วันอาทิตย์, พฤษภาคม 25, 2025
หน้าแรกHighlightโพลชี้ปชช.สิ้นศรัทธาระบบการเมืองไทย เหตุ“ไม่โปร่งใส”-เรียกร้องให้ปฏิรูปด่วน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

โพลชี้ปชช.สิ้นศรัทธาระบบการเมืองไทย เหตุ“ไม่โปร่งใส”-เรียกร้องให้ปฏิรูปด่วน

ประชาชนสิ้นศรัทธา! “สวนดุสิตโพล” เผยผลสำรวจกรณีข่าว “ฮั้ว สว.” ชี้กว่าครึ่งไม่เชื่อมั่นระบบการเมืองไทย เหตุจากความไม่โปร่งใสและระบบเลือกตั้ง แนะรัฐบาลเร่งปฏิรูปโครงสร้างก่อนบานปลายกระทบความมั่นคง

เมื่อวันที่ 25 พ.ค.“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศที่ติดตามข่าวการเมือง เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับกรณีข่าวฮั้ว สว.” จำนวน 1,211 คน ระหว่างวันที่ 20-23 พฤษภาคม 2568 พบว่า จากกรณีดังกล่าวทำให้ประชาชนรู้สึกไม่เชื่อมั่นในระบบการเมืองไทยสูงถึงร้อยละ 56.73 โดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60.36) มองว่าสาเหตุหลักมาจากระบบการเลือกตั้งและความไม่โปร่งใสในกระบวนการขั้นตอน

ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้ อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลถึงร้อยละ 66.15 และสิ่งที่ประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงคือ การเกิดความไม่ไว้วางใจในสังคมและความขัดแย้งทางความคิด ร้อยละ 57.12 สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ประชาชนต้องการคือ ควรเร่งปฏิรูประบบการเลือกตั้ง สว. ร้อยละ 61.81

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า ผลสำรวจสะท้อนชัดเจนว่าประชาชนไม่เพียงแค่ไม่เชื่อมั่นในระบบการเมือง แต่ยังต้องการให้มีการปฏิรูปเชิงโครงสร้างอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะระบบการเลือกตั้ง สว. และกระบวนการตรวจสอบที่โปร่งใส ซึ่งความไม่ไว้วางใจที่เพิ่มขึ้นนี้ถือเป็นสัญญาณสำคัญที่รัฐบาลต้องให้ความสนใจ ก่อนที่จะกระทบต่อเสถียรภาพในระยะยาว

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ เจริญพูล หัวหน้าศูนย์พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เสริมว่า ข่าว “ฮั้ว สว.” ตอกย้ำปัญหาความไม่โปร่งใสในการสรรหา สว. และความไม่เชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบการเมืองไทย ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ หากย้อนดูพัฒนาการทางการเมืองจะเห็นว่าการได้มาซึ่ง สว. ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 มักสะท้อนถึงการเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง เช่น “สภาผัวเมีย” หรือ “ปลาสองน้ำ” รวมถึงรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ คสช. มีบทบาทในการแต่งตั้ง สว. ยิ่งสร้างข้อกังขาต่อความชอบธรรมในการใช้อำนาจ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า สถานะของ สว. ที่ควรเป็นกลไกตรวจสอบ กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ซึ่งนำมาสู่การเรียกร้องให้ปฏิรูประบบการได้มาซึ่ง สว. ดังนั้น ความคาดหวังของประชาชนจึงมิได้อยู่ที่การเปลี่ยนตัวบุคคลเท่านั้น แต่ต้องการการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่สะท้อนถึงความเป็นประชาธิปไตยและความถูกต้องยุติธรรมในกระบวนการ คำถามสำคัญคือ จะปฏิรูปอย่างไรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมกับบริบททางการเมืองของประเทศไทย

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img