วันพฤหัสบดี, เมษายน 17, 2025
หน้าแรกNEWSครม. ถก พ.ร.ก.ไซเบอร์วันนี้! แยกคุมเข้ม 'ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล' สกัดท่อน้ำเลี้ยงมิจฉาชีพ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ครม. ถก พ.ร.ก.ไซเบอร์วันนี้! แยกคุมเข้ม ‘ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล’ สกัดท่อน้ำเลี้ยงมิจฉาชีพ

‘ประเสริฐ’ เผย ครม. เตรียมพิจารณาร่าง พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2 ฉบับวันนี้ หลังกฤษฎีกาตรวจทานแล้ว ชี้ร่างคุมธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ปิดช่องโหว่เงินอาชญากรไซเบอร์ไหลออก ย้ำอีกฉบับเน้นความรับผิดชอบแบงก์-แพลตฟอร์ม

เมื่อวันที่ 8 เม.ย.นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ จะมีการพิจารณาร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ พ.ร.ก.ไซเบอร์ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยนำเสนอต่อ ครม. แล้ว และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทำการตรวจสอบอีกครั้ง

นายประเสริฐ กล่าวว่า ภายหลังการตรวจสอบของกฤษฎีกา ได้มีการแบ่งร่าง พ.ร.ก. ออกเป็น 2 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.ก.ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ฉบับหนึ่ง และ ร่าง พ.ร.ก.ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล อีกฉบับหนึ่ง ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก๊งคอลเซ็นเตอร์

สำหรับ ร่าง พ.ร.ก.ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล นั้น นายประเสริฐ ระบุว่า จะมีมาตรการหลายอย่างในการควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเฉพาะการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ต่างประเทศ แต่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแล ซึ่งเดิม พ.ร.ก. ฉบับก่อนหน้าไม่ได้มีการควบคุมในส่วนนี้ การแก้ไขครั้งนี้จะมีการกำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และจะมีมาตรฐานในการกำกับดูแล เพื่อป้องกันการไหลออกของเงินผ่านสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งถือเป็นการปิดช่องทางสำคัญและตัดท่อน้ำเลี้ยงของมิจฉาชีพ

ส่วน ร่าง พ.ร.ก.ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางด้านเทคโนโลยี อีกฉบับหนึ่งนั้น นายประเสริฐ กล่าวว่า หลักการสำคัญจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดความรับผิดชอบของธนาคารและแพลตฟอร์มต่างๆ โดยย้ำว่าร่าง พ.ร.ก. ทั้งสองฉบับจะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ในวันนี้ นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดมาตรการดูแลเงินปกติและเงินดิจิทัลให้สามารถถูกระงับ (โฮล) ไว้ได้

นายประเสริฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า จำนวนบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น จะต้องมีการตรวจสอบกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) อีกครั้ง และหลังจากผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุม ครม. ในวันนี้แล้ว จะไม่มีการส่งให้กฤษฎีกาตรวจสอบซ้ำอีก โดยจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อรอประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img