วันเสาร์, ธันวาคม 28, 2024
หน้าแรกHighlight“สศก.”ประเมินปี2568“ผลไม้ไทย6ชนิด” ผลผลิตแตะ3.68ล้านตัน-เพิ่มขึ้น12.72%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สศก.”ประเมินปี2568“ผลไม้ไทย6ชนิด” ผลผลิตแตะ3.68ล้านตัน-เพิ่มขึ้น12.72%

“สศก.” ประเมิน “ผลไม้ไทย 6 ชนิด” ในปี 68 ตัวเลขการผลิตอยู่ที่ 3.68 ล้านตัน โดยเกษตรกรเพิ่มพื้นที่ปลูกทุเรียนส่งผลให้ผลผลิตอยู่ที่ 1.66 ล้านตัน คาดเริ่มทยอยเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ก.พ.68

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ปี 2568 คาดว่ามีปริมาณผลผลิตไม้ผลทั้ง 6 ชนิด ประมาณ 3.68 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.42 ล้านตัน หรือร้อยละ 12.72 จากปี 2567 อยู่ที่ 3.26 ล้านตัน โดย…

1.ทุเรียน มีปริมาณผลผลิต 1.66 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น 370,251 ตัน หรือร้อยละ 28.75 จากเดิมที่มีจำนวน 1.29 ล้านตัน

2.เงาะ มีปริมาณผลผลิต 0.21 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 9,670 ตัน สัดส่วนร้อยละ 4.76 จากเดิมที่มีจำนวน 0.20 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น 9,670 ตัน สัดส่วนร้อยละ 4.76

3.มังคุด มีปริมาณผลผลิต 0.28 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 7,280 ตัน หรือสัดส่วนร้อยละ 2.67 จากเดิมที่มีจำนวน 0.27 ล้านตัน

4.ลองกอง มีปริมาณผลผลิต 0.05 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2,413 ตัน สัดส่วนร้อยละ 5.11 จากเดิมที่มีจำนวน 0.047 ล้านตัน

5.ลำไย มีปริมาณผลผลิต 1.46 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 16,388 ตัน หรือสัดส่วนร้อยละ 1.14 จากเดิมที่มีจำนวน 1.44 ล้านตัน

6.ลิ้นจี่ มีปริมาณผลผลิต 0.02 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 9,138 ตัน หรือสัดส่วนร้อยละ 63.75 จากเดิมที่มีจำนวน 0.01 ล้านตัน

“ภาพรวมเนื้อที่เพาะปลูกของไม้ผลทุกชนิดลดลง ยกเว้นทุเรียนที่มีเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและทุเรียนที่ปลูกในปี 2563 เริ่มให้ผลผลิตได้ในปีนี้”นางธัญธิตา กล่าวและว่า โดยจะเริ่มต้นฤดูกาลผลไม้ไทยปี 2568 ด้วยผลไม้ของภาคตะวันออก ซึ่งจะทยอยออกสู่ตลาด ที่จะทยอยเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นไป ขณะที่ภาคเหนือจะเริ่มออกสู่ตลาดเดือนมีนาคม และภาคใต้เริ่มออกตลาดเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ ข้อมูลผลพยากรณ์ผลผลิต ปี 2568 เป็นผลการคาดการณ์จากในระยะที่ไม้ผลอยู่ระหว่างการเตรียมต้นและออกดอก ซึ่งทาง สศก. จะติดตามสถานการณ์การผลิตอย่างต่อเนื่องต่อไป และจะมีการพยากรณ์ไม้ผลรอบสองอีกครั้งในเดือนมีนาคม 2568 เนื่องจากผลไม้มีความอ่อนไหวต่อสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ได้ปริมาณการผลิตไม้ผลนำเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) และให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับกระทรวง กรม และจังหวัดได้นำข้อมูลผลพยากรณ์ผลผลิตไปใช้ประโยชน์ในการเตรียมมาตรการนโยบายในการบริหารจัดการผลไม้ต่อไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img