วันจันทร์, มีนาคม 31, 2025
หน้าแรกNEWSเศรษฐกิจคู่ค้าฟื้นหนุนส่งออกม.ค.แตะ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โต 13.6% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เศรษฐกิจคู่ค้าฟื้นหนุนส่งออกม.ค.แตะ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โต 13.6% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7

“พูนพงษ์” เผยส่งออกม.ค.มีมูลค่า 25,277.0 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 13.6% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7แรงหนุนจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่เติบโตต่อเนื่อง คาดทั้งปีโต 2-3% แต่ต้องระวังความเสี่ยงสงครามทางการค้า

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)  เปิดเผยว่า  การส่งออกของไทยในเดือนม.ค. 2568 มีมูลค่า 25,277.0 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 13.6% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่  11.4% ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 27,157.2 ล้านดอลลาร์  ขยายตัว 7.9 %ดุลการค้า ขาดดุล 1,880.2 ล้านดอลลาร์

การส่งออกในเดือน ม.ค.68ได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวกลับสู่กรอบเป้าหมาย และการขยายตัวของกิจกรรมภาคการผลิต ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ถึง  3.3 %สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นทั้งในภาคการผลิตและผู้บริโภค นอกจากนี้ การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯ และจีนขยายตัวในระดับสูง ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าทุนและวัตถุดิบของไทย ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่อาจสร้างแรงกดดันต่อการค้าโลก

ทั้งนี้คาดการณ์ว่าแนวโน้มการส่งออกในปี 2568 มีมูลค่าเฉลี่ย 25,000-26,000 ล้านดอลลาร์ โดยทั้งปีขยายตัวได้ที่ 2–3% ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะเติบโตตามการขยายตัวของภาคการผลิต สถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนและตะวันออกกลางที่เริ่มคลี่คลาย ดัชนีราคาอาหารโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งสะท้อนความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารที่เพิ่มขึ้น รวมถึงโอกาสการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการทดแทนสินค้านำเข้าจากจีน

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยท้าทายที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ สถานการณ์การค้าโลกที่ยังคงตึงเครียด ความเสี่ยงของการเกิดวิกฤตเงินเฟ้อรอบใหม่ในสหรัฐฯ ผลกระทบจากมาตรการจำกัดการส่งออกน้ำมันของรัสเซียที่อาจส่งผลต่อราคาพลังงานและค่าระวางเรือ ตลอดจนผลกระทบจากมาตรการทางการค้าต่าง ๆ เช่น การปรับขึ้นภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ และการทะลักเข้ามาของสินค้าจีน ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องรักษาสมดุลทางการค้า กระจายความเสี่ยงด้านตลาด และกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งแสวงหาโอกาสเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดจากสถานการณ์ที่ท้าทาย

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img