วันอังคาร, มกราคม 7, 2025
หน้าแรกHighlightกูรูประเมินค่าเงินบาทปี2568“ผันผวนสูง” รับผลกระทบนโยบายการค้า“ทรัมป์ 2.0”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กูรูประเมินค่าเงินบาทปี2568“ผันผวนสูง” รับผลกระทบนโยบายการค้า“ทรัมป์ 2.0”

“พูน” มองค่าเงินบาทปีมะเส็งผันผวนสูง ท่ามกลางความไม่แน่นอนนโยบาย “ทรัมป์ 2.0” โดยเฉพาะนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาลใหม่ คาดเฟดหั่นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ ขณะที่กนง.ของไทยลดดอกเบี้ย 0.25%

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยถึงทิศทางค่าเงินบาทในปี 68 ว่า ตลาดการเงินมีแนวโน้มผันผวนสูงขึ้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล ทรัมป์ 2.0 ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดเผชิญความไม่แน่นอนของการดำเนินนโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลาง โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ซึ่งเรามองว่า ต้องจับตาการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาลใหม่ของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อาจชะลอลงช้ากว่าคาด หรือกลับมาเร่งตัวสูงขึ้น จนทำให้ เฟดลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่าคาด หรืออาจกลับมาเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้ เพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อ

ทั้งนี้เพื่อให้เห็นภาพความผันผวนของตลาดการเงินที่สูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนของนโยบายรัฐบาลทรัมป์ เราสามารถประเมินได้จาก ความผันผวนของเงินบาทในช่วงปี 2018 ที่รัฐบาลทรัมป์ 1.0 ได้เริ่มนโยบายกีดกันทางการค้า จนนำไปสู่สงครามการค้าในปีดังกล่าว ซึ่งความผันผวนของเงินบาท (1-month Volatility) ได้ปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับกว่า 5% โดยเฉลี่ย เมื่อเทียบกับความผันผวนเพียง 3.2% ในปี 2017

ซึ่งหากเมื่อประเมินจากแนวโน้มความผันผวนของเงินบาทที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังวิกฤต COVID-19 เป็นต้นมา ก็อาจพอประเมินได้ว่า ในปี 2025 นั้น เงินบาทก็มีแนวโน้มผันผวนในระดับสูงกว่าปกติชัดเจน และเสี่ยงเผชิญภาวะผันผวนสูงได้นาน ภายใต้นโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาล ทรัมป์ 2.0

อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นปี ก่อนที่โดนัลด์ ทรัมป์จะดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้า ในการทยอยเข้าซื้อ (Buy on any Dip) เงินดอลลาร์ โดยเรามองว่า มีโอกาสที่จะเห็นเงินบาทแข็งค่าแถวโซน 34.00 บาทต่อดอลลาร์ หรือ ต่ำกว่านั้นได้บ้าง เช่น โซน 33.50-34.00 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงต้นปี ซึ่งเงินบาทมักจะได้แรงหนุนจากปัจจัยพื้นฐาน อย่าง ช่วงไฮซีซั่นของการท่องเที่ยว

ทว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป หากโดนัลด์ ทรัมป์ เริ่มดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าได้จริงอย่างที่เราประเมินไว้ และนำไปสู่สงครามการค้ารอบใหม่ อาจกดดันให้เงินบาทเสี่ยงผันผวนอ่อนค่าลงต่อเนื่องสู่โซน 36 บาทต่อดอลลาร์ ได้ไม่ยาก (ซึ่งในช่วงไตรมาส 2 เงินบาทมักจะอ่อนค่าลงเป็นปกติอยู่แล้ว จากโฟลว์ธุรกรรมจ่ายเงินปันผลนักลงทุนต่างชาติและช่วงโลวซีซั่น)

แต่อาจพอได้ลุ้นการทยอยกลับมาแข็งค่าขึ้นได้บ้างของเงินบาทในช่วงปลายปี ตามปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อีกทั้งเรามองว่า นโยบายกีดกันทางการค้าของโดนัลด์ ทรัมป์จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงนัก (มีการย้ายฐานการผลิตหรือ Trade Diversion เพิ่มเติม) ส่วนการท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัวกลับสู่ระดับก่อน COVID ทำให้เงินบาทมีโอกาสกลับมาสู่โซน 34.50-35.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้

ส่วนกรอบเงินบาททั้งปี เบื้องต้นประเมินไว้ โซน 33.00-36.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยมองว่า เงินบาทมีความเสี่ยงที่อาจอ่อนค่าในโซน 35 บาทต่อดอลลาร์ หรืออ่อนค่ากว่านั้น ได้นานพอสมควร (เกิน 3 เดือน) หากรัฐบาล ทรัมป์ 2.0 เริ่มดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้

ส่วนธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟดมีแนวโน้มทยอยลดดอกเบี้ยลง 3 ครั้ง (Quarterly Cut) ในการประชุมเดือนมีนาคม มิถุนายน และกันยายน ทั้งนี้ ไม่ปิดโอกาสที่เฟดจะเดินหน้าลดดอกเบี้ยต่อได้ในการประชุมเดือนธันวาคม ซึ่งจะขึ้นกับผลกระทบจากการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล Trump 2.0 (ความเสี่ยงต่อคาดการณ์ของเรา คือ เฟดอาจลดดอกเบี้ยน้อยกว่าคาด หรือกลับมาเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย หากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เร่งตัวสูงขึ้นชัดเจน)

ด้านคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง. คาดว่าจะลดดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้งสู่ระดับ 2.00% ในการประชุมเดือนเมษายน จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.25% แต่อาจลดดอกเบี้ยมากกว่าคาดได้ ขึ้นกับแนวโน้มเศรษฐกิจ ภาวะสินเชื่อ ซึ่งต้องติดตามผลกระทบจากนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img