วันศุกร์, เมษายน 11, 2025
หน้าแรกHighlight‘ทวี’มั่นใจ‘ดีเอสไอ’ไม่ปล่อย‘ผู้มีอิทธิพล’ เอี่ยว‘ตึกสตง.ถล่ม’สั่ง‘ตม.’บล็อกทางหนี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ทวี’มั่นใจ‘ดีเอสไอ’ไม่ปล่อย‘ผู้มีอิทธิพล’ เอี่ยว‘ตึกสตง.ถล่ม’สั่ง‘ตม.’บล็อกทางหนี

“ทวี” มั่นใจ “ดีเอสไอ” รับเคส”ตึกสตง.ถล่ม”เป็นคดีพิเศษ ลั่นไม่ปล่อยแน่หากมีผู้มีอิทธิพลเอี่ยว บ.ไชน่าเรลเวย์ฯ  แจง ตม.บล็อกเส้นทางคนผิดหนีออกนอกประเทศได้ ยันทำคดีเร็วบนพยานหลักฐาน แต่ยอมรับยังขาดการบูรณาการ

วันที่ 4 เม.ย.2568 เวลา 10.40 น.ที่รัฐสภา พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีความเป็นห่วงว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุกรณีตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)แห่งใหม่ถล่มจะหลบหนีไปต่างประเทศ ว่า หน้าที่ของพนักงานสอบสวน นอกจากแสวงหาข้อเท็จจริงแล้วรวบรวมพยานหลักฐานพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และความผิดแล้วยังต้องมีหน้าที่สำคัญ คือ นำตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ ซึ่งในเรื่องนี้ทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เวลาจะทำอะไรจะดูทุกเรื่องเพราะมีสำนักสืบสวนสะกดรอยอยู่

เมื่อถามว่าย้ำว่ายืนยันจะสามารถจับกุมบุคคลที่กระทำผิดได้แน่นอนหรือไม่ พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า เมื่อรับเรื่องมาเป็นคดีพิเศษแล้ว ถ้ารู้ที่อยู่ จะต้องมีการติดตาม ซึ่งในช่วงเช้าวันนี้ (4เม.ย.) ยังบอกว่าอาจจะต้องประสานงานกับทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(ตม.)เพื่อตรวจสอบการเดินทางเข้า-ออกประเทศด้วย

เมื่อถามว่ามีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีผู้ที่มีอิทธิพลเกี่ยวข้องกับบริษัทผู้รับเหมา และนอมินีการก่อสร้างอาคารสตง.จะสามารถสืบสวนไปถึงตัวได้หรือไม่ พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า รัฐบาลนี้โดยเฉพาะกระทรวงยุติธรรม นอกจากแก้ไขปัญหา อาชญากรรม ยาเสพติดแล้ว เรายังดำเนินการกับผู้มีอิทธิพล โดยเฉพาะกฎหมายสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการ จัดการกับผู้มีอิทธิพลอยู่แล้ว ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย หากพยานหลักฐานไปถึงก็ต้องดำเนินการ และเมื่อเช้าที่ผ่านมา ยังได้รับฟังข้อมูลจากพนักงานสอบสวนที่เสนอมา ก็ถือว่ารอบครอบ

เมื่อถามว่ากรอบเวลาในการดำเนินงาน รมว.กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นคดีที่มีความสูญเสียเยอะ ดังนั้นความรวดเร็ว ที่ยืนอยู่บนพยานหลักฐาน เป็นเรื่องที่จะสร้างความพึงพอใจ จึงพยายามรวบรวมพยานหลักฐานอย่างรวดเร็ว เช่นกรณีคนไทยที่มีชื่อเกี่ยวข้องก็ได้มีการดำเนินการแล้ว

เมื่อถามว่าทราบว่าบริษัทดังกล่าวรับงาน ภาครัฐไปจำนวนมากจะทำให้การสอบสวนชะงักหรือไม่ พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า ตอนนี้เราทำเฉพาะในเรื่องของตึก สตง.ก่อน ส่วนอื่นเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องไปดำเนินการ ทั้งนี้ได้มีการสอบถาม ถึงหลักฐานทางทะเบียนของบริษัทกิจการร่วมค้า ปรากฏว่ากระทรวงพาณิชย์ชี้แจงว่าไม่ได้รับผิดชอบ จะรับผิดชอบเฉพาะบริษัทนิติบุคคล ตามที่กฎหมายแพ่งกำหนด ดังนั้นข้อมูลจึงไปอยู่ที่กระทรวงการคลัง แต่กระทรวงการคลังก็ไม่ได้ทำทะเบียนไว้ เราจึงต้องไปไล่ตามสรรพากรต่าง ๆ เวลาที่มีการเสียภาษี ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่น่าจะมีคนรับผิดชอบ โดยอาจจะเพิ่มงานให้กระทรวงพาณิชย์เข้ามาดู                   

“เชื่อว่าน่าจะมี 2-3 บริษัทร่วมทุนกัน โดยในส่วนของบริษัทต่างด้าวกระทรวงพาณิชย์ก็ดูอยู่แล้ว และที่สำคัญเมื่อไปอ่านสัญญาบางครั้งอาจมีช่องว่าง ซึ่งประเทศไทยมีกฎหมายดีๆเยอะ แต่เวลาใช้กลับใช้เป็นส่วนๆ ขาดการบูรณาการเท่าที่ควร เหมือนเป็นอาณานิคมของกฎหมายหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ดังนั้นดีเอสไอจึงต้องประสานงานกัน แม้แต่เรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งการเข้าไปสู่เนื้องาน เช่น พยานหลักฐานที่ต้องไปเก็บจะทำอย่างไร การช่วยเหลือชีวิตถือเป็นอันดับแรก แต่หากเราปล่อยให้วัตถุพยานล่มลงไปเลย เราก็จะไม่มีพยานหลักฐานไปยืนยัน ดังนั้นขอไปประสาน และพยายามเก็บวัตถุพยานให้ได้มากที่สุด จึงทำให้พนักงานสอบสวนต้องประสานกับนิติวิทยาศาสตร์ และวิศวกรต่างๆ โดยเฉพาะผู้ที่เข้าไปช่วยชีวิตน่าจะบันทึกภาพเอาไว้ให้ด้วย”พ.ต.อ.ทวี กล่าว

เมื่อถามว่ากรณีของบริษัทไช่น่าเรลเวย์ นับเบอร์10 หรือนอมินี รับโครงการอื่นของรัฐ จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบและพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีด้วยหรือไม่ รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า มีหน่วยงานที่เราคงต้องเอาข้อมูลไปให้ เช่นในเบื้องต้นที่ตรวจจากสรรพากร พบว่าเขาไปทำกิจกรรมร่วมค้า 29 โครงการมูลค่า 2 หมื่นกว่าล้านบาท แต่เราจะโฟกัสไปในเคสของเราก่อน ส่วนกรณีอื่นต้องส่งไปให้ภาครัฐได้ดู เพราะเวลาเราทำคดีต้องทำเป็นคดีไป

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img