วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 22, 2025
หน้าแรกHighlight“สส.7พรรคการเมือง”ไม่ทน!ชงญัตติด่วน รุมถล่ม“พิชัย-นฤมล”แก้ราคาข้าว“ไร้ผล”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สส.7พรรคการเมือง”ไม่ทน!ชงญัตติด่วน รุมถล่ม“พิชัย-นฤมล”แก้ราคาข้าว“ไร้ผล”

สภาระอุ “7 พรรคการเมือง” ทนไม่ไหว เสนอญัตติด่วน รุมถล่มมาตรการ “พิชัย-นฤมล” แก้ปัญหาราคา “ข้าว” ไม่ได้ผล ไม่เว้นพรรคต้นสังกัดซัดเต็มข้อ “สส.เพื่อไทย” ถามใครในกระทรวงพาณิชย์ ไม่ติดตามงานจนเลยเถิดมาถึงตอนนี้ ไล่บี้ ยังหลงระเริงว่าไทยเป็น “เจ้าข้าวโลก” ด้าน “สส.ภูมิใจไทย” เมืองเก่าอู่ข้าวอู่น้ำ นั่งไม่ติด ไม่รู้จะตอบชาวบ้านในเขตตัวเองว่ายังไง ขณะ “ชาติไทยพัฒนา” เดือด! จี้ เคยสัมผัสไหมความหิวเป็นยังไง เจ้าหนี้มารออยู่หน้าประตูบ้าน จนต้องออกมาประท้วง

วันที่ 20 ก.พ. 2568 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ทั้งนี้ภายหลังเสร็จสิ้นวาระรับทราบรายงานที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ปรากฏว่า สส.พรรคต่างๆ พากันเสนอญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่องขอให้สภาพิจารณามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาที่เพาะปลูกข้าว อันเนื่องมาจากราคาตกต่ำ ถึง 5 ญัตติจาก 5 พรรคการเมือง ได้แก่ พรรคเพื่อไทย , พรรคภูมิใจไทย , พรรครวมไทยสร้างชาติ , พรรคประชาชน , พรรคชาติไทยพัฒนา นอกจากนี้ ยังมีญัตติที่บรรจุอยู่ในวาระแล้วและมีเนื้อหาคล้ายกัน ของพรรคไทยสร้างไทยและพรรคกล้าธรรม นำมาพิจารณาพร้อมกัน รวม 7 ญัตติ

โดยการอภิปรายเสนอหลักการเป็นไปด้วยความดุเดือดถึงการสะท้อนปัญหาของเกษตรกร และโจมตีไปที่มาตรการรองรับของกระทรวงพาณิชย์ ภายใต้การบริหารของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ ที่แม้แต่พรรคร่วมรัฐบาลก็ซัดกันอย่างดุเดือด โดยคนแรกที่เสนอหลักการคือนายนพพล เหลืองทองนารา สส.พิษณุโลก พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นกล่าวว่า  ราคาข้าวตกต่ำเป็นประวัติการณ์ ปัจจัยการผลิตสูงขึ้น รวมถึงไม่มีทุนทรัพย์และไม่มีเงินชำระหนี้ ซึ่งชาวนาอยากให้รัฐบาลช่วยพยุงราคาข้าว

“คราวนี้เป็นการร้องขอครั้งแรกก็ว่าได้ในฤดูเพาะปลูกข้าวนาปรัง เพราะปกติแล้วพี่น้องแม้ราคาตกต่ำขนาดไหน เขาก็ไม่เคยขอร้องให้รัฐบาลช่วยเรื่องข้าวนาปรัง แต่เที่ยวนี้มันไม่ไหวจริงๆ” นายนพพล กล่าว

นายนพพล กล่าวต่อว่า ตนไม่เข้าใจจริงๆ ในเรื่องของราคาข้าวหรือมาตรการต่างๆที่จะช่วยเหลือพี่น้องชาวนา ทำไมเลยเถิดมาถึงทุกวันนี้ได้ เพราะสิ่งที่ตนหรือแม้แต่ผู้แทนในหลายจังหวัดของพรรคเพื่อไทย เราได้พยายามบอกกล่าวให้ท่านเห็นว่าในสถานการณ์ข้าวโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมันสุ่มเสี่ยงต่อราคาที่จะเกิดขึ้นที่จะตกต่ำในอนาคต พวกเราได้บอกกันมาตั้งแต่เดือน ก.ย. 2567 ตั้งแต่อินเดียประกาศส่งออกข้าว หลังจากงดส่งออกเป็นเวลา 2 ปี

“ไม่เข้าใจว่าเป็นองคาพยพของหน่วยงานหรือเป็นของใครกันแน่ในกระทรวงพาณิชย์ ที่ไม่ยอมที่จะได้ดูแลติดตามสถานการณ์จนเกิดเหตุการณ์ทำให้พี่น้องนั้นเดือดร้อน มีการตอบคำถามของผู้มีอำนาจบางท่านในกระทู้สดว่าไม่เคยมีรัฐบาลไหนได้ช่วย ผมจะบอกว่าปกติแล้วชาวนาก็ไม่เคยร้องขอ ถ้าไม่ได้ลดลงมามากเหมือนอย่างปัจจุบันนี้” นายนพพล กล่าว

นายนพพล ตั้งคำถามเชิงเหน็บแนมว่า นับตั้งแต่ปี 2523 – 2553 ตนคิดว่าช่วงนี้ เป็น 20 ปีที่ทำให้พวกเราทั้งหลายได้หลงระเริงกับความที่คิดว่าประเทศไทยเป็นเจ้าของข้าวโลก พวกเราละเลยกันไปว่าข้าวนั้นเป็นสินค้าที่ไม่เหมือนสินค้าประเภทอื่น เพราะฉะนั้น ความหลงระเริงตรงนี้ทำให้เราได้ไม่มีการพัฒนาเรื่องผลผลิตต่อไร่ ตนรักเกษตรกรมาก เพราะตนเป็นผู้แทนมาได้ ก็เพราะเกษตรกรให้มาเป็น

ขณะที่น.ส.พิมพฤดา ตันจรารักษ์ สส.อยุธยา พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า เราทราบปัญหามาสักระยะแล้ว พี่น้องชาวนาก็ใช้ความอดทนมานานแล้ว ตนเชื่อเหลือเกินว่าถ้าไม่ถึงที่สุด ไม่เหลืออด พี่น้องชาวนาจะไม่ออกมาชุมนุม ตากแดดรอคำตอบจากรัฐบาล แต่ที่ออกมาเร่งรัด เพราะจะถึงเวลาเก็บเกี่ยวแล้ว ทุกวันนี้ แพงทั้งปุ๋ย แพงทั้งยา ข้าวไม่งามก็ต้องใส่เข้าไปเพิ่มอีก

“ปีนี้รัฐบาลจะไม่มีมาตรการอะไรมาช่วยเลยเหรอคะ ราคาข้าวดี รัฐบาลก็เฉย ราคาตกต่ำรัฐบาลก็ยังอยู่เฉยได้เหรอคะ ต้องออกมารับมือกลับปัญหานี้ได้แล้วค่ะ เพราะช้าและรอไม่ได้” นางสาวพิมพฤดา กล่าว และว่า ตนแปลกใจมาก ทำไมรัฐบาลยังไม่ออกมาช่วยอีก เพราะรับบาลนี้เป็นรัฐบาลที่ชาวนาคาดหวังที่จะช่วยแก้ปัญหาปากท้อง ตนต้องถามกระทรวงพาณิชย์ว่ามาตรการช่วยเหลือจะพร้อมเมื่อไหร่ จะทันการหรือไม่

“ตัวดิฉันและเพื่อนสมาชิก ก็พูดตรงๆ ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรไปตอบกับพี่น้องชาวนาที่กำลังรอคำตอบอยู่ เพราะในแต่ละมาตรการที่ออกมาก็เชื่อว่าเพื่อนสมาชิกก็ไม่รู้จะตอบอะไรกับพี่น้องเกษตรกร “ นางสาวพิมพฤดา กล่าว

ด้านนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สส.สุพรรณบุรี พรรคชาติไทยพัฒนา อภิปรายเสนอ ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เคยบอกว่าตลาดนำ นวัตกรรมเสริมเพิ่มรายได้ เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด แต่ตอนนี้ไม่มีอะไร เพราะแค่นาปรังที่ออกมาราคายังตกขนาดนี้ และถ้านโยบายออกมาช้าเงินก็จะไม่ตกถึงมือพี่น้องประชาชน กรรมาธิการการเกษตรฯ เคยพูดคุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2567  ให้เตรียมรับมือกับสถานการณ์ ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวนา  ในฤดูกาลที่จะเก็บเกี่ยวนาปรัง ก่อนจะตั้งคำถามว่า เคยสัมผัสไหม ว่าความหิวเป็นยังไง เจ้าหนี้มารออยู่หน้าประตูบ้าน ความทุกข์ยากอย่างนี้ เขาถึงต้องออกมาประท้วงแบบนี้

“เปลี่ยนเถอะครับรัฐบาล มองไปข้างหน้าแล้วยังมีเกษตรกรที่ปลูกอีกหลายชนิด พืชผักผลไม้ต้องเผชิญกับการ ผันผวนทางราคา ถ้ารัฐบาลไม่มีนโยบาย ในการช่วยเหลือ ไม่รองรับรัฐบาลลำบากแน่ รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทำอะไรอยู่ครับ 24 ต.ค. ที่เราไปประชุม เราเตือนแล้ว มาวันนี้เป็นการสารภาพเลย ว่ายังไม่ทำอะไรเลย เพิ่งมาประชุมอนุ นบข. ตอน 14.00 น แล้วมันตกต่ำมาเท่าไหร่แล้ว กว่าจะออกมา ข้าวก็จะไปอยู่ในมือของโรงสี ในมือของพ่อค้าซะหมดก่อนก็ไม่ได้ช่วยพี่น้องเกษตรกรอยู่ดี 7-8 มาตรการมันควรทำตั้งแต่ 4 เดือนที่แล้ว”

ในส่วนของฝั่งฝ่ายค้าน นายณรงเดช อุฬารกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เสนอหลักการ ช่วงหนึ่งได้อ่านมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ พร้อมตั้งคำถามว่า “นี่หรือ มาตรการตามนโยบายตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ขระที่นายชัชวาล แพทยาไทย สส.ร้อยเอ็ด พรรคไทยสร้างไทย  เปรียบเทียบว่า ประเทศญี่ปุ่นเขาขายข้าวเป็นคำ แต่ประเทศไทยคิดเป็นกิโลกรัม ทำไมเขาทำได้

จากนั้น ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายอย่างกว้างขวาง

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img