วันเสาร์, เมษายน 19, 2025
หน้าแรกNEWSพาณิชย์เดินหน้าประชาสัมพันธ์-กระตุ้นการบริโภคผลไม้ไทยตีตลาดยูเออี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

พาณิชย์เดินหน้าประชาสัมพันธ์-กระตุ้นการบริโภคผลไม้ไทยตีตลาดยูเออี

“สุนันทา” เผยตลาดยูเออีเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับผลไม้ไทย โดยปี 66 ที่ผ่านมามีการนำเข้าผลไม้สดและอบแห้ง รวมมูลค่า 2,713 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เตรียมจับมือทูตพาณิชย์ประชาสัมพันธ์และกระตุ้นการบริโภคผลไม้ไทย เพื่อสร้างการรับรู้และเพิ่มโอกาสส่งออก

นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากนายปิติชัย รัตนนาคะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ถึงการสำรวจตลาดผลไม้สดในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คู่แข่งในการส่งออกผลไม้ และโอกาสในการส่งออกผลไม้ไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และการส่งออกต่อไปยังประเทศในตะวันออกกลางอื่น ๆ

โดยทูตพาณิชย์ได้รายงานว่า ยูเออีเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าผลไม้เกือบ 100% เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้เขตร้อนที่ไทยส่งออกนั้น ได้รับความนิยมอย่างสูงและครองใจผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และหลงใหลในรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของผลไม้ไทย แต่ผลไม้ไทยเป็นกลุ่มแปลกใหม่และมีราคาสูง แต่มีคุณภาพดีกว่าผลไม้ชนิดเดียวกันจากประเทศอื่น เช่น ศรีลังกา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

สำหรับผลไม้ไทยที่ได้รับความนิยมสูง ได้แก่ เงาะ มังคุด ลำไย มะขามหวาน ทุเรียน มะพร้าวอ่อน และขนุนสุกแกะเม็ด และยังมีผลไม้บางชนิดที่ไทยเป็นผู้ส่งออกเพียงรายเดียวในตลาด เช่น ชมพู่ทับทิมจันทร์ และมะปราง ซึ่งสร้างความแตกต่างและจุดขายให้กับผลไม้ไทยโดยผลไม้ไทยส่วนใหญ่วางจำหน่ายในซูเปอร์มาเก็ต และยังมีผู้นำเข้าที่จำหน่ายปลีก โดยบรรจุในถาดโฟมหรือกล่องพลาสติก และมีพริกเกลือพร้อมรับประทาน เช่น มะม่วงเขียวเสวย ฝรั่ง สับปะรด (ภูแล) วางจำหน่ายตาม Kiosk ในห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง

อย่างไรก็ตาม ผลไม้ไทยมีความท้าทายที่ต้องเผชิญ แม้ว่าจะมีคุณภาพดีและเป็นที่ต้องการของตลาด โดยมีอุปสรรคสำคัญที่ต้องแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาด้านการขนส่ง เนื่องจากผลไม้ไทยส่วนใหญ่ขนส่งทางอากาศ ทำให้มีค่าระวางสูง ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นและเสียเปรียบด้านราคาเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เช่น อินเดีย ปากีสถาน และเวียดนาม ที่สามารถเสนอราคาถูกกว่าได้ เช่น มะม่วงสุก ที่แม้จะมีการแข่งขันสูงจากมะม่วงอินเดียและปากีสถาน แต่ก็ยังมีกลุ่มลูกค้าที่ซื้อมะม่วงน้ำดอกไม้ของไทย เพราะติดใจในรสชาติและคุณภาพ โดยเฉพาะร้านอาหารไทยในโรงแรมระดับ 5 ดาวที่นิยมใช้มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นส่วนประกอบของของหวาน

นอกจากนี้ ยังมีผลไม้จากเวียดนามเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทยมากขึ้น อาทิ แก้วมังกร ฝรั่งกิมจู เงาะ ลำไย เสาวรส มะพร้าวอ่อน ที่มีราคาถูกกว่าผลไม้ไทยอย่างเห็นได้ชัด

โดยตลาดยูเออีเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับผลไม้ไทย เพราะนอกจากจะนำเข้าเพื่อบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังมีการนำเข้าเพื่อส่งออกต่อ (Re-export) ไปยังประเทศอาหรับใกล้เคียง เช่น โอมาน ซึ่งการขนส่งทางรถบรรทุกใช้เวลาไม่นานและสะดวกต่อการกระจายสินค้า ดังนั้น ผลไม้ไทยมีโอกาสเติบโตในตลาดยูเออีได้อีกมาก ซึ่งกรมมีแผนที่จะร่วมมือกับทูตพาณิชย์ในการประชาสัมพันธ์ผลไม้ไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นการบริโภค โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบผลไม้ที่มีความแปลกใหม่ และกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งจะช่วยผลักดันผลไม้ไทยส่งออกเข้าสู่ตลาดยูเออีได้เพิ่มขึ้นต่อไป

ในปี 2566 ที่ผ่านมา ยูเออีมีการนำเข้าผลไม้สดและอบแห้ง รวมมูลค่า 2,713 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 6.9% โดยประเภทผลไม้นำเข้าที่สำคัญ ได้แก่อกลุ่มถั่ว ส้ม อินทผลัม สตรอเบอรีแอปเปิ้ล องุ่ น กล้วย สับปะรด มะม่วง เป็นต้น และนำเข้าจากไทย 28 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 3.3% โดยไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับที่ 17 ผลไม้ที่นำเข้าสำคัญ เช่น ลำไย ส้มโอ มะม่วง ทุเรียน สับปะรด มังคุด กล้วย เงาะ ส้ม ลิ้นจี่ มะพร้าวอ่อน มะละกอ มะขามหวาน ลองกอง มะปราง ระกำ

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img