วันพุธ, มกราคม 1, 2025
หน้าแรกNEWS‘กัญจนา’ ร่ายยาว ปม ‘เฉลิมชัย’ เร่งทดลอง ‘วัคซีนคุมกำเนิดช้างป่า’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘กัญจนา’ ร่ายยาว ปม ‘เฉลิมชัย’ เร่งทดลอง ‘วัคซีนคุมกำเนิดช้างป่า’

‘กัญจนา’ ร่ายยาว ปม ‘เฉลิมชัย’ เร่งทดลอง ‘วัคซีนคุมกำเนิดช้างป่า’ บอกคงมิบังอาจแนะนำ แต่พวกท่านต้องรู้หน้าที่ เพิ่มพื้นที่ป่า ไม่ใช่ลดจำนวนสัตว์ป่า

วันที่ 29 ธ.ค.67 นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา โพสต์

”ความเห็นส่วนตัวของดิฉันต่อนโยบายทำหมันช้างป่าของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม….

1. ภารกิจหลักของกระทรวงนี้คือรักษาทรัพยากรธรรมชาติซึ่งนั่นรวมถึงสัตว์ป่าด้วย…

ให้อยู่ดำรงเผ่าพันธุ์ได้อย่าง ปกติสุข…เยี่ยงสมบัติชาติ…

2. ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง… ก็แน่นอนว่าเป็นภารกิจหนึ่งของกระทรวงนี้ที่ต้องหาทางแก้ไข…

ซึ่งได้มีการประชุมหาทางแก้ไขมาตลอดเวลาด้วยหลากหลายวิธี (ก่อนรัฐมนตรีท่านปัจจุบัน…)

3. หนึ่งในมาตรการหลักที่ได้ทำมาแล้ว และต้องทำอย่างต่อเนื่องก็คือสร้างแหล่งอาหาร นํ้า ในป่าให้กับช้างและสัตว์ป่า…

4. พยายามปลูกพืชที่ช้างไม่ชอบตามแนวกันชนขอบป่า…เพื่อว่า เมื่อช้างออกมา แล้วเจอพืชอาหารที่เขาไม่ชอบ ก็จะไม่มีแรงจูงใจให้ออกมา…

5. มีทีมเจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครในพื้นที่ คอยผลักดันช้างป่าให้กลับเข้าสู่เขตอุทยาน และมีการแจ้งเตือนประชาชน มีกล้องดักจับความเคลื่อนไหว…

ซึ่งการผลักดันช้างป่า ต้องใช้วิธีการที่ละมุนละม่อม ไม่ก่อให้เกิดความตื่นตระหนก จนโขลงแตกกระเจิง เสี่ยงต่อการมีลูกช้างป่าพลัดหลง เพราะลูกเล็กวิ่งตามโขลงไม่ทัน…

อันนี้โดรนดักจับความร้อนช่วยได้มาก เพื่อความปลอดภัยทั้งคนและช้าง …

รัฐ ต้องสนับสนุนทั้งเรื่องคนและอุปกรณ์

6. ดิฉันคิดว่าวิธีการแก้ไขปัญหาระหว่างคนกับช้างในแต่ละพื้นที่อาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทและสภาพแวดล้อม…

7. อย่างที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีเป็นตัวอย่างที่น่าชม เพราะสามารถทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้คนสามารถดูวิถีชีวิตของช้างป่าสัตว์ป่าได้ในระยะไกล โดยไม่ไปรบกวนสัตว์….

ซึ่งถ้าสามารถทำแบบนี้ได้ในที่ต่างๆก็จะดีมาก … แต่ก็คงต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม…

8. เมื่อทราบแนวความคิดของเจ้ากระทรวงที่จะทำหมันช้างป่า…

ดิฉันค่อนข้างตกใจ เพราะอยู่ๆก็มีเรื่องนี้ขึ้นมา แล้วจะทำทันทีในเดือนมกรา 68 นี้ …

จึงอยากทราบว่า มีการประชุมตกผลึกความคิดกันดีแค่ไหน ถามหมอช้าง ถามผู้รู้เรื่องสัตว์ป่ากันดีหรือยัง …

ยานี้ใช้ได้ผลที่ไหนมาบ้าง มีผลผลข้างเคียงอย่างไร ผลกระทบต่อช้างในระยะยาวคืออย่างไร จะยิงช้างตัวไหน เลือกอย่างไร

ถ้าไปยิงโดนช้างเพศเมียที่เขาตั้งท้องอยู่จะทำยังไง ใครจะตามไปดูชีวิตเขาในป่า ..

คำถามเหล่านี้มีคำตอบไหม ?

9. อีกทั้งการเอาช้างป่าไปขังคอกอ้างว่าเพื่อปรับพฤติกรรม อย่างที่ที่ทำกับพลายไข่นุ้ยที่พังงา..

ขอถามว่า..กระบวนการปรับพฤติกรรมเริ่มหรือยัง

ขังเขามาน่าจะ 2 ปีกว่าแล้วและยังจะทำอีกถึง 3 ที่ใช้งบประมาณ 27,000,000. บาท…

การที่ช้างถูกกักบริเวณเดินวนอยู่อย่างนั้น ไม่มีทางปรับพฤติกรรมได้มีแต่จะเพิ่มความเครียด..

ลองคิดดูถ้าตัวเราถูกกักบริเวณที่ใดที่หนึ่งทั้งชีวิต จะมีความสุขไหม…ใจเขาใจเรา …

หมดเวลาที่จะมาเถียงกันว่าช้างบุกรุกพื้นที่คนหรือคนบุกรุกพื้นที่ป่าของช้าง…

แต่ต้องหาทางอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข..ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องมีบทบาทหลัก

ซึ่งต้องฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน และยึดบทบาทหน้าที่ของกระทรวงเป็นหลัก

ซึ่งคือการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน…

เพิ่มพื้นที่ป่า …

ไม่ใช่ลดจำนวนสัตว์ป่า…

ส่วนเรื่องการท่องเที่ยว เขามีกระทรวงของเขาอยู่แล้ว…

ดิฉันคงไม่บังอาจไปชี้แนะพวกท่านได้…แต่พวกท่านควรรู้หน้าที่ของตัวเอง…“

ทั้งนี้ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ได้ประชุมแนวทางแก้ไขปัญหาช้างป่าแบบยั่งยืน โดยการเร่งทดลองวัคซีนคุมกำเนิดปี68 เพื่อลดผลกระทบประชาชน

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาช้างป่าอย่างยั่งยืน และมาตรการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยช้างป่า ร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาติดตามผลการดำเนินงานและศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาช้างป่าอย่างยั่งยืน รวมทั้งมาตรการเยียวยาความเสียหายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ สภาผู้แทนราษฎร โดย ดร.ชญานันท์ ภักดีจิตต์ รองปลัดกระทรวงฯ พร้อมด้วยผู้แทนจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมหารือ ที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (24 ธันวาคม 2567)

ดร.เฉลิมชัย รมว.ทส. กล่าวว่า ปัจจุบันในประเทศไทยมีปริมาณช้างกว่า 4,000 ตัว ซึ่งมีอัตราการเกิด 7 – 8 % ต่อปี หากไม่หยุดยั้งอัตราการเกิดของช้างตั้งแต่วันนี้ จะส่งผลให้อีก 4 ปี ข้างหน้า มีจำนวนช้างมากถึง 6,000 ตัว ในขณะที่มีพื้นที่ป่าเท่าเดิม หรือน้อยกว่าเดิม อันจะนำไปสู่ปัญหาช้างป่าที่สร้างความเสียหายต่อพืชผลทางเกษตรและประชาชนได้

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหยุดยั้งอัตราการเกิดใหม่ของช้างป่า เพื่อให้ธรรมชาติกับมนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

สำหรับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้กำหนดแผนดำเนินการทดลองและขยายผลการใช้วัคซีนกับช้างป่า ตามโครงการทดลองให้วัคซีนคุมกำเนิดแก่ช้างป่าในพื้นที่ภาคตะวันออก ในช่วงเดือนมกราคม 2568 ซึ่งหากได้ผลเป็นที่น่าพอใจจะขยายผลการดำเนินการใช้วัคซีนในช้างป่ากลุ่มอื่น ๆ และพื้นที่เป้าหมายอื่น ๆ ต่อไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img