่ยอยู่ที่ 2.7 %  พราะเศรษฐกิจไทยไม่ได้มีสัญญาณฟื้นตัวที่โดดเด่น  ซึ่งเศรษฐกิจจะขยายตังโดดแด่นได้จะมาจาก การส่งออกที่ขยายตัวได้ 2.5 – 3 %  จำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนพ.ย.และธ.ค.เฉลี่ยมากกว่า 3 ล้านคนต่อเดือน  ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวทั้งปีได้ตามเป้าหมาย 36 ล้านคน   ราคาสินค้าเกษตรดีต่อเนื่อง รัฐบาลเบิกจ่างบประมาณ รวดเร็วและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img