วันพุธ, เมษายน 9, 2025
หน้าแรกNEWSสมาคมผู้เลี้ยงสุกรนำ​เกษตรกร​ 100 คน บุกทำเนียบรัฐบาลค้านนำเข้าหมูสหรัฐฯ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรนำ​เกษตรกร​ 100 คน บุกทำเนียบรัฐบาลค้านนำเข้าหมูสหรัฐฯ

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาตินำผู้แทน​เกษตรกร​ 100 คนยื่น​หนังสือ​ต่อรัฐบาลคัดค้านการนำเข้าสินค้าสุกรทั้งเนื้อและเครื่องใน หลังรัฐบาลไทยมีแนวคิดนำเข้าจากสหรัฐฯ แก้ปัญหาดุลการค้า ​ หวั่นเป็นวิกฤติร้ายแรงต่อเกษตรกรและตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน แนะนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี กากถั่วแทน

นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในวันนี้ (8 เม.ย.) ตนจะ​นำกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร 100 คน ไปยื่น​หนังสือ​ถึง​นายกรัฐมนตรีที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของสำนั​กนายกรัฐมนตรี ​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​การคลัง​ รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​พาณิชย์​ และ​รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​เกษตร​และ​สหกรณ์​ด้วย​โดยเนื้อหา​ยืนยัน​ถึง​จุดยืนและข้อเสนอของ “สมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” ซึ่งประกอบด้วยผู้เลี้ยงสุกร ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ และภาคธุรกิจอาหารสัตว์

​ด้วยการคัดค้านการนำเข้าสินค้าสุกรทั้งเนื้อและเครื่องในจากสหรัฐอเมริกา เนื่องจากจะเป็นการซ้ำเติมอุตสาหกรรมสุกรไทยที่เพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤติโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ช่วงปี 2563–2565 และการลักลอบนำเข้าสุกร​ (หมูเถื่อน) ที่ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2564​โดยจะทำลายอาชีพ​เกษตรกและ​ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

สำหรับ​สุกรเป็นหนึ่งในอาหารโปรตีนหลักของคนไทยและเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างห่วงโซ่เศรษฐกิจสำคัญให้กับประเทศ โดยไทยผลิตสุกรกว่า 23 ล้านตัวต่อปี สร้างมูลค่าสุกรมีชีวิตถึง 202,400 ล้านบาท ในขณะที่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมสุกรทั้งระบบได้แก่ อาหารสุกร และเวชภัณฑ์สุกร สร้างมูลค่าเพิ่มอีกกว่า 113,000 ล้านบาท ทำให้มูลค่ารวมของ GDP อุตสาหกรรมสุกรไทยมากถึง 316,020 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้จึงเสนอให้รัฐบาลนำเข้าสินค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์จากสหรัฐอเมริกาได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี กากถั่วเหลือง และ DDGS (Distillers Dried Grains) ซึ่งล้วนเป็นสินค้าที่ไทยมีความต้องการใช้สูง แต่ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอในประเทศ โดยเสนอให้แปรเปลี่ยนถิ่นกำเนิดสินค้านำเข้ามายังไทยให้เป็นของสหรัฐอเมริกา เพื่อสร้างมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐอเมริกา​ได้มากถึง 2,500 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 84,000 ล้านบาทต่อปี

ส่วนกรณีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศอัตราภาษีนำเข้าต่างตอบแทน (Reciprocal Tariffs) สำหรับประเทศไทยที่ 36% ยังเปิดช่องให้มีการเจรจาให้ลดลงมาอยู่ในอัตราปกติหรือ 0% ได้ หากประเทศไทยเลือกแนวทางเพิ่มการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์แทนสินค้าสุกร จะเป็นการแก้ปัญหาการเกินดุลการค้ากับสหรัฐอเมริกาอย่างสมดุล พร้อมกันนี้ขอให้กำลังใจรัฐบาลกับทีมเจรจาในครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงเพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศ

อย่างไรก็ตาม ในวันนี้จะรอรับฟังผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับมาตรการการค้าสหรัฐอเมริกาซึ่งช่วงบ่าย​หลัง​ประชุมครม.​ นายกรัฐมนตรีเรียกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหัวหน้าส่วนราชการทั้งหมดหารือเกี่ยวกับ​การที่สหรัฐอเมริกาประกาศมาตรการภาษีนำเข้าต่างตอบแทน (Reciprocal Tariffs) ต่อประเทศไทยในอัตรา 36% โดยมีผลบังคับใช้ในวันพรุ่งนี้​ (วันที่ 9 เม.ย.)

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img