วันพุธ, เมษายน 2, 2025
spot_img
หน้าแรกNEWS“นภินทร”ถกผู้บริหารมณฑลยูนนานลดการตรวจเข้มทุเรียน-เดินหน้าระบบคมนาคม-โลจิสติกส์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“นภินทร”ถกผู้บริหารมณฑลยูนนานลดการตรวจเข้มทุเรียน-เดินหน้าระบบคมนาคม-โลจิสติกส์

“นภินทร” หารือผู้บริหารมณฑลยูนนานผ่อนปรนมาตรการตรวจสารตกค้างทุเรียนจาก 100% เหลือ 30% เร่งรัดโครงการก่อสร้างทางหลวงคุนหมิง-เชียงราย ยกระดับความร่วมมือทุกด้าน ตอกย้ำความสัมพันธ์ 50 ปี ไทย-จีน

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือนายหลิว หย่ง รองผู้ว่าการมณฑลยูนนาน และคณะผู้บริหารระดับสูงของมณฑลยูนนานว่า มณฑลยูนนานถือว่ามีความสำคัญทางการค้ากับไทย ด้วยนโยบายของประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง ที่ต้องการให้ยูนนานเป็นประตูการค้าสู่เอเชียใต้และอาเซียน จึงได้เน้นการพัฒนาด้านคมนาคม โลจิสติกส์ และการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งไทยก็มีนโยบายทำการค้ากับจีน โดยเฉพาะหัวเมืองอย่างมณฑลยูนนาน ที่ผ่านมาไทยและยูนนานต่างก็มีความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องมาอย่างยาวนาน และทางรัฐบาลไทย โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนยูนนานเพื่อเข้าร่วมการประชุม GMS และนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ก็นำคณะเยือนยูนนานเช่นกัน นอกจากนี้ คณะผู้บริหารยูนนานก็เดินทางมาเยือนไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อแลกเปลี่ยนทางการค้าระหว่างกัน

ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการหารือร่วมกันเรื่องการอำนวยความสะดวกสินค้าเกษตรไทย โดยเฉพาะทุเรียนที่กำลังจะเข้าสู่จีนเป็นจำนวนมาก จึงได้ขอให้ศุลกากรจีนอำนวยความสะดวกทางการค้าในการขนส่งทุเรียนไทยมายังจีน โดยเสนอให้จีนพิจารณาเกี่ยวกับการตรวจสอบสารตกค้างในผลไม้ที่นำเข้าสู่จีน ซึ่งไทยได้ยืนยันว่าได้ดำเนินมาตรการเรื่องสินค้าทุเรียนอย่างเคร่งครัด โดยมีมาตรการ “4ไม่” คือ ไม่ตัดอ่อน ไม่มีศัตรูพืช ไม่สวมสิทธิ์ ไม่มีสารเคมีต้องห้าม และปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตลาดจีน จึงเสนอให้จีนลดมาตรการตรวจสารตกค้างจาก 100% เหลือ 30% เพื่อให้การค้าขายดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยทางศุลกากรคุนหมิง ระบุว่าจะเสนอเรื่องนี้ต่อรัฐบาลกลางในเร็วนี้

นอกจากนี้ได้มีการพูดคุยถึงระบบการคมนาคม โดยการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อไทย-จีน โดยมีแผนเร่งรัดโครงการก่อสร้างทางหลวงคุนหมิง-เชียงราย(เชียงของ) หรือ Motor way เพื่อเชื่อมต่อ เส้นทาง R3A บ่อเต็น-ห้วยทราย ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างอนุมัติโครงการจากรัฐบาลจีน หากสำเร็จจะช่วยลดระยะเวลาการเดินทางและลดต้นทุนโลจิสติกส์และจะทำให้ยูนนานเป็นศูนย์รวมกระจายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียใต้ และจะทำให้ไทยได้ประโยชน์ในการส่งสินค้าไทยได้มากขึ้น

รวมถึงโครงการรถไฟจีน-ลาว-ไทย ซึ่งมีความก้าวหน้ามากขึ้น การเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและการค้าผ่านทางระบบคมนาคมเป็นโครงการเชิงยุทธศาสตร์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองประเทศในการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและคมนาคมให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในโอกาสครบรอบ 50 ปีของความสัมพันธ์ไทย-จีน

ส่วนของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และการค้าในแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งไทยและยูนนานให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นอีกกลไกทางการค้าที่จะทำให้เกิดมูลค่ามหาศาล ซึ่งปัจจุบันสินค้าจีนจำนวนมากถูกส่งมายังไทยผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่ง ไทยได้ให้ความสำคัญกับมาตรฐานสินค้า โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซ ซึ่งปัจจุบันสินค้าจีนที่จำหน่ายในประเทศไทยบางรายการยังไม่ได้จดทะเบียนในไทย จึงได้เสนอให้รัฐบาลจีนประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนธุรกิจในไทยเพื่อความโปร่งใส เพื่อดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกกฎหมายในไทย ซึ่งทางยูนนานยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับไทย และเห็นด้วยกับการทำการค้าที่มีคุณภาพ

นอกจากนี้ ไทยตั้งเป้าดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 45 ล้านคนในปีนี้ หากโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมได้รับการพัฒนาจะทำให้ไทยและยูนนานได้มีการแลกเปลี่ยนทั้งสอนค้าและนักท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยก่อนเสร็จสิ้นการหารือ ไทยได้เชิญผู้ประกอบการยูนนานเข้าร่วมงาน THAIFEX-Anuga Asia 2025 และ Bangkok Gems and Jewelry Fair ในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งทางยูนนานให้ความสนใจและตอบรับเข้าร่วมทุกงาน

“การหารือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยและมณฑลยูนนาน โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า คมนาคม และดิจิทัล เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ และเป็นการตอกย้ำถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างไทยและจีนในโอกาสครบรอบ 50 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูต ซึ่งเป็นหลักฐานที่ชัดเจนถึงความร่วมมือที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและพร้อมก้าวสู่อนาคตไปด้วยกัน”นายนภินทร กล่าว

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img