วันศุกร์, มกราคม 3, 2025
หน้าแรกHighlightโพลเผย 10 อันดับ‘ยอดฮิต-ยอดแย่’ปี 67
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

โพลเผย 10 อันดับ‘ยอดฮิต-ยอดแย่’ปี 67


ซูเปอร์โพล”เปิดผลสำรวจ เรื่องอะไรยอดฮิต-ยอดแย่แห่งปี 2567 10 อันดับ

เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.67 ดร.ชาญวิชย์ อริยาวรนันต์ รักษาการผู้อำนวยการ สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง อะไรยอดฮิตยอดแย่แห่งปี 2567 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,105 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29-30 ธ.ค.67 ที่ผ่านมาพบว่า

10 อันดับยอดฮิตแห่งปี 2567
1.รายการโหนกระแส ได้ร้อยละ 82.7%
2.นักกีฬาทีมชาติไทย วอลเลย์บอลหญิงและฟุตบอลทีมชาติไทย ได้ร้อยละ 81.5%
3.เทคโนโลยีโซเชียลมีเดีย ได้ร้อยละ 80.3%
4.ท่องเที่ยวสายมูและไหว้พระ ได้ร้อยละ 77.2%
5.กาแฟไทยและชาไทย ได้ร้อยละ 74.1%
6.ขนมไทยเช่นลอดช่อง, ทับทิมกรอบ, บัวลอย, ขนมครก, ข้าวเหนียวมะม่วง ได้ร้อยละ 69.3%
7.ท่องเที่ยวชุมชนและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ได้ร้อยละ 68.1%
8.ออกกำลังกายและไลฟ์สไตล์สุขภาพ ได้ร้อยละ 65.5%
9.แฟชั่นและความงาม ได้ร้อยละ 58.1%
10.ซีรีส์เกาหลี ได้ร้อยละ 50.2%

10 อันดับยอดแย่แห่งปี 2567
1.คอนเทนท์ขยะในโซเชียลมีเดียและคดีแบงค์ เลสเตอร์ ร้อยละ 73.6%
2.ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชน ร้อยละ 71.8%
3.สื่อเป็นพิษและความรุนแรงในสื่อ ร้อยละ 70.4%
4.ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 68.9%
5.ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ร้อยละ 64.2%
6.ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 63.7%
7.ทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 60.3%
8.ภัยพิบัติธรรมชาติ เช่นน้ำท่วมและหมอกควัน ร้อยละ 58.4%
9.ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการเลือกปฏิบัติ ร้อยละ 57.3%
10.ความขัดแย้งทางการเมือง ร้อยละ 48.9%

การสำรวจผลโพลเรื่อง “อะไรยอดฮิตยอดแย่แห่งปี 2567” จากสำนักวิจัยซูเปอร์โพล ได้เปิดเผยถึงสิ่งที่ได้รับความสนใจและถูกใจ รวมถึงสิ่งที่ถูกตำหนิจากประชาชนไทยในปีนี้อย่างชัดเจน ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ทางสถิติที่ละเอียดอ่อน และการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างมากมายทั่วประเทศ ในห้วงเวลาที่เต็มไปด้วยความตื่นตัวและความท้าทาย สะท้อนให้เห็นความต่างของประเทศไทยในสายตาคนไทย ทั้งในด้านที่ส่องแสงแห่งความสำเร็จความสุขของประชาชนและในด้านที่ซุกซ่อนเงามืดแห่งความล้มเหลว

ข้อเสนอแนะภาพรวม:
1.การควบคุมคุณภาพเนื้อหาสื่อโซเชียลมีเดีย จำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานควบคุมคุณภาพเนื้อหาในโซเชียลมีเดีย รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ในหมู่ผู้ใช้งานเกี่ยวกับผลกระทบของคอนเทนต์ขยะ

2.การส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษา การเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาคุณภาพสูงให้แก่เยาวชนในทุกพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเผชิญหน้ากับการแข่งขันและความท้าทายในอนาคต

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img