วันศุกร์, เมษายน 18, 2025
หน้าแรกNEWSแนะไทยถอดบทเรียนตปท.- เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันภาคบริการ-ลดอุปสรรคการค้า
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แนะไทยถอดบทเรียนตปท.- เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันภาคบริการ-ลดอุปสรรคการค้า

“พูนพงษ์” เผยภาคบริการก็มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจไทย โดยในปี 2567 มีมูลค่า 11.44 ล้านล้านบาท หรือร้ 61.57% ของจีดีพี แนะไทยถอดบทเรียนต่างประเทศ- เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันภาคบริการและลดอุปสรรคการค้า

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ภาคบริการเป็นกลไกขับเคลื่อนหลักของการเติบโตทางการค้าโลก โดยในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2567 การค้าภาคบริการระหว่างประเทศของโลกมีอัตราขยายตัวถึงร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การค้าสินค้าระหว่างประเทศของโลกที่เติบโตเพียงร้อยละ 2 ในช่วงเวลาเดียวกันและภาคบริการก็มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจไทย โดยในปี 2567 มีมูลค่า 11.44 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 61.57ของผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.60 และในปี 2566 สร้างการจ้างงานกว่า 5.85ล้านตำแหน่ง หรือร้อยละ 48 ของแรงงานทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.79

จากรายงานดัชนีข้อจำกัดทางการค้าภาคบริการ (Service TradeRestrictiveness Index: STRI) ซึ่งจัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) ในปี 2567 ค่าดัชนี STRIของไทยอยู่ที่ 0.37 เท่ากับปี 2565 และ 2566 โดยเป็นอันดับที่ 48 จาก 51 ประเทศ เท่ากับอันดับของปีก่อนและสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศสมาชิก OECD ที่ 0.19 สะท้อนว่าไทยมีข้อจำกัดหรืออุปสรรคในการค้าภาคบริการ ในระดับที่สูง แต่น้อยกว่าบางประเทศในอาเซียน อาทิ อินโดนีเซีย (อันดับที่ 49) และฟิลิปปินส์ (อันดับที่ 51)

โดยสาขาบริการที่ไทยมี STRI ต่ำที่สุดหรือมีข้อจำกัดที่ไม่มาก อาทิ การกระจายเสียง การขนส่งทางอากาศ ภาพยนตร์และการบันทึกเสียง ทั้งนี้ STRI มีการประเมินใน 5 ด้าน ได้แก่ ข้อจำกัดในการเข้าสู่ตลาด ข้อจำกัด
ในการเคลื่อนย้ายบุคคล มาตรการกีดกันอื่น ๆ อุปสรรคต่อการแข่งขัน และความโปร่งใสของการกำกับดูแล สำหรับค่าดัชนีที่วัดได้จะอยู่ระหว่าง 0 – 1 โดยระดับ 0 คือไม่มีข้อจำกัดเลย และ 1 คือมีข้อจำกัดเต็มที่

สำหรับด้านที่ไทยมีข้อจำกัดน้อยที่สุดจากทั้ง 5 ด้าน คือ มาตรการกีดกันอื่น ๆ ซึ่งมีข้อจำกัดแตกต่างกันไปตาม
แต่ละสาขาภาคบริการ ครอบคลุมประเด็น เช่น การได้รับการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกันในด้านภาษี ข้อจำกัด
ในการเข้าถึงเงินอุดหนุนเมื่อเทียบกับผู้ให้บริการในประเทศ

นอกจากนี้รายงาน STRI ของ OECD ระบุว่า แม้ว่าในปี 2567 ภาคบริการเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และมีมูลค่าการส่งออกภาคบริการจากประเทศสมาชิก OECD กว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
แต่อุปสรรคทางการค้าภาคบริการของโลกยังคงอยู่ในระดับสูงและในบางประเทศยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย
โดยมีปัจจัยมาจากความคืบหน้าในการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมการค้าภาคบริการของโลกลดลง
และในแต่ละประเทศยังมีข้อจำกัด มาตรการด้านการค้าออนไลน์จำนวนมากและแตกต่างกันไป

ทั้งนี้ ในปี 2566 ประเทศสมาชิก OECD ที่มีการส่งออกภาคบริการสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี และประเทศที่มีค่าดัชนี STRI ต่ำที่สุด 3 อันดับแรก คือ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์

โดยสาขาบริการที่มีการเปิดเป็นเสรีมากขึ้นกว่าช่วงปี 2565-2566 คือ สาขาบริการไปรษณีย์และขนส่ง และสาขา
บริการด้านกฎหมาย ซึ่งเป็นผลมาจากการทยอยยกเลิกการผูกขาดในธุรกิจไปรษณีย์ รวมถึงการยอมรับใบอนุญาต
วิชาชีพบางสาขาโดยเฉพาะด้านกฎหมายเพิ่มขึ้น ซึ่งข้อมูลของ OECD ชี้ว่าการลดอุปสรรคด้านการค้าภาคบริการ
จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานและนวัตกรรม รวมถึงลดต้นทุนทางการค้าได้ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์
สหรัฐต่อปี ซึ่งประเทศที่มีการปฏิรูปมากที่สุดในช่วงปี 2566-2567 คือ โปรตุเกส กรีซ และอินเดียโดยมีการดำเนินการที่สำคัญ อาทิ

โปรตุเกส ในปี 2567 ดัชนี STRI ของโปรตุเกส คือ 0.15 ลดลง 0.02 จากค่าของปีก่อน ทำให้มีอันดับดีขึ้นจากอันดับที่ 13 ในปี 2566 เป็นอันดับที่ 7 ในปี 2567 โปรตุเกสได้ดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพหลายฉบับ โดยยกเลิกข้อจำกัดด้านสัญชาติสำหรับการประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง บริการด้านกฎหมาย และบริการด้านบัญชี ยกเลิกข้อกำหนดบางประการในการขอใบอนุญาตเพื่อปฏิบัติงานในท้องถิ่น และยกเลิกความจำเป็นที่ชาวต่างชาติต้องเรียนซ้ำในระดับมหาวิทยาลัยเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตในโปรตุเกส นอกจากนี้ ได้ยกเลิกข้อจำกัดที่ห้ามทนายความและสำนักงานกฎหมายทำการโฆษณาและอนุญาตให้มีการรวมกลุ่มทางการค้าระหว่างทนายความและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ได้

กรีซ ในปี 2567 ดัชนี STRI ของกรีซ คือ 0.23 ลดลง 0.02 จากค่าของปีก่อน ทำให้มีอันดับดีขึ้น
จากอันดับที่ 42 ในปี 2566 เป็นอันดับที่ 40 ในปี 2567 กรีซมีการบังคับใช้กฎหมายคนเข้าเมืองฉบับใหม่
โดยเพิ่มระยะเวลาการพำนักสูงสุดสำหรับผู้ให้บริการชาวต่างชาติจาก 24 เป็น 36 เดือนจากการได้รับใบอนุญาตเข้าประเทศครั้งแรก

อินเดีย ดัชนี STRI ของอินเดีย คือ 0.29 ลดลง 0.003 จากค่าของปีก่อน ทำให้มีอันดับดีขึ้นจาก
อันดับที่ 43 ในปี 2566 เป็นอันดับที่ 40 ในปี 2567 อินเดียได้เพิกถอนสิทธิผูกขาดการให้บริการไปรษณีย์ของรัฐ
โดยอนุญาตให้เอกชนสามารถร่วมดำเนินธุรกิจจัดส่งจดหมายได้ นอกจากนี้ ได้ยกเลิกการเก็บภาษีที่เรียกเก็บจาก
การให้บริการดิจิทัลบางประเภทจากบริษัทที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในอินเดีย

โดยไทยสามารถถอดบทเรียน เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของภาคบริการและลดอุปสรรคทางการค้า เช่น ผ่อนปรนกฎระเบียบภาคบริการ โดยอาจมีการทบทวนและปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวข้องกับข้อจำกัดด้านสัญชาติและผู้เชี่ยวชาญจากต่างชาติและใบอนุญาตวิชาชีพในบางสาขา โดยเฉพาะสาขาที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน อุตสาห กรรมที่ไทยขาดแคลนแรงงาน และสาขาที่ต้องการการถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนและการแข่งขันในภาคบริการ เพื่อดึงดูดการลงทุนในภาคบริการที่มีศักยภาพ และลดการผูกขาดทางการค้า

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img