วันเสาร์, พฤษภาคม 10, 2025
หน้าแรกHighlight“ปชน.”โพสต์เดือดเรียกร้อง“แพทองธาร” เข้ากระบวนการตรวจสอบที่ตรงไปตรงมา
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ปชน.”โพสต์เดือดเรียกร้อง“แพทองธาร” เข้ากระบวนการตรวจสอบที่ตรงไปตรงมา

ปชน.’ โพสต์เดือด เรียกร้อง ‘นายกฯแพทองธาร’ เดินหน้าเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบที่ตรงไปตรงมา ปม มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ผ่านมา


วันที่ 10 พ.ค.68 พรรคประชาชน โพสต์ข้อความระบุว่า [ นายกฯ ต้องไม่ลืมคำพูด ยอมรับ-ไม่แทรกแซงมติแพทยสภากรณีชั้น 14 ]

ผลการสอบสวนจริยธรรมทางวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์โรงพยาบาลราชทัณฑ์และโรงพยาบาลตำรวจ ที่ออกมาโดยแพทยสภาเมื่อวานนี้ (8 พ.ค.) ที่ให้ลงโทษแพทย์ 3 คน ในกรณีให้ข้อมูลหรือเอกสารทางการแพทย์อันไม่ตรงกับความเป็นจริง จากกรณีการเข้าพักรักษาตัวที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร
โดยแพทย์ 1 คนถูกตักเตือนเนื่องจากออกใบส่งตัว และแพทย์อีก 2 คนถูกพักใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม เพราะให้ข้อมูลเอกสารทางการแพทย์ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับไม่ได้มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนว่ามีภาวะวิกฤตเกิดขึ้น

กระบวนการหลังจากนี้ แพทยสภามีหน้าที่เสนอมติต่อสภานายกพิเศษแห่งแพทยสภา ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน เพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการตามมติต่อไป ซึ่งในที่นี้ประธานสภานายกพิเศษฯ ดังกล่าวก็คือ สมศักดิ์ เทพสุทิน

อีกส่วนที่ต้องดำเนินการต่อคือในชั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งแม้จะมีการรับเรื่องไปแล้วแต่ที่ผ่านมาการเดินเรื่องกลับล่าช้า จึงหวังว่าเมื่อแพทยสภามีมติออกมาเช่นนี้แล้ว กระบวนการใน ป.ป.ช. จะมีข้อมูลเพียงพอให้เดินหน้าต่อได้โดยไม่ติดขัดอุปสรรคใดๆ อีก

อย่างไรก็ตาม ข้อน่ากังวลคือ

๐ ในส่วนของมติแพทยสภา อาจจะถูกกลับลำได้ด้วยมติของสภานายกพิเศษแห่งแพทยสภา ที่มีประธานคือ สมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

๐ ในส่วนของ ป.ป.ช. การเดินเรื่องต่อไปข้างหน้าจะเกิดอุปสรรค จากความสัมพันธ์ของประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธาน ป.ป.ช. ตามที่ปรากฏเป็นคลิปวิดีโอว่อนทั้งสังคมเมื่อไม่นานมานี้หรือไม่

ย้ำอีกครั้ง กรณีความป่วยไข้ของทักษิณ ที่ข้อมูลทั้งทางการแพทย์ ทางวิทยาศาสตร์ และทางกระบวนการยุติธรรม ทำให้สังคมตั้งคำถามมาตลอดว่าไม่ได้เป็นเรื่องจริง เป็นการป่วยทิพย์ มีการใช้กลไกรัฐมาช่วยเหลือเพื่อไม่ให้ติดคุกแม้แต่วันเดียว

คำถามคือนายกรัฐมนตรี ที่ยืนยันมาตลอดเช่นกันว่าบิดาป่วยจริง และปฏิเสธไม่รู้ไม่เห็นกับกระบวนการที่เกิดขึ้น จะเอาอย่างไรต่อกับมติแพทยสภาครั้งนี้

เมื่อครั้งในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 25 มีนาคม 2568 หลังฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีดังกล่าว นายกรัฐมนตรีระบุว่า

“ขณะนี้เราก็มีการยื่นเรื่องตรวจสอบต่อแพทยสภาแล้ว เชื่อว่าผลสรุปจะออกมาในอีกไม่นานนี้นะคะ ก็จะหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะยอมรับ เพราะถามจากดิฉัน อภิปรายดิฉันไป ดิฉันตอบ ท่านก็ไม่เชื่ออยู่ดี ไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร” และ “เมื่อมีกระบวนการตรวจสอบในหน่วยงานต่างๆ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ดิฉันไม่เคยใช้อำนาจไปแทรกแซง”

สิ่งที่สังคมต้องจับตาดูกันต่อ คือจะมีการดันทุรังเล่นแร่แปรธาตุเพื่อหาทางรอดต่อการลวงโลกครั้งนี้ต่อไปหรือไม่ จะมีการแทรกแซงทั้งในส่วนของมติแพทยสภาผ่านสภานายกพิเศษฯ ซึ่งมีรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยนั่งกุมบังเหียนเป็นประธานอยู่หรือไม่ จะมีการแทรกแซงการดำเนินการต่อไปของ ป.ป.ช. ที่ควรจะเดินหน้าได้อย่างไม่ชักช้าหลังมีมติแพทยสภาออกมาหรือไม่

ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของทักษิณ ไม่ใช่เรื่องส่วนครอบครัวของตระกูลชินวัตร แต่คือเรื่องของบ้านเมือง เดิมพันด้วยความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมและความเป็นนิติรัฐของประเทศ

ในเมื่อนายกรัฐมนตรีลั่นวาจาว่าขอให้เรายอมรับมติแพทยสภาที่จะออกมา และวันนี้มติแพทยสภาออกมาแล้ว เราหวังว่านายกรัฐมนตรีจะรักษาคำพูดของตัวเองเช่นกัน ในการยอมรับมติแพทยสภา เห็นหลักการของบ้านเมืองที่กฎหมายควรถูกบังคับใช้กับคนทุกคนอย่างเท่าเทียม เหนือกว่าผลประโยชน์ของคนในครอบครัวตัวเอง

และถ้านายกรัฐมนตรีมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ผ่านมา เราเชื่อว่าสิ่งที่ประชาชนต้องการเห็นและเป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีควรทำ คือการเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบที่ตรงไปตรงมาไปจนสุดกระบวนการ

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img