วันพุธ, เมษายน 2, 2025
spot_img
หน้าแรกNEWS“รักชนก”เผยสนง.ประกันสังคมยินดีเปิดข้อมูล การประชุมของ4บอร์ดประกันสังคมภายใน7วัน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“รักชนก”เผยสนง.ประกันสังคมยินดีเปิดข้อมูล การประชุมของ4บอร์ดประกันสังคมภายใน7วัน

สส.รักชนก’ นำทีม สส.พรรคประชาชน เข้าพบผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม หารือแนวทางเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร การบริหารจัดการสำนักงานประกันสังคม ผลหารือเป็นไปด้วยดี สำนักงานประกันสังคม ยินดีเปิดข้อมูลการประชุมของ 4 บอร์ดประกันสังคม ภายใน 7 วัน


วันที่ 4 มี.ค.68 น.ส.รักชนก ศรีนอก สส.พรรคประชาชน ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ พร้อมด้วยทีม สส.พรรคประชาชน เดินทางเข้าพบ นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม เพื่อหารือแนวทางการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการประกันสังคม โดยเปิดให้สื่อมวลชนเข้าเก็บภาพก่อนการประชุม แต่ไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าฟังการประชุม
หลังหารือร่วมกันนานกว่า 2 ชั่วโมง ผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วยทีม สส.พรรคประชาชน ได้ออกมาแถลงข่าวร่วมกันหน้าห้องประชุม


นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า การหารือวันนี้เป็นการคุยประเด็นหลักๆ 2-3 ประเด็น ประเด็นแรกเป็นเรื่องของหนังสือที่ผู้อำนวยการกองกฎหมาย ได้ออกหนังสือกำชับเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล ในส่วนนี้ทางสำนักงานประกันสังคมยืนยันว่าเป็นการกำชับตามหน้าที่ปกติ ในฐานะผู้บังคับบัญชาให้เจ้าหน้าที่ทุกคน ดำเนินการให้เป็นไปตาม พรบ. 2 ฉบับ ได้แก่ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร


ส่วนประเด็นที่ 2 เป็นการหารือ เรื่องการเผยแพร่ผลการประชุมหรือมติของบอร์ดต่างๆ ทั้ง 4 บอร์ด ได้แก่ บอร์ดประกันสังคม(บอร์ดใหญ่) , บอร์ดแพทย์ , บอร์ดตรวจสอบ และบอร์ดอุทธรณ์ ให้เผยแพร่บนเว็บไซต์ ซึ่งเลขาสำนักงานประกันสังคม ยืนยันว่าในส่วนนี้สามารถทำได้ ทางสำนักงานจะรีบไปดำเนินการในส่วนนี้ อาจจะขอเวลาภายในสัปดาห์หน้า หรือประมาณ 7 วัน เพื่อไปดำเนินการ
ส่วนประเด็นที่ 3 เป็นการหารือเกี่ยวกับสิทธิการรักษา ที่จะร่วมกองทุนประกันสังคม เข้ากับสิทธิการรักษาของ สปสช. ในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทำมาระยะหนึ่ง ทางสำนักงานประกันสังคมต้องไปดำเนินการในเรื่องนี้ต่อ แต่ต้องขับเคลื่อนร่วมกันว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร


จากนนั้น น.ส.รักชนก ศรีนอก สส.พรรคประชาชน ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในเรื่องของหนังสือเวียนของผู้อำนวยการกองกฎหมาย ที่ส่งไปหน่วยงานต่างๆ ภายใต้สำนักงานประกันสังคมนั้น ในเรื่องนี้ทางสำนักงานประกันสังคมยืนยันว่าเป้นหนังสือเวียนปกติ เหมือนหนังสือเวียนอื่นๆ แต่ น.ส.รักชนก ยืนยันว่าจากการอ่านหนังสือเวียนฉบับอื่นๆ ครบทุกฉบับแล้ว ส่วนใหญ่เป็นหนังสือเวียนปกติ เกี่ยวกับข้อห้ามการประพฤติทุจริตมิชอบ แต่หนังสือเวียนที่เกี่ยวกับการไม่ให้ข้อมูลนั้น มีประมาณ 3 ฉบับ คือเรื่องแรกการไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ประกันตน , สอง การห้ามส่งข้อมูลที่ยังไม่เป็นทางการเข้าไปในแอปพลิเคชั่น และฉบับที่ 3 คือหนังสือล่าสุด ถ้าพูดกันตรงๆ ก็ยืนยันว่าเป็นหนังสือที่ไม่ปกติ แต่เข้าใจทางเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ว่าอาจจะมีคนสั่งมาอีกที ทางเลขาฯก็ต้องทำตามคำสั่ง แต่เลขาสำนักงานประกันสังคม ไม่สามารถบอกได้ว่าใครบอกมา จึงต้องรับจบเอง / แต่จากการพูดคุย ยืนยันว่าหนังสือฉบับดังกล่าวไม่มีกฎหมายอะไรรองรับ ข้อมูลบางอย่างถูกบังคับทางกฎหมายให้เปิดเผยอยู่แล้ว ดังนั้นจากนนี้จะได้รับความร่วมมือที่ดี หากทางคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ มีการข้อมูลเข้ามา


ส่วนเรื่องต่อมา เป็นการหารือเกี่ยวกับเรื่องมติที่ประชุมของบอร์ดประกันสังคมทุกชุด ทั้ง 4 ชุด ที่ต้องเปิดเผยกับประชาชน ตาม พรบ.ข้อมูลข่าวสาร เพราะมีอยู่ 1 มาตราที่ระบุว่า มติของบอร์ดที่แต่งตั้งโยคณะรัฐมนตรี ต้องเปิดเผยผลการประชุมและการลงมติต่างๆได้ ร่วมถึงรายงานการประชุมด้วย ดังนั้นจึงต้องเปิดเผยผลการประชุมและการลงมติของทั้ง 4 บอร์ดได้ แต่เมื่อมีการร้องขอในครั้งล่าสุด พบว่าคนที่มีปัญหาเรื่องการเปิดเผยมติการประชุม คือ 1 ในบอร์ดที่เป็นสัดส่วนของฝั่งนายจ้าง ที่ยืนยันว่าไม่ยินดีให้มีการเปิดเผยมติบอร์ดหรือผลการประชุมบอร์ด แต่ต้องยืนยันว่าความเห็นส่วนตัวที่ไม่อยากเปิดเผย ไม่สามารถขัดกฎหมายได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้เปิดเผยผลการประชุมได้ เท่ากับว่าที่ผ่านมายังไม่ได้ทำตามกฎหมาย เพราะยังไม่เคยเปิดเผยมติหรือเปิดเผยผลการประชุมบอร์ดต่างๆเลย ซึ่งอาจจะเข้ามาตรา 157 ก็ได้ ที่บอร์ดไม่เปิดเผยมติหรือเปิดเผยการประชุม แต่เรื่องราวยังไม่ไปถึงการเอาผิดกัน เพราะเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมยืนยันแล้วว่า จะเปิดเผยมติและผลการประชุมทั้ง 4 บอร์ดทางเว็บไซต์ ภายใน 7 วัน โดยจะเริ่มเปิดผลการประชุมและมติของบอร์ดใหญ่ ภายหลังมีคณะกรรมการบอร์ดที่มาจากการเลือกตั้งในสัดส่วนผู้ประกันตน จากนั้นจะทยอยเปิดมติและผลการประชุมในช่วงเวลาอื่นตามมา และยืนยันว่าในสัปดาห์จะจับตาในเรื่องนี้ หากพบว่ายังไม่เปิดเผย อาจจะมีเรื่องที่ทำให้สำนักงานประกันสังคมรู้สึกไม่สบายใจ


ส่วนอีกเรื่องที่มีการหารือ เป็นเรื่องการควบรวมสิทธิการรักษา กองทุนประกันสังคม / กองทุน สปสช.และ กองทุน กบข.เข้าด้วยกัน แต่เรื่องนี้เข้าใจสำนักงานประกันสังคมว่าไม่สามารถตัดสินใจได้ เพราะเป็นเรื่องนโยบาย ระหว่างกระทรวงฯ แต่การสอบถามเรื่องความพร้อมของกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงแรงงาน มีการถามกันไปมาๆ รวมแล้ว 23 ปี แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ
ดังนั้นในเรื่องนี้ ต้องบอกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ไม่สามารถตัดสินใจกันเองได้ เพราะไม่มีใครอยากปล่อยอำนาจตัวเอง ดังนั้นในเรื่องนี้ต้องเป็นเรื่องที่ไปถามนายกรัฐมนตรี เพราะทั้ง 2 กระทรวงตัดสินใจไม่ได้ และถามตอบกันมา 23 ปี นายกรัฐมนตรีต้องตัดสินใจ เพราะถ้าถามกันไปมาแบบนี้ ชาตินี้ก็ไม่ได้ควบรวม วันนี้นายกฯต้องทำให้เรื่องนี้พร้อม และต้องกำหนดระยะเวลามาเลยว่าจะศึกษาในระยะเวลาเท่าไร และอีกกี่ปีเรื่องการควบรวมจะเกิดขึ้น ต้องมีการกำหนดเวลาที่ชัดเจน


ด้านนายสหัสวัต คุ้มคง สส.พรรคประชาชน ได้กล่าวเพิ่มเติม กรณีการนำกองทุนประกันสังคมออกนอกระบบราชการ เพราะโครงสร้างระบบประกันสังคม ควรมีการพัฒนาและควรมีการยกระดับ ดังนั้นอยากส่งเสียงไปยังรัฐบาล ว่าทางพรรคประชาชนมีร่าง พรบ.เตรียมไว้แล้ว ถ้ารอคิวของสภาฯอาจจะช้า ดังนั้นถ้ารัฐบาลเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลก็ควรเตรียมร่างของรัฐบาลเอาไว้ เป็นร่างขอคณะรัฐมนตรี ซึ่งถ้าร่างฯผ่าน ครม.แล้ว สามารถเข้าสภาฯได้เลย ในส่วนนี้จะทำให้การผลักดันยกโครงสร้างประกันสังคมมีความเป็นไปได้มากที่สุด ดังนัน้ต้องการความชัดเจนว่ารัฐบาลคิดอย่างไรกับเรื่องนี้


ทั้งนี้เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ช่วงนี้มีคำถามว่าส่งประกันสังคมแล้วได้อะไร ดังนั้นจะขอชี้แจงในคำถามนี้ ปัจจุบันผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาท โดยคิดจาก 5 เปอร์เซ็น จากฐานเงินเดือน 15,000 บาท ในส่วนนี้ต้องชี้แจงว่า ในทุกเดือนผู้ประกันตนจะได้รับเงินออม ที่เป็นเงินสมทบกรณีชราภาพเดือนละ 900 บาท / อีกประเด็นที่การนำเสนอว่าจะนำกองทุนประกันสังคมออกนอกระบบนั้น จากการสำรวจความเห็นราชการประมาณ 2,000 คน ที่อยู่ภายในสำนักงานประกันสังคม มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยกับการออกนอกระบบราชการ และคนที่ไม่เห็นด้วย คิดเป็นครึ่งต่อกัน ดังนั้นหากมีการออกนอกระบบ คนที่ไม่เห็นอีกว่า 1,000 คน จะนำไปอยู่ในส่วนงานไหน และตัวเงินเดือนจะรับอย่างไร เพราะคนที่ออกนอกระบบไม่ได้สวัสดิการต่างๆแล้ว ดังนั้นต้องมีความชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img