วันจันทร์, มีนาคม 31, 2025
หน้าแรกHighlight‘วิโรจน์’บุกยื่น‘สรรพากร’ตรวจสอบ‘อิ๊งค์’ ใช้‘ตั๋วPN’ซื้อขาย‘หุ้นทิพย์’ส่อเลี่ยงภาษี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘วิโรจน์’บุกยื่น‘สรรพากร’ตรวจสอบ‘อิ๊งค์’ ใช้‘ตั๋วPN’ซื้อขาย‘หุ้นทิพย์’ส่อเลี่ยงภาษี

เริ่มแล้ว! ยุทธการโรยเกลือ “วิโรจน์” บุกยื่น “สรรพากร” สอบ “แพทองธาร” ใช้ตั๋ว PN ซื้อขายหุ้นทิพย์หลีกเลี่ยงภาษี ส่อเจตนาติกรรมอำพราง เสียค่าอากร 27 บาทจาก 9 หมื่น หวั่นปชช.ทำตามกระทบระบบจัดเก็บภาษีประเทศ

เมื่อวันที่ 28 มี.ค.68 ที่กรมสรรพากร นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เดินหน้ายุทธการโรยเกลือหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจ เข้ายื่นร้องกรมสรรพากรให้ตรวจสอบน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กรณีการใช้ตั๋วสัญญาใช้เงิน (ตั๋ว PN) ในการซื้อหุ้น เข้าข่ายทำนิติกรรมอำพราง หลบเลี่ยงหรือหลีกเลี่ยงภาษีที่ผิดกฎหมาย เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายภาษีการรับให้

นายวิโรจน์ กล่าวว่า จะต้องมีการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการและเป็นลายลักษณ์อักษร การกระทำในลักษณะแบบนี้เข้าข่ายนิติกรรมอำพราง เจตนาที่แท้จริงคือ การรับหุ้นจากบุคคลในครอบครัว แต่กลับใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อทำนิติกรรมอำพรางเปลี่ยนเจตนาการรับให้ เป็นการหลีกเลี่ยงภาษี 5% ใช่หรือไม่ น.ส.แพทองธาร ไม่ใช่บุคคลธรรมดา แต่เป็นผู้นำประเทศ เป็นหัวหน้ารัฐบาล เป็นฝ่ายบริหาร เป็นประธานคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียต่อสาธารณะ แม้นายปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากร จะออกมาชี้แจงว่าสามารถทำได้ แต่เป็นการชี้แจงในลักษณะที่เชื่อว่า เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายจริง ๆ แต่ไม่ได้ตั้งข้อสงสัยว่าเป็นนิติกรรมอำพราง

นายวิโรจน์ กล่าวว่า ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรชี้แจงในลักษณะว่า หากมีการชำระเงินตามตั๋ว PN ผู้ขายที่เป็นบุคคลในครอบครัว หากมีกำไรจากการขายหุ้นก็ต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  แต่ประเด็นข้อสงสัยต่อสาธารณะคือ นี่ใช่การซื้อขายจริง ๆ ใช่หรือไม่ เป็นเพียงการทำธุรกรรมซื้อขายทิพย์ เพื่อปิดบังเจตนาที่แท้จริงคือ การรับให้หุ้นจากครอบครัว การวินิจฉัยอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นทางการ จึงมีความสำคัญมาก เพราะประชาชนทั่วไปมีความสงสัย หากประชาชนทำตามนายกฯ กรมสรรพากรจะอนุญาตให้ทำใช่หรือไม่ จะไม่มีการเลือกปฏิบัติใช่หรือไม่ หากนายกฯ ทำได้ ประชาชนทั่วไปก็จะต้องทำได้ ไม่ได้หมายถึงเรื่องโอนหุ้นอย่างเดียว แต่หมายถึงทรัพย์สินอื่นใดด้วย

นายวิโรจน์ กล่าวต่อว่า ส่วนวิธีพิสูจน์ในการซื้อขายหุ้น จะต้องดูพฤติกรรมและเจตนา คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรสามารถตรวจสอบ และสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงได้ ตนเองจึงทำหนังสือ เพื่อขอให้อธิบดีกรมสรรพากรดำเนินการตามมาตรา 13 สัตต (3) ของประมวลรัษฎากร ขอให้วินิจฉัยกรณีของนายกฯ ออกมาอย่างเป็นทางการและลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวปฏิบัติของประชาชนทั่วไป พ่อค้าแม่ค้า ขายก๋วยเตี๋ยวขายแกง มีเจ้าหน้าที่ไปหา เพื่อขอให้จ่ายภาษี อินฟลูเอนเซอร์ ยูทูปเบอร์ที่มีรายได้จากการรีวิวสินค้าและส่วนแบ่งจากโฆษณาก็ถูกเร่งรัดการจัดเก็บภาษี ขณะที่กรณีพ่อค้าแม่ขายที่เคยเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง หากรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม

นายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า การให้ความเห็นของอธิบดีกรมสรรพากร ท่านเองอาจจะปักใจเชื่อโดยส่วนตัวว่าเป็นการซื้อขายกันจริง ๆ โดยไม่ได้ฉุกคิด  แต่ขอชวนให้ท่านฉุกคิดว่า  เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากนายกฯ ทำได้ประชาชนคนอื่นอาจจะทำบ้าง อะไรก็ตามเป็นช่องว่างทางกฎหมายมีหลักคิดอยู่ 2 เรื่อง 1.คนที่ทำหากรู้สึกว่าเราทำถูกกฎหมายก็พร้อมเปิดเผยและแสดงตัวต่อสาธารณะ แต่การมีพฤติกรรมหลบ ๆ ซ่อน ๆ เพราะตนเองมีความระแวงว่าอาจจะผิดหรือไม่ผิดกฎหมาย ก็สู้ได้เพราะสามารถตีความตามตัวบทกฎหมายและลายลักษณ์อักษร ให้ทนายโต้มีแนวโน้มว่าจะชนะ แต่ที่ไม่กล้าแสดงตัวเพราะหวาดระแวง 2.อะไรก็ตามที่เป็นผลประโยชน์ต่อสาธารณะยิ่งทำได้ยิ่งดี  กรณีนายกฯ หากทำได้ถูกต้อง แล้วทุกคนทั้งประเทศที่มีความมั่งมีทำบ้าง  สาธารณะและรัฐจะได้ประโยชน์ สุดท้ายจะเป็นผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการจัดเก็บรายได้”

“การที่นายกฯ ระบุว่ายื่นบัญชีทรัพย์ต่อ ป.ป.ช.แล้ว แต่การยื่นบัญชีทรัพย์สินไม่ได้หมายความว่าการชำระภาษีถูกต้องครบถ้วน ผมเองทำใจเป็นกลาง อยากได้คำวินิจฉัยจากคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร หากตีความว่า นายกฯ ในฐานะประชาชน ทำได้ ประชาชนคนอื่นก็ทำได้ แต่หากมองว่ามีความเสียหายในการจัดเก็บรายได้ของแผ่นดินหมายความว่า ต่อจากนี้ไปภาษีรับได้ ไม่สามารถจัดเก็บได้เลยใช่หรือไม่ กรณีบุคคลในครอบครัวของนายกฯ ก็เป็นประชาชนคนหนึ่ง เรื่องนี้มีเรื่องค่าอากร หากสัญญาเงินกู้ การเป็นหนี้ระดับร้อยล้านพันล้าน จะมีค่าอากรที่เสียจำนวน 9 ฉบับ รวมเป็นเงิน 90,000 บาท หากมีการใช้ตั๋ว PN ค่าอากรจะตกอยู่ที่ฉบับละ 3 บาท รวม 9 ฉบับ 27 บาท ซึ่งการเลือกใช้ตั๋ว PN ก็เพื่อประหยัดค่าอากร ไม่ผิดกฎหมายแต่ ฃเป็นการบริหารภาษีแบบดุดันไม่เกรงใจใคร”นายวิโรจน์ กล่าว และว่า คงต้องให้เวลาอธิบดีกรมสรรพากรทำงาน หลังจากนี้จะใช้กลไกของคณะกรรมาธิการพัฒนาการเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎรในการติดตามความคืบหน้า โดยจะเชิญอธิบดีไปชี้แจง  และผู้แทนจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการด้วย

“การใช้ตั๋ว PN เป็นเครื่องมือทางการเงินไม่ได้ผิดอะไร  การให้เครดิตระยะสั้นสามารถทำได้ตามกฎหมาย แต่ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยคือ ตกลงแล้วกรณีนี้เจตนาที่แท้จริงเป็นการซื้อขายจริงหรือไม่ หรือเป็นการซื้อขายทิพย์ ซื้อขายเป็นรูปแบบ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีการรับให้หรือไม่ โดยประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือ พฤติกรรมของนายกฯ ดังนั้นเรื่องนี้ดูแค่ปลายทางไม่ได้ ต้องดูถึงพฤติการณ์ อาจจะต้องย้อนดูถึงการยักย้ายถ่ายเทหุ้นของนายกฯ กับคนอื่น ๆ ด้วย จะได้ดูว่าพฤติการณ์ ในลักษณะนี้น่าจะเป็นการซื้อขายกันจริง ๆ หรือที่ผ่านมามีการยักถ่ายเทหุ้นกันบ่อยครั้ง คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรก็จะตีความได้ว่า อาจจะเป็นนิติกรรมอำพราง ที่ผ่านมาเคยชำระค่าซื้อขายหุ้นกันหรือไม่ หรือไม่เคยมีการชำระเงินกันเลย และตั๋ว PN เก่า ๆ ที่ยังไม่มีการชำระเงิน ยังคงเก็บเอาไว้หรือไม่ หรือสูญหายไปแล้ว ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรสามารถเรียกเอกสารเหล่านั้นกลับมาตรวจสอบได้ทั้งหมด สิ่งที่น่ากลัวถ้าตนเองไม่อภิปรายเรื่องนี้คือ ปีหน้านายกฯ จะมีการวางแผนมาระตั๋ว PN หรือไม่ ซึ่งก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับนายกฯ เพราะนายกฯ ระบุว่าปีหน้าจะมีการชำระ หรืออาจจะคิดอยู่แล้วแต่ไม่ได้บอกใคร พอวิโรจน์ถามก็เลยบอกว่า ความลับที่ฉันซ่อนไว้ไม่เคยบอกใคร ก็อดใจไม่ไหวก็เลยต้องบอกต่อสภาฯ ก็สะท้อนเจตนาที่จะทำให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ตีความที่แท้จริงได้ว่าเจตนาที่แท้จริงเป็นการรับให้หรือซื้อขายจริง เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก ๆ”นายวิโรจน์ กล่าว

นายวิโรจน์ กล่าวว่า ตนเองไม่อยากเอาเรื่องนี้มาเกี่ยวข้องนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะปัจจุบันบริบททางกฎหมายเปลี่ยนไป ในยุคของนายทักษิณยังไม่มีภาษีการรับให้ ดังนั้นการเปลี่ยนมือ การให้โดยเสน่หาอาจจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ความเหมาะสม  แต่ต้องยอมรับว่ากฎหมายในยุคนั้นกับยุคนี้ไม่เหมือนกัน ปัจจุบันมีการปรับปรุงเพื่อปิดช่องว่างทางกฎหมายแล้ว จะถูกหรือผิดเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร นายกฯ อยู่ในวิสัยที่รู้ว่านี่คือช่องว่างทางกฎหมาย คนที่เป็นนายกฯ พบช่องว่างทางกฎหมาย ในฐานะที่ถืออำนาจรัฐสามารถมีข้อสั่งการต่อระบบราชการได้ ควรเปิดช่องว่างหามาตรการแก้ไข หรือจะหาประโยชน์จากช่องว่างนั้นเสียเอง หากคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรมีคำวินิจฉัยออกมาในแนวทางว่าสามารถทำได้รับรองว่าถูกต้องดื้อ ๆ   ในปีภาษีถัดไปจะพบกับความเสียหายแน่นอน ภาษีการรับให้จะลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งนี้เมื่อมีคำวินิจฉัยเป็นลายลักษณ์อักษรทั้งอธิบดีกรมสรรพากร และคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร จะต้องมีความรับผิดทางกฎหมาย เพราะสุดท้ายภาษีรับให้จัดเก็บไม่ได้เลย

นายวิโรจน์ กล่าวอีกว่า ประชาชนจะโอนหุ้น โอนที่ดินให้ลูก บอกว่าใช้วิธีตั๋ว PN หรือใช้เครื่องมือการอื่นใดที่ไม่มีกำหนดชำระและอัตราดอกเบี้ย สุดท้ายประเทศจัดเก็บภาษีไม่ได้ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ จะต้องมีการเอาผิดกับอธิบดีกรมสรรพากร และคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ปรากฏชื่อวินิจฉัย ตนเองไม่ได้มีปัญหาความเข้มงวดของกรมสรรพากร แต่การบังคับใช้กฎหมายต้องมีความเสมอภาค ไม่ใช่ว่าพ่อค้าแม่ค้า อินฟลูเอนเซอร์ ยูทูปเบอร์ตามติด แต่กลับนายกฯ ปล่อยปละละเลย 

เมื่อาถมว่ากรณีที่นายปิ่นสาย อธิบดีกรมสรรพากร เป็นลูกชายของนายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรองนายกรัฐมนตรี ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนายทักษิณ นายวิโรจน์ กล่าวว่า ความใกล้ชิดไม่ใช่ปัญหาเชื่อว่าอธิบดีกรมสรรพากร และบิดารู้จักคนเยอะ และการจะบอกว่าการรู้จักคนเยอะแล้วต้องเอื้อประโยชน์ก็เป็นการกล่าวหาเกินไป จะให้ท่านไม่รู้จักใครก็เป็นไปไม่ได้ คงต้องให้เวลาท่าน การกระทำและการตัดสินใจใช้อำนาจของท่านจะเป็นเครื่องพิสูจน์ และบอกกับประชาชนว่า ประชาชนจะไว้ใจในฐานะอธิบดีกรมสรรพากรได้หรือไม่

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img