วันศุกร์, พฤษภาคม 30, 2025
หน้าแรกHighlight‘พิชัย’โต้‘เท้ง’มั่นใจจะเก็บรายได้ตามเป้า แต่ยอมรับยังกังวลสถานการณ์เศรษฐกิจ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘พิชัย’โต้‘เท้ง’มั่นใจจะเก็บรายได้ตามเป้า แต่ยอมรับยังกังวลสถานการณ์เศรษฐกิจ

พิชัย’ โต้ ‘เท้ง’ ยังมั่นใจ เก็บรายได้ได้ตามเป้า ยอมรับ ยังกังวลสถานการณ์เศรษฐกิจ รับยังต้องทำงบขาดดุล เพราะไทยเปรียบเหมือนเด็กที่ยังไม่โต ย้ำ ต้องแก้ปัญหาโครงสร้าง ดึงเอกชนมาลงทุนมากขึ้น

วันที่ 28 พ.ค.68 นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ลุกขึ้นชี้แจงร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 ทันที หลังนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ผู้นำฝ่ายค้าน เปิดอภิปราย ว่า ในฐานะประชาชนคนหนึ่งก็รู้สึกกังวลกับสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ แต่ก็เข้าใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องแก้ไขปัญหาให้ได้ ซึ่งทุกคนก็คาดหวังให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการใช้จ่ายที่มากขึ้น และมีช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนแคบลง

นายพิชัย กล่าวว่า ถึงแม้ว่าจะมีเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไป และเคยวางเป้าว่า จีดีพีที่เคยวางไว้ว่า จะผลักดันให้เกิน 3% ขึ้นไป แต่วันนี้่มีการปรับจีดีพีลงมา เหลือเพียง 1.8% แต่ยังมั่นใจว่า ยังสามารถเก็บรายได้ในปี 68 ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ และเชื่อว่า เงินขาดดุลคงคลังคงไม่มากไปกว่าเดิม

นายพิชัย กล่าวว่า โครงสร้างเศรษฐกิจไทยหากย้อนหลังไปช่วงที่จีดีพีโตถึง 6-10% เมื่อ 30 ปีที่แล้ว จะพบว่า เงินลงทุนภาคเอกชนสูงถึงประมาณ 40% ของจีดีพี แต่ปัจจุบันการลงทุนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยแล้วอยู่ประมาณ 20 % แสดงให้เห็นว่า การลงทุนในไทยหายไปครึ่งหนึ่ง ซึ่งมาจากการลงทุนภาคเอกชนหายไป เอสเอ็มอีลดลง ซัพพลายเชนหายไป มองไม่เห็นโอกาสในการส่งออก จึงไม่เกิดการจ้างงาน อีกทั้งสินค้าที่ไทยส่งออกมีมูลค่าน้อย โดยเฉพาะภาคการเกษตร ซึ่งหากต้องการผลักดันเศรษฐกิจ ต้องมีการสร้างความพร้อมและแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ซึ่งการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำได้จากงบประมาณภาครัฐ และสนับสนุน การให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ PPP มากขึ้น เพื่อให้เอกชนและผู้ลงทุนเข้ามาลงทุนมากขึ้น

“งบประมาณที่จัดปีนี้ มั่นใจว่า เป็นจุดเริ่มต้นที่เราเริ่มรู้แล้วว่า สถานการณ์โลกเปลี่ยนไป แต่ไม่ได้เปลี่ยนในระยะเวลาอันสั้น เราคงต้องปรับเปลี่ยนใหม่ ให้โครงสร้างเศรษฐกิจ พึ่งพาในประเทศมากขึ้น และ เราจะต้องแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง”นายพิชัย กล่าว

นายพิชัย ชี้แจงถึง การตั้งงบประมาณแบบขาดดุล ซึ่งมีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลมาแล้ว 8.5 แสนล้านบาท มา 2 ปีงบประมาณ หรือประมาณ 4% กว่า แต่มีการคืนเงินต้นอยู่ด้วยที่ 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้จะขาดดุลที่ 7 แสนล้านบาท หรือ ประมาณ 3% กว่า

“ทำไมยังต้องทำงบขาดดุล ผมคิดว่า ไทยยังอยู่ในเขตเอเชีย ยังเป็นเด็กที่ยังไม่โต อยู่ใน growth country (ประเทศที่กำลังเติบโต) เพราะฉะนั้น ต้องสร้างแบบขาดดุลสักพักหนึ่ง เพราะอีกปัญหาหนึ่ง เราต้องเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตของประเทศใหม่ การขาดดุลยังจำเป็นอยู่ แต่เมื่อขาดดุลเราคำนึงถึงหนี้ต่อจีดีพีอยู่ในระดับที่เรายอมรับได้”นายพิชัย กล่าว

นายพิชัย ชี้แจงเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ 1.57 แสนล้านบาท โดยมองว่า การส่งออกน่าจะได้รับผลกระทบ ซึ่งแทนที่รัฐบาลจะใส่เงินไปยังผู้บริโภค จึงนำเงินไปแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง เพื่อผลักดันการผลิตในประเทศมากขึ้น และยอมรับว่า การเตรียมความพร้อมในการงบประมาณ 1.57 แสนล้านบาทมีข้อจำกัดในเรื่องเวลา แต่ยังจำเป็นต้องทำ พร้อมกับฝากให้สส.ช่วยพิจารณางบปี 69 อย่างละเอียด และสามารถแปรญัตติ เพื่อนำงบไปแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างได้

ส่วนเรื่องการท่องเที่ยว จำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับนักท่องเที่ยว

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

ไข 10 ประเด็นร้อน-2 เดือนตึกสตง.ถล่ม

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img